จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
แผนปรองดองแห่ง ชาติของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เกิดความเห็นหลากหลาย บางฝ่ายสนับสนุนและบางฝ่ายคัดค้าน
“ชวน”งง“อภิสิทธิ์"ประกาศเลือกตั้งใหม่14พ.ย.
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เสนอทางออกในการแก้ปัญหาประเทศโดยระบุว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 14 พ.ย.ว่า เรื่องนี้ตนไม่ทราบมาก่อน และก่อนหน้านี้ช่วงที่มีปัญหาตนก็ไม่เห็นด้วยกับการยุบสภาแม้จะมีคนมาขอให้ ยุบหรือมาข่มขู่เราก็ไม่เห็นด้วย ซึ่งตอนแรกตนเข้าใจว่าที่นายกรัฐมนตรีประกาศการยุบภายใน 9 เดือนนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาไม่ให้มีความรุนแรงเกิดขึ้น แต่การประกาศยุบสภาเมื่อคืนวันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมานั้นตนไม่ทราบมาก่อนว่าคิดอย่างไรในเรื่องนี้ แต่การจะยุบสภาเมื่อไหร่นั้นเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี คงต้องไปถามรายละเอียดกับนายกรัฐมนตรีเองว่าจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป
กลุ่ม303นักวิชาการหนุนโรดแมปปรองดองแต่ค้านยุบสภา
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มธ. กลุ่ม 303 นักวิชาการ กล่าวว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอของนายกฯทั้งหมดแต่ในส่วนของการยุบสภาไม่เห็นด้วยเพราะ เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าแน่นอนว่าทั้งสองฝ่ายต้องการชนะเป็นการเลือก ตั้งแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน ทั้งนี้หากจะยุบสภาก็ต้องให้แน่ใจว่าหากมีการเลือกตั้งต้องควบคุมให้เป็นไป อย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม แต่ด้วยระยะเวลาที่สั้นเกินกว่าจะรับประกันอะไรได้
อย่างไรก็ตามหากนปช.มีความหวังดีกับประเทศชาติจริงไม่มีวาระซ่อนเร้นอื่น ก็ต้องยอมรับข้อเสนอนายกฯ หากไม่ยอมรับรัฐบาลก็ไม่ต้องถอยอีกแล้ว เพราะขณะนี้ถือว่าถอยเต็มที่ นปช.หากไม่ยอมรับข้อเสนอนี้ รัฐก็ไม่ควรไปต่อรอง และควรบังคับใช้กฎหมาย
"รัฐบาลถอยไปมากกว่านี้ไม่ได้เพราะหากเช่นนั้นก็หาความเชื่อมั่นไม่ได้ แต่เหตุการณ์ที่หลักสี่ก็อย่างน้อยเห็นว่ารัฐบาลทำอะไรบ้างแต่ ไม่ได้เรียกความเชื่อมั่นมาได้ทั้งหมด "
"ประสพสุข”หนุนโรดแมปปรองดองปฏิบัติได้จริง
นายประสพสุข บุ ญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงแผนโรดแม็ป 5 ข้อของนายกรัฐมนตรีว่า เชื่อว่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เป็นโรดแม็ปที่ทุกฝ่าย รวมถึงนปช.น่าจะยอมรับได้ เพราะนายกฯได้ยอมเต็มที่แล้วที่จะให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ย.นี้ ส่วนตนเห็นด้วยกับ 5 ข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีอย่างยิ่ง และอยากให้ทุกฝ่ายยอมรับข้อเสนอนี้นปช.จะได้ถอยกลับไปดำเนินชีวิตของตนเอง ตามปกติ ให้ทุกฝ่ายกลับไปปรองดองกันเช่นเคย
เมื่อถามว่าทำไมนายกฯถึงไม่พูดให้ว่ายุบสภาวันไหน นายประสพสุข กล่าวว่า วันเลือกตั้งสำคัญกว่าวันยุบสภา ขณะที่จะมีกระบวนการต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ความปรองดอง ที่จะมาแก้ไขปัญหาในเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม จากนี้ไปจึงต้องหาคณะกรรมการที่มีความเป็นกลางขึ้นมาสอบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร ขณะนี้ทุกคนอยากรู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร คณะกรรมการที่จะตั้งขึ้นมาจึงต้องมาจากหลายฝ่ายที่มีความเป็นกลางเพื่อทำ หน้าที่สืบเสาะหาข้อเท็จจริงให้สังคมได้รับทราบ
"โคทม" ชี้ เลือกตั้ง 14 พ.ย.เหมาะสม หวัง นปช.เห็นด้วย
นาย โคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สัมภาษณ์ในรายการเช้าข่าวข้น ถึงข้อเสนอปรองดองแห่งชาติของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 พ.ค. ว่า ถือเป็นแนวทางที่ดี โดยเฉพาะแนวโน้มที่ได้รับการตอบรับจากแกนนำ นปช. มีการนำประเด็นข้อปัญหาที่กำลังเป็นที่ถกเถียงมารวบรวมไว้อย่างชัดเจน ตรงประเด็น และครอบคลุม รัฐบาลสามารถสรุปแนวทางได้ดี ครอบคลุมข้อเสนอจากนักวิชาการก่อนหน้านี้
ส่วนกรณีหากเป็นไปตามแนวทางและจะมีการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ย. นั้น นายโคทม กล่าวว่า ก็ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะรัฐบาลก็ยังเป็นห่วงเรื่องงบประมาณประจำปี อยากจะบริหารงบประมาณให้ครบปีงบประมาณ และเตรียมงบประมาณในปีต่อไปไว้
นายโคทม กล่าวว่า หวังไว้ว่าทางแกนนำนปช.จะเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว อย่างน้อยก็น่าจะรับหลักการ คลี่คลายการชุมนุมไม่ให้ส่งผลกระทบการการจราจรและคนกทม. อาจจะเลื่อยการชุมนุมออกไปก่อนในระหว่างที่มีการหารือใน 5 ประเด็น หรือจะมีการนำเสนอใหม่เพิ่มในช่วงนั้น
นักวิชาการมช.จวกโรดแมพนายกฯ ไม่ชัดเจน-เชื่อทำได้ยาก
รศ.สม ชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยกรณีการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกแถลงการณ์โรดแมพ 5 ปรองดอง พร้อมเสนอยุบสภาพเลือกตั้งใหม่วัน 14 พฤศจิกายน 2553 ว่า ข้อเสนอปรองดองทั้ง 5 ข้อนั้นภายในระยะเวลาอันจำกัดในการแก้ไขปัญหาถือว่าเป็นเรื่องที่ควรจะเกิด ขึ้น แต่ข้อเสนอดังกล่าวมีปัญหาหลายประการในทางการปฏิบัติ ทั้งการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ตนเชื่อว่าในกรอบระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังจากนี้ไม่สามารถทำได้อย่างแน่ นอน ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี
รวมถึงการปฏิรูปสังคมให้ปรองดองกัน สมานฉันท์ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน คำถามที่เกิดขึ้นหลังจากนี้คือ หากหลายข้อไม่สามารถปฏิบัติได้ข้อเสนอที่มีการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ในวัน ที่ 14 พฤศจิกายน จะยังเกิดขึ้นอยู่หรือไม่ หรือนายกฯ และรัฐบาลชุดปัจจุบันจะยังคงบริหารงานต่อไปจนครบวาระ ผมคิดว่าเราต้องมองว่า 5 ข้อเสนอต้องชัดเจนมากกว่านี้ ต้องระบุให้แน่ชัดว่าข้อเสนอ 5 ปรองดองเป็นจุดเริ่มต้นหรือเป็นสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จถึงจะมีการเลือกตั้ง ใหม่
"ผมเชื่อว่าสถานการณ์ทางการเมืองตอนนี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้นแต่ต้องอยู่ภาย ใต้ความจริงใจของรัฐบาล ไม่ใช่เป็นการหลอกกันเฉพาะหน้า เช่น ในข้อเสนอให้สังคมมีความปรองดอง หากเสื้อแดงรับข้อเสนอดังกล่าว แต่มีกลุ่มอื่นที่ไม่เห็นด้วยเช่นกลุ่มหลากสีออกมาเคลื่อนไหว แสดงถึงความไม่ปรองดองหรือไม่ ดังนั้นข้อเสนอยุบสภาเลือกตั้งใหม่ก็จะตกไปใช่หรือไม่ ต้องระวังเรื่องนี้เป็นอย่างมาด้วย ผมอยากจะฝากถึงนายกฯ อีกหนึ่งเรื่อง คือ การที่นายกฯ มักพูดเสมอว่าจะไม่มีการต่อรองเจรจาใดๆ ผมไม่เห็นด้วย การเมืองเป็นเรื่องของการต่อรองเจรจา ถ้านายกห้ามเจรจาแสดงว่าไม่ใช่นักการเมือง" รศ.สมชาย กล่าว
นักสันติวิธีจี้ทุกฝ่ายทำข้อตกลงก่อนยุบสภา
นายอัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง นักวิจัยอิสระด้านสันติวิธี และอดีตคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.) กล่าวว่าแผนปรองดองเพื่อแก้ปัญหาการเมืองของนายกรัฐมนตรี ถือเป็นแนวทางที่ดีและจะช่วยลดระดับอุณหภูมิ และความตึงเครียดทางการเมืองลงได้ก่อนจะเดินไปสู่การออกจากปัญหา แต่จะพ้นวิกฤตอย่างยั่งยืนและถาวรหรือไม่นั่นเป็นอีกเรื่องที่ต้องเฝ้า ติดตามและขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นๆอีกหลายประการ
นายอัฮหมัด กล่าวต่อว่า สำหรับโรดแมปที่นายกรัฐมนตรีเสนอนั้น ถือเป็นประตูทางออกที่เปิดกว้างเพื่อให้ทุกฝ่ายได้ก้าวข้ามวิกฤตเฉพาะหน้าใน เวลานี้ ซึ่งอย่างไรก็ตามสิ่งที่รัฐบาลต้องดำเนินการคือวางกรอบเพื่อควบคุมไม่ให้ ปัญหาก่อตัวเกิดขึ้นใหม่ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากสังคมไทยขณะนี้อยู่ในภาวะบอบช้ำอย่างหนัก ดังนั้นหากมีการยุบสภาแล้วกำหนดการเลือกตั้งจะต้องไม่ให้เกิดปัญหาความ วุ่นวายซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก ระลอก
“เนื้อหาสาระที่ทุกฝ่ายพูดคุยหารือเพื่อทำความเข้าใจและตกลงร่วมกันคือ สิ่งที่ต้องตามดูหลังจากนี้ เพราะนี่คือสิ่งสำคัญที่จะระงับไม่ให้อุณหภูมิของปัญหาต่างๆปะทุขึ้นมาใน ห้วงเวลาที่จะมีการเดินไปสู่การเลือกตั้ง” นักวิจัยอิสระด้านสันติวิธี กล่าว
นักวิชาการหนุนโรดแมพปรองดอง-ค้านยุบสภา
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
นักวิชาการหนุน โรดแมพปรองดองแห่งชาติ แต่ค้านยุบสภา ระบุถึงนาทีนี้แกนนำนปช.ต้องยอมถอย ยอมรับข้อเสนอนายกฯ เพราะรัฐบาลถอยไปมากกว่านี้ไม่ได้
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่ม 303 นักวิชาการ กล่าวว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอของนายกฯทั้งหมด แต่ในส่วนของการยุบสภาไม่เห็นด้วย เพราะเชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าแน่นอนว่าทั้งสองฝ่ายต้องการชนะเป็นการ เลือกตั้งแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน
ทั้งนี้ หากจะยุบสภาก็ต้องให้แน่ใจว่าหากมีการเลือกตั้งต้องควบคุมให้เป็นไป อย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม แต่ด้วยระยะเวลาที่สั้นเกินกว่าจะรับประกันอะไรได้
อย่างไรก็ตาม หากนปช.มีความหวังดีกับประเทศชาติจริงไม่มีวาระซ่อนเร้นอื่นก็ต้องยอมรับข้อ เสนอนายกฯ หากไม่ยอมรับรัฐบาลก็ไม่ต้องถอยอีกแล้ว เพราะขณะนี้ถือว่าถอยเต็มที่ นปช.หากไม่ยอมรับข้อเสนอนี้ รัฐก็ไม่ควรไปต่อรอง และควรบังคับใช้กฎหมาย
"รัฐบาลถอยไปมากกว่านี้ไม่ได้เพราะหากเช่นนั้นก็หาความเชื่อมั่นไม่ได้ แต่เหตุการณ์ที่หลักสี่ก็อย่างน้อยเห็นว่ารัฐบาลทำอะไรบ้างแต่ ไม่ได้เรียกความเชื่อมั่นมาได้ทั้งหมด"
'กรณ์'ชี้โรดแมพปรองดองอาจไม่ถูกใจทุกฝ่าย
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
รมว.คลังยอมรับ โรดแมพปรองดองแห่งชาติ เลือกตั้งใหม่ 14 พ.ย. อาจไม่ถูกใจทุกฝ่าย แต่ควรเป็นเงื่อนไขที่ทุกฝ่ายยอมรับเพื่อส่วนรวม
วานนี้ (3 พ.ค.) นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสข้อความผ่านเฟซบุ๊ค http://www.facebook.com/#!/pages/Korn-Chatikavanij/71254499739 Korn Chatikavanij โดยระบุว่า พวกเขาอ้างมาตลอดว่า เรามาแบบไม่ชอบธรรม แต่ทุกสิ่งที่เขาทำ ก็ไม่ชอบธรรม อย่าผิดหวัง อย่าโกรธ อย่าแค้น เก็บแรงไว้ครับ8 ชั่วโมงที่แล้ว
Korn Chatikavanij เงื่อนไขการปรองดองอาจจะไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่ถูกใจทุกฝ่าย แต่ควรจะเป็นเงื่อนไขที่ทุกฝ่ายยอมรับเพื่อส่วนรวม 10 ชั่วโมงที่แล้ว
เอกชนหนุนทำโรดแมพปรองดองก่อนเลือกตั้ง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เอกชนหนุน "อภิสิทธิ์" ทำโรดแมพปรองดองแก้วิกฤติชาติให้เป็นรูปธรรมก่อนเลือกตั้ง แก้ปัญหาระยะยาว
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เสนอ 5 แนวทางปรองดอง พร้อมกำหนดจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 14 พ.ย. ว่า เป็นแนวทางที่ดี ทางฝ่ายเอกชนเห็นด้วยที่จะเสนอให้มีทางออกในแนวทางสันติ
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ย. นั้นหากมีปัญหาจนไม่สามารถจัดการได้ก็คงต้องเลื่อนออกไปก่อนและต้องมีการคุย และทำการตกลงกันของทุกฝ่าย
นายพรศิลป์ มองว่า การเลือกตั้งไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่สิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่ข้อตกลง 5 ข้อ เพราะก่อนที่จะทำการเลือกตั้งนั้น ทางรัฐบาลควรที่จะทำแนวทาง 5 ข้อ สร้างความปรองดองแก้วิกฤติประเทศ ให้ออกมาเป็นรูปธรรมเสียก่อนและควรมีการติดตามผลว่าการทำงานนั้นสามารถเเก้ ไขปัญหาได้จริง ซึ่งถ้ามีการทำอย่างเป็นระบบก็จะสามารถแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นได้อย่าง แน่นอน
'ไตรรงค์'หนุนโรดแมพ ปัดนิรโทรกรรมเสื้อแดง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"ไตรรงค์"หนุนโร ดแมพปรองดองแห่งชาติ แนะเสื้อแดงสลายการชุมนุม ยันนิรโทษกรรมทางการเมืองไม่ได้ ต้องใช้กฏหมายจัดการ
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีเสนอแนวทางปรองดองแห่งชาติเพื่อแก้ไขปัญหาว่า เป็นทางออกที่ดีที่สุด ฝ่ายผู้ชุมนุมน่าจะหาทางลงได้แล้ว เพราะถือว่า การชุมนุมได้ประโยชน์แล้วที่ได้บอกให้รับทราบว่า ประเทศมีความแตกต่างสูงระหว่างคนจน คนรวย ซึ่งต้องหาทางแก้ไข
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีก็รับปากแล้วว่าจะแก้ไขในเรื่องดังกล่าว ถ้าเป็นการชุมนุมในระบอบประชาธิปไตย ผู้ที่มาชุมนุมจะต้องบอกถึงปัญหาให้ฝ่ายรัฐได้รับทราบ เมื่อฝ่ายรัฐนำไปปฏิบัติก็น่าจะยุติการชุมนุม ซึ่งในประเทศที่เจริญแล้วจะเป็นเช่นนี้ ไม่ใช่ว่า เป็นการชุมนุมที่ยื่นเงื่อนไขตามใจเรา อย่างนี้ไม่ใช่การชุมนุมในระบอบประชาธิปไตย ตอนนี้ประเทศเสียหายมาก ควรหาทางลงกันได้แล้ว
เมื่อถามถึงการนิรโทษกรรมให้กลุ่มเสื้อแดง นายไตรรงค์ กล่าวว่า ไม่ได้อยู่แล้ว อย่ามาเจรจาเรื่องนิรโทษกรรม ใครทำความผิดตามกฎหมายอาญาก็ต้องผิด ไม่ใช่ว่า ทำผิดแล้วนิรโทษกรรม เพื่อแลกกับสิ่งต่างๆจนคิดว่า มันไม่ควรจะให้ ไม่เช่นนั้นจะเหิมเกริม และทำเช่นนี้กันเรื่อยๆ โดยเฉพาะเรื่องการทำลายชีวิตคน ทำร้ายคน ทำร้ายทรัพย์สินของทางราชการ ซึ่งถือว่ามีความผิดทั้งนั้น และมีอายุความ 20ปีก็ต้องว่ากันไป
'สมพล'ชี้หุ้นพุ่งแรง รับแผนปรองดองแห่งชาติ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ประธานตลาดหลัก ทรัพย์ฯชี้หุ้นไทยพุ่งแรง! รับสถานการณ์การเมืองเริ่มคลี่คลาย หลังนายกฯเสนอแผนปรองดองแห่งชาติ คาดไตรมาส 3-4 เศรษฐกิจกลับมาคึก
นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานคณะกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นมาแรงใน ช่วงเช้าวันนี้ เนื่องจากนักกลงทุนมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น หลังจากนายกรัฐมนตรีออกมาประกาศโรดแมพสร้างความปรองดองเพื่อจัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 14 พ.ย.นี้ และเบื้องต้นได้รับการตอบรับค่อนข้างดีจากแกนนำคนเสื้อแดง
ทั้งนี้ ความชัดเจนที่เกิดขึ้นทำให้เห็นทางออกที่จะทำให้ปัญหาความขัดแย้งทางการ เมืองยุติลง ทิศทางปัญหาบ้านเมืองดูจะคลี่คลายไปมากพอสมควร โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ก็จะกลับมาให้บริการได้ตามปกติแล้ว ขณะที่พื้นฐานเศรษฐกิจไทยทุกด้านโดยเฉพาะส่งออก ผลผลิตทางการเกษตร การผลิตภาคอุตสาหกรรมหลายประเภทเติบโตได้ดีมาก
นอกจากนี้ นักลงทุนต่างประเทศมองว่าถ้าไม่มีปัญหาการเมือง ก็จะไม่มีอะไรกระทบกับเศรษฐกิจไทย นักลงทุนก็จะมั่นใจมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย โดยในวันนี้เห็นชัดเจนว่าดัชนีตลาดตอบรับดีมาก เพราะตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับขึ้นเล็กน้อย แต่ตลาดหุ้นไทยบวกไปถึง 4% กว่า ใกล้ถึง 800 จุด และคิดว่าเรื่องทั้งหมดคงจะจบในวันนี้ เพราะวันพรุ่งนี้เป็นวันมหามงคล คนไทยทุกคนก็อยากให้ปรองดองกัน
"ไม่ใช่เฉพาะแค่ตลาดหุ้น แต่คนไทยทุกคน รวมถึงคนต่างชาติก็อยากเห็นความปรองดองไม่ขัดแย้ง แน่นอนว่าแผนปรองดองของนายกฯก็ชัดเจนว่าจะเลือกตั้ง 14 พ.ย. เมื่อชัดเจนมากขึ้น นักลงทุนก็จะเห็นทิศทางและมีความเชื่อมั่น นักธุรกิจและนักลงทุนกลัวเรื่องเดียวคือความไม่ชัดเจน แต่อะไรที่ชัดเจนแล้วก็จะสามาถรปรับตัวได้"
นายสมพล กล่าวว่า ความมั่นใจต่อประเทศชาติเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนักลงทุน หากประเทศมีเสถียรภาพ และธุรกิจไปได้โดยการเมืองไม่ขัดแย้งก็จะเป็นตัวเสริมให้ไปได้ด้วยดี ดังนั้น อาจเห็นเศรษฐกิจไตรมาส 2 ของปีนี้ ขลุกขลักบ้าง
อย่างไรก็ตาม ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยดี เศรษฐกิจและตลาดหุ้นก็จะเป็นไปได้ด้วยดีใน ไตรมาส 3-4 ของปีนี้ และมั่นใจว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยในปีนี้จะเติบโตได้เกิน 4% แน่นอน
ประธานคณะกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยอมรับว่า แผนแปรรูปตลาดหลักทรัพย์อาจมีความล่าช้าออกไปบ้างหากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะขั้นตอนการนำกฎหมายเข้าสู่สภาอาจจะเลื่อนออกไป แต่ถ้าประเทศยังอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย กลไกทุกอย่างก็ยังทำงานไปตามปกติ
'ณัฐวุฒิ'ชี้พรรคร่วมหนุนโรดแมพ รอดูปชป.
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"ณัฐวุฒิ"บอกคืน พื้นที่ให้รพ.จุฬาฯ ไม่มีปัญหา ขอรอดูมติพรรคประชาธิปัตย์เย็นนี้ ระบุพรรคร่วมเห็นด้วยกับข้อเสนอนายกฯแล้ว
พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 ได้เดินทางไปยังหลังเวทีปราศรัยของกลุ่มคนเสื้อแดง และเข้าพบกับานายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ และแกนนำเสื้อแดง เพื่อเจรจาต่อรองให้กลุ่มผู้ชุมนุมที่อยู่บริเวณถนนราชดำริ ใกล้กับ รพ.จุฬาฯถอยแนวกันชนบริเวณดังกล่าวออกมาอีก 100 เมตร ซึ่งเป็นบริ เวณแยกสารสิน
นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ แกนนำเสื้อแดง กล่าวว่าขอดูประเด็นใหญ่ของรัฐบาลในช่วงเย็นวันนี้อีกครั้งว่าจะเอาอย่างไร เพราะขณะนี้กลุ่มคนเสื้อแดงทราบแล้วว่าพรรคร่วม รัฐบาลเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรีที่จะให้มีการเลือกตั้งใหม่
นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า ตอนนี้ต้องรอดูท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ อีกครั้ง เพราะเสียงยังแตกอยู่ หากได้รับการยืนยันจากพรรคประชาธิปัตย์ ที่แสดงจุดยืนเห็นด้วยกับพรรคร่วมรัฐบาล การเคลื่อนย้ายคงจะไม่มีปัญหา ทางกลุ่มเสื้อแดงขอรอดูสถานการณ์อีกครั้ง
'พายัพ'รับเงื่อนไขปรองดอง เลือกตั้ง14พ.ย.
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"พายัพ ชินวัตร"ยอมรับเงื่อนไขรัฐบาลเลือกตั้ง 14 พ.ย. ลั่นดีใจที่มีสัญญานแห่งการต่อรองและสัญญานเสรีภาพ
นายพายัพ ชินวัตร น้องชาย.พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเสนอทางออกของประเทศ โดยจะให้มีการเลือกตั้ง14 พ.ย.2553 ว่าสำหรับพรรคเพื่อไทยพวกเราพร้อมเลือกตั้งอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ดีใจที่มีสัญญานแห่งการต่อรองและสัญญานเสรีภาพ แต่จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนก็ต้องติดตามต่อไป
"ถ้าผู้นำมีลักษณะความเป็นผู้นำไปสู่ความปรองดอง สมานฉันท์แล้วทุกอย่างก็เป็นไปด้วยดี ส่วนจะถูกใจคนอื่นหรือไม่ไม่รู้แต่มันถูกทางเสรีภาพ ซึ่งจะเดินไปถึงหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งหวังว่าจะมีการพบปะกันมากขึ้น การพูดคุยเป็นสิ่งที่ดีเสมอ"นายพายัพ กล่าว
จิ๋วชื่นชมนายกฯเสนอโรดแมพแก้วิกฤติชาติ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"พล.อ.ชวลิต" ชื่นชมนายกฯ สำนึกดีเสนอโรดแมพแก้ปัญหา เชื่อเสื้อแดงรับได้ น่าจะเก็บของกลับบ้าน ชี้เป็นสัญญานอนาคตไม่แบ่งสี
ที่พรรคเพื่อไทย เมื่อเวลา 13.30 น. พรรคเพื่อไทยได้จัดพิธีถวายราชสดุดี เนื่องในวันฉัตรมงคล 5 พ.ค. เพื่อเฉลิมพระเกียรติแห่งการบรมราชาภิเษกปีที่ 60 เนื่อง ที่บริเวณชั้น 10 ของอาคารที่ทำการพรรค โดยพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย ได้นำคณะผู้บริหารและส.ส.ของพรรค ประมาณ 50 คน กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณตน และร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อถวายราชสดุดี ต่อหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
พล.อ.ชวลิต ให้สัมภาษณ์ภายหลังเสร็จสิ้นพิธี ถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี เสนอโรดแมป 5 ข้อเพื่อเป็นแนวทางแก้ปัญหาทางการเมือง ว่า ต้องแสดงความชื่นชมนายกรัฐมนตรี เพราะในตอนต้นเรารู้สึกเป็นห่วงว่าท่านจะมีถึงจิตสำนักต่อพี่น้องประชาชน หรือไม่อย่างไร แต่เมื่อปรากฎให้เห็นว่านายกฯได้เปลี่ยนแนวทางจากใช้กำลังจนเกิดความเสียหาย ต่อสังคม และชีวิตของประชาชนไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง จึงปฏิเสธทางนั้นและหันกลับมาหาหนทางพูดจากันใหม่ ส่วนการตัดสินใจจะรับข้อเสนอดังกล่าวหรือไม่นั้นเป็นเรื่องของกลุ่มนปช.ที่ ต้องตัดสินใจ ซึ่งตนคิดว่านปช.คงสบายใจและตอบรับในหลักการ แต่ในรายละเอียดเห็นว่ายังไม่ควรไปพูดอะไรมาก เพราะต้องมีประเด็นที่ต้องหารือกันบ้าง ในเมื่อหลักการคือยุบสภา เลือกตั้งใหม่วันที่ 14 พ.ย.นั้น ทุกฝ่ายต้องยึดสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นหลักเพื่อนำไปสู่ความสบายพระทัยของ พระองค์ท่าน ที่สำคัญต้องไม่ทำให้พระองค์ท่านเสียหาย และทำทุกอย่างเพื่อรักษาสถาบันของเราเอาไว้
พล.อ. ชวลิต กล่าวอีกว่า ส่วนการจัดตั้งกรรมการกลางที่เป็นอิสระ ขึ้นมาตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยปราศจากอิทธิพลของทั้งสองฝ่ายนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่น่ารัก สิ่งที่ตนพูดหลายครั้งว่าสิ่งเกิดขึ้นทั้งหมดนี้คือพระบารมีที่เรามุ่งหวัง ที่แผ่ไพศาลลงมาทำให้เราได้ประสบความสงบเรียบร้อยในแผ่นดิน โดยที่เราไม่ต้องไปทำอะไรเลย และในวันมหามงคล 5 พ.ค. นี้ คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างคงจบลง เสื้อแดงก็คงจะทยอยเก็บของเดิน ทางกลับ ทุกฝ่ายก็คงหันมาจับมือกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อพัฒนาบ้านเมืองให้ไปสู่ความ ก้าวหน้าเพราะเราล้าหลังมานานพอควรแล้ว
ครม.ตีกลับเยียวยาธุรกิจ เจอมรสุมแดงชุมนุม
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ครม.ตีกลับ มาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ-ลูกจ้าง ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง มอบหมาย "กอร์ปศักดิ์" ตั้งกรรมการชุดใหญ่ ทบทวน
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มอบหมายให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีไปพิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการชุดใหญ่ เพื่อเยียวยาผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมปิด แยกราชประสงค์ หลังจากที่ข้อเสนอมาตรการเยียวยาชุดของนายเกียรติ สิทธีอมร ประธานผู้แทนการค้าไทย และนางอัญชลี เทพบุตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รวมทั้งมาตรการจากกระทรวงแรงงาน ยังไม่สามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาของนายกรัฐมนตรีได้ตรงจุด
สำหรับคณะกรรมการชุดใหญ่ที่นายกอร์ปศักดิ์ตั้งขึ้นจะมีอำนาจการตัดสินใจ เรื่องการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวโดยที่ไม่จำเป็นขอมติจาก ครม.อีก
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี เห็นว่าการเสนอมาตรการช่วยเหลือให้กับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนให้กับ ลูกจ้างที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท จำนวน 20,000 คน ตามที่คณะทำงานเสนอมานั้นเห็นว่ายังไม่สามารถตอบโจทย์ของการให้ความช่วย เหลือที่เดือดร้อนได้ เพราะเท่ากับว่าเป็นการช่วยเหลือให้กับผู้ที่ยังมีงานทำอยู่ แต่คนที่ตกงานจริงๆ โดยเฉพาะคนที่อยู่นอกระบบยังไม่ได้รับความช่วยเหลือที่ชัดเจน ซึ่งไม่สามารถตอบคำถามต่อสังคมได้ นายกฯ จึงต้องการให้มีการวางกรอบเรื่องนี้ให้ชัดเจน แล้วนำกลับมาเสนออีกครั้ง
"นายกฯ บอกว่าไม่ตอบโจทย์ ต้องแก้ที่เร่งด่วนก่อน คือ คนตกงานทั้งในและนอกระบบให้ครบ รวมถึงธุรกิจที่ปิดกิจการ รวมทั้งดูเรื่องค่าเช่า"
ขณะที่ รมว.คลัง เสนอให้มีมาตรการจูงใจผู้ประกอบการ เช่น รายใดคิดว่าต้องปลดลูกจ้าง ก็จะหามาตรการจูงใจเพื่อชะลอการตัดสินใจปลดคนงานออกไป
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังไม่เห็นด้วยกับการเสนอขอจัดงานพาณิชย์เอ็กซ์โป ในช่วงกลางเดือนนี้ ที่จะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีสินค้าค้างสต๊อกหรือขายไม่ออกมาขาย ในงานนี้ เพราะเห็นว่าจะเป็นมาตรการที่ซ้ำซ้อนกับมาตรการที่รัฐบาลกำลังช่วยเหลืออยู่ แล้ว เพราะการหามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการส่วนหนึ่งจะพิจารณาจากสินค้าคงคลัง หรือสินค้าที่ยังค้างสต๊อกอยู่ ดังนั้น หากมีมาตรการของกระทรวงพาณิชย์เข้ามาด้วยอาจทำให้เกิดความซ้ำซ้อน
กกร.หนุนโรดแมพปรองดอง ดันศก.โต6%
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
กกร. หนุนโรดแมพสร้างความปรองดองของนายกฯ วอนทุกฝ่ายถอยคนละก้าวเพื่อประเทศชาติ มั่นใจการเมืองคลี่คลายเศรษฐกิจโต 6%
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ว่า ที่ประชุม กกร. สนับสนุนโรดแมพสร้างความปรองดองของนายกรัฐมนตรี แต่เห็นว่ายังขาดรายละเอียดในการปฏิบัติ ขณะที่บางประเด็นเป็นเรื่องยากในการดำเนินการ
ทั้งนี้สิ่งสำคัญคือความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อให้ข้อเสนอบรรลุผล ซึ่งต้องพบกันจุดใดจุดหนึ่ง เพื่อให้เกิดความสงบ และปราศจากความรุนแรง การเจรจาให้เป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย อย่าช่วงชิงความได้เปรียบจนตกลงกันไม่ได้
ส่วนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปีนี้ ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ จะทำให้การบริหารประเทศไม่ราบรื่น และขาดความต่อเนื่องในเรื่องงบประมาณ การช่วยเหลือภาคธุรกิจ แต่หากโรดแมพทำให้เกิดข้อยุติได้จะทำให้การขับเคลื่อนประเทศเดินต่อไปได้ดี ขึ้น เพราะไทยมีศักยภาพอยู่แล้ว
ด้านนายดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาการเมืองที่ผ่านมาบั่นทอนความรู้สึกของภาคเอกชน โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว คือการเลื่อนการจัดงานแสดงสินค้าอาหารและเปลี่ยนสถานที่จัดงานแสดงสินค้า สิ่งทอ ไปเป็นที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนั้นหากทุกฝ่ายถอยคนละก้าว เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้เป็นสิ่งดี
ทั้งนี้ กกร. เตรียมจัดประชุมอินเวสต์เม้นท์ ไทยแลนด์ เพื่อสอบถามความเห็นนักลงทุนในการลงทุนในไทย
ขณะที่ นายประสาร ไตรรัตนวรกุล ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า หากการเมืองคลี่คลาย เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจน เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัว 6% แต่ถ้าสถานการณ์แย่ลงเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณ 2% หรือเฉลี่ยประมาณ 2.6-5.9% พร้อมยอมรับว่าไตรมาส 2 ขยายตัวต่ำกว่าไตรมาสแรก ส่วนการยุบสภานั้น ไม่กระทบการใช้จ่ายของรัฐบาล เพราะแนวทางที่รัฐบาลเสนอให้มีการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม
ตลาดหุ้นไทยพุ่ง33จุด รับโรดแมพปรองดอง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
หุ้นไทยทะยาน 33 จุด นักลงทุนแห่เก็งกำไรหุ้นบิ๊กแคป หลังนายกฯเสนอโรดแมพปรองดองแห่งชาติ คลายปมปัญหาการเมือง
บรรยากาศการลงทุนตลาดหุ้นไทยวันนี้ (4 พ.ค.) ดัชนีทะยานตัวในแดนบวก โดยนักลงทุนกลับเข้าเก็งกำไรหุ้นกลุ่มบิ๊กแคป หลังนายกรัฐมนตรีได้มีการเสนอแผนปรองดองแห่งชาติ โดยเตรียมจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ย. ซึ่งทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าจะเป็นทางออกที่ดี และทำให้กลุ่มเสื้อแดงยุติการชุมนุม ระหว่างชั่วโมงการซื้อขายดัชนีต่ำสุดที่ 786.04 จุด และสูงสุดที่ 798.67 จุด ก่อนปิดตลาดที่ 796.86 จุด บวก 33.35 จุด หรือ 4.37%
หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรกประกอบด้วย PTT ปิดที่ 269.00 บาท บวก 12.00 บาท PTTEP อยู่ที่ 157.50 บาท บวก 5.50 บาท SCB อยู่ที่ 88.50 บาท บวก 6.50 บาท KBANK อยู่ที่ 97.25 บาท บวก 7.00 บาท และ BANPU อยู่ที่ 682.00 บาท บวก 40.00 บาท
สภาที่ปรึกษาฯหนุนแผนปรองดองแห่งชาติ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
สภาที่ปรึกษาฯ หนุนแนวทางแก้วิกฤติชาติของนายกฯ เสนอรัฐบาลเป็นเจ้าภาพประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สนับสนุนแผนของนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อคืนวันที่ 3 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เกี่ยวกับกระบวนการการปรองดองแห่งชาติและแก้ไขสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งใน สังคมปัจจุบัน
นายโอกาส เตพละกุล ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นางภรณี ลีนุตพงษ์ รองประธานคนที่ 2 และนายสมพร เทพสิทธา สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ได้ร่วมกันแถลงข่าวแสดงความคิดเห็นต่อข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี โดยสป.เห็นด้วยในประเด็นของสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น นอกจากทุกฝ่ายต้องไม่พยายามดึงสถาบันเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งใน ปัจจุบันแล้ว จะต้องมีกระบวนการปลูกฝังจิตสำนึกแห่งความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ให้ชัดเจนและจริงจัง ทั้งนี้รัฐบาลควรรับเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ
นอกจากนี้ สป.เห็นชอบให้มีการปฏิรูปโครงสร้างสำคัญของประเทศทั้ง 3 ด้าน ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ด้านเศรษฐกิจ จะต้องยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี) ด้านสังคม คือ การให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีเข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐบาล อย่างแท้จริง เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทุกคนสังคม รวมถึงให้มีกฎกติกาที่แน่ชัด และสื่อ ต้องสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคม โดยไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง นำเสนอข่าวสารในทุกมิติอย่างครบถ้วน โดยไม่ควรเสนอข่าวที่ทำให้เกิดการยั่วยุ และควรเสนอข่าวในเชิงสร้างสรรค์
ส่วนแนวคิดของนายกฯ ที่ให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2553 นับเป็นสัญญาณที่ดีที่จะทำให้บ้านเมืองสงบสุข สป. ขอชื่นชมผู้นำรัฐบาลที่มีความเสียสละ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้อำนาจของตนเองตัดสินทิศทางประเทศอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นครั้งสำคัญ ขอเชิญชวนองค์กรทุกภาคส่วนสมานฉันท์กันเพื่อให้มีการเลือกตั้งที่นำไปสู่ ความสงบสุขภายในประเทศ
'อัทธ์'แนะทบทวนแผนฯ10 ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"อัทธ์" หนุนโรดแมพปรองดองแห่งชาติ พร้อมแนะรัฐทบทวนแผนฯ 10 เร่งลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในภาคประชาชน
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงข้อเสนอแผนการปรองดองแห่งชาติ ซึ่งเป็นแนวทางแก้ไขวิกฤติการเมืองของรัฐบาลว่า เห็นด้วยกับทุกข้อเสนอของรัฐบาล แต่รัฐบาลต้องจัดทำรายละเอียดของแผนแก้วิกฤติโดยแบ่งออกเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยเฉพาะการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเกี่ยวกับการกระจายรายได้ โดยอาจต้องกลับไปพิจารณาทบทวนรายละเอียดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติฉบับที่ 10 ว่ามีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันไม่ เนื่องจากพบว่าปัจจุบันการกระจายรายได้สู่ภาคประชาชนกลับลดลง
“ผมคิดว่าเวลาเพียง 6 เดือน คงไม่เพียงพอที่รัฐบาลชุดปัจจุบันจะดำเนินการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ได้ แต่ความสำคัญอยู่ที่รัฐบาลต่อจากนี้จะเข้ามาสานต่อและผลักดันแนวคิดดังกล่าว ต่อเนื่องหรือไม่ ซึ่งในความเห็นส่วนตัวมองว่าหากต้องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ รัฐจะต้องมุ่งเน้นแก้ปัญหาคน 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยกับกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) เนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยงด้านรายได้”นายอัทธ์กล่าว
นายอัทธ์ กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มเกษตรกรนั้นรัฐบาลต้องคิดใหม่ ยกเลิกการใช้ในโยบายด้านราคาแก้ไขปัญหาพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะนโยบายประชานิยม เช่น การแทรกแซง โดยต้องนำกลไกด้านการตลาดมาใช้แทน รวมทั้งให้ความสำคัญด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอย่างจริงจัง
ด้านเอสเอ็มอี รัฐต้องส่งเสริมให้มีการผลิเพื่อการส่งออกมากขึ้น ด้วยการเร่งสร้างแบรนด์ และเจาะตลาดส่งออกด้วยการจัดตั้งบริษัทนำร่องด้านการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดอา เซียน โดยต้องผลักดันส่วนแบ่งการส่งออกของสินค้าจากลุ่มเอสเอ็มอีให้เป็น 40-50 % จากปัจจุบันซึ่งมีสัดส่วน 30% โดยรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศต่อจะต้องปะกาศพันธสัญญาแก้ไขความ เหลื่อล้ำทางด้านเศรษฐกิจให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร
นายกฯวอนทุกฝ่ายร่วมมือแผนปรองดองแห่งชาติ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
นายกฯระบุครม .รับทราบโรดแมป5ข้อแล้ว วอนทุกฝ่ายร่วมมือ ยันคิดและรับฟังรอบด้านแล้ว มอบ “กอร์ปศักดิ์และอนุพงษ์”เจรจา ย้ำไม่เว้นความผิดอาญาแกนนำ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมครม.หลังจากที่นายอภิสิทธิ์แถลงข่าวเมื่อคืนวันที่ 3 พ.ค.ประกาศโรดแมป 5 ข้อในการสร้างความปรองดองและปฏิรูปประเทศ และนำเสนอโรดแมปต่อสังคมและนปช.เพื่อยุติ เหตุวุ่นวายในบ้านเมือง จากนั้นนายกฯจะยุบสภาในวันที่ 14 พ.ย. โดยผู้สื่อข่าวถามถึงขั้นตอนและรายละเอียดการดำเนินการ นายกฯ กล่าวว่า เบื้องต้นยังไม่ทราบว่าแกนนำนปช.มีท่าทีที่ชัดเจนแล้วหรือไม่ และมีท่าทีอย่างไร เมื่อคืนวันที่ 3 พ.ค.ตนพูดชัดว่ากระบวนการปรองดองที่ตนนำเสนอเป็นสิ่งที่ตั้งใจทำตั้งแต่บัด นี้เป็นต้นไป และแจ้งให้ครม.ทราบแล้วว่า แม้ว่าการดำเนินการกระบวนการนี้เป็นเรื่องที่เชิญชวนทุกภาคส่วนในสังคมเข้า มา แต่รัฐบาล ฝ่ายการเมือง หน่วยราชการต้องถือเป็นวาระสำคัญที่ต้องทำโดยเร่งด่วน
“ผมถือว่าการเร่งเเก้ปัญหาความแตกแยกเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่ในส่วนนี้กลุ่มผู้ชุมนุมต้องยุติการชุมนุม บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ทุกคนทำหน้าที่ได้ตามปกติ ขอให้มาช่วยกันกำกับดูแลในเรื่องต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยก รัฐบาลจะจัดให้มีการเลือกตั้งได้ในวันที่ 14 พ.ย. หากไม่มาร่วมก็เดินหน้าตามแผน 5 ข้อ แต่เชื่อว่าทุกอย่างจะขลุกขลักและไม่ชัดเจนว่าบรรยากาศหรือสถานการณ์ที่ เหมาะสมจะเลือกตั้งจะเป็นเมื่อใด ฉะนั้นแนวทางของรัฐบาลจะเดินตามแนวทางนี้และเป็นเรื่องที่นปช.ต้องตัดสินใจ” นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า คล้ายว่ารัฐบาลยอมจำนนคำข่มขู่คุกคามทั้งที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลระบุว่าจะไม่ ยอมให้เป็นบรรทัดฐานทางการเมืองในประเทศ นายกฯ กล่าวว่า ตนไม่ได้คิดแบบนั้น หากหลายคนจำได้ตนพูดเสมอตั้งแต่ปีที่แล้วว่าการยุบสภามีเวลาที่เหมาะสม ตนเคยพูดไว้ 3 เงื่อนไข คือเศรษฐกิจ กรอบเวลา วันนี้ที่ตนพูดคืองบประมาณเดินได้ตามปกติและตนมั่นใจว่า หากงบประมาณเดินได้ตามปกติ บ้านเมืองสงบ เศรษฐกิจปีนี้แม้จะได้รับผลกระทบแต่เป็นเพียงช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. ประกอบกับ 3 เดือนแรกของปีนี้เศรษฐกิจดีเกินคาด ฉะนั้นเงื่อนไขการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจก็เป็นไปตามที่ตนเคยพูดไว้
นายกฯ กล่าวต่อว่า ส่วนกติกานั้น ขอเรียนว่ามีความเห็นที่แตกต่างหลากหลายมาตลอดและกระบวนการเรื่องนี้หาจุดลง ตัวไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อถึงจุดหนึ่งก็อยู่ที่แผนข้อ 5 ที่ต้องไปทำกระบวนการและมีความชัดเจนออกมาว่าจะเอาอย่างไรแต่สามารถหาข้อ ยุติได้ใน 6 เดือนข้างหน้า ส่วนความสงบนั้นหาก 6 เดือนไม่มีการชุมนุมเคลื่อนไหวต่อต้านและขัดขวางการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆจะ เป็น 6 เดือนที่แตกต่างกับตลอดปีกว่าๆ ที่ผ่านมาและเป็นบรรยากาศที่เอื้อต่อการเลือกตั้งได้ ตรงนี้เป็นจุดยืนที่ตนพูดมาตั้งแต่ต้น แม้แต่ในช่วงที่มีการเจรจากับแกนนำนปช.ตนมีเงื่อนไขไว้ในช่วงปลายปี ฉะนั้นถือว่าเป็นการตัดสินใจในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบ้านเมือง หากตนจะไปจำนนคือต้องยุบสภาทันที หรือ 15-30 วันที่ต้องว่ากันไป
เมื่อถามว่าแม้จะไม่มีการชุมนุมแต่ไม่มีหลักประกันเรื่องวินาศกรรมที่ เกิดควบคู่กันมาตลอดจะยุติและการลงพื้นที่หาเสียงจะปลอดภัยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า วินาศกรรมเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด อย่างน้อยที่สุดคดีอาญาไม่มีเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างเดินหน้าโดยเฉพาะคดีหลักๆในสองเรื่องที่กรมสอบสวนคดีพิเศษรับไป ดำเนินการแล้วและเดินหน้าต่อเต็มที่โดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในกระบวนการปรองดองนั้นไม่ได้พูดถึงการนิรโทษกรรมให้ใครในทางอาญาทั้งสิ้น จะยกเว้นประชาชนธรรมดาเข้าไปในพื้นที่ชุมนุมตามพ.ร.ก.บริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน แต่คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีหลักและมีหมายจับ ทุกอย่างจะดำเนินการตามปกติต่อไป
“ส่วนเหตุการณ์ 6 เดือนข้างหน้านั้นต้องดูว่ากระบวนการก่อการร้ายและวินาศกรรมยังมีอยู่หรือ ไม่ แต่เชื่อว่าคดีที่เริ่มต้นแล้วและมีการจับกุมตรวจค้นพบอาวุธนั้นทำให้ทราบ ชัดเจนขึ้นว่า เครือข่ายการก่อการร้ายเกี่ยวกับใครบ้าง ก็น่าจะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานในเรื่องนี้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่าหลักประกันกับผู้ชุมนุมหากมีการรับเงื่อนไขนี้จะเป็นเช่นใด นายกฯ กล่าวว่า หากรับเงื่อนไขจะมีวิธีบริหารยุติการชุมนุมคือดูแลความปลอดภัยของประชาชนที่ เดินทางกลับ และเจ้าหน้าที่รัฐต้องตรวจสอบอาวุธเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมั่นใจของทุก ฝ่าย เมื่อถามว่าเวลาที่จำกัดคือ 6 เดือน ข้อใดใน 5 ข้อจะสำเร็จก่อน นายกฯ กล่าวว่า แต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน เช่น หากไล่จากเรื่องเฉพาะเช่นการสอบสวนหรือตรวจสอบข้อเท็จจริงในเหตุการณ์นั้น ตนคิดว่า 6 เดือนเพียงพอ ส่วนกติกาการเมืองเรื่องใดเร่งด่วนก็ทำก่อน ส่วนเรื่องไม่เร่งด่วนหากตกลงกันได้ ก็รอไว้หลังการเลือกตั้งได้ ส่วนกระบวนการสื่อและสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นต้องทำงานต่อเนื่อง ส่วนการแก้ปัญหาโครงสร้างนั้นแน่นอนว่าไม่มีใครสามารถทำเสร็จได้ภายใน 6 เดือนแต่สิ่งที่จะสร้างขึ้นมาคือกลไกและกระบวนการที่จะทำเรื่องนี้ได้ต่อ เนื่อง ซึ่งในวันที่12-13 พ.ค.จะมีการประชุมคณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชนและได้ประสานภาค ประชาสังคมมาทำข้อเสนอการปฏิรูปประเทศและสังคม ที่จะนำไปสู่การจัดสมัชชาในวันที่ 20 พ.ค. และข้อเสนอนี้จะเดินหน้าเป็นรูปธรรมในข้อเสนอย่อยๆเช่น ที่ดินทำกิน หนี้สิน โอกาสและความยากจน
เมื่อถามว่า จะยกเลิกพ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไปเร็วมากเพราะยังไม่ทราบว่าการชุมนุมจะยุติหรือไม่ ขอเรียนว่าพ.ร.ก.ฉบับนี้ต้องมีอีกระยะหนึ่ง เช่น การบริหารยุติการชุมนุมต้องมีการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่เพื่อดูแลความ ปลอดภัยทั้งบุคคลและสถานที่ ตรงนี้มีความจำเป็น รวมทั้งเรื่องกลไกของสื่อที่ต้องทำขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดการปลุกระดมและปลุก ปั่นได้ เมื่อถามว่าแสดงว่านายกฯจะใช้พ.ร.ก.ฉบับนี้ไปจนกว่าจะแน่ใจ นายกฯกล่าวว่า ต้องใช้ไป ขอเทียบเคียงให้เห็นเมื่อปีที่แล้วว่าเมื่อเหตุการณ์ยุติลง มีเวลาสองสัปดาห์ก่อนยกเลิกพ.ร.ก.ฉบับนี้ ขั้นตอนตรงนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
เมื่อถามว่า ข้อเสนอ 5 ข้อของนายกฯ ที่เสนอไปนั้น จะมั่นใจว่าท่าทีของนปช.จะเป็นเอกภาพหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เรากำลังพูดถึงคนจำนวนมากและหลากหลาย ตนคิดว่ามันคงจะไม่ยากเกินไปที่จะรู้ว่าอะไรที่เป็นขบวนการและระบบหรืออะไร เป็นสิ่งที่อาจมีปัญหาควบคุมไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งในกระบวนการปรองดองที่ตนยืนยันว่าทุกข้อนั้น เช่น สื่อที่สร้างความแตกแยกหรือปัญหาการล่วงละเมิดสถาบัน มันไม่พอที่แต่ละฝ่ายจะบอกว่าตัวเองไม่เกี่ยว ทุกคนต้องมาช่วยกันทำว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะแก้ไขอย่างไร เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ชัดเจน มีชื่อของบุคคลว่าใครรับผิดชอบบ้าง ทุกฝ่ายและนปช.ต้องช่วยกันว่าสื่อนี้เกี่ยวข้องกับนปช.หรือไม่ เช่น เว็บไซต์นปช.ยูเอสเอ ตกลงแล้วเกี่ยวข้องกับนปช.หรือไม่ หากเกี่ยวข้องก็แสดงว่าไม่เข้าสู่กระบวนการปรองดองเพราะมีพฤติกรรมชัดเจน หากไม่เกี่ยวข้องก็ต้องร่วมมือกับเราในการจัดการ
“ตรงนี้เป็นตัวอย่างที่ยกให้เห็นว่าต้องเข้าเงื่อนไขแบบนี้และคงไม่ใช่ เรื่องที่บอกว่ามีปัญหาแล้วไม่เดินตามกระบวนการปรองดองแต่ไปบอกว่าไม่เกี่ยว และไม่รู้คงไม่ได้” นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า นายกฯมั่นใจหรือไม่ว่าการตัดสินใจของแกนนำนปช.จะเป็นอำนาจเด็ดขาด นายกฯ กล่าวว่า “เป็นระบบของฝ่ายนั้น ผมก้าวล่วงไม่ได้ ที่ผ่านมาการบริหารการชุมนุม แกนนำนปช.ต้องบริหารจัดการไป ผมขอเรียนว่า สังคมดูออกว่าอะไรเป็นอะไร”
เมื่อถามว่า พรรคร่วมรัฐบาลเห็นด้วยกับข้อเสนอ 5 ข้อนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหา แผนที่เสนอก็เสนอในนามของรัฐบาล เมื่อถามว่า สิ่งใดที่ทำให้นายกฯยอมร่นเวลาการยุบสภาจาก 9 เดือนเหลือ 6 เดือน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ประเมินจากสถานการณ์และประเมินจากสิ่งที่จะต้องดำเนินการ คิดว่าเรื่องเศรษฐกิจได้อธิบายแล้ว เรื่องกติกาบางทีก็อยู่ที่ว่าถ้าไม่มีกรอบเวลาที่ชัดเจนก็จะไม่หาข้อยุติกัน ส่วนเรื่องความสงบถ้ามันสงบ 6 เดือนต่อเนื่องกันตนว่ามันก็นานกว่าทุกช่วงระยะเวลาในหลานปีที่ผ่านมา เมื่อถามว่า แกนนำนปช.เรียกร้องให้พรคร่วมรัฐบาลแถลงยืนยันร่วมกัน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีความจำเป็นเพราะอำนาจการยุบสภาไม่ได้เป็นของครม.แต่เป็นของนายกฯ ที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ
เมื่อถามว่า นปช.ยื่นข้อเสนอว่าควรจะต้องเปิดสัญญาณพีทีวี สัญญาณอินเตอร์เน็ตและวิทยุชุมชนในเครือข่ายนปช.ทั้งหมด นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อกลไกที่มีดูแลเรื่องสื่อเรียบร้อยก็จะสามารถดำเนินการได้ตามข้อเสนอข้อ ที่ 3 เมื่อถามว่า แกนนำนปช.ที่ถูกหมายจับเจ้าหน้าที่สามารถจับกุมซึ่งหน้าได้ ถ้าแกนนำนปช.รับข้อเสนอตามแผนปรองดอง เมื่อกลับบ้านจะโดนล็อกตัวหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “เขาก็ควรจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ที่เขาสามารถจะได้รับจากกระบวนการยุติธรรมได้” เมื่อถามว่า เท่ากับว่าหากเจ้าหน้าที่เจอซึ่งหน้าก็จับกุมได้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าคงบริหารไม่ให้เกิดความวุ่นวาย แต่ทุกคนความรับผิดทางกฎหมายเป็นอย่างไรก็ยังเป็นเช่นนั้นสิทธิตามกกฎหมายมี เช่นไรก็ยังมีเช่นนั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า การประกาศยุบสภาของนายกฯจะเกิดปัญหาข้าราชการเกียร์ว่างหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ หัวเราะก่อนกล่าวว่า ไม่มีใครรู้แน่นอน มันต้องบริหารทั้งสถานการณ์จากวันนี้ถึงเดือนพ.ย.และเลือกตั้ง ไม่มีปัญหา เพราะไม่มีรัฐบาลชุดไหนที่ไม่มีอายุไม่สิ้นสุดอยู่แล้ว เมื่อถามต่อว่า ทำไมนายกฯไม่อยู่จนครบวาระและจะตอบคำถามคนไม่อยากให้ยุบสภาได้อย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กระบวนการปรองดองคงไม่มีใครที่จะได้ทุกสิ่งทุกอย่างตามใจชอบ และจริงๆก่อนที่จะมีการชุมนุมตนก็ส่งสัญญาณมาโดยตลอดว่า ตนเห็นว่าการยุบสภาอาจจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้แต่ต้องเป็นเวลาที่เหมาะสม ดังนั้นสิ่งนี้เป็นจุดยืนของตนมาโดยตลอด และเข้าใจเห็นใจคนที่อยากจะเห็นการที่รัฐบาลอยู่ครบวาระและตนได้ให้การยืน ยันว่าการตัดสินใจของตนอยู่บนหลักการที่เคยพูดมาโดยตลอด ไม่ใช่เป็นเรื่องการไม่เสียหลักในเรื่องของนิติรัฐ และไม่มีการนิรโทษกรรมทางอาญาใครมีความผิดทางกฎหมายอย่างไรต้องดำเนินการ
เมื่อถามว่า นายกฯมั่นใจหรือไม่ว่าแผนปรองดองจะเป็นคำตอบสุดท้ายในเรื่องอายุรัฐบาลจะ อยู่อีก 6 เดือน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีอะไรแล้วในเรื่องการที่ต่อรอง ตนคิดว่าเป็นการนำเสนอที่ครบถ้วนในตัวของมันเอง ถ้าตอบรับก็รับถ้าไม่ตอบรับก็ไม่ตอบรับ ตนนึกไม่ออกว่าสังคมจะปล่อยให้เป็นเรื่องของการมาเจรจาต่อรองอะไรกันอีก เพราะคิดว่าสิ่งที่ตนพูดไปสดับรับฟังจากทุกฝ่ายแล้ว แม้กระทั่งคนซึ่งเกี่ยวข้องอยู่กับผู้ชุมนุมเองก็ยอมรับว่ามันเป็นแนวคิดที่ สอดคล้องกับการแก้ปัญหาในภาพรวม ถ้าไม่ตอบรับก็ต้องดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย
เมื่อถามว่า ต้องมีการลงสัตยาบันกันหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ต้องลงสัตยาบันเพราะการแถลงต่อสาธารณะมันผูกมัดทุกอย่างอยู่แล้วในตัว และตนได้อธิบายเงื่อนไขต่างๆอย่างชัดเจน ตอนนี้มันก็มีเรื่องรายละเอียดเท่านั้น เพราะแต่ละข้อต้องมีบุคคลและกลไกที่ต้องมารับผิดชอบ ต้องฟังและช่วยกันคิดเร่งจัดตั้งกันขึ้นมา
เมื่อถามว่า นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย และยืนยันว่าไม่เป็นมติพรรค นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยอมรับว่าไม่ใช่มติพรรค แต่คิดว่าในหลักของการตัดสินและการบริหารสถานการณ์ตนได้ทำความเข้าใจกับ สมาชิกพรรคในระดับหนึ่ง ส่วนความเห็นของนายชวนนั้น ตนยังไม่เห็นรายละเอียดการให้สัมภาษณ์ แต่เห็นที่สรุปออกมา 2 เรื่อง คือไม่เห็นด้วยว่ายุบสภาในลักษณะที่เป็น การจำนนต่อการกดดันซึ่งตนได้อธิบาย แล้วหลักยุบสภาที่ตนคิดว่าเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับที่ตนพูดมาก่อนหน้านี้ และไม่เห็นด้วยกับการนริโทษกรรมคดีอาญาซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ปรองดองอยู่แล้ว ดังนั้นตนไม่แน่ใจว่าในรายละเอียดนายชวนพูดว่าอย่างไร แต่นายชวนได้พูด 2 เรื่องนี้และตนเห็นว่าไม่ขัดอะไรกับสิ่งที่ตนตัดสินใจไป
เมื่อถามว่า นายกฯมั่นใจหรือไม่ว่าการตัดสินใจบริหารตามแผนนี้พรรคประชาธิปัตย์จะยอมรับ การตัดสินใจของนายกฯ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนมั่นใจ แต่ในพรรคมีสิทธิ์แสดงความเห็นแต่เป็นเรื่องที่ตนมั่นใจ เพราะการพูดคุยรายงานสถานการณ์กับสมาชิกในพรรคทำอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นเรื่องปกติว่าความคิดเห็นต่อสถานการณ์มีหลากหลาย ส.ส.ของพรรคก็รับความคิดเห็นจากกลุ่มคนที่หลากหลาย บางคนจะยังสับสนบ้าง บางคนอาจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วยเป็นเรื่องปกติ และการประชุมพรรคประชาธิปัตย์ในวันที่ 6 พ.ค.นี้ตนจะไปประชุมและอธิบาย
เมื่อถามย้ำว่า จะไม่นิรโทษกรรมให้เฉพาะคดีอาญา หมายความว่าแกนนำนปช.ก็จะไม่มีความผิดหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "ทำไม ขณะนี้เขามีหมายจับอยู่ก็เดินต่อ กระบวนการเดินต่อ เพราะหมายจับที่ออกไปเป็นคดีอาญาทั้งสิ้น" เมื่อถามว่า ไม่ว่าเหตุการณ์จะจบลงอย่างไรแกนนำนปช.ทั้งหมดที่มีหมายจับหมายเรียกจะต้อง ถูกดำเนินคดี นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “ต้องมีการดำเนินคดีตามปกติ สิทธิและหน้าที่ของเขาเป็นอย่างไรก็ยังเป็นอย่างนั้น และในกระบวนการเข้าไปแล้วจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนที่จะต้องเป็นดุลยพินิจของศาล เราต้องเคารพการตัดสินของศาล ความหนักเบาจะมีการประกันศาลจะใช้ดุลยพินิจในการตัดสิน”
ผู้สื่อข่าวถามว่า คณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.)อยากให้นายกฯสรุปให้ชัดเจนว่าจะยุบสภาวันใด นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “ไม่เป็นไร เราอย่าไปทำให้เรื่องซับซ้อนไปอีก เอาว่าจริงๆแล้วเลือกตั้ง 14 พ.ย.”
เมื่อถามว่า ในที่ประชุมครม.ได้มีการติดต่อกับแกนนำผู้ชุมนุมหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มี พอดีประชุมครม.มีการตัดสัญญาณโทรศัทพ์ทุกคนอยู่แล้ว แต่หากมีการยุติการชุมนุมต้องมีการบริหารขั้นตอนพื่อประโยชน์เรื่องความ ปลอดภัยของผู้ชุมนุม ในครม.ตนได้มอบหมายให้ฝ่ายการเมืองโดยนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ส่วนฝ่ายข้าราชการประจำได้มอบให้พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบ กรณีที่จะมีการยุติการชุมนุม 2 คนนี้ต้องเป็นผู้ประสานงานจัดการยุติการชุมนุม การออกจากที่ชุมนุมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ตนก็หวังไม่ต่างจากประชาชนคนไทยทั่วไปว่า จะเป็นโอกาสที่จะออกจากวิกฤติอีกครั้งหนึ่ง วันนี้อาจมีโอกาสแล้วอาจจะผ่อนคลายลงบ้างแต่ไม่ทราบว่าท่าทีสุดท้ายของนปช .จะเป็นอย่างไร แต่คิดว่าสิ่งที่ตั้งเอาไว้ 6 เดือนทุกอย่างสงบเรียบร้อยจริงก็ได้กำชับไปแล้วว่าเป็นภารกิจสำคัญที่สุดของ รัฐบาลในการแก้ปัญหาความแตกแยกทั้งหมดซึ่งต้องขอความร่วมมือจากประชาชนด้วย
เมื่อถามว่า จะกลายเป็นความสุขชั่วคราวแล้วจะเป็นทุกข์หนักของประเทศในอนาคตหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยู่ที่พวกเราทุกคนว่าในที่สุดจะเป็นเรื่องชั่วคราวหรือไม่ ตนมีหน้าที่จะไม่ให้เป็นอย่างนั้นและตนต้องรับผิดชอบการตัดสินของตน
เมื่อถามอีกว่า ข้อเสนอที่ 5 เหมือนจะเป็นประโยชน์เฉพาะนักการเมืองไม่กี่คน จะตอบคำถามประชาชนที่ไม่ได้ทำผิดกฎหมายได้อย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอธิบายแล้วว่าจริงๆตนจบแค่ 4 ข้อ มันก็เป็นคำตอบกับโจทย์ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในวงกว้างแต่คิดว่าวันนี้ เราไม่ยอมรับความจริงว่าความขัดแย้งอีกส่วนหนึ่งเป็นปัญหาของนักการเมืองกัน เอง ถ้าเราไม่เผชิญตรงนั้นคำตอบมันก็ไม่ครบ ส่วนการดำเนินการตามข้อ 5 จะใช้วิธีการอย่างไร ตนกำลังเปิดทางเลือกอยู่ประมาณ 2 ทาง และกำลังตัดสินใจว่ากลไกดำเนินการเรื่องนี้เป็นอย่างไร แต่การหาข้อยุติแม้จะเกี่ยวข้องกับนักการเมืองโดยตรงก็ต้องมีคำตอบให้กับ สังคม
เมื่อถามถึงกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ปรากฏตัวต่อสาธารณอีกครั้งในช่วงนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยากจะพิสูจน์ว่าไม่ได้เป็นไปตามข่าวลือ และคิดว่าเป็นการยืนยันว่าพ.ต.ท.ทักษิณก็เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆที่ เกิดขึ้นทั้งหมดอยู่ ยังมีการเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิด
แกนนำนปช.รับโรดแมปนายกฯ ชุมนุมต่อจนกว่าประกาศวันยุบสภา
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"วีระ" แจงแกนนำ นปช.มติเอกฉันท์รับปรองดอง แต่ปัดรับนิรโทษกรรมขอมาตรฐานเดียวกัน "ณัฐวุฒิ" จี้รับผิดชอบสลายตาย
เมื่อเวลา 18.00 น.ที่เวทีราชประสงค์ นายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำ นปช.ได้ขึ้นเวทีปราศรัยระบุผลการประชุมหารือร่วมกับแกนนำนปช.ว่า ผลการประชุมได้มีมติอย่างเป็นเอกฉันท์ที่จะยินดีเข้าสู่กระบวนการปรองดอง อย่างเป็นเอกฉันท์ โดยมีข้อสรุป 4 ข้อ แต่ที่ยังไม่ชัดเจนคือ กระบวนการเลือกตั้งที่เป็นอำนาจของ กกต. ดังนั้นนายกรัฐมนตรีควรจะประกาศความชัดเจนกรอบของการยุบสภาว่าจะเป็นวันใด ส่วนเรื่องการนิรโทษกรรมให้กับนปช.ไม่ขอรับ แต่ต้องมีการดำเนินคดีกับทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน
ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. กล่าวว่า เราขอเรียกร้องคดีการสั่งสังหารเหตุการณ์ 10 เม.ย. , 22 เม.ย.และ 28 เม.ย.เพื่อให้เกิดมาตรฐานเดียวกัน ขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอรับนำเป็นคดีพิเศษ เรื่องนี้ขอให้ว่ากันไปตามข้อเท็จจริงของคดีให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน เราขอเรียกร้องรัฐบาลต้องยุติการคุกคาม ประชาชนต้องมีสิทธิชุมนุมอย่างสันติ และสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
นายณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่า แม้เหตุการณ์นี้จะเป็นการเผชิญหน้าของสองกลุ่ม คือ คนเสื้อแดงกับรัฐบาล แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกลับเป็นวงกว้าง เกี่ยวถึงความเป็นอยู่ความนึกคิดของประชาชน เมื่อเป็นดังนี้ปฏิบัติการใดๆที่เกิดจากกลไกรัฐย่อมมีผลต่อการดำรงชีวิตของ ประชาชนในภาพรวม รัฐบาลต้องยุติการคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชนในทุกด้านโดยทันที จนกว่าจะได้ข้อสรุปตรงกันประชาชนต้องมีสิทธิเสรีภาพในการเดินทาง การชุมนุมและการแสดงออก โดยสงบสันติภายใต้รัฐธรรมนูญ และต้องมีสิทธิในการบริโภคข่าวสาร ไม่ควรมีการลิดรอน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญที่จะพิสูจน์ความจริงใจของรัฐบาล เราจะปรองดองกันไม่ได้ถ้าไม่อยู่กันอย่างเท่าเทียม อีกฝ่ายถืออาวุธแต่อีกฝ่ายไม่มีเสรีภาพในการไปไหนมาไหน อีกฝ่ายเสนอข่าวตามอำเภอใจ แต่อีกฝ่ายไม่มีพื้นที่ในสื่อสารมวลชนของตัวเองในการจะพูด ความเท่าเทียม จากเสรีภาพที่เท่ากันจะเป็นรหัสสัญญาณในการเริ่มต้นที่ดี ในการหลีกเลี่ยงความรุนแรงในการสูญเสียใดๆ
ขณะที่นายจตุพร พรหมพันธ์ กล่าวว่าตอนนี้ขอยืนยันจะใช้สิทธิชุมนุมต่อ เพื่อรอว่านายอภิสิทธ์จะประกาศวันยุบสภาเมื่อไหร่ ส่วนคนเสื้อแดงจะไม่เสนอว่ารัฐบาลต้อง ยุบสภาวันไหน แต่ขอให้ชัดเจนในเรื่องนี้ จากนั้นแกนนำจะหารือและดูรายละเอียดในข้อเสนอห้าข้อที่เสนอมา
ผู้สื่อข่าวถามว่าขณะนี้ได้ส่งตัวแทนไปเจรจาหรือไม่ นายจตุพร กล่าวว่า ไม่ใช่ไม่เจรจา ไม่พูดคุยกัน แต่มีการส่งตัวแทนไปคุย ซึ่งตอนนี้ขอความชัดเจนเรื่องยุบสภาเสียก่อน
ด้านนายณัฐวุฒิ กล่าวว่าคนเสื้อแดงจะเลิกการชุมนุมเมื่อได้ ข้อยุติว่านายกฯจะยุบสภาวันไหน โดยขณะนี้เราจะปักหลักชุมนุม และไม่มีการเปลี่ยนแปลง เราจะรอกี่วันก็รอได้ และอยากให้รัฐบาลหารือกับพรรคร่วมละนายชวน หลีกภัย ด้วย เพื่อให้ได้ข้อยุติส่วนที่มีการประกาศว่าจะใช้กำลังสลายหากไม่ยุติการชุมนุม ว่า ถ้ารัฐบาลเสนอมาตรการปรองดองแต่กลับใช้กำลังสลายการชุมนุมสังคมโลกก็ต้อง พิจารณาแต่ในส่วนคนเสื้อแดงก็พร้อมอยู่แล้ว
ปธ.วุฒิหนุนโรดแมพปรองดอง เชื่อนปช.รับได้
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"ประสพสุข”หนุน 5 ข้อนายกฯพาชาติปรองดอง เนื่องจากมีกำหนดเวลาชัดเจน เลือกตั้ง 14 พ.ย. เชื่อทุกฝ่าย รวมถึงนปช. ยอมรับได้
วันนี้(4พ.ค.) รัฐสภา-นายประสพสุข บุ ญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงแผนโรดแม็ป 5 ข้อของนายกรัฐมนตรีว่า เชื่อว่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เป็นโรดแม็ปที่ทุกฝ่าย รวมถึงนปช.น่าจะยอมรับได้ เพราะนายกฯได้ยอมเต็มที่แล้วที่จะให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ย.นี้ ส่วนตัวเห็นด้วยกับ 5 ข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีอย่างยิ่ง และอยากให้ทุกฝ่ายยอมรับข้อเสนอนี้นปช.จะได้ถอยกลับไปดำเนินชีวิตของตนเอง ตามปกติ ให้ทุกฝ่ายกลับไปปรองดองกันเช่นเคย
เมื่อถามว่าทำไมนายกฯถึงไม่พูดให้ว่ายุบสภาวันไหน นายประสพสุข กล่าวว่า วันเลือกตั้งสำคัญกว่าวันยุบสภา ขณะที่จะมีกระบวนการต่าง ๆที่จะนำไปสู่ความปรองดอง ที่จะมาแก้ไขปัญหาในเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม จากนี้ไปจึงต้องหาคณะกรรมการที่มีความเป็นกลางขึ้นมาสอบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร ขณะนี้ทุกคนอยากรู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร คณะกรรมการที่จะตั้งขึ้นมาจึงต้องมาจากหลายฝ่ายที่มีความเป็นกลางเพื่อทำ หน้าที่สืบเสาะหาข้อเท็จจริงให้สังคมได้รับทราบ
เมื่อถามว่าโรดแม็ป 5 ข้อ ที่นายกรัฐมนตรีประกาศเหมือนกับที่คณะกรรมการสมานฉันท์เคยมีข้อเสนอมาแล้ว แต่รัฐบาลไม่มีการปฏิบัติ นายประสพสุข กล่าวว่า คงไม่ใช่ เพราะโรดแม็ป 5 ข้อล่าสุดมีกำหนดเวลาที่ชัดเจน คิดว่ารัฐบาลและทุกพรรคการเมืองต้องทำตาม หากทำได้จะเป็นผลดีต่อการเลือกตั้ง เชื่อว่าเขาต้องทำกันเต็มที่เพราะทุกพรรคล้วนอยากกลับมาเป็นรัฐบาลทั้งนั้น และถือว่านายกรัฐมนตรีได้ให้สัญญากับประชาชนไว้แล้ว จึงเชื่อว่าที่ประกาศไว้จะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง
กกต.ลั่นพร้อมจัดการเลือกตั้ง 14 พ.ย.นี้
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
กกต. ลั่นพร้อมจัดการเลือก 14 พ.ย.นี้ ตามที่นายกฯ ประกาศ แต่ห่วงเลือกตั้งหาเสียงรุนแรง ผู้สมัครลงพื้นที่ไม่ได้ แนะสื่อวางตัวไม่เป็นกลาง
นายประพันธ์ นัยโกวิท คณะกรรมการการเลือกตั้ง ด้านการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณี นายกรัฐมนตรีประกาศแผนปรองดองแห่งชาติ และให้มีการเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ย. ว่า ในการประชุมกกต.ยังไม่มีการพูดคุยกัน เพราะต้องรอให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเจรจากันจนได้ข้อยุติเสียก่อน แต่ส่วนตัวเห็นว่าการที่รัฐบาลเปิดการเจรจาเป็นเรื่องที่ดี ไม่ใช่ปล่อยให้ยันกันอยู่ 2 ฝ่าย และไม่ควรมองว่าใครแพ้ใครชนะ ต้องเอาประเทศชาติเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่นายกฯ จะประกาศกำหนดวันเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ย.ก็ไม่ได้หารือมาที่กกต.ก่อน อาจเป็นเพราะทราบล่วงหน้าแล้วว่า กกต.มีความพร้อมจัดการเลือกตั้ง ซึ่งถ้าจะเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ย.ตามที่ประกาศ รัฐบาลก็ต้องกำหนดวันยุบสภาก่อนหน้านั้น โดยสามารถเริ่มประกาศยุบสภาได้ในช่วงตั้งแต่วันที่ 16-30 ก.ย. เป็นอย่างช้า เพราะตามกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการเลือกตั้งภายใน 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วันนับจากวันที่ยุบสภา
“ในเรื่องจัดการเลือกตั้งกกต.ไม่มีปัญหาเลยหาก 2 ฝ่ายตกลงกันได้ข้อยุติ ที่ประชุมกกต.ก็จะมีการกำหนดเรื่องของวัน สมัครรับเลือกตั้ง และขอให้มั่นใจว่ากกต.จะจัดการเลือกตั้งด้วยความ เป็นกลาง ไม่มีการช่วยเหลือใคร แต่ที่เราห่วงคือเมื่อมีการเลือกตั้งแล้วอยากให้ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถไปหาเสียงได้ในทุกพื้นที่ และการทำงานของสื่อวิทยุ ทีวี ก็อยากให้มีการนำเสนออย่างเป็นกลาง เพราะตามกฎหมายพรรคการเมืองจะใช้สื่อในการหาเสียงไม่ได้ สื่อจึงต้องวางตัวเป็นกลางไม่ไปช่วยผู้สมัครหาเสียง” นายประพันธ์ กล่าว
ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายต้องมีความจริงใจ ซึ่งตนจะไม่ก้าวล่วงที่จะเรียกร้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายทำสัตยาบัน แต่เป็นเรื่องของสัญญาสุภาพบุรุษก็ได้ โดยถ้าหากมีการเลือกตั้งก็จะใช้งบประมาณไม่ต่างจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ประมาณ 2 พันล้านบาท ซึ่งคิดว่าในแง่ของเงินหมุนเวียนในประเทศคงไม่มีปัญหา เพราะก่อนหน้านี้รัฐบาลก็สามารถแจกเงิน 2 พันล้านบาท ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่น่าเป็นปัญหา
ส่วนหากมีการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ คดีที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของส.ส.และรัฐมนตรีที่กกต.พิจารณาอยู่ก็จะทำให้แล้ว เสร็จ เพราะขณะนี้เหลืออยู่ไม่กี่สำนวน สำหรับคดียุบพรรคประชาธิปัตย์นั้น หากก่อนวันเลือกตั้งมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคจะส่งผลการเลือกตั้งหรือไม่ ตนไม่สามารถคาดเดา เพราะอยู่ในขั้นตอนของศาลรัฐธรรมนูญ
ด้านนางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า หากรัฐบาลและผู้ชุมนุมจะประนีประนอมกันแล้วก็ควรจะมีการตกลงกันในเรื่องของ การหาเสียง เพราะกฎหมายก็ไม่ได้มีการกำหนดไว้ว่าการหาเสียงจะมีการดำเนินการขัดขวางกัน ได้หรือไม่ เพียงแต่เขียนไว้ว่าให้การหาเสียงเป็นไปอย่างโปร่งใสเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ดังนั้น การจะไปบังคับไม่ให้อีกฝ่ายหาเสียงคงทำไม่ได้ อย่างไรก็ตามกกต.คงไม่ไปเรียกร้องให้มีการทำ สัตยาบัน เพราะเป็นเรื่องของการเมืองที่กกต.จะเข้าไปก้าวล่วงไม่ได้ แต่เห็นว่าทั้ง 2 ฝ่ายควรตกลงกัน โดยเมื่อเข้าสู่การเลือกตั้งในแต่ละพื้นที่ก็ควรมีการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย เข้าไปหาเสียงในพื้นที่ได้
“การจะทำสัตยาบันหรือไม่อยู่ที่ 2 ฝ่ายเคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกันหรือไม่ ถ้าทำสัตยาบันแล้ว แต่ยังทำพฤติกรรมไม่เหมือนที่ลงสัตยาบันไว้ก็ไม่มีประโยชน์ ดังนั้น เมื่อ 2 ฝ่ายตกลงกันที่จะมีการยุบสภาเลือกตั้งโดยคิดว่าการเลือกตั้งจะทำให้ประเทศ ชาติสงบเรียบร้อยก็ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นไม่เป็น การสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมา และเพื่อให้เป็นการยุติว่าการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นกกต.มีความเป็นกลางไม่เข้าข้าง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็เห็นด้วยที่จะให้องค์กรต่างประเทศเข้ามาสังเกตการเลือก ตั้งได้” นางสดศรี กล่าว
นางสดศรี กล่าวอีกว่า ในการเลือกตั้งที่ผ่านมากกต.ก็มีโครงการเลือกตั้ง สมานฉันท์ ดังนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้ก็จะใช้โครงการนี้อีก โดยจะให้แต่ละพื้นที่กกต.จังหวัดก็จะมีการเชิญผู้ที่ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งมาหารือและทำพิธีสาบานตนว่าจะแข่งขันกันตาม กติกา ไม่กระทำการทุจริต ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้ผลเพราะคนไทยกลัวเรื่องคำสาบาน
เมื่อถามว่า ระหว่างการเลือกตั้งหากมีการโฟนอินเข้ามาของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กกต.จะดำเนินการอย่างไร นางสดศรี กล่าวว่า มีระเบียบกกต.ที่กำหนดว่าระหว่างการเลือก ตั้งห้ามผู้ถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้งอยู่ แล้ว เพราะอาจทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้รับใบเหลืองใบแดง ซึ่งข้อกำหนดต่างๆ มีอยู่อย่างชัดเจนจึงไม่ต้องกังวล อีกทั้งในระหว่างการยุบสภากฎหมายก็มีการกำหนดอยู่แล้วว่าช่วงของการเป็น รัฐบาลรักษาการณ์นั้น การดำเนินการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ การอนุมัติงบประมาณต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกกต. ซึ่งหากรัฐบาลหรือรัฐมนตรีฉวยโอกาสในช่วงก่อนการยุบสภาดำเนินการเรื่องเหล่า นี้ก็อาจกลายเป็นเรื่องที่ถูกฝ่ายตรงข้ามร้องเรียนได้ ซึ่งกกต.ก็ต้องเข้าไปตรวจสอบว่าการ ดำเนินการดังกล่าวเป็นการหวังผลเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้งหรือไม่ รวมทั้งในทางการเมืองแล้วถ้ามีการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม เมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา เขาก็ต้องเข้ามาดูแลเปลี่ยนแปลงได้