สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ประชา พิจารณ์แก้ กม.สรรพสามิต พ่อค้ารุมค้านใช้ราคาขายส่งคำนวณภาษี

จากประชาชาติธุรกิจ


ภายหลังจากที่ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอา เซียน (AFTA) เริ่มมีผลใช้เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ไทยต้องปรับลดอากรขาเข้าเหลือ 0% สำหรับสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ

ในระยะ สั้นอาจจะยังมองไม่เห็นผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีมากนัก เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้ปริมาณการค้าขายระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตาม แต่ถ้าดูในระยะยาว อาจจะมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะผู้ผลิตภายในประเทศที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีสรรพสามิต ถึงแม้เสียภาษีในอัตราที่เท่ากันกับสินค้าที่นำเข้ามาจากอาเซียน แต่ฐานราคาที่จะนำมาใช้ในการคำนวณกับอัตราภาษีจะมี ความลักลั่นกันอยู่

กล่าวคือในกรณีที่เป็นสินค้านำเข้าจากอาเซียน นั้น ฐานราคา ที่จะใช้คำนวณภาษีสรรพสามิต คือ ราคาสินค้านำเข้าหรือราคาซี.ไอ.เอฟ.บวกด้วยอากรขาเข้า ซึ่งปัจจุบันอากรขาเข้าเหลือ 0% ส่วนราคาซี.ไอ.เอฟ.นั้น เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรต้องยอมรับราคาที่ผู้นำเข้าแจ้ง เพราะไทยเป็นสมาชิก GATT จะมีสินค้าบางประเภทแจ้งราคาต่ำกว่าความเป็นจริงมาก

ส่วน สินค้าที่ผลิตภายในประเทศ ทางกรมสรรพสามิตจะใช้ ราคาขาย ณ หน้าโรงงานอุตสากรรมเป็นฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิต จุดที่น่าสังเกตคืออัตราภาษีจะมีความแน่นอน, ชัดเจนและคงที่ แต่ราคาที่จะนำมาใช้เป็นฐานคำนวณกับอัตราภาษีไม่นิ่ง ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้นำเข้าสินค้ากับผู้ผลิตภายใน ประเทศ

จากภาพรวมของปัญหาตามที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ต้องโยนก้อนหินถามทาง ด้วยการนำเสนอแนวความคิด ที่จะหันไปใช้ราคาขายส่งช่วงสุดท้ายมาคำนวณหาราคาต้นทุน เพื่อที่จะนำมาใช้เป็นฐานราคาแทนราคาขาย ณ หน้าโรงงานและราคาซี.ไอ.เอฟ.

แต่ บังเอิญช่วงที่ปลัดกระทรวงการคลังหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดตรงกับช่วง จังหวะเวลาที่กรมสรรพสามิตมีการจัดงานสัมมนาปฏิรูปกฎหมายภาษีสรรพสามิตพอดี ดังนั้นนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม อธิบดีกรมสรรพสามิต จึงโยนประเด็นนี้เข้าสู่เวทีของการทำ ประชาพิจารณ์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมงานสัมมนา กว่า 200 คน ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย โรงงานยาสูบ โรงงานไพ่ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน รถยนต์ เครื่องดื่ม สุรา เบียร์ เป็นต้น โดยมีเสียงสะท้อนประเด็นสำคัญ ๆ ในเวทีนี้ ดังนี้



จริง ๆ ประเด็นที่มีการหารือในเวที่ประชาพิจารณ์เมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา ไม่ได้มีแค่เรื่องนี้เรื่องเดียวเท่านั้น แต่จะมีทั้งหมด 10 หัวข้อใหญ่ ได้แก่ 1) การเพิ่มคำนิยามต่าง ๆ 2) ฐานภาษี 3) อัตราภาษี 4) จุดความรับผิดทางภาษี 5) การบรรเทาภาระภาษี 6) กระบวนการตรวจสอบภาษี 7) หน้าที่ของผู้เสียภาษี 8) ค่าธรรมเนียมและโทษ 9) ยกเลิกกฎหมายที่ล้าสมัย 10) ประเด็น อื่น ๆ เป็นต้น แต่ประเด็นที่เป็นไฮไลต์ของงานนี้คือเรื่องการนำราคาขายปลีกขั้นสุดท้ายมา ใช้แทนราคาขาย ณ หน้าโรงงานอุตสาหกรรมและราคา ซี.ไอ.เอฟ. ซึ่งอยู่ในหัวข้อที่ 2 เรื่องฐานภาษี

โดยประเด็นที่อธิบดีกรม สรรพสามิตหยิบยกขึ้นมาพูดจะแตกต่างไปจากไอเดียของปลัดกระทรวงการคลังที่ กล่าวไว้ก่อนหน้านี้อยู่หลายประเด็น คือ การนำราคาขายส่งขั้นสุดท้ายมาคำนวณหา ราคาที่ใช้เป็นฐานภาษีนั้น จะนำมาบังคับใช้กับสินค้าที่ผลิตในประเทศและเลือกบังคับใช้ในสินค้าบาง ประเภทเท่านั้น จึงไม่ได้ ใช้เป็นการทั่วไป

ส่วนสินค้าที่นำเข้า จากต่างประเทศ ยังคงใช้ราคาซี.ไอ.เอฟ. มาเป็นฐานในการคำนวณภาษีเหมือนเดิม แต่จะมีการโยกอำนาจการกำกับดูแลราคาซี.ไอ.เอฟ.ของอธิบดีกรมศุลกากรมาอยู่ที่ อธิบดีกรมสรรพสามิตแทน แต่จะต้องเป็นไปตามหลักการพิสูจน์ราคาของ GATT

สาเหตุ ที่ต้องมีการย้ายอำนาจในการกำกับดูแลราคาซี.ไอ.เอฟ.มาอยู่ที่อธิบดีกรมสรรพ สามิต น่าจะเป็นผลมาจาก แนวโน้มของการจัดเก็บภาษีนำเข้าในอนาคตจะมีทิศทางที่ลดลงไป เรื่อย ๆ ตามข้อตกลงเปิดเขตการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ

จากหน่วยงานที่อดีตเคย ทำหน้าที่ในการจัดเก็บภาษี แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นหน่วยงานที่เน้นในเรื่องของการให้บริการ, อำนวยความสะดวกให้ผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ซึ่งอาจจะมีผลทำให้ระบบการตรวจสอบราคาซี.ไอ.เอฟ.มีความเข้มงวดลดลงไป เพราะถ้าไปตรวจสอบอย่างเข้มงวด จะทำให้เกิดความล่าช้าในการนำสินค้าผ่านพิธีการศุลกากร กลายเป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการ

เมื่ออธิบดีกรมสรรพสามิตโยนประเด็น ออกไปแบบนี้ จึงยังไม่แน่ใจว่าเป็นกลยุทธ์ที่อธิบดีกรมสรรพสามิตที่ใช้ในการระดมความคิด เห็นจากผู้ที่เข้าร่วมทำประชาพิจารณ์หรือไม่ เพราะผลที่ตามมาคือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่กรมสรรพสามิตนำเสนอ โดยผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรม เหล้า-เบียร์-บุหรี่ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย

ผู้ประกอบการรายหนึ่งในงาน สัมมนากล่าวว่า ต้นเหตุของปัญหา คือผู้นำเข้าสำแดงราคาต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้ผู้ผลิตในประเทศเสียเปรียบ แทนที่จะหันมาใช้วิธีการแก้ไขกฎหมาย แต่ทำไมกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรไม่หารือกันก่อน ทั้ง ๆ ที่เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง ขณะที่การนำระบบราคาขายส่งช่วงสุดท้ายมาใช้กับกลุ่มอุตสาหกรรมสุรา ยาสูบ เบียร์ มีรายละเอียดเป็นอย่างไรก็ไม่มีใครทราบ จึงต้องรอจนกว่าร่างกฎหมายจะผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และมีการออกประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการคำนวณราคา ขายส่งช่วงสุดท้าย ถึงจะประเมินผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ

เดิม ที่ผู้ผลิตในประเทศจะเป็นผู้แจ้งราคาขาย ณ หน้าโรงงานให้กับกรมสรรพสามิต แต่ถ้าเป็นระบบใหม่ใช้ราคาขายส่งช่วงสุดท้าย ทางกรมสรรพสามิตจะเป็นผู้คำนวณหาฐานราคาให้กับผู้ผลิต ปัญหาคือราคาขายส่งขั้นสุดท้าย แต่ละจังหวัดจะมีความแตกต่างกัน ยิ่งไกลก็ยิ่งแพง เพราะขึ้นอยู่กับค่าขนส่ง หรือสินค้าที่ผลิต ในจำนวนที่น้อยกว่านั้น ย่อมจะมีต้นทุนที่สูงกว่าสินค้าที่ผลิตเป็นจำนวนมาก ตอนนี้จึงยังไม่สามารถคาดเดาได้ แต่โดยสภาพความเป็นจริงของการทำธุรกิจ เรื่องการบริหารต้นทุนการผลิตเป็นประเด็นที่สำคัญมาก หากต้นทุนทางภาษีเพิ่มขึ้นอาจจะทำให้ ผู้ประกอบการขาดทุน หรือเสียเปรียบคู่แข่งขันได้

ส่วนแนวคิดที่จะเสนอให้มีการถ่ายโอน อำนาจในการกำหนดราคาซี.ไอ.เอฟ.มาอยู่ที่อธิบดีกรมสรรพสามิต ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องเทคนิคมาก ๆ จำเป็นที่จะต้องอาศัยเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย ตลอดจนประสบการณ์ในการประสานกับหน่วยงานที่อยู่ใน ต่างประเทศ เพื่อตรวจเช็กความถูกต้องของราคาซี.ไอ.เอฟ. ที่ผู้นำเข้าแจ้ง ก็มีคำถามว่าทางกรมสรรพสามิตมีศักยภาพเพียงพอแล้วหรือไม่

ถึงแม้ กรมศุลกากรจะถูกปรับเปลี่ยนบทบาทมาเป็นหน่วยงานที่ให้บริการ แต่ก็ยังถือเป็นหน่วยงานหน้าด่านอยู่เหมือนเดิม ผู้นำเข้าสินค้าต้องยื่นเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ต่อเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ซึ่งรวมทั้งบัญชีรายการสินค้าและราคาด้วย หากมีการถ่ายโอนอำนาจที่ว่านี้มาที่อธิบดีกรมสรรพสามิต ผู้นำเข้าจะต้องส่งเอกสารและจะต้องไปจ้างชิปปิ้งมาติดต่องานกับกรมสรรพสามิต ด้วยหรือไม่

ส่วนประเด็นข้อกฎหมายที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงที่เหลือ อีก 9 หัวข้อใหญ่ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ เรื่องโครงสร้างอัตราภาษี ทางกรมสรรพสามิตจะเสนอมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อขยายเพดานของอัตราภาษีสินค้าใน หมวดของสุรา-ยาสูบขึ้นไปอีก ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการปรับอัตราภาษีขึ้นไปชนเพดานสูงสุด ที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตสภาขยายเพดานขึ้นไปอีก

แต่ นายอารีพงศ์ยืนยันว่า ภายหลังจากที่กฎหมายผ่านสภา รัฐบาลก็ยังไม่มีแนวคิดที่จะปรับขึ้นภาษีสุรา-ยาสูบในช่วงนี้ เพราะรัฐบาลไม่ได้มีปัญหาเรื่องการจัดเก็บรายได้ โดยการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2553 สูงกว่าเป้าหมายเกือบ 30% มาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดทางกระทรวงการคลังได้ปรับเป้าหมายในการจัดเก็บภาษีของกรม สรรพสามิตในปีนี้ จากเดิมอยู่ที่ 291,000 ล้านบาท ปรับขึ้นเป็น 370,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ในหมวดหัวข้ออื่น ๆ ซึ่งเป็นหมวดสุดท้าย ได้มีการปรับปรุงกระบวนการของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีของกรม สรรพสามิตให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับกรมสรรพากรและกรมศุลกากร ในกรณีที่ผู้เสียภาษีมีความเห็นที่แตกต่างจากเจ้าหน้าที่สามารถส่งประเด็น ความขัดแย้งให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีพิจารณาได้ทันทีที่เรื่องส่งถึงคณะ กรรมการ เบี้ยปรับเงินเพิ่ม จะต้องหยุด จากนั้นคณะกรรมการวินิจฉัยจะต้องออกคำวินิจฉัยหรือแสดงความเห็นภายใน 30 วัน หากพ้นกำหนดระยะเวลาผู้เสียภาษีสามารถส่งเรื่องไปให้ศาลภาษีอากรพิจารณาได้ หรือ อีกทางเลือกหนึ่งผู้เสียภาษีอาจจะขอให้คณะกรรมการวินิจฉัย ต่อไปอีกก็ได้

หลังจากที่มีการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้แล้ว กรมสรรพสามิตจะรวบรวมความคิดเห็นของผู้ประกอบการทั้งหมดไปปรับปรุงประเด็น ข้อกฎหมายและรายงานให้กระทรวงการคลังรับทราบผล จากนั้นในช่วงกลางเดือน เม.ย.นี้จะนำร่างกฎหมายมาเสนอต่อที่ประชุมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าไทยอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะนำร่างกฎหมายทั้งหมดเสนอต่อที่ ประชุมคณะรัฐมนตรีในช่วงปลายเดือน เม.ย.นี้ ก่อนที่จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา

สุดท้ายกรมสรรพสามิตจะสามารถ ผลักดันราคาขายส่งช่วงสุดท้ายมาใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีแทนราคาขาย ณ หน้าโรงงานอุตสาหกรรมได้สำเร็จหรือไม่ ใครจะได้เปรียบ เสียเปรียบ เป็นประเด็นที่จะต้องไปลุ้นกันต่อไป

view