จาก moneyguru.co.th
รัฐบาลประกาศ มาตรการดูแลลูกจ้างรายวัน อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมจากรัฐบาลเพื่อเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 [กระทรวงการคลัง]โดยเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เรื่อง มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โดยรายละเอียดมีดังนี้
มาตรการช่วยลูกหนี้ที่ยังผ่อนบ้านผ่อนรถไม่หมด 6 กลุ่มที่ไม่เป็นหนี้เสีย ใครบ้างเข้าเกณฑ์ไปดู
7 มาตรการดูแลและเยียวยา ผู้ประกอบจากการผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
มาตรการดูแลลูกจ้างรายวัน อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมจากรัฐบาล
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 จากผลกระทบของการการสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว เช่น ห้างสรรพสินค้า การระงับการให้บริการของสถานบริการต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และในอีกหลายพื้นที่ การงดกิจกรรม ต่างๆการแข่งขันกีฬา งานบันเทิง งานอบรมสัมมนา การแสดงสินค้า เป็นต้น ซึ่งส่งผลกับการดำเนินชีวิตของประชาชน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระทรวงการคลังจัดทำมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยาที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนต่อไปได้กระทรวงการคลังรับผิดชอบดูแลเศรษฐกิจไทยในภาพรวม ตระหนัก รับทราบ และเข้าใจถึงความยากลำบากของประชาชนชาวไทยทุกภาคส่วนและไม่นิ่งดูดาย จึงได้ออกมาตรการดูแลและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทั้งประชาชนและผู้ประกอบการอย่างเร่งด่วน โดยยึดหลักการเดิม “ทันการณ์ ตรงเป้าหมาย และชั่วคราวตามจำเป็น” เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน รวมถึงบรรเทาผลกระทบและเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ สามารถผ่านพ้นวิกฤตความยากลำบากไปได้ และเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เรื่อง มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีรายละเอียดดังนี้
8 มาตรการดูแลและเยียวยา แรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม
ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ประกอบด้วย 8 มาตรการ ดังนี้
- 1.มาตรการชดเชยรายได้แก่แรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว : อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมหรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ ของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพื่อช่วยเหลือเยียวยาให้กับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดประกอบกิจการของสถานประกอบการที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีคนแออัด เบียดเสียด ง่ายต่อการแพร่เชื้อ เช่น สนามมวย สนามกีฬา ผับ สถานบันเทิง โรงมหรสพ นวดแผนโบราณ สปา ฟิตเนส สถานบริการอื่น ๆ เป็นต้น หรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ ทั้งนี้ ไม่รวมผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่มีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคม ไม่รวมข้าราชการและข้าราชการบำนาญ และไม่รวมเกษตรกร (กลุ่มเกษตรกรได้รับความช่วยเหลืออื่น ๆ จากรัฐบาลอยู่แล้ว) ทั้งนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้รับลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ เป้าหมายรวมทั้งสิ้น 3 ล้านคน โดยการสนับสนุนเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน (เมษายน – มิถุนายน 2563) ผ่านการลงทะเบียนแสดงความจำนงตรวจสอบคุณสมบัติและการโอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น พร้อมเพย์ตามเลขบัตรประจำตัวประชาชน โอนเข้าบัญชีธนาคาร กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ส่วนวิธีการขอรับความช่วยเหลือจะเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงการคลังกำหนด
- 2.โครงการสินเชื่อฉุกเฉิน : เพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 โดยไม่จำเป็นต้องมีหลักประกัน โดยธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 40,000 ล้านบาท (ธนาคารออมสิน 20,000 ล้านบาท และธ.ก.ส. 20,000 ล้านบาท) วงเงินต่อรายไม่เกิน 10,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.10 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนรับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563
- 3.โครงการสินเชื่อพิเศษเพิ่มเติม : เพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตแก่ประชาชนที่มีรายได้ประจำ โดยมีหลักประกัน โดยธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท วงเงินต่อรายไม่เกิน 50,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563
- 4.โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับสำนักงานธนานุเคราะห์ : เพื่อช่วยเหลือประชาชนฐานรากที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของไวรัส COVID-19 เพื่อช่วยเหลือประชาชนฐานรากที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยธนาคารออมสินสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ให้แก่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในนามของสำนักงานธนานุเคราะห์ (สธค.) โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.10 ต่อปี และ สธค. คิดดอกเบี้ยจากประชาชนในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.125 ต่อเดือน ระยะเวลา 2 ปี
- 5.มาตรการเสริมความรู้ : พิจารณาดำเนินการจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ เสริมอาชีพ เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 หรือผู้ที่สนใจ พร้อมทั้งจัดทำกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR)
- 6.มาตรการเลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : โดยเลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2563 เพื่อบรรเทาภาระให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น
- 7.มาตรการเพิ่มวงเงินหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ : โดยเพิ่มวงเงินหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพจากเดิมตามจ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท เป็นไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับการหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีภาษี 2563 เป็นต้นไป เพื่อให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นและมีภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพลดลง และรัฐสามารถนำรายจ่ายด้านสาธารณสุขที่ลดลงจากการทำประกันสุขภาพของประชาชนไปช่วยเหลือประชาชนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยทั้งในด้านสาธารณสุขและด้านอื่น ๆ ได้มากขึ้น
- 8.มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : สำหรับค่าตอบแทนในการเสี่ยงภัยของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับ (1) ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุม และรักษาผู้ป่วยจากไวรัส COVID-19 (2) ค่าตอบแทนบุคคลที่มิใช่ข้าราชการหรือข้าราชการที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษี 2563 เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ไม่มีภาระภาษีสำหรับค่าตอบแทนพิเศษจากการปฏิบัติงานดังกล่าวและมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น
5 ประเภท บุคคลที่มีคุณสมบัติได้รับเงิน 5,000 บาท
- แรงงานทั่วไป
- ลูกจ้างชั่วคราว
- อาชีพอิสระ
- ผู้ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33
- ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโควิด-19
โดยรัฐบาลพร้อมเยียวยาผู้มีสิทธิทั่วประเทศจนครบทุกคนที่ผ่านเกณฑ์
วิธีลงทะเบียนรับเงิน เยียวยา 5000 บาท สำหรับ แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว และอาชีพอิสระ
สิ่งที่ต้องเตรียม
- หลักฐานสำเนาบัตรประชาชน
- ข้อมูลส่วนบุคคล
- ข้อมูลนายจ้าง
ลงทะเบียนได้ที่
เว็ปไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ในวันที่ 28 มีนาคม 2563
สาขาธนาคารรัฐที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ธนาคารกรุงไทย
โดยหลังจากที่ลงทะเบียนแล้วทางรัฐบาลจะใช้เวลาในการดำเนินงานโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ประมาณ 5 วัน หรือหากใครไม่มีพร้อมเพย์ก็เป็นบัญชีออมทรัพย์ก็ได้เช่นกัน
#สำนักงานบัญชี,#สำนักงานสอบบัญชี,#ทำบัญชี,#สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน