สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ภาวะนิ้วล๊อค !!

จากประชาชาติธุรกิจ


ภาวะนิ้วล๊อค หรือโรคนิ้วล๊อคกำลังเป็นที่สนใจในขณะนี้ เนื่องจากเป็นโรคที่พบได้บ่อย รบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก
ภาวะนิ้วล๊อคหรือ “Trigger Digit” รวมทั้งที่เกิดที่นิ้วหัวแม่มือ (Trigger Thumb) และนิ้วมือ (Trigger Finger) ซึ่งความหมายคำว่า “Trigger” นั้น แปลตามพจนานุกรมคือ ภาวะที่มีการสะดุดหรือติดสะดุด สามารถเรียกโรคนี้ได้ว่า “โรคนิ้วติดสะดุด” ส่วนอาการล๊อคนั้นจะเป็นระยะสุดท้ายของโรค ซึ่งข้อนิ้วมือจะไม่สามารถเหยียดออกเองได้ หรือออกมาได้ด้วยความยากลำบาก
โรค นี้พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุประมาณ 40-50 ปี โดยมากจะเกิดกับผู้ที่ใช้มือทำงาน ในลักษณะที่เกร็งนิ้วบ่อยๆ เช่น กลุ่มแม่บ้านที่ต้องทำงานบ้าน แม่ครัวที่ต้องใช้มือทำงานมากๆ เป็นต้น กลุ่มนี้สาเหตุอยู่ที่การหนาตัวขึ้นของปลอดหุ้มเส้นเอ็นตรงบริเวณปลายมือ (A1-pulley) คนปกติมีปลอกหุ้มเส้นเอ็นชนิดนี้หุ้มเส้นเอ็นด้วยกันทุกคน แต่เส้นเอ็นจะสามรถลอดผ่านได้อย่างง่ายโดยไม่มีการบีบรัด ซึ่งในภาวะนิ้วติดสะดุดนี้ จะมีการหนาตัวของปลอกหุ้มเส้นเอ็นมากขึ้นจากสาเหตุที่มีการเสียดสี หรือมีแรงกดภายในปลอกหุ้มเส้นเอ็นเป็นเวลานานๆ เช่น พฤติกรรมการใช้มือดังกล่าวมาแล้ว โดยอาจมีความหนาเพิ่มขึ้นจากปกติ 5-7 เท่า นอกจากความหนาที่เพิ่มขึ้นแล้ว ความยืดหยุ่นก็ลดลง ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ จะเกิดการบีบรัดเส้นเอ็นขึ้นทีละเล็กทีละน้อย จนทำให้เกิดอาการตามมาดังต่อไปนี้

  • ระยะแรก จะมีอาการปวดบริเวณปลายมือและนิ้วมือที่ถูกบีบรัด ถ้าใช้นิ้วมืออีกข้างกดไปที่บริเวณปลายมือจะมีอาการเจ็บขึ้นมา ระยะนี้ยังไม่มีอาการติดสะดุดให้เห็น สามารถตอบสนองดีต่อการรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ การพักการใช้นิ้วมือ การปรับกิจกรรม การใช้นิ้วมือให้ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งการฉีดสเตียรอยด์เข้าเฉพาะที่
  • ระยะที่ 2 อาการปวดมักจะเพิ่มมากขึ้น ระยะนี้จะเริ่มมีก้อนคลำได้ที่ปลายมือ ถ้างอนิ้วไปมาจะคลำได้ก้อนที่วิ่งผ่านปลอกหุ้มเส้นเอ็น ระยะนี้จะมีการติดสะดุด ซึ่งอาการมีได้ตั้งแต่สะดุดเล็กน้อยจนถึงอาการสะดุดมากจนน่ารำคาญ ควรให้การรักษาเหมือนระยะแรก แต่ผลการรักษาจะแย่กว่า โดยเฉพาะถ้ามีอาการติดสะดุดมากกว่า 3 เดือน มักจะไม่หายสะดุด ซึ่งอาจต้องได้รับการผ่าตัดตัดปลอกหุ้มเอ็นออก
  • ระยะที่ 3 จะมีการล็อคของนิ้ว ในบางรายจะไม่สามารถเหยียดนิ้วออกมาได้ หรือทำได้ด้วยความลำบาก ระยะนี้มักจะลงเอยด้วยการผ่าตัด ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นออก

การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ ในการรักษาโรคนิ้วติดสะดุด
เป็นการรักษาที่ มีประสิทธิภาพค่อนข้างมาก ส่วนมากผู้ป่วยมักจะหายเจ็บและบางรายจะรู้สึกว่าอาการติดสะดุดลดลง ส่วนข้อจำกัดการฉีดยาแบบนี้ก็มี เช่น ไม่สามารถฉีดได้บ่อยๆ การฉีดไม่ควรเกิน 1-2 ครั้งในรอบ 1 ปี โดยประสบการณ์ส่วนตัวจะฉีดไม่เกิน 1-2 ครั้ง ถ้าไม่ดีขึ้น จะแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน หรือพวกที่มีเยื่อหุ้มเอ็นอักเสบ เช่น รูมาตอยด์ การฉีดยาแบบนี้จะได้ผลไม่ดีเท่าในผู้ป่วยปกต


วิธีการฉีดยา        
โดยทั่ว ไปจะใช้ยาผสมกับสเตียรอยด์ในหลอดเดียวกัน ฉีดผ่านปลอกหุ้มเส้นเอ็นผ่านเนื้อเส้นเอ็นเข้าไปในช่องว่าง วิธีนี้จะต้องแทงเข็มผ่านเส้นเอ็นและยาจะเข้าไปในพื้นที่ที่จำกัด จะทำให้มีความดันเกิดขึ้นมาก ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดค่อนข้างมาก และถ้าฉีดเข้าไปในเนื้อเส้นเอ็นจะเกิดการฉีกขาดของเส้นเอ็น
เนื่องจาก ความเจ็บปวดและข้อแทรกซ้อนดังกล่าว จึงได้มีการคิดวิธีฉีดแบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งรายงานแล้วได้ผลดีไม่แตกต่างจากวิธีอื่น และยังลดอาการปวดของผู้ป่วยได้ดีขึ้น เช่น การฉีดยาชานำไปก่อนที่บริเวณง่ามนิ้วมือและฉีดยาผ่านเข้าไป โดยไม่ต้องแทงเข็มผ่านตัวเนื้อเส้นเอ็น ซึ่งจากการฉีดยาแบบนี้พบว่าให้ผลการรักษาที่ดีไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บมากเหมือนวิธีดั้งเดิม และน่าจะลดโอกาสเกิดการขาดของเส้นเอ็นได้

การรักษาโดยการ ผ่าตัด
วิธีการผ่าตัดมาตรฐาน ผู้ป่วยควรได้รับการผ่าตัดในห้องผ่าตัดที่มีระบบควบคุมการติดเชื้อเป็นอย่าง ดี มีการใช้เสื้อคลุมผ่าตัดที่ผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้ว โดยขั้นตอนการผ่าตัดนั้นไม่ยุ่งยาก สามารถฉีดยาชาเฉพาะที่ได้ และผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวดเลยขณะผ่าตัด หลังจากฉีดยาชาเสร็จแล้ว ทำการลงมีดผ่าตัดโดยแผลจะยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตร จากนั้นจะใช้ตัวกันเพื่อให้เส้นประสาทที่วิ่งอยู่ทั้งสองข้างออกไป จะเห็นปลอกหุ้มเส้นเอ็นอย่างชัดเจน จากนั้นทำการตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นออก และศัลยแพทย์ยังสามารถมองเห็นการเคลื่อนที่ไปมาของเส้นเอ็นได้โดยตรง และทำการเย็บปิดประมาณ 2-3 เข็ม ซึ่งถ้าทำโดยศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญแล้ว โอกาสเกิดข้อแทรกซ้อนแทบจะไม่มีเลย

วิธีการผ่าตัดสำหรับผู้ ป่วยที่สงสัยมีเยื่อหุ้มเอ็นอักเสบร่วมด้วย
การ รักษาจะเหมือนกับวิธีแรก แต่การลงแผลจะลงใหญ่กว่า เพื่อสามารถตัดปลอกหุ้มเอ็นและเยื่อหุ้มเอ็นได้หมด ถ้าไม่สามารถตัดได้หมด อาจมีปัญหาตามมาได้ หรือต้องได้รับการผ่าตัดรอบที่ 2

วิธี การผ่าตัดแบบปิด
วิธีการนี้เริ่มเป็นที่ รู้จักกันในประเทศไทย เริ่มแรกจะทำการใช้เข็มเข้าไปเขี่ยและตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นออก โดยไม่ต้องมีแผล พบว่ามีข้อแทรกซ้อนค่อนข้างสูง คือมีการบาดเจ็บของเส้นประสาท โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งตำแหน่งของเส้นประสาทจะใกล้กับปลอกหุ้มเส้นเอ็นมากประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยังมีการบาดเจ็บของเส้นเอ็นที่อยู่ใต้ปลอกหุ้มเส้นเอ็นด้วย ต่อมามีการพัฒนาเครื่องมือให้ดีขึ้นและพบว่ามีข้อแทรกซ้อนที่น้อยลง
อย่าง ไรก็ตาม เนื่องจากเป็นการรักษาแบบวิธีปิด ซึ่งใช้ความรู้สึกและประสาทสัมผัสในขณะผ่าตัด โดยที่ไม่สามารถเข้าไปมองเห็นปลอกหุ้มเส้นเอ็นได้โดยตรง ประกอบทั้งปลอกหุ้มเส้นเอ็นในบริเวณนี้ (A1 pulley) มีการเคลื่อนที่ไปมาได้ มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทหรือเส้นเอ็นภายในโดยไม่ได้ตั้งใจ อีกทั้งยังมีปัญหาในเรื่องความสะอาด ซึ่งถ้ามีเชื้อโรคหลุดเข้าไปในเนื้อเยื่อหุ้มเส้นเอ็นนั้น จะเกิดอาการติดเชื้อที่มีข้อแทรกซ้อนที่รุนแรงมากตามมาได้
ดังนั้น โดยความเห็นส่วนตัวและความเห็นของศัลยแพทย์ทางมือ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ส่วนมากยังไม่แนะนำให้เป็นวิธีรักษามาตรฐานของการรักษาโรคนิ้วติดสะดุดหรือ โรคนิ้วล็อค แต่ทำการผ่าตัดได้แผลยาวแค่ 0.8-1 เซนติเมตร ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 5-10 นาที สามารถใช้ยาชาเฉพาะที่ได้ และทำในห้องผ่าตัดที่สะอาดจะปลอดภัยกว่ามาก ซึ่งต่างจากการผ่าตัดพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ ที่สามารถผ่าตัดโดยวิธีแบบกึ่งเปิดกึ่งปิด (Limited open carpal tunnel release) ปลอดภัยกว่าและให้ผลที่คุ้มค่ากว่า

การดูแลหลังผ่า ตัด
ผู้ป่วยควรกำมือบ่อยๆ และยกมือสูง ไม่ควรให้แผลถูกน้ำ โดยทั่วไปจะตัดไหมประมาณ 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด

พังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ

สาเหตุของโรค
พังผืด ภายในบริเวณข้อมือมีการหนาตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้ความดันภายในช่องข้อมือสูงขึ้น ทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณเส้นประสาทไม่ดี ทำให้มีอาการชาขึ้นมาได้ หรือสาเหตุทางทุติยภูมิอื่นๆ เช่น มีเยื่อหุ้มรอบเส้นเอ็นหนาตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้มีความดันสูงขึ้น โดยพังผืดไม่จำเป็นต้องหนาขึ้นก็ได้
อาการ ของโรค
โรคนี้พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยกลางคน อาการเริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการชานิ้วมือ ซึ่งมักจะเป็นที่นิ้วกลางและนิ้วนาง รวมทั้งนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือก็ชาได้ เริ่มแรกอาการมักจะชาตอนกลางคืน สะบัดข้อมืออาการจะดีขึ้น หรือชาตอนทำงาน ต่อมาอาการชาจะเป็นมากขึ้นและบ่อยขึ้น จนกระทั่งชาเกือบตลอดเวลา นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีแรง มีของหลุดจากมือโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นนานๆ โดยไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการอุ้งมือด้านข้างลีบได้
การรักษา เบื้องต้น
ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์เพื่อทำการ วินิจฉัยก่อนว่าใช่โรคนี้หรือไม่ เนื่องจากอาจเป็นโรคอื่น หรือการกดทับเส้นประสาทที่ตำแหน่งอื่นก็ได้ นอกจากนี้ ยังต้องแยกสาเหตุทางทุติยภูมิออกไปด้วย ถ้าแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ การรักษาเบื้องต้นได้แก่
การลด ความดันในโพรงข้อมือ ได้แก่

  1. การดามข้อมือ พบว่า ถ้าให้ข้อมืออยู่นิ่งๆ ตรงๆ จะมีความดันในโพรงข้อมือต่ำสุด ซึ่งจะทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงเส้นประสาทดีขึ้น ถ้าเป็นระยะแรก (พังผืดยังไม่หนามากนัก จะได้ผลค่อนข้างดี)
  2. ปรับการใช้ข้อมือในการทำงานและชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง พบว่า การทำงานที่ต้องใช้ข้อมือกระดกขึ้น หรืองอข้อมือซ้ำๆ กันนานๆ รวมทั้งงานที่มีการสั่นกระแทก จะทำให้ความดันในโพรงข้อมือสูงขึ้นได้ การปรับอุปกรณ์การทำงานให้ถูกตามหลักอาชีวศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
  3. ไม่พบว่ามียาที่ลดความดันในข้อมือที่ได้ผลจริงๆ ยกเว้นในรายที่เป็นโรคนี้แบบทุติยภูมิ เช่น จากภาวะรูมาตอยด์ และมีเยื่อหุ้มเอ็นหนาตัวขึ้น การให้ยาต้านโรครูมาตอยด์จะช่วยลดความดันในบริเวณข้อมือได้

การป้องกันการหนาตัวของพังผืด
ปกติ ใต้พังผืดจะมีเส้นเอ็นที่เราใช้งอนิ้วลอดผ่านอยู่ ถ้ามีการเกร็งจะทำให้มีแรงมากระทำต่อพังผืดนี้ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดการหนาตัวขึ้นมาได้ ในปัจจุบันทำได้เพียงให้ผู้ป่วยปรับกิจกรรมการทำงานให้มีการเกร็งและงอนิ้ว มือลดลง การทำให้เส้นประสาทอยู่ในภาวะที่เหมาะที่สุด ได้แก่ การกินอาหารที่ดีครบหมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่เครียด หรือการเสริมวิตามิน B จะช่วยได้

การใช้ยาชาผสมสเตียรอยด์ฉีดเข้า ไปในโพรงข้อมือ
วิธีนี้แพทย์จะใช้ยาชาผสมกับยาสเตียรอยด์ฉีด เข้าไป โดยจะหลีกเลี่ยงการฉีดตรงเส้นประสาท แต่จะฉีดไปในโพรงข้อมือรอบๆ แทน วิธีนี้พบว่าได้ผลดีเฉลี่ยประมาณ 40-50% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรค และปัจจัยอื่นๆ เช่น พบว่าในผู้ป่วยเบาหวาน รูมาตอยด์ จะตอบสนองต่อยาฉีดนี้น้อยลง
ถ้าการรักษาเบื้อต้นไม่ประสบความสำเร็จ และผู้ป่วยมีอาการชามากขึ้น ซึ่งในกรณีนี้อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยวิธีผ่าตัด

การ ผ่าตัดโรคพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ
โดย ทั่วไปหลักการของการผ่าตัดโรคพังผืดทับเส้นประสาทในข้อมือ คือ การเข้าไปตัดพังผืดที่พาดผ่านบริเวณด้านหน้าข้อมือออก ซึ่งจะทำให้ช่องว่างในโพรงข้อมือเพิ่มขึ้นประมาณ 15-20% ทำให้ความดันในโพรงข้อมือลดลง และเลือดสามารถมาเลี้ยงเส้นประสาทได้ดีขึ้น

วิธี การผ่าตัดพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ
มี หลายวิธี โดยวิธีที่ศัลยแพทย์นิยมทำกัน และยังถือว่าเป็นวิธีมาตรฐาน ได้แก่ การผ่าตัดแบบเปิด (open carpal tunnel release) ซึ่งทำในห้องผ่าตัด โดยวิธีการวางยาสลบ หรือฉีดยาที่เส้นประสาทบริเวณคอ-รักแร้ หรืออาจทำภายใต้ยาชาก็ได้ ซึ่งปัจจุบันนิยมทำภายใต้ยาชามากขึ้น เนื่องจากวิธีการฉีดยาชาค่อนข้างปลอดภัย ผู้ป่วยไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร และการผ่าตัดสามารถทำได้ด้วยความราบรื่น
นอกจากนี้ วิธีนี้มีประโยชน์กว่าวิธีอื่น คือ สาเหตุเปิดเห็นเส้นประสาทได้โดยตรง โอกาสบาดเจ็บต่อเส้นประสาทควรจะน้อยกว่า และสามารถทำผ่าตัดอื่นร่วมด้วยได้ เช่น ตัดเยื่อหุ้มเอ็นออกด้วย เป็นต้น

วิธีการผ่าตัดทาง เลือกอื่น

  1. การผ่าตัดแบบเปิดแผลจำกัด (Limited open carpal tunnel release) วิธีนี้จะเปิดแผลประมาณ 1.5 เซนติเมตร ที่ฝ่ามือและสามารถตัดพังผืดออกได้เช่นเดียวกับวิธีแรก แต่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการตัด วิธีนี้จะมีแผลที่เล็กกว่า ผู้ป่วยกลับไปทำงานเร็วขึ้น ส่วนผลการรักษาก็พอๆ กับวิธีแรก
  2. การผ่าตัดผ่านกล้อง (Arthroscopic carpal tunnel release) วิธีนี้จะใช้กล้องส่องเข้าไปใต้ต่อพังผืดข้อมือ และตัดพังผืดออกจากด้านใน วิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยกลับไปทำงานตามปกติได้เร็วขึ้น และเนื่องจากปราศจากแผลผ่าตัดที่มือ ผู้ป่วยจึงไม่เกิดการปวดที่ฝ่ามือหลังผ่าตัด ซึ่งเป็นปัจจัยที่พบได้บ่อยในการผ่าตัดแบบเดิม

ควรจะเลือกวิธีไหน
สามารถ ทำได้ทุกวิธี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความชำนาญของศัลยแพทย์เป็นหลัก

   
   
ข้อมูล จาก HAND CENTER โรงพยาบาลเวชธานี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ โทรศัพท์ 0-2734-0000
www.vejthani.com

 

view