จากประชาชาติธุรกิจ
เว็บไซต์ circle of blue รวบรวมข้อมูลน้ำที่บางข้ออาจกลายเป็นแรงบันดาลใจให้หลายคนได้เปลี่ยน พฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อช่วยกันลดการบริโภคน้ำ
1.น้ำมัน 1 หยด ทำให้น้ำปริมาณมากถึง 25 ลิตรไม่สามารถนำมาบริโภคได้
2. 70% ของน้ำในโลกถูกใช้สำหรับการเกษตร 22% ใช้ในภาคอุตสาหกรรม และ 8% ใช้ในภาคครัวเรือน ประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางใช้น้ำ 82% สำหรับการเกษตร 10% ในภาคอุตสาหกรรม และ 8% ในภาคครัวเรือน ขณะที่ประเทศร่ำรวยใช้น้ำ 30% สำหรับการเกษตร 59% เพื่อภาคอุตสาหกรรม และ 8% สำหรับครัวเรือน
3.คน เราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 1 เดือน โดยไม่ต้องกินอาหาร แต่มีชีวิตอยู่ได้เพียง 5-7 วัน หากปราศจากน้ำ
4. 97.5% ของน้ำในโลกเป็นน้ำเค็ม มีเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และเมื่อคำนวณเฉพาะน้ำจืด พบว่าราว 70% อยู่ในธาร น้ำแข็ง 30% อยู่ในดิน ดังนั้นมีน้ำต่ำกว่า 1% ที่คนเรานำมาใช้ได้ หรือคิดเป็น 0.007% ของปริมาณน้ำทั้งหมดในโลก
5.ร่อง รอยของการใช้น้ำ (water footprint) คือปริมาณน้ำที่ใช้ในตลอดกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์หนึ่ง อาทิ การผลิตเนื้อวัว 1 กิโลกรัม ต้องใช้น้ำ 16,000 ลิตร การผลิตกระดาษ 1 แผ่น ต้องใช้น้ำ 10 ลิตร ชา 1 แก้ว มีร่องรอยของการใช้น้ำ 35 ลิตร และการผลิต ไมโครชิป 1 ชิ้น ต้องใช้น้ำ 32 ลิตร
6.รู้ ไหมว่าคนเราใช้น้ำ 94.5-189.3 ลิตรสำหรับการอาบน้ำจากฝักบัวเพียง 5 นาที และใช้น้ำ 7.6-26.5 ลิตร เพื่อการชักโครก 1 ครั้ง สำหรับการแปรงฟัน คนเราใช้น้ำ 7.6 ลิตร และใช้น้ำราว 75.7 ลิตรสำหรับการล้างจานด้วยมือ
7.แต่ ละวันมีเด็ก 6 พันคน เสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวกับน้ำ ซึ่งเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้
8.สหรัฐมีประชากรราว 304 ล้านคน ยุโรปมีประชากรราว 732.7 ล้านคน ทั้งนี้คน 1.1 พันล้านคนไม่มีน้ำดื่มเพียงพอ และ 2.6 พันล้านคนขาดสุขอนามัยน้ำขั้นพื้นฐาน
9.โดย เฉลี่ยชาวอเมริกันใช้น้ำประมาณ 575 ลิตรต่อวัน โดยประมาณ 60% เป็นการใช้น้ำสำหรับกิจกรรม นอกบ้าน เช่น รดน้ำต้นไม้ ล้างรถ ฯลฯ ส่วนชาวยุโรปใช้น้ำ 250 ลิตรต่อวัน ขณะที่คน 1.1 พันล้านคนไม่มีน้ำพอใช้ และต้องใช้น้ำน้อยกว่า 19 ลิตรต่อวัน
10.โดยเฉลี่ยชาวอเมริกันใช้น้ำ มากกว่าคนที่ขาดแคลนน้ำถึง 30.3 เท่า ขณะที่ชาวยุโรปใช้มากกว่า 13.2 เท่า
ถึง เวลา "เปลี่ยน" สู่การใช้น้ำแบบยั่งยืน
จากประชาชาติธุรกิจ
เชื่อว่า หน้าแล้งปีนี้ทำให้คนไทยได้ตระหนักแล้วว่า "การขาดแคลนน้ำ" ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป
เพราะแม้ว่าโลกของเราจะปกคลุมไปด้วยผืน น้ำแสนกว้างใหญ่ แต่ความจริงก็คือ 97.5% ของน้ำในโลกเป็นน้ำเค็ม ส่วนที่เหลืออีก 2.5% เป็นน้ำจืดที่สามารถนำมาอุปโภคบริโภคได้ อย่างไรก็ตามเทรนด์การใช้น้ำในปัจจุบันของชาวโลกไม่ใช่แนวทางที่ยั่งยืน และหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป สวิส รี ได้ระบุในรายงานเรื่อง "Water Availability" ว่า ในปี 2568 จะมีประชากรอย่างน้อย 3.5 พันล้านคน หรือประมาณ 49% ของประชากร ทั่วโลกจะมีน้ำไม่พอใช้ในบางฤดู
ดัง นั้น คนรุ่นปัจจุบันจำเป็นต้องดำเนินกลยุทธ์อย่างจริงจังเพื่อใช้น้ำอย่างมี ประสิทธิภาพ เพื่อที่คนรุ่นต่อไปจะมีน้ำไว้ใช้ดื่มกินอย่างเพียงพอ โดยแนวทางหลักแบ่งเป็น 2 ประการคือ ประการแรก การเปลี่ยนแนวปฏิบัติและเทคโนโลยี การเปลี่ยนแนวคิดและพฤติกรรมของมนุษย์
เปลี่ยน แนวปฏิบัติและเทคโนโลยี
การลดการใช้น้ำจืด สามารถทำให้เป็นจริงได้หากทุกฝ่ายร่วมมือกัน เริ่มจากภาคเกษตรกรรมที่ปัจจุบันเป็นภาคส่วนที่ใช้น้ำมากที่สุด โดยสัดส่วนการใช้น้ำคิดเป็นเกือบ 70% ของการใช้น้ำทั่วโลก แต่ก็เป็นภาคส่วนที่มีศักยภาพมากที่สุดที่จะลดการใช้น้ำโดยอาศัยเทคนิคการ เกษตรที่เหมาะสม
ขณะนี้ 85% ของระบบชลประทานทั่วโลกเป็นแบบ flood irrigation หรือการให้น้ำไปหล่อเลี้ยงพืชโดยปล่อยให้ไหลไปตามผิวดิน หรือขังอยู่บนผิวดิน หรือบ้างก็เรียกว่า ชลประทานแบบปล่อยท่วม ซึ่งเป็นวิธีการที่ประหยัดที่สุด แต่ไม่ได้คำนึงถึงความสามารถ ในการดูดซึมน้ำของพืชแต่ละชนิด ทำให้ส่วนใหญ่เป็นการให้น้ำเกินความต้องการของพืช อีกทั้งยังสร้างปัญหาชะล้างหน้าดินไปพร้อม ๆ กัน
ส่วนการชลประทานอีก 2 แบบใหม่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า แต่ต้องอาศัยการจัดการที่ดีกว่าได้แก่ ระบบชลประทานแบบน้ำหยด (drip irrigation) ที่ปัจจุบัน มีการใช้เพียง 1% ของพื้นที่ชลประทาน ทั่วโลก เพราะต้องลงทุนสูงและปรับใช้ได้ไม่ครอบคลุมพืชทุกชนิดหรือทุกสภาพพื้นที่ อย่างไรก็ตามการให้น้ำพืชแบบนี้จะลดการใช้น้ำลง 30-70% พร้อมเพิ่มผลผลิตพืช ราว 20-90%
ด้าน การให้น้ำพืชแบบ สปริงเกลอร์ (sprinkler system) จะใช้น้ำเปลืองกว่า เพราะฉีดน้ำไปทั่วในบริเวณกว้าง แต่ระบบสปริงเกลอร์รุ่นใหม่สามารถส่งน้ำปริมาณน้อยลงผ่านกระบอกฉีดแรงดันต่ำ ลง และปล่อยน้ำใกล้ผิวดินมากขึ้น ทำให้ได้ผลใกล้เคียงกับแบบน้ำหยด และช่วยให้พืชดูดซึมน้ำราว 90-95% ของน้ำที่ปล่อยไป ปัจจุบันมีการใช้ระบบนี้ประมาณ 10-15% ของระบบชลประทานทั่วโลก
นอก จากนี้ ยังมีเทคนิคการชลประทานขนาดเล็กที่มีต้นทุนต่ำ เช่น ระบบปั๊มน้ำแบบเหยียบ (treadle pump) ที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถทดน้ำเข้าพื้นที่เกษตรกรรมได้ด้วยตัวเอง แต่มีการสูญเสียน้ำบ้าง เทคนิคแบบนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในโครงการนำร่องขนาดเล็ก เช่น ในบังกลาเทศ ที่สามารถช่วยให้ผลผลิตในพื้นที่ 600,000 เอเคอร์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้เทคนิคปั๊มน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี้ยังได้ผลดีในพื้นที่ อื่น ๆ เช่น อินเดีย และเอเชียกลางเช่นกัน
พร้อมกันนี้การปรับปรุง การบำรุงรักษาระบบผลิตและขนส่งน้ำ ก็ช่วยลดการสูญเสียน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะที่ผ่านมาพบว่าเมืองจำนวนมากสูญเสียน้ำเพราะการรั่วซึมระหว่างเส้นทาง ขนส่ง เช่น เม็กซิโกซิตี้ ที่เสียน้ำราว 30-40% เพราะการรั่วซึม
สำหรับ ภาคครัวเรือนการใช้อุปกรณ์ เช่น ฝักบัว และชักโครกประหยัดน้ำจะช่วยลดการใช้น้ำได้เช่นกัน อาทิ นิวยอร์กซิตี้ เคยมีโครงการกระตุ้นให้ชาวเมืองนำชักโครกเก่ามาแลกซื้อของใหม่ที่ประหยัดน้ำ มากกว่า ส่งผลแต่ละปีมีการใช้น้ำลดลง 29% ต่ออาคาร หรือในเม็กซิโกซิตี้เมื่อ ปี 2543 ที่มีการเปลี่ยนห้องน้ำเก่า 350,000 แห่ง โดยหันมาใช้ระบบที่ประหยัดน้ำจนสามารถนำน้ำส่วนต่างที่เหลือให้คน 2.5 ล้านได้ใช้ประโยชน์
นอกจากนี้ การใช้น้ำรีไซเคิลคือหนึ่ง ทางเลือกสำหรับการใช้น้ำเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ดูได้จากกรณีของ ชุมชนเออร์ไวน์ในออเรนจ์เคาน์ตี้ แคลิฟอร์เนีย ที่มีระบบใช้น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว โดยบ้านทุกหลังจะมีระบบน้ำ 3 ระบบคือ 1.น้ำบริสุทธิ์ (purified potable water) ที่ใช้บริโภค ซึ่งรับมาจากระบบน้ำของท้องถิ่น 2.ระบบน้ำทิ้ง (brown water) ที่ส่งน้ำใช้แล้วไปยังโรงงานบำบัด และ 3.ระบบน้ำทิ้งที่บำบัดแล้ว (gray water) โดยชาวเมืองจะใช้น้ำในระบบสุดท้ายสำหรับชักโครก รดน้ำต้นไม้ รวมทั้งพื้นที่สาธารณะ เช่น สนามฟุตบอล จึงเรียกได้ว่าเป็นการใช้น้ำแต่ละหยดได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
ขณะเดียว กัน การสร้างระบบจัดสรร น้ำใหม่จากพื้นที่ร่ำรวยน้ำไปยังพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ ก็เป็นอีกวิธีที่ใช้เพื่อจัดสรรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โครงการจัดน้ำของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ขนส่งน้ำผ่านระบบคลองที่ยาวกว่า 600 ไมล์ จากพื้นที่เมาท์ ชาสต้า ที่มีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ไปยังพื้นที่ขาดแคลนน้ำในภาคกลางและใต้ของมลรัฐ เช่น เคิร์น อิมพีเรียล เป็นต้น
และอีก 1 วิธีเพื่อหาน้ำมาใช้ประโยชน์คือ การหาแหล่งน้ำใหม่โดยอาศัยเทคโนโลยีล้ำสมัยที่แม้ว่าจะมีหลากหลายแบบ แต่มีราคาแพงเกินกว่าที่จะนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ยังต้องใช้พลังงานความร้อนมหาศาลในการผลิต น้ำจืด อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีใหม่ เช่น membrane desalination และ reverse osmosis ที่ใช้เพื่อผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลที่มีราคาถูกกว่า และพึ่งพาพลังงานน้อยกว่า เช่น มลรัฐฟลอริดา มีโรงงานที่สามารถผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลได้ถึงวันละ 25 ล้านแกลลอน หรือการหาแหล่งน้ำจืดในทะเลโดยอาศัยระบบเทคโนโลยีขั้นสูงของโครงการ Nymphea Water
พร้อมกันนี้ต้องมีการกำหนดกรอบข้อบังคับการใช้น้ำที่มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น บางประเทศที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำจืด ได้ดำเนินนโยบายจำกัดเพดานการใช้น้ำของชาวเมือง หรือการกำหนดโควตาการใช้น้ำตามประเภทการใช้น้ำ หรืออาจมีการซื้อขายสิทธิระหว่างบุคคลได้เช่นกัน
เปลี่ยนแนวคิด และพฤติกรรมมนุษย์
ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนแนวปฏิบัติและเทคโนโลยี ข้างต้น เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดของมนุษย์เสียก่อน โดย คนเราต้องตระหนักว่าน้ำจืดมีจำกัด ไม่ใช่คอมโมดิตี้สาธารณะราคาถูกที่ใช้กันไม่มี วันหมดสิ้น
หนึ่งใน แนวทางที่จะช่วยได้คือ การเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับต้นทุนในการผลิตน้ำจืดและบำบัดน้ำทิ้ง หรือแสดงให้เห็นว่าน้ำจืดไม่ใช่สิ่งที่ยั่งยืน หรือมีทางเลือกอื่นบ้างหรือไม่ และจะต้องแบกรับต้นทุน มากน้อยเพียงใดเพื่อหาสิ่งอื่นมาทดแทน น้ำจืด โดยสามารถจัดแคมเปญให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำอย่างมี ประสิทธิภาพ การแบ่งประเภทเครื่องใช้ในครัวเรือน พร้อมกับการจัดระบบเก็บค่าน้ำโดยอ้างอิงจากการบริโภคน้ำ
พร้อมกันนี้ อาจสนับสนุนให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคอาหาร เพราะ ความต้องการน้ำขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการเลือกชนิดพืชที่ปลูก ซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการระบบชลประทานที่เหมาะสม
ปัจจุบันพบว่า เมนูอาหารที่เน้น เนื้อสัตว์ของคนในอเมริกาเหนือและบางส่วนของยุโรปต้องใช้น้ำมากกว่าเมนู อาหารที่เน้นเนื้อสัตว์น้อยกว่าของชาวเอเชียในเอเชียถึง 2 เท่าตัว หรืออาจดูได้จากสถิติการใช้น้ำที่ว่า การผลิตเนื้อวัว 1 กิโลกรัม ต้องใช้น้ำ 16,000 ลิตร แต่การผลิตซีเรียล 1 กิโลกรัม ใช้น้ำเพียง 1,000 ลิตร เท่านั้น
ทั้งนี้ ในระยะยาวรูปแบบการบริโภคอาหารน่าจะเปลี่ยนไปตามแรงกดดันของตลาด เช่น ราคาเนื้อสัตว์ที่สูงขึ้น อันเป็นผลจากต้นทุนน้ำที่เพิ่มขึ้น แต่ก็แน่นอนว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ อย่างช้า ๆ เพราะถือเป็นองค์ประกอบของแต่ละวัฒนธรรมในโลกนี้
อย่างไร ก็ตาม เชื่อว่าหากมนุษย์ตั้งใจและพร้อมที่จะ "เปลี่ยน" แล้ว ทุกสิ่งย่อมเป็นไปได้เสมอ เพื่อโลกของเราจะมี "น้ำ" เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป อีกนานเท่านาน