จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
นประเทศไทย ผู้คนเข้าใจความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยในโลกออนไลน์โดยทั่วไป แต่เมื่อนำความรู้นั้นมาใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงมักไม่เป็นไปตามสิ่งที่คิดไว้
การศึกษาเกี่ยวกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย แสดงให้เห็นว่า 44.5% ละเลยการตรวจสอบที่อยู่เว็บไซต์ที่พวกเขาใช้เพื่อทำธุรกรรมออนไลน์ว่าปลอดภัยหรือไม่ และ 43% ยอมรับว่าพวกเขาเคยเปิดลิงก์และอีเมล์ที่ไม่น่าไว้วางใจมาก่อน ซึ่งต่างแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมที่แท้จริงของคนไทยนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าที่คิด
นอกจากนี้ ธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ล้วนแต่มีความเสี่ยงทั้งนั้น การศึกษา 2 ชิ้นที่จัดทำขึ้นโดยซิสโก ระบุว่ามีการรายงานการหลอกลวงแบบฟิชชิ่งจำนวนหลายหมื่นครั้งทั่วโลกในแต่ละเดือน และโดยเฉลี่ยแล้ว มีพนักงาน 2 คนที่ทำงานอยู่ในธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อมมักดาวน์โหลดข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งนำมาสู่ภัยคุกคามภายในองค์กร
บน Facebook แอดมินของกลุ่มสำหรับชุมชน เจ้าของเพจธุรกิจ สื่อมวลชน ครีเอเตอร์ และโปรไฟล์ของบุคคลที่มีชื่อเสียงต่างๆ ควรให้ความสำคัญสูงสุดกับความปลอดภัยของบัญชีผู้ใช้ เพราะอาจตกเป็นเป้าหมายของผู้ประสงค์ร้ายที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลการติดต่อและข้อมูลที่มีความอ่อนไหวอื่นๆ
ฟิชชิ่งคือการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เมื่อมีบุคคลพยายามที่จะเข้าถึงบัญชีผู้ใช้ Facebook ของคุณด้วยการส่งข้อความหรือลิงก์ที่ไม่น่าไว้วางใจ ฟิชชิ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งอีเมล์ โปรไฟล์ในโซเชียลมีเดีย โพสต์ และข้อความ หรือเว็บไซต์ปลอม
โดยทั่วไปแล้ว นักต้มตุ๋นจะอ้างตัวว่าเป็นพนักงานจากบริษัทที่มีชื่อเสียงหรือแกล้งปลอมตัวเป็นบุคคลที่คุณรู้จัก เพื่อขอข้อมูลรหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ และหากพวกเขาสามารถเข้าสู่ระบบบัญชีผู้ใช้งานของคุณได้ พวกเขาอาจใช้บัญชีของคุณในการส่งสแปมอีกด้วย
วิธีการป้องกันการถูกหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง
อีเมล์ที่มาจาก Facebook เกี่ยวกับบัญชีผู้ใช้ของคุณจะประกอบด้วย fb.com, facebook.com หรือ facebookmail.com เสมอ และคุณยังสามารถเยี่ยมชม www.facebook.com หรือเข้าไปที่หน้าแอป Facebook ของคุณเพื่อตรวจสอบข้อความสำคัญจากเรา นอกจากนี้ อย่าหลงเชื่อข้อความที่ขอเงิน ให้ของขวัญ หรือข่มขู่ว่าจะลบหรือแบนบัญชีผู้ใช้ Facebook ของคุณ
Facebook จะไม่ถามรหัสผ่านของคุณผ่านอีเมล์ หรือส่งรหัสผ่านให้คุณเป็นไฟล์แนบเป็นอันขาด และคุณควรหลีกเลี่ยงการเผยข้อมูลการเข้าสู่ระบบบัญชีผู้ใช้กับผู้อื่นด้วยเช่นกัน
หากคุณเห็นอีเมล์ ข้อความ หรือโพสต์ที่ไม่น่าไว้วางใจและอ้างว่ามาจาก Facebook อย่าคลิกไปที่ลิงค์หรือไฟล์แนบเหล่านั้น หากลิงค์นั้นมีลักษณะที่ไม่น่าไว้วางใจ คุณจะเห็นชื่อหรือ URL ที่อยู่ด้านบนของเพจปรากฏเป็นสีแดงพร้อมสัญลักษณ์สามเหลี่ยมสีแดงเป็นการแจ้งเตือน
4. อย่าตอบกลับอีเมล์เหล่านี้
นักต้มตุ๋นบางคนอาจส่งข้อความแนวโรแมนติกหาคุณ ด้วยความหวังที่จะได้รับความไว้วางใจจากคุณอย่างรวดเร็ว แต่ระวังเอาไว้เพราะในตอนสุดท้าย พวกเขามักจะขอให้คุณส่งเงินไปให้ หรือนำข้อมูลส่วนตัวของคุณไปเผยแพร่
อีกกลวิธีคือการส่งข้อความหาคุณที่เชื่อมต่อคุณไปยังเพจเพื่ออ้างสิทธิในการรับรางวัล ซึ่งคุณจะต้องชำระค่าสมาชิก จ่ายค่าธรรมเนียม หรือแชร์ข้อมูลส่วนตัวของคุณในการอ้างสิทธิเพื่อรับรางวัลนั้น แต่ข้อความเพื่อการหลอกลวงเหล่านี้มักเป็นข้อความที่สะกดผิดและผิดหลักการใช้ภาษา ดังนั้น หากคุณพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว คุณจะสามารถสังเกตได้ว่าลิงก์นั้นเป็นของปลอม
ข้อควรปฏิบัติหากคุณคิดว่าโดนหลอกลวงไปแล้ว
กรณีที่ได้ให้ข้อมูลชื่อผู้ใช้หรือรหัสผ่านในลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือโดยไม่ได้ตั้งใจ ผู้อื่นอาจเข้าสู่ระบบบัญชีผู้ใช้ของคุณได้ คำแนะนำคือควรทำใจเย็นๆ เอาไว้และปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้
หากยังสามารถเข้าสู่ระบบบัญชีผู้ใช้ของคุณได้ รักษามันด้วยการตั้งค่ารหัสผ่านใหม่และออกจากระบบจากอุปกรณ์ที่คุณไม่รู้จักทันที
หากไม่สามารถเข้าสู่ระบบบัญชีผู้ใช้ของคุณได้ และชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของคุณไม่สามารถทำงานได้ปกติ ใช้เครื่องมือกู้คืนบัญชีของคุณ
ตรวจสอบว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับบัญชีผู้ใช้ของคุณหรือไม่ ด้วยการตรวจสอบกิจกรรมที่ผ่านมาและอีเมล์ที่ได้รับเมื่อเร็วๆ นี้ จาก Facebook
หากรู้สึกว่าคุณตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรม กรุณาแจ้งความกับตำรวจในบริเวณใกล้เคียง และหากได้ให้ข้อมูลบัตรเครดิตโดยไม่ได้ตั้งใจ รีบแจ้งทางธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตของคุณทันที นอกจากนี้ อย่าลืมรายงานบุคคลหรือบัญชีผู้ใช้นั้นกับทาง Facebook ด้วย
#สำนักงานบัญชี,#สำนักงานสอบบัญชี,#ทำบัญชี,#สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน