สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดขั้นตอนพิจารณาอุทธรณ์ 'ทักษิณ'ลุ้นอีกยกคดียึดทรัพย์



ขั้นตอนการพิจารณาอุทธรณ์

วันนี้ทนายความ ของครอบครัวทักษิณจะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฏีกาแผนกคดีอาญาในกรณีคดียึดทรัพย์

วันนี้ ทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรชาย-บุตรสาว จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมืองในคดียึดทรัพย์ ซึ่งหลักการและขั้นตอนการพิจารณาของศาลมีดังนี้

หลักฐานเก่าที่ไม่ได้นำสืบ "อุทธรณ์ไม่ได้"

การยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาคดียึดทรัพย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และครอบครัวนั้น เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 278 วรรค 3 และ 4 ที่ระบุว่า "ในกรณีผู้ต้องคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง มีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ อาจยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษาได้"

แหล่งข่าวซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา เปิดเผยว่า หากผู้ต้องคำพิพากษาตัดสินใจยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ก็จะนำไปสู่ขั้นตอนที่ประชุมใหญ่ ศาลฎีกาต้องเรียกประชุม เพื่อตั้งองค์คณะที่ไม่ใช่องค์คณะเดิม (ที่พิจารณาคดียึดทรัพย์) เพื่อไปพิจารณาว่าอุทธรณ์ของผู้ต้องคำพิพากษามีข้อ เท็จจริงใหม่หรือไม่ เพราะเงื่อนไขหลักที่จะทำให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีการับอุทธรณ์ คือ "พยานหลักฐานใหม่ ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ" เท่านั้น

แหล่งข่าว ระบุว่า ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ ก็คือ การยื่นอุทธรณ์จะกระทำได้เฉพาะประเด็น ข้อเท็จจริง ไม่สามารถอุทธรณ์ประเด็นข้อกฎหมายได้ และที่ผ่านมา มีผู้ต้องคำพิพากษาจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมืองเคยยื่นอุทธรณ์เพียงคดีเดียว คือ คดีคลองด่านของ นายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย แต่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ เพราะไม่เป็นข้อเท็จจริงใหม่

"จริงๆ แล้ว การพิจารณาคดีในระบบไต่สวน จะไม่มีข้อเท็จจริงใหม่ เพราะผู้พิพากษามีอำนาจเสาะหาพยานหลักฐานได้เองจากการไต่สวน และที่สำคัญ ข้อเท็จจริงเก่าที่ไม่ได้นำมาสืบพยาน ย่อมไม่ถือเป็นข้อเท็จจริงใหม่" แหล่งข่าวซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาลฎีการะบุ

หลักฐานใหม่ต้องมีผลเปลี่ยนคำพิพากษา

สำหรับขั้นตอนวิธีการยื่นอุทธรณ์และพิจารณาอุทธรณ์นั้น เป็นไปตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง ในกรณีมีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ พ.ศ. 2551 ซึ่งมีสาระสำคัญและประเด็นที่น่าสนใจไม่น้อย

ในระเบียบดังกล่าวนิยามคำว่า "พยานหลักฐานใหม่" เอาไว้ว่า หมายถึง พยานหลักฐานที่ยังไม่เคยปรากฏอยู่ในสำนวนคดีที่ผู้ต้องคำพิพากษาได้ยื่นอุทธรณ์ตามระเบียบนี้ แต่ทั้งนี้ พยานหลักฐานใหม่ย่อมไม่รวมถึงการกลับคำให้การของพยานในคดี

นอกจากนั้น พยานหลักฐานใหม่ที่จะยกขึ้นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกานั้น จะต้องเป็นพยานหลักฐานที่สำคัญ และผู้ต้องคำพิพากษาไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ว่าพยานหลักฐานดังกล่าวมี อยู่ และจะต้องนำมาแสดงเพื่อประโยชน์ของตน ทั้งหากรับฟังพยานหลักฐานใหม่เช่นว่านั้นแล้ว จะทำให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายกฟ้องหรือยกคำร้องได้

ที่สำคัญ ในเอกสารการยื่นอุทธรณ์ จะต้องชี้แจงสาเหตุที่ไม่อาจนำพยานหลักฐานใหม่มาแสดงต่อศาลในชั้นพิจารณา ด้วย

เลือกองค์คณะ 5 คน พิจารณาอุทธรณ์

สำหรับขั้นตอนหลังผู้ต้องคำพิพากษายื่นอุทธรณ์ ศาลจะส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ หรือผู้ร้องทราบเพื่อให้แก้อุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์ ถ้าได้รับคำแก้อุทธรณ์หรือพ้นกำหนดดังกล่าวแล้ว แต่ไม่มีคำแก้อุทธรณ์ก็ให้รวบรวมถ้อยคำสำนวน ส่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาต่อไป

จากนั้นที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจะเลือกผู้พิพากษา 5 คน เป็นองค์คณะทำหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ที่ได้ยื่นต่อที่ประชุม ใหญ่ศาลฎีกาตามระเบียบนี้ แต่ทั้งนี้ องค์คณะผู้พิพากษาดังกล่าวจะต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นองค์คณะในการพิจารณา พิพากษาคดีที่อุทธรณ์

เมื่อได้องค์คณะแล้ว ให้องค์คณะตกลงกันว่าจะให้ผู้พิพากษาคนใดในองค์คณะทำหน้าที่เป็นเจ้าของ สำนวน และให้องค์คณะผู้พิพากษาเลือกผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง 1 คน ทำหน้าที่เป็นเลขานุการองค์คณะพิจารณาอุทธรณ์

องค์คณะเดิมมีสิทธิลงมติรับ-ไม่รับอุทธรณ์

ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ยังระบุอีกว่า องค์คณะพิจารณาอุทธรณ์มีหน้าที่ทำบันทึกความ เห็นสรุปสำนวนเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ว่าอุทธรณ์ของผู้ต้องคำพิพากษาเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยระเบียบนี้ ที่จะรับไว้พิจารณาหรือไม่ กรณีที่เป็นการจำเป็น องค์คณะพิจารณาอุทธรณ์อาจไต่สวนให้ได้ความจริง อย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่องที่เกี่ยวกับอุทธรณ์ของผู้ต้องคำพิพากษาเสีย ก่อนก็ได้ ในกรณีที่มีการไต่สวนให้แจ้งวันนัดไต่สวนให้ผู้ต้องคำพิพากษาและโจทก์ หรือผู้ร้องทราบล่วงหน้าก่อนวันนัดไม่น้อยกว่า 15 วัน

เมื่อองค์คณะพิจารณาอุทธรณ์ได้ทำบันทึกความเห็นสรุป สำนวนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เสนอที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพื่อจัดให้มีการลงมติว่าจะรับอุทธรณ์ไว้พิจารณาหรือไม่ ถ้าที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีมติว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชอบ ก็ให้รับอุทธรณ์ไว้พิจารณา หากมีมติว่าเป็นอุทธรณ์ที่มิชอบ (ไม่เป็นพยานหลักฐานใหม่) ก็ให้ยกอุทธรณ์

กรณีที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีมติให้รับอุทธรณ์ไว้พิจารณา ให้องค์คณะพิจารณาอุทธรณ์ทำหน้าที่เป็นองค์คณะไต่ สวนรวบรวมข้อเท็จจริงเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพื่อพิจารณาและวินิจฉัย ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็น ที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่น อันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาไต่สวนเพิ่มเติม ให้องค์คณะไต่สวนทำการไต่สวนพยานหลักฐาน ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่ไต่สวนมาแล้วมาไต่สวนใหม่ด้วย โดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ เมื่อองค์คณะไต่สวนได้รวบรวมข้อเท็จจริงแล้ว ให้ส่งให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาล่วงหน้าก่อนวันลง มติไม่น้อยกว่า 15 วัน

คดีถึงที่สุดตามมติ "ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา"

ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ระบุไว้ด้วยว่า ในส่วนของผู้พิพากษาซึ่งเป็นหรือเคยเป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ ผู้ต้องคำพิพากษาได้ยื่นอุทธรณ์ ก็มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาด้วย ในวันลงมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ให้ผู้ต้องคำพิพากษาพร้อมทั้งโจทก์ หรือผู้ร้องมายังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง

มติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้มีผลเท่ากับเป็นการ พิพากษาหรือออกคำสั่ง โดยให้องค์คณะไต่สวนเป็นผู้แจ้งหรืออ่านผลของมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้คู่ความทราบ ส่วนรายละเอียดของมติที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาให้ดำเนินการจัดทำเป็นคำ พิพากษาหรือคำสั่งในภายหลัง แต่ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วัน นับแต่วันลงมติ

สุดท้ายคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกานั้น ให้องค์คณะพิจารณาอุทธรณ์หรือองค์คณะไต่สวนเป็นผู้ ลงลายมือชื่อในคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วแต่กรณี และให้ส่งคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ทำให้คดีถึงที่สุดไปประกาศในราชกิจจา นุเบกษา พร้อมทั้งติดประกาศไว้ที่ศาลฎีกาด้วย

view