สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ยุโรป ได้เพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากเศษไม้เยอะเลย...แล้วไทยเราล่ะ !

จากประชาชาติธุรกิจ



คอลัมน์ ระดมสมอง

โดย ประสาท มีแต้ม prasart.m@psu.ac.th คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



ปัจจุบันคนไทยเราใช้ไฟฟ้า รวมกันปีละประมาณ 4 แสนล้านบาท ถ้าคิดเฉลี่ยเป็นรายหัวก็ตกปีละกว่า 6 พันบาท ซึ่งเป็นเงินจำนวนไม่น้อยอยู่หรอก แต่นั่นยังไม่สำคัญเท่ากับปัญหาความขัดแย้งทางสังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งตกเป็นข่าวตลอดนานกว่า 10 ปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการคัดค้านของชาวแม่เมาะ บ่อนอก บ้านกรูด และมาบตาพุด

ดัง นั้นเรื่องปัญหาจากกิจการไฟฟ้าจึงเป็นเรื่องที่คนไทยเราไม่ควรเฉยเมย เพราะนอกจากจะเป็นปัญหากับตัวเราเองทุกคนแล้ว ยังเป็นปัญหาของเพื่อนร่วมชาติและร่วมโลก หรือปัญหาโลกร้อนด้วย

บท ความนี้จะเปรียบเทียบระหว่างการผลิตไฟฟ้าไทยกับของประเทศยุโรปในประเด็นที่ เกี่ยวกับการใช้เศษไม้มาผลิตไฟฟ้า โดยมีวัตถุประสงค์ว่าเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้วประเทศไทยเราก็มีแหล่งเชื้อเพลิงในท้องถิ่นของตนเองมากมาย มากกว่าประเทศยุโรปเสียอีก แต่ทำไมผู้มีอำนาจทั้งหลายจึงคิดแต่จะพึ่งเชื้อเพลิงที่ประเทศเราไม่ค่อยมี เช่น นิวเคลียร์ ถ่านหิน และรวมทั้งก๊าซธรรมชาติที่กำลังจะหมดไป เป็นต้น

เมื่อ เร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้นำเสนอแผนผลิตไฟฟ้าที่เรียกว่า "แผนพีดีพี 2010" ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

แผนนี้มีอายุการใช้งาน 20 ปี จาก 2553 ถึง 2573 โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งโรงไฟฟ้าและระบบสายส่ง รวมกันถึง 4.3 ล้านล้านบาท เฉลี่ยก็ปีละกว่า 2 แสนล้านบาท

ข่าวจากไทยรัฐออนไลน์ (19 มี.ค. 53) เสนอว่า "นายกฯสั่งที่ประชุม กพช. ทบทวนแผน "พีดีพี 2010" หรือแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่ อ้างประชาชนไม่ยอมรับ และไม่อาจเกิดขึ้นโดยง่าย สั่งหาพลังงานทดแทนอื่นมาใช้แทน"

ในความ เห็นของผม พบว่าแผนดังกล่าวมีปัญหาหลายประเด็น แต่ในที่นี้ผมขอจับเฉพาะประเด็นการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล เช่น เศษไม้ แกลบ ทะลายปาล์ม ฯลฯ เพียงประเด็นเดียว และเป็นประเด็นที่ไม่ได้นำมาคิดในการจัดทำแผนดังกล่าวเลย

ก่อนที่จะ ลงไปในรายละเอียด ผมขอชวนท่านผู้อ่านมาคิดในสิ่งที่ "ผู้ทำแผน" ไม่เคยคิดมาก่อนเลย เราจะไปโทษผู้ทำแผนก็ไม่ได้ เพราะหน้าที่ที่เขาได้รับมอบหมายมีเพียงแค่ทำแผนเท่านั้น

แต่ในฐานะ รัฐบาล ฐานะพรรคการเมือง ตลอดจนผู้สนใจปัญหาสังคมทั้งหลาย เราจะมีกรอบความคิดแคบ ๆ อย่างนั้นไม่ได้

เราควรจะตั้งคำถามว่า ในขณะที่ประชากรของประเทศเรากำลังมีปัญหาความยากจน ปัญหาการไม่มีงานทำ ทำไมกิจการไฟฟ้าซึ่งมีมูลค่าถึง 4 แสนล้านบาทต่อปี จึงไม่ใช้เศษไม้ในท้องถิ่นมาสร้างรายได้ให้ชาวบ้านบ้าง

ไม่ต้องมาก หรอกครับ ขอสัก 2 หมื่นล้านบาทต่อปี หรือ 5% ของทั้งหมดมาเป็นค่าเชื้อเพลิงที่ชาวบ้านสามารถปลูกได้เอง ไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ไม่ต้องขนส่งไกล แล้วลองจินตนาการดูซิว่า "มันจะสร้างความสุข ความเข้มแข็งให้กับสังคมไทย" ได้สักแค่ไหน

และ เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ผมกล่าวถึงนี้ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน ผมขอนำเสนอตัวอย่างของกลุ่มประเทศยุโรป ตลอดจนงานวิจัยบางชิ้นที่หน่วยราชการของไทยได้ลงเงินลงทองไปจ้างเขาวิจัยมา แล้ว แต่ไม่ยอมนำมาใช้งานให้เป็นประโยชน์

เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ ผ่านมา เว็บไซต์หนึ่ง (http://bioenergy.checkbiotech.org) ได้นำเสนอผลการศึกษาที่มีชื่อว่า "ตลาดสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลในยุโรป, The Market for Biomass Power Plants in Europe" (โดยบริษัทที่ปรึกษาชื่อ ecoprog- ภาพข้างล่างคือส่วนหนึ่งของหน้าปกรายงาน มุมขวามือด้านล่างคือเศษไม้) สรุปความสำคัญได้ว่า

จากปี 2003 ถึง 2009 โรงไฟฟ้าชีวมวลใน 23 ประเทศของยุโรปได้เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว คือจาก 5,300 เป็น 7,100 เมกะวัตต์ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 เมกะวัตต์ ในปี 2013

ท่านผู้อ่านที่ไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงดังกล่าว ก็คงนึกไม่ออกว่ามันสักขนาดไหน ก็ขอเรียนว่า 1 หมื่นเมกะวัตต์ ก็มากกว่า 1 ใน 3 ของโรงไฟฟ้าทั้งหมดที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน

เหตุผลที่มี การเพิ่มของตลาดอย่างรวดเร็วก็คือ "การส่งเสริมอย่างจริงจัง (intensified promotion)" โดยใช้กฎหมายที่เรียกว่า Feed in Law เป็นเครื่องมือซึ่งเกือบทุกประเทศของยุโรปมีกฎหมายในลักษณะนี้อยู่แล้ว

หลัก การของกฎหมาย Feed in Law ง่ายมากครับ คือบังคับให้บริษัทที่รับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ปลายทาง ว่าจะต้องรับซื้อกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงพลังงานหมุนเวียน (เศษไม้เป็นพลังงานหมุนเวียน) ในราคาพิเศษ ในช่วงเวลาที่แน่นอนคือประมาณ 20 ปี ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดต้องร่วมกันรับผิดชอบ

ใน ปี 2549 ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ทำให้ประเทศเยอรมนีมีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุน เวียนประมาณ 11.8% ของไฟฟ้าทั้งหมด ภาระที่เพิ่มขึ้นทำให้แต่ละครอบครัวต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ประมาณครอบครัวละ 75 บาทต่อเดือน

ถ้านำมาใช้กับประเทศไทยเรา คาดว่าค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว ไม่ได้แพงมากอย่างที่มีการกล่าวหากัน

รัฐบาลไทยได้เคยว่าจ้างบริษัท Black & Veatch ให้ศึกษาเมื่อปี 2543 (เสียเงินไปเท่าใดไม่ทราบ) พบว่าในเชิงเทคนิค ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล (รวมก๊าซชีวภาพด้วย) ถึง 7 พันเมกะวัตต์ โดยมีศักยภาพเชิงพาณิชย์ถึงมากกว่า 4,500 เมกะวัตต์

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลในขณะนั้นมีเป้าหมายที่จะผลิตให้ได้ 1,140 เมกะวัตต์ ในปี 2554 แต่ในความเป็นจริง นับถึงสิ้นปี 2552 เรามีโรงไฟฟ้าดังกล่าวเพียง 712 เมกะวัตต์เท่านั้น ต่ำกว่าเป้า

เราตามมาตรวจสอบดูซิครับว่า ในแผนพีดีพี 2010 เขากำหนดไว้เท่าใด พบว่าจนถึงปี 2573 แผนนี้จะมีการใช้เชื้อเพลิงจากชีวมวลและก๊าซชีวภาพเพียง 3,208 เมกะวัตต์เท่านั้น โดยต้องรออีกนานถึง 20 ปี

ทั้ง ๆ ที่ทุกอย่างพร้อมแล้ว ทั้งแหล่งเชื้อเพลิงที่ประเทศไทยสามารถผลิตเศษไม้ ทะลายปาล์ม ฯลฯ จำนวนมหาศาลในแต่ละปี

คำถาม แล้วทำไมจึงไม่บรรจุลงในแผนทันที ทำไมต้องไปหาแหล่งถ่านหิน นิวเคลียร์จากต่างประเทศซึ่งนอกจากจะเป็นพิษต่อชุมชนแล้ว ยังมีราคาแพงขึ้นทุกวันด้วย รวมถึงไม่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วย

ขณะ นี้คนไทยเราได้พบเห็นความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงดำรงอยู่ แต่ถ้าสาวลึกลงไปในประเด็นสำคัญ ๆ เช่น ไฟฟ้า น้ำมัน เราจะพบเห็นสิ่งที่แย่ ๆ กว่านี้อีกเยอะมาก ช่วยกันครับ ช่วยกันตรวจสอบโครงการของรัฐ ช่วยกันสร้างสังคมใหม่เพื่อลูกหลานของเราครับ

view