จากประชาชาติธุรกิจ
หลังจาก ที่ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด/นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร กรรมการผู้จัดการ ในวันที่ 8 ตุลาคม 2552 ตามกระบวนการฟ้องล้มละลายระหว่างธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮแบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น ในฐานะโจทย์ กับบริษัท เพรซิเดนท์ อะกริฯ จำเลย พร้อมกับ ตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่มีถึง 30 ราย คิดเป็นเงินถึง 25,345,720,473.20 บาท โดยมีองค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดจำนวนเงินกว่า 5,300 ล้านบาทนั้น
ถือเป็น การปิดฉากตำนานบริษัทผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่บริษัทหนึ่งของประเทศ ที่เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีของอดีตรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (2545-2549) จากบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนแรกตั้งในปี 2535 เพียง 120 ล้านบาท แจ้งประกอบธุรกิจการผลิตและจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุง ภายใต้ร่มเงาของกลุ่มสหพัฒน์ ยักษ์ใหญ่ทางด้านผลิตภัณฑ์อาหารที่ถูกกุมบังเหียนโดย นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ในฐานะ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทแห่งนี้ ในนาม บริษัท เพรซิเดนท์ ไรซ์โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)
ทะยานสู่เบอร์ 1 ผู้ส่งออกข้าวไทย
ตำนาน ของเพรซิเดนท์ อะกริฯ น่าจะเริ่มต้นจาก การประมูลขายข้าวลอตใหญ่ จำนวน 500,000 ตัน ให้กับ "บูล็อก" องค์การสำรองอาหารแห่งประเทศอินโดนีเซีย ในปี 2547 โดยการประมูลข้าวครั้งนั้น เพรซิเดนท์ อะกริฯ จะไม่มีทางชนะได้เลย ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือจาก พ.ต.ท.ทักษิณ เนื่องจากอินโดนีเซียซื้อข้าวในลักษณะ G to G เท่านั้น การขายข้าวให้กับบูล็อกถูกตามมาด้วยการเปิดประมูลขายข้าวสต๊อกรัฐบาลในปี เดียวกันนั้นเอง ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2544/45 และ 2546/47 ในจำนวน 1.9 ล้านตัน แน่นอนว่าบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ เพียงบริษัทเดียวที่ชนะการประมูลได้ข้าวไปถึง 1.68 ล้านตัน ท่ามกลางการโจษจันในวงการค้าข้าวในขณะนั้นที่ว่า นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในเวลานั้น "เอื้อประโยชน์" ให้กับบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ ด้วยการยอมรับข้อเสนอของบริษัทที่ขอ "ค่าการตลาด" ตันละ 4.5 เหรียญ บวกกับค่าปรับปรุงข้าวอีกตันละ 16.25 เหรียญ โดยที่บริษัทผู้ประมูลรายอื่นไม่สามารถล่วงรู้ข้อตกลง "ลับ" ระหว่างนายวัฒนา กับบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯได้
การเอื้อประโยชน์ให้ กับบริษัท เพรซิเดนท์ อะกริฯ ได้พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง นายวัฒนา เมืองสุข กับนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร ต่อมาอย่างยาวนาน ในขณะที่ความสัมพันธ์กับ "นายเก่า"อย่างนายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ เริ่มเสื่อมทรามลง เมื่อฝ่ายหลังเห็นว่า นายอภิชาติกำลังนำบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง ส่งผลให้การค้าข้าวกับนักการเมืองผู้มีอำนาจในขณะนั้น "แยกกันไม่ออก"ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของเครือ สหพัฒน์
และนำ มาซึ่งการแจ้งขายหุ้นจำนวน 51% ที่ บริษัท เพรซิเดนท์ ไรซ์โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ถือในบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ ให้กับบริษัทจัสมิน เซอร์เวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในมูลค่า 300 ล้านบาท ในเดือนตุลาคม 2547 โดยนายอภิชาติยอมรับว่า บริษัทจัสมิน เซอร์เวย์ฯ ก็คือบริษัทส่วนตัวที่ตั้งมาตั้งแต่ปี 2538 นั่นหมายความว่าในปี 2547 นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร คือ "นายใหญ่" เพียงผู้เดียวในบริษัทแห่งนี้ จากหุ้นที่ถืออยู่ถึง 97% พร้อม ๆ กับ การก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของประเทศ แซงหน้ากลุ่มนครหลวงค้าข้าว ที่เคยครองอันดับ 1 มา อย่างยาวนาน
ช่วง เวลาแสนสั้นเมื่อการเมืองเปลี่ยนขั้ว
แต่ตำนานของบริษัทเพรซิ เดนท์ อะกริฯ ไม่ได้จบลงที่การเป็นผู้ส่งออกข้าวเบอร์ 1 ของประเทศในปี 2547 เมื่อบริษัทผู้ส่งออกข้าวด้วยกันเอง เริ่ม "สงสัย" ว่า เพรซิเดนท์ อะกริฯ มีการส่งออกข้าวไปต่างประเทศจริงหรือไม่ ? เมื่อยอดการส่งออกข้าวของคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ไม่ตรงกันกับตัวเลขส่งออกของกรมศุลกากร โดยมีปริมาณข้าวที่แตกต่างกันอยู่ระหว่าง 200,000-300,000 ตัน พร้อมกับข้อสังเกตที่ว่า ข้าวจำนวนนี้ถูกนำมาหมุนเวียนภายในประเทศ รวมไปถึงความเป็นไปได้ที่จะถูกนำมารวมในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในปี 2547
การตรวจสอบกรณีอื้อฉาวดังกล่าวได้ดำเนินมาตลาดปี 2548 ภายใต้ คณะอนุกรรมาธิการการเศรษฐกิจด้านการพาณิชย์ วุฒิสภา พบความผิดปกติใน เส้นทางการส่งออกข้าวระหว่างเรือฉลอมไปยังเรือใหญ่ ส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมศุลกากร และองค์การคลังสินค้า (อคส.) ต้องปรับเปลี่ยนตัวเลขการส่งออกและรับมอบข้าวกันยกใหญ่ เพื่อลบล้างความผิดปกติที่เกิดขึ้นให้ได้ ในขณะที่บริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯเองได้ยื่น "ใบขน" เพิ่มเติมเข้ามา เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันถึงการส่งออกข้าวจริง พร้อมกับยอมรับด้วยว่ามีข้าวส่วนหนึ่งถูกขายให้กับผู้ส่งออกข้าวภายในประเทศ โดยอ้างว่าเป็นการขาย เพื่อส่งออกอีกต่อหนึ่ง
กระบวนการตรวจสอบดังกล่าวสิ้นสุดลง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลชุดใหม่จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ภายหลังการรัฐประหารโดยคณะ คมช. ในเดือนกันยายน 2549 พลันที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น การเอื้อประโยชน์จากนายวัฒนาก็สิ้นสภาพตามไปด้วย ส่งผลให้การรับมอบข้าวที่ซื้อไปจากรัฐบาลจำนวน 1.68 ล้านตัน เริ่ม "ติดขัด" เมื่อราคาข้าวในช่วงเวลานั้น "ผันผวน" ขึ้นลงอย่างหนัก ประกอบกับบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ ไม่ได้กลายเป็นผู้ผูกขาดการซื้อขายข้าวเพียงรายเดียวในประเทศอีกต่อไป
เรื่อง ของนกฟินิกซ์ที่รอการฟื้นจากกองไฟ
ขึ้นปี 2550 ฐานะทางการเงินของบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ ได้ตกต่ำลงอย่างเห็น ได้ชัด เมื่อมีการผิดนัดชำระหนี้ธนาคาร จนธนาคารหยุดปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัท ส่งผลให้การรับมอบข้าวในจำนวนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านตัน ที่บริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯซื้อจากรัฐบาลหยุดชะงักไปด้วย วิธีการที่บริษัทนำมาใช้ก็คือ การยื่นหนังสือขอเลื่อนระยะเวลาการส่งมอบข้าวออกไปจากกำหนดระยะเวลาเดิมที่ ทำไว้ในสัญญาซื้อขายข้าวกับองค์การคลังสินค้า (อคส.) รวมไปถึงการขอ "ยกเลิก" สัญญาซื้อขายข้าวที่เหลืออีก 500,000 ตัน ในปลายปีเดียวกันนั้น และนำมาซึ่งการทิ้งสัญญาข้าวในที่สุด
นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร ได้หายหน้าไปจากวงการค้าข้าวไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่ก่อตั้งโดยคณะรัฐประหาร 19 กันยายน ได้ไต่สวนเอาผิดกับนายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หลังจากที่ถูกย้ายไปจากกระทรวงพาณิชย์ ในข้อกล่าวหาทุจริตและรับสินบนจากบริษัท พาสทิญ่า ไทย จำกัด ผู้รับเหมาโครงการบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) โดยตรวจพบว่ามีการจ่ายสินบนผ่านบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ และลูกจ้างของบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ ในวงเงิน 82.6 ล้านบาท และยังพบ พฤติกรรมการ "ฟอกเงิน" อีกกว่า 8.5 พันล้านบาท อีกด้วย โดยคดีนี้ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการ
ต่อมาตัว บริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯเองได้ปิดกิจการลง ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันนั้น ตามมาด้วยการถูกสถาบันทางการเงินหลายต่อหลายแห่ง รวมทั้งหน่วยงานของรัฐฟ้องดำเนินคดีทั้งในกรณีผิดสัญญา-ยักยอก-ผิดนัดชำระ หนี้ และฉ้อโกง ตามมาด้วยการถูกฟ้องล้มละลายโดย ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮแบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น ในระหว่างปี 2551-2552 ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผ่านมูลหนี้ถึง 25,345,720,473.20 บาท สูงเป็นประวัติการณ์ในวงการค้าข้าวไทย
ถึงอย่างไรก็ตาม แม้บริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯจะปิดฉากตัวเองลงไปแล้วก็ตาม แต่นั่นมิได้หมายความว่า นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร คนแซ่จันแห่งโรงสีหย่งฮงหมง จ.พิจิตร ในอดีต จะหยุดการค้าข้าวตามไปด้วย เนื่องจากในช่วง 2 ปี ของความวุ่นวายทางการเมืองที่ผ่านมา ได้ปรากฏชื่อของ บริษัทสยามอินดิก้า เข้าร่วมการประมูลสต๊อกข้าวจากโครงการรับจำนำของรัฐบาลอย่างสม่ำเสมอ นั้นเป็นการส่งสัญญาณที่ว่า นายอภิชาติยังไม่ได้วางมือหลังการถูกฟ้องล้มละลาย และบางทีอาจจะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง หากสถานการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนขั้ว และสามารถเชื่อมต่อนักการเมืองเก่า จากสายสัมพันธ์เดิมที่พร้อมจะสานต่อ "ผลประโยชน์" ร่วมกัน
อภิชาติ เพรซิเดนท์ อะกริฯ อภิมหายักษ์ค้าข้าว นกฟินิกซ์ที่รอการฟื้นจากกองไฟ
ประชาชาติธุรกิจ
เปิดตำนาน นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร เอ็มดี บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด รุ่งสุดขีด ในยุครัฐบาลทักษิณ ก่อนทะยานสู่เบอร์ 1 ผู้ส่งออกข้าวไทย ประมูลข้าวลอตใหญ่ แต่ช่วงเวลาแห่งความสุขก็แสนสั้น ทันทีทีการเมืองเปลี่ยนทิศ เส้นทางธุรกิจก็หักเห วันนี้ แบกหนี้ 25,345 ล้านบาท ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เขาจะเป็นนกฟินิกซ์ที่รอการฟื้นจากกองไฟ ได้หรือไม่
.... หลังจากที่ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด/นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร กรรมการผู้จัดการ ในวันที่ 8 ตุลาคม 2552 ตามกระบวนการฟ้องล้มละลายระหว่างธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮแบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น ในฐานะโจทย์ กับบริษัท เพรซิเดนท์ อะกริฯ จำเลย พร้อมกับ ตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่มีถึง 30 ราย คิดเป็นเงินถึง 25,345,720,473.20 บาท โดยมีองค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดจำนวนเงินกว่า 5,300 ล้านบาทนั้น ถือเป็นการปิดฉากตำนานบริษัทผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่บริษัทหนึ่งของประเทศ ที่เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีของอดีตรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (2545-2549) จากบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนแรกตั้งในปี 2535 เพียง 120 ล้านบาท แจ้งประกอบธุรกิจการผลิตและจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุง ภายใต้ร่มเงาของกลุ่มสหพัฒน์ ยักษ์ใหญ่ทางด้านผลิตภัณฑ์อาหารที่ถูกกุมบังเหียนโดย นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ในฐานะ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทแห่งนี้ ในนาม บริษัท เพรซิเดนท์ ไรซ์โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)
ทะยานสู่เบอร์ 1 ผู้ส่งออกข้าวไทย ตำนานของเพรซิเดนท์ อะกริฯ น่าจะเริ่มต้นจาก การประมูลขายข้าวลอตใหญ่ จำนวน 500,000 ตัน ให้กับ "บูล็อก" องค์การสำรองอาหารแห่งประเทศอินโดนีเซีย ในปี 2547 โดยการประมูลข้าวครั้งนั้น เพรซิเดนท์ อะกริฯ จะไม่มีทางชนะได้เลย ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือจาก พ.ต.ท.ทักษิณ เนื่องจากอินโดนีเซียซื้อข้าวในลักษณะ G to G เท่านั้น การขายข้าวให้กับบูล็อกถูกตามมาด้วยการเปิดประมูลขายข้าวสต๊อกรัฐบาลในปี เดียวกันนั้นเอง ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2544/45 และ 2546/47 ในจำนวน 1.9 ล้านตัน แน่นอนว่าบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ เพียงบริษัทเดียวที่ชนะการประมูลได้ข้าวไปถึง 1.68 ล้านตัน ท่ามกลางการโจษจันในวงการค้าข้าวในขณะนั้นที่ว่า นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในเวลานั้น "เอื้อประโยชน์" ให้กับบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ ด้วยการยอมรับข้อเสนอของบริษัทที่ขอ "ค่าการตลาด" ตันละ 4.5 เหรียญ บวกกับค่าปรับปรุงข้าวอีกตันละ 16.25 เหรียญ โดยที่บริษัทผู้ประมูลรายอื่นไม่สามารถล่วงรู้ข้อตกลง "ลับ" ระหว่างนายวัฒนา กับบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯได้ การเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท เพรซิเดนท์ อะกริฯ ได้พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง นายวัฒนา เมืองสุข กับนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร ต่อมาอย่างยาวนาน ในขณะที่ความสัมพันธ์กับ "นายเก่า"อย่างนายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ เริ่มเสื่อมทรามลง เมื่อฝ่ายหลังเห็นว่า นายอภิชาติกำลังนำบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง ส่งผลให้การค้าข้าวกับนักการเมืองผู้มีอำนาจในขณะนั้น "แยกกันไม่ออก"ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของเครือ สหพัฒน์ และนำมาซึ่งการแจ้งขายหุ้นจำนวน 51% ที่ บริษัท เพรซิเดนท์ ไรซ์โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ถือในบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ ให้กับบริษัทจัสมิน เซอร์เวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในมูลค่า 300 ล้านบาท ในเดือนตุลาคม 2547 โดยนายอภิชาติยอมรับว่า บริษัทจัสมิน เซอร์เวย์ฯ ก็คือบริษัทส่วนตัวที่ตั้งมาตั้งแต่ปี 2538 นั่นหมายความว่าในปี 2547 นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร คือ "นายใหญ่" เพียงผู้เดียวในบริษัทแห่งนี้ จากหุ้นที่ถืออยู่ถึง 97% พร้อม ๆ กับ การก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของประเทศ แซงหน้ากลุ่มนครหลวงค้าข้าว ที่เคยครองอันดับ 1 มา อย่างยาวนาน
ช่วงเวลาแสนสั้นเมื่อการเมืองเปลี่ยนขั้ว แต่ตำนานของบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ ไม่ได้จบลงที่การเป็นผู้ส่งออกข้าวเบอร์ 1 ของประเทศในปี 2547 เมื่อบริษัทผู้ส่งออกข้าวด้วยกันเอง เริ่ม "สงสัย" ว่า เพรซิเดนท์ อะกริฯ มีการส่งออกข้าวไปต่างประเทศจริงหรือไม่ ? เมื่อยอดการส่งออกข้าวของคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ไม่ตรงกันกับตัวเลขส่งออกของกรมศุลกากร โดยมีปริมาณข้าวที่แตกต่างกันอยู่ระหว่าง 200,000-300,000 ตัน พร้อมกับข้อสังเกตที่ว่า ข้าวจำนวนนี้ถูกนำมาหมุนเวียนภายในประเทศ รวมไปถึงความเป็นไปได้ที่จะถูกนำมารวมในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในปี 2547 การตรวจสอบกรณีอื้อฉาวดังกล่าวได้ดำเนินมาตลาดปี 2548 ภายใต้ คณะอนุกรรมาธิการการเศรษฐกิจด้านการพาณิชย์ วุฒิสภา พบความผิดปกติใน เส้นทางการส่งออกข้าวระหว่างเรือฉลอมไปยังเรือใหญ่ ส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมศุลกากร และองค์การคลังสินค้า (อคส.) ต้องปรับเปลี่ยนตัวเลขการส่งออกและรับมอบข้าวกันยกใหญ่ เพื่อลบล้างความผิดปกติที่เกิดขึ้นให้ได้ ในขณะที่บริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯเองได้ยื่น "ใบขน" เพิ่มเติมเข้ามา เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันถึงการส่งออกข้าวจริง พร้อมกับยอมรับด้วยว่ามีข้าวส่วนหนึ่งถูกขายให้กับผู้ส่งออกข้าวภายในประเทศ โดยอ้างว่าเป็นการขาย เพื่อส่งออกอีกต่อหนึ่ง กระบวนการตรวจสอบดังกล่าวสิ้นสุดลง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลชุดใหม่จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ภายหลังการรัฐประหารโดยคณะ คมช. ในเดือนกันยายน 2549 พลันที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น การเอื้อประโยชน์จากนายวัฒนาก็สิ้นสภาพตามไปด้วย ส่งผลให้การรับมอบข้าวที่ซื้อไปจากรัฐบาลจำนวน 1.68 ล้านตัน เริ่ม "ติดขัด" เมื่อราคาข้าวในช่วงเวลานั้น "ผันผวน" ขึ้นลงอย่างหนัก ประกอบกับบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ ไม่ได้กลายเป็นผู้ผูกขาดการซื้อขายข้าวเพียงรายเดียวในประเทศอีกต่อไป
@เรื่องของนกฟินิกซ์ที่รอการฟื้นจากกองไฟ ขึ้นปี 2550 ฐานะทางการเงินของบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ ได้ตกต่ำลงอย่างเห็น ได้ชัด เมื่อมีการผิดนัดชำระหนี้ธนาคาร จนธนาคารหยุดปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัท ส่งผลให้การรับมอบข้าวในจำนวนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านตัน ที่บริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯซื้อจากรัฐบาลหยุดชะงักไปด้วย วิธีการที่บริษัทนำมาใช้ก็คือ การยื่นหนังสือขอเลื่อนระยะเวลาการส่งมอบข้าวออกไปจากกำหนดระยะเวลาเดิมที่ ทำไว้ในสัญญาซื้อขายข้าวกับองค์การคลังสินค้า (อคส.) รวมไปถึงการขอ "ยกเลิก" สัญญาซื้อขายข้าวที่เหลืออีก 500,000 ตัน ในปลายปีเดียวกันนั้น และนำมาซึ่งการทิ้งสัญญาข้าวในที่สุด นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร ได้หายหน้าไปจากวงการค้าข้าวไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่ก่อตั้งโดยคณะรัฐประหาร 19 กันยายน ได้ไต่สวนเอาผิดกับนายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หลังจากที่ถูกย้ายไปจากกระทรวงพาณิชย์ ในข้อกล่าวหาทุจริตและรับสินบนจากบริษัท พาสทิญ่า ไทย จำกัด ผู้รับเหมาโครงการบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) โดยตรวจพบว่ามีการจ่ายสินบนผ่านบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ และลูกจ้างของบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ ในวงเงิน 82.6 ล้านบาท และยังพบ พฤติกรรมการ "ฟอกเงิน" อีกกว่า 8.5 พันล้านบาท อีกด้วย โดยคดีนี้ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการ ต่อมาตัวบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯเองได้ปิดกิจการลง ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันนั้น ตามมาด้วยการถูกสถาบันทางการเงินหลายต่อหลายแห่ง รวมทั้งหน่วยงานของรัฐฟ้องดำเนินคดีทั้งในกรณีผิดสัญญา-ยักยอก-ผิดนัดชำระ หนี้ และฉ้อโกง ตามมาด้วยการถูกฟ้องล้มละลายโดย ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮแบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น ในระหว่างปี 2551-2552 ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผ่านมูลหนี้ถึง 25,345,720,473.20 บาท สูงเป็นประวัติการณ์ในวงการค้าข้าวไทย
ถึงอย่างไรก็ตาม แม้บริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯจะปิดฉากตัวเองลงไปแล้วก็ตาม แต่นั่นมิได้หมายความว่า นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร คนแซ่จันแห่งโรงสีหย่งฮงหมง จ.พิจิตร ในอดีต จะหยุดการค้าข้าวตามไปด้วย เนื่องจากในช่วง 2 ปี ของความวุ่นวายทางการเมืองที่ผ่านมา ได้ปรากฏชื่อของ บริษัทสยามอินดิก้า เข้าร่วมการประมูลสต๊อกข้าวจากโครงการรับจำนำของรัฐบาลอย่างสม่ำเสมอ นั้นเป็นการส่งสัญญาณที่ว่า นายอภิชาติยังไม่ได้วางมือหลังการถูกฟ้องล้มละลาย และบางทีอาจจะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง หากสถานการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนขั้ว และสามารถเชื่อมต่อนักการเมืองเก่า จากสายสัมพันธ์เดิมที่พร้อมจะสานต่อ "ผลประโยชน์" ร่วมกัน