สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปฏิบัติ การชุมชนพอเพียง พันธุ์ ใหม่ โมเดล มีชัย วีระไวทยะ... ของฟรีที่ไม่ใช่ ขอทาน

จากประชาชาติธุรกิจ



ผลจาก ข่าวการทุจริตโครงการชุมชนพอเพียงของผู้ปฏิบัติงาน ภายใต้ความรับผิดชอบของ "กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ" อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการชุมชนพอเพียง ทำให้ต้องมีการรื้อ "คน" กันใหม่ โดยทาบทาม "มีชัย วีระไวทยะ" ผู้บุกเบิกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ปัจจุบันเป็น "คุณครูใหญ่" โรงเรียนมัธยมลำปลายมาศ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ มานั่งเป็นประธานแทน "กอร์ปศักดิ์" เมื่อสิงหาคม 2552

"มีชีย" มีความเชื่อว่า "การสังคมสงเคราะห์" หรือการให้ฟรีเป็นการบ่มเพาะ "คน" ให้ขอทาน "มีชัย" พยายามอย่างมากในการสร้างกระบวนการแก้ความยากจนเรื้อรัง ทำอย่างไรที่จะเป็นการ "ให้" ที่ยั่งยืนกับคนปลายทางที่เขาด้อยโอกาสจริง ๆ และเชื่อว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ได้ผลและยั่งยืน คือการใช้ "เส้นทางธุรกิจ" เป็นเครื่องมือในการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ โดยเชื่อว่าการเข้าถึงแหล่งเงินกู้เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึง มี

ที่ผ่านมาในฐานะผู้มีความคิดสร้างสรรค์ พยายามดีไซน์โมเดลธุรกิจเข้ามาช่วยผู้ที่อยู่ปลายทาง และสิ่งที่ "มีชัย" ดำเนินการมาและได้พิสูจน์แล้วถึงความสำเร็จ คือโครงการร่วมพัฒนาหมู่บ้านโดย ภาคธุรกิจ (Village Development Partnership) เข้ามาเป็น สปอนเซอร์ให้หมู่บ้าน เป็นพี่เลี้ยงในด้านการผลิต การตลาด การบริหารจัดการ เป็นต้น

ประสบการณ์การทำงานกับชุมชนของ "มีชัย" ที่ต่อเนื่องและยาวนาน จึงมีองค์ความรู้มากมายที่นำมาปรับใช้กับโครงการ ชุมชนพอเพียง

"มีชัย" เล่าถึงโครงการชุมชนพอเพียงว่าที่ผ่านมาประชาชน ไม่ได้รับรู้รับทราบ หรือรู้น้อยมากเกี่ยวกับโครงการชุมชนพอเพียง ทำให้วัตถุประสงค์โครงการที่จะให้ประชาชนเป็นเจ้าของเรื่องไม่ประสบความ สำเร็จ เมื่อเขาไม่ได้รับรู้รับทราบ เพราะเขาไม่ได้มาเกี่ยวข้อง ทำให้เจ้าพ่อเอสเอ็มแอลมาจัดการให้หมด ชาวบ้านจึงได้เครื่องจักร เครื่องทำน้ำแข็ง โซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้า และมีข่าวการคอร์รัปชั่น ทำให้คุณกอร์ปศักดิ์ลาออก นายกรัฐมนตรีขอให้ผมมารับตำแหน่งนี้

"เรา เห็นชัดว่า ที่โครงการไม่ประสบความสำเร็จ เพราะการให้ความรู้ประชาชนน้อยมาก ความหวังที่จะให้ประชาชนทำตัวเป็นเจ้าของไม่เกิดขึ้น เพราะเขาไม่รู้ไม่รับทราบ เมื่อไม่รู้จะมาร่วมได้อย่างไร และเมื่อไม่มาร่วม ก็มีคนมาสวมรอย มีการปลอม บางทีประชาคมยืนยันมาโดยประธาน แต่ประธานตายมาแล้ว 2 ปีเป็นต้น"

ในช่วงนั้น โครงการ 74% ที่เป็นเรื่องการซื้อเครื่องจักร รถอีแต๋น โดยที่ราคากลางไม่มี สเป็กไม่มี การรับประกันไม่มี ก็ถามว่าเป็นประโยชน์กับคนจนอย่างไร คำตอบ...ไม่ได้เป็น บางแห่งก็บอกว่าผู้ใหญ่บ้านให้โหวตรถอีแต๋นนะ พอผมเข้ามา ก็ประกาศยกเลิกหมด ขอส่งกลับคืนไป ขอให้เตรียมคิดใหม่ โดยผมจะส่งไกด์ไลน์มาให้ใหม่เป็นเกณฑ์ว่าใช้เงินทำอะไรได้บ้าง ที่เป็นประโยชน์ต่อคนจน สตรี เด็ก ผู้สูงอายุ เยาวชน คนด้อยโอกาส ภูมิปัญญาท้องถิ่น

"มีชัย" บอกว่า เราแก้ปัญหาในหลายจุด โดยให้โครงการ 1.ทำผ่านกระทรวงศึกษาฯ ส่งไปถึงทุกโรงเรียน ให้ครูกับเด็กมัธยมรับรู้รับทราบเรื่องนี้ และให้เป็นตัวสำคัญในการให้ความรู้ กระตุ้นให้มีการรับรู้ในชุมชนตัวเอง เทศบาล หมู่บ้าน โดยเราขอให้ เด็กนักเรียนไปแนะนำในหมู่บ้านเขาเลย ไปแนะนำว่าควรเป็นโครงการประเภทไหน ซึ่งเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือเป็นโครงการของโรงเรียนก็ได้ เช่น อยากได้เครื่องดนตรีไทย โครงการอาหารกลางวันที่ต่อเนื่อง เป็นที่สร้างศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และผลิตโครงการเลี้ยงหมูหลุม เลี้ยงไก่ โครงการที่ยั่งยืน เสนอมาได้ทั้งนั้น

ทั้งนี้ ได้ย้ำว่า "จุดที่น่าสนใจ คือออกระเบียบให้เด็กอายุ 15 ปีขึ้นไปมีสิทธิใช้งบประมาณแผ่นดินได้ถึง 18,000 ล้านบาท โดยที่เด็กมีสิทธิโหวต ทำประชาคมว่าจะเอาโครงการประเภทไหน เขาไปชักจูงพ่อแม่พี่น้อง เด็กนักเรียนมาโหวตได้ ทำให้มีคน โหวตเพิ่ม 5 ล้านคน เข้ามาโหวตได้ หลังจากนั้นเตรียมส่งอีเมล์ เข้ามาให้เรารับรู้รับทราบว่ามีประชาคมจริงไหม เสนอโครงการอะไรบ้าง เนื่องจากปีงบประมาณปัจจุบันมีเวลาน้อย แต่ปีต่อไปจะแก้ไขให้ดีกว่านี้ ทั้งนี้ทั้งนั้นได้ปรับเปลี่ยนกฎระเบียบและเงื่อนไข ไปเยอะ"

อีก จุดที่แก้ไข คือเมื่อก่อนขั้นตอนการพิจารณาจะผ่าน นายอำเภอ ส่งมาที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งทำเนียบมีเจ้าหน้าที่ 50 คน แต่ต้องพิจารณาเป็นแสนโครงการ โดยบายพาสจังหวัด ซึ่งมีหน้าที่ดูแลชนบท ผมมองว่ามันสวนทางการกระจายอำนาจ ผมจึงกำหนดนโยบายใหม่ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรอง โดยกำหนดว่าใครที่จะเป็นกรรมการกลั่นกรองบ้าง เงื่อนไขต้องมีผู้หญิง เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้แทนมหาวิทยาลัย ผู้แทนโรงเรียน ผู้แทนศาสนา ผู้แทนรัฐวิสาหกิจ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่เป็นอิสระ

ขณะ นี้มีโครงการหมู่บ้านส่งเข้ามา ไปที่อำเภอ ไปที่จังหวัด ส่งมาแล้ว 21 จังหวัด โดยจังหวัดพิจารณาแล้วส่งมาทำเนียบ และที่ทำเนียบมีคณะอนุกรรมการกลั่นกรองอีกที เราใช้ไอทีมาช่วย โครงการอะไรที่เป็นเครื่องจักรจะเด้งออก เช็กชื่อหมู่บ้านกับโครงการต้องตรงกัน จากนั้นคณะกรรมการชุดใหญ่พิจารณาอนุมัติ ส่งเงินออกไปผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน และแจ้งไปยังหมู่บ้านให้มาเปิดบัญชี คาดว่าสิ้นปีงบประมาณนี้น่าจะใช้ได้

"21 จังหวัด ก็ประมาณ 21,000 โครงการ โครงการชุมชน พอเพียงนี้ไม่ใช่สำหรับทุกคน แต่เป็นโครงการสำหรับช่วยคนที่อยู่ปลายทาง ตอนนี้ใครทำอะไรไม่ดีที่ไหน มีคนกล้าให้ข้อมูลมากขึ้น เช่น บอกว่าผู้ใหญ่บ้านมาชักจูงให้ซื้อรถอีแต๋น แต่เอาไปใช้เอง เราพยายามประชาสัมพันธ์ว่า โครงการนี้เป็นเงินของท่าน ท่านซื้อของ ท่านเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผมเชื่อว่า การที่มีเด็กเป็นกรรมการโครงการด้วย ยิ่งมีเด็ก ความเกรงใจมันหายไปเลย ทำให้มีความโปร่งใสมากขึ้น"

โครงการชุมชนพอเพียง เป็นโครงการที่ให้ฟรี แต่ผมต้องการ จะเห็นว่า หากทำกันแล้ว หาทางคืนเงินกันหน่อยก็ดี ทุกคนก็รักหมู่บ้านเหมือนกัน รัฐให้เงินมาเท่านี้ เราก็ใช้แรงงานด้วยการ ปลูกต้นไม้คืนไป ชาวบ้านไม่ใช่ขอทาน พยายามเน้นเรื่องนี้ตลอดเวลา อาจจะตั้งเป็นกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านได้ เลี้ยงหมูได้เงินมา ไปเลี้ยงหมูต่อ กำไรค่อยเอามาใช้

"ตอนที่คุณ กอร์ปศักดิ์ดูแล ได้อนุมัติเงินไปแล้ว 5,000 ล้านบาท แต่เราก็ไปตามล้วงคอช้าง ว่าเขาทำเป็นอย่างไร ทำจริงไหม"

"มีชัย" กล่าวว่า ทุกสมัยทุกรัฐบาลจะให้เงินฟรี ไม่ว่าเป็น โครงการเอสเอ็มแอล หรือโครงการชุมชนพอเพียง แต่ก็ยังเป็น กระบวนการแจกของฟรี มุมหนึ่งมองได้ว่าเป็นขบวนการสร้าง "ขอทาน" เพราะอะไร ในเชิงสังคมสงเคราะห์ ที่เป็นการให้ฟรี

1.ไม่ได้ให้ความรู้ใหม่

2.ไม่ได้สร้าง ความเข้มแข็งให้ชุมชน

3.เพาะนิสัยการขอ

"ผมพยายามที่จะให้ เป็นเรื่องการสร้างความเข้มแข็ง เงินจากการแจกไม่ได้สร้างความเข้มแข็ง และพยายามให้เด็กนักเรียนเข้ามาเพื่อสร้างความเข้มแข็ง"

9 เดือนของ...มีชัย



"มีชัย" เข้ามารับตำแหน่งประธานโครงการชุมชนพอเพียงเดือนสิงหาคม 2552 ภารกิจ ที่ได้รับมอบหมายในระยะเวลา 9 เดือน ที่ผ่านมา มีความคืบหน้าดังนี้

การ ทำประชาคม

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553 หมู่บ้าน/ชุมชนต่าง ๆ มีการทำประชาคมพร้อมกันทั่วประเทศ ภายใต้ความร่วมมือของจังหวัดกรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ทั้งเด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ เห็นได้จากการเสนอโครงการของหมู่บ้าน/ชุมชน มีการเสนอโครงการของกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวเข้ามามากขึ้น เช่น โครงการทำอาหารกลางวันเด็กในโรงเรียน โครงการเลี้ยงหมูหลุมในโรงเรียน โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นต้น

อีกทั้งสำนักงานเศรษฐกิจพอ เพียงเพื่อยกระดับชุมชน ได้ส่งผู้อำนวยการกลุ่มงานต่าง ๆ ตลอดจนเจ้าหน้าที่สำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน ออกไปร่วมสังเกตการณ์การทำประชาคมของแต่ละจังหวัด/กรุงเทพมหานครอีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการแสดงเจตนารมณ์ของภาคประชาชน ต่อการเข้ามาใช้งบประมาณแผ่นดินใน โครงการนี้

การจัดทำ -อนุมัติโครงการ

ที่ผ่านมาการจัดทำโครงการ และการพิจารณาอนุมัติโครงการ มีขั้นตอนการเสนอโครงการจากหมู่บ้าน/ชุมชนเข้ามาสู่คณะกรรมการในส่วนกลางโดย ตรง ซึ่งอำนาจในการอนุมัติและจัดสรรงบประมาณอยู่ที่ส่วนกลางทั้งหมด ทำให้ระบบการทำงานขาดความรอบคอบในการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของโครงการ ที่มีหน่วยงานระดับจังหวัดทำอยู่แล้ว และไม่มีการกำกับดูแลการใช้จ่ายงบประมาณของหมู่บ้าน/ชุมชน และไม่มีการบริหารจัดการโครงการที่ชัดเจน เพราะไม่มีหน่วยงานในระดับจังหวัดเข้าไปกำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง

นอก จากนี้การจัดทำโครงการที่ผ่านมา เป็นการซื้อเครื่องจักร รถไถ โรงปุ๋ย ร้านค้าชุมชน เครื่องทำน้ำดื่มพลังแสงอาทิตย์ ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ เป็นต้น ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่มีการบริหารจัดการและไม่เกิดประโยชน์แก่หมู่บ้าน /ชุมชนอย่างต่อเนื่อง เป็นการ ใช้งบประมาณอย่างสิ้นเปลืองและงบประมาณไปตกอยู่กับกลุ่มบุคคลที่แสวงผล ประโยชน์ทางการค้าเท่านั้น

สำหรับในปีนี้ การเสนอโครงการและการอนุมัติโครงการ ได้กำหนดขั้นตอนให้หมู่บ้าน/ชุมชนเสนอโครงการผ่านอำเภอ ไปยังจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนระดับ จังหวัด/กรุงเทพมหานคร เป็นผู้พิจารณาอนุมัติโครงการและยิ่งกว่านั้นได้สั่งการให้จังหวัด/กรุงเทพ มหานครแต่งตั้งคณะทำงานเป็นชุด ๆ ตรวจสอบกลั่นกรองโครงการหมู่บ้าน/ชุมชนเพื่อให้เข้าลักษณะของโครงการ ที่เข้าตามหลักเกณฑ์ ตามระเบียบ และข้อสั่งการที่มิให้เสนอโครงการที่มีลักษณะต้องห้ามเข้ามาไว้อย่างชัดเจน

ดัง นั้นในปีนี้ โครงการประเภทซื้อเครื่องจักร รถไถ รถตัดหญ้า ฯลฯ จะไม่ได้รับการพิจารณาจัดสรรวงเงินงบประมาณทั้งนี้เพราะอำนาจในการจัดสรรงบ ประมาณ เป็นของ คณะอนุกรรมการอำนวยการโครงการ ที่มีนายสนธิ เตชานันท์ เป็นประธานอนุกรรมการ

ตรวจสอบ-วิเคราะห์โครงการ

ที่ ผ่านมาเป็นการตรวจสอบและวิเคราะห์โครงการโดยใช้ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ แต่ในปีนี้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วางระบบการวิเคราะห์ตรวจสอบโครงการ โดยให้มีผู้รับผิดชอบแต่ละภาค แต่ละจังหวัดชัดเจน ภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหาร เพื่อป้องกันมิให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งจะตรวจสอบ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้

1.ตรวจสอบโครงการที่เข้าหลักเกณฑ์และไม่เข้า หลักเกณฑ์

2.ตรวจสอบรหัสชุมชน ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน

3.ตรวจ สอบวงเงินงบประมาณที่หมู่บ้าน/ชุมชนได้รับจัดสรรงบประมาณ

4.ตรวจสอบ ความซ้ำซ้อนของโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว

สาเหตุที่ต้องตรวจสอบ เพราะที่ผ่านมาพบปัญหามากมาย เช่น รหัสชุมชน ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน ไม่ถูกต้อง การอนุมัติโครงการคลาดเคลื่อน จัดสรรงบประมาณผิดพลาด ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง ทำให้ระบบข้อมูลที่มีอยู่สับสน ต้องแก้ไขวางระบบใหม่เพื่อให้สามารถกำกับดูแลได้

ดังนั้นในปีนี้ โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน จะมีการcheck & balance ระหว่างผู้อนุมัติโครงการคือจังหวัด กรุงเทพมหานครและส่วนกลางเป?นผู้อนุมัติงบประมาณ

อนุมัติ-จัดสรรงบ ประมาณ

ขณะนี้มีจังหวัดต่าง ๆ ทยอยส่งโครงการที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ เศรษฐกิจ พอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนระดับจังหวัด/กรุงเทพมหานคร จำนวน 21 จังหวัด ซึ่งจะมีการประชุมคณะอนุกรรมการ อำนวยการโครงการพิจารณาอนุมัติจัดสรรงบประมาณให้หมู่บ้าน/ชุมชน ในวันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2553

โครงการที่ไม่ผ่านการอนุมัติจัดสรรวง เงิน ก็จะหมายถึงโครงการที่ไม่เข้าตามหลักเกณฑ์ และเป็นโครงการที่ต้องห้าม ต้องส่งกลับไปจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ให้หมู่บ้าน/ชุมชนทบทวนเสนอโครงการเข้ามาใหม่ โดยผ่านกระบวนการขั้นตอนตามระเบียบคณะกรรมการบริหารโครงการเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อยกระดับชุมชน เพราะงบประมาณแผ่นดินก้อนนี้เป็น งบฯเศรษฐกิจพอเพียง ความเคยชินของชาวบ้านอาจคิดว่า ได้งบประมาณมาแล้วจะซื้อ จะทำอะไรก็ได้ ให้เงินหมดไป อย่างในอดีตคงไม่ได้แล้ว อยากให้ทุกคนในผืนแผ่นดินนี้ช่วยกันประหยัด รู้จักใช้ รู้จักคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" อย่างแท้จริง

view