จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
โดย : นพ.กฤษดา ศิรามพุช
การหาคู่และการ แต่งงานเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ดีที่สุด เพราะคนที่เราเลือกจะอยู่กับเราไปนาน แล้วเมื่อไรจะได้ออกเรือนเสียที อะไรคือความพร้อม
ในธรรมเนียมอินเดียผู้หญิงต้องเป็นฝ่ายขอผู้ชาย ในยุโรปเจ้านายสตรีจำต้องออกปากเรื่องแต่งงานกับบุรุษผู้ต้องพระ ประสงค์นั้นเอง โดยเฉพาะถ้าเจ้านายสตรีนั้นทรงเป็นเจ้าแผ่นดิน ดังเช่นสมัยเมื่อเกือบสองร้อยปีก่อน สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงออกโอษฐ์ขอแต่งงานกับเจ้าชายอัลเบิร์ ตด้วยองค์เองก่อน
นี่คือประเพณีออกเรือนของแต่ละซีกโลก
ส่วนสำหรับของไทยเราก็ว่าต้องบวชเรียนก่อนแล้วค่อยตบแต่งหาคู่กัน ส่วนผู้หญิงก็ต้องมีวัยอันสมควรได้ผ่านการบ้านการเรือนมาบ้างเขาถึงแต่ง เถ้าแก่ไปสู่ขอกัน แต่ถ้าอย่างเดี๋ยวนี้เถ้าแก่คงงงพิลึกเพราะสาวเจ้าก็จะให้ดูตัวผ่านเฟซบุ๊ค ว่างหน่อยก็จะทวีตทักทายคนทั้งบาง และมีบีบีไว้คอยส่งดูใจกับหนุ่มอยู่เป็นระยะ
ทำเอาเถ้าแก่ตกงานไปในทันใด
เพราะสาวเลือกคู่เองประเภท “สวยเลือกได้” ผ่านเทคโนโลยีทันสมัยซึ่งรวมถึงหนุ่มด้วย เรียกว่าไอทีมีส่วนทำให้รุ่นสาวรุ่นหนุ่ม “คลิก” กันติดถึงใจได้เร็วแบบชั่วพริบตา
“ออกเรือน” ไม่ใช่ “ออกรอบ”
การหาคู่และการแต่งงานเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ ดีที่สุด เพราะคนที่เราเลือกจะอยู่กับเราไปนาน แม้จะเลิกร้างกันไปเสียก่อนแต่ก็มีผลกระทบมหาศาลเช่นถ้ามีลูกก็ทำให้จิตใจ ลูกมีแผลเป็นหรือถ้าไม่มีก็อาจรู้สึกในใจเองว่าเป็นคนที่ล้มเหลวในชีวิตคู่
ชีวิตคู่เป็นเรื่องของใครของมัน ไม่มีสูตรสำเร็จ สูตรของคู่นี้อาจใช้กับอีกคู่หนึ่งแล้วล่มไม่เป็นท่าเหมือนกับยาผีบอกที่ เผลอกินแล้วก็ได้ไปอยู่กับผีแทนด้วย
ส่วนสำหรับท่านที่สงสัยว่าถ้าอย่างนี้เมื่อไรจะได้ออกเรือนเสียที ก็เลยร่าง “ธรรมนูญ” สำหรับออกเรือนเอาไว้ให้ว่าควรมีกระไรบ้าง ขอให้ลองดูคุณสมบัติตามนี้ว่าถ้ามีแล้วก็ออกเรือนโลด
1) เค้าหน้าคล้ายเรา งานวิจัยบอกว่าคนเรามักรักคนที่หน้าตาคล้ายกับตัวเอง
2) ภูมิธรรมเสมอกัน ไม่ได้หมายถึงปริญญาหากแต่จิตใจและพื้นฐานประสบการณ์คล้ายกัน
3) ได้คบหาดูใจกันมานานโข ยิ่งถ้าเป็นเพื่อนสมัยเรียนได้ยิ่งดีเพราะวัยเด็กคือวัยที่จริงใจกันลึกซึ้ง กว่า
4) หาแฟนที่เป็นเพื่อนเราได้ ไม่ใช่หาเพราะความสวยหรือเกิดอารมณ์หวือหวาเพียงครู่
5) อยู่แล้วมาเอง เรื่องแฟนไม่ใช่สิ่งต้องขวนขวายหนัก ของอย่างนี้ยิ่งไขว่คว้ายิ่งไกลห่าง
6) รักษาความสัมพันธ์เพื่อนได้ ยิ่งกับเพื่อนสนิทมิตรรักแต่เด็กจนโตเป็นผู้ใหญ่ยิ่งดีแสดงถึงจิตใจมั่นคง
การออกเรือนไม่เหมือนออกรอบตีกอล์ฟที่เราเลือกแค็ดดี้ใหม่ได้ถ้าไม่ถูก ใจ
การสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ไม่ใช่เครื่องการันตีความสำเร็จเช่นไร การได้แต่งงานก็ใช่ว่าจะทำให้ชีวิตรุ่งโรจน์เช่นนั้น เพราะการแต่งงานจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าเรา ยังไม่รู้จักตัวเองดีพอ
ถ้าแค่แต่งเพื่อให้ “เติมเต็ม (Fulfill)” วิถีแห่งชีวิตช่วงหนึ่งของมนุษย์คือ เกิดมาเรียนหนังสือ เข้ามหาวิทยาลัย ทำงาน แล้วก็ “แต่งงาน” จากนั้นก็มีลูกแล้วก็เกษียณนอนเขลงอ
อย่างนี้ก็อาจไม่ช่วยให้ช่วงชีวิตหนึ่งที่เกิดมาได้พบ “ความหมาย” ที่แท้
ได้แต่เป็นมนุษย์ “ตามน้ำ” ไปไม่รู้จบ
* นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ American Board of Anti-aging medicine