สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

3 สมาคมวิชาชีพเตือนภัย แนะวิธีดูอาคารเสี่ยงถล่มหลังไฟไหม้

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ Zoom Content




3 สมาคมวิชาชีพด้านวิศวกรรมและตรวจสอบอาคารประกอบด้วย นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ตัวแทนสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย (วปท.) และนายกสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร (ตปอ.) พร้อมทีมงานได้หารือร่วมกันเพื่อให้ข้อมูลชี้แนะประชาชนเกี่ยวกับเรื่องความ ปลอดภัยอาคารที่ถูกเพลิงไหม้

อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุลอบ วางเพลิง 34 จุดในพื้นที่กรุงเทพฯและต่างจังหวัด เมื่อวันที่ 19-20 พฤษภาคม ที่ผ่านมา หลังจากเจ้าหน้าที่ควบคุมเพลิงได้แล้วมีความเป็นห่วงว่าอาคารทั้งหมดที่ถูก ไฟไหม้เสี่ยงต่อการถล่มหรือมีความไม่ปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากมีอาคารบางแห่งที่ถูกไฟเผานานหลายชั่วโมง

อาคารใหญ่ทนไฟ ได้ 2-3 ช.ม.

ข้อมูลสมาคมวิชาชีพระบุว่า อาคารในประเทศไทยส่วนใหญ่ก่อสร้างด้วย "คอนกรีตเสริมเหล็ก" ซึ่งสามารถทนไฟดังนี้ 1) กรณีเป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษ หรืออาคารสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป/หรือพื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตร.ม.ขึ้นไป อาจทนไฟได้ประมาณ 2-3 ช.ม. 2) กรณีเป็นอาคารขนาดเล็กหรือตึกแถว สามารถทนไฟได้ประมาณ 30 นาที หลังจากนั้นอาคารมีโอกาสถล่มลงมาได้ทุกเมื่อ

วสท.ได้แสดงความเป็นห่วงอาคารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พลาซา เนื่องจากถูกไฟไหม้นานหลายชั่วโมง เบื้องต้นจึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะต้องรื้อถอนอาคารโดยการสำรวจรื้อถอนก็ ต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะบางกรณีอาจจำเป็นต้องเสริมกำลังให้กับโครงสร้างอาคารก่อนเพื่อความ ปลอดภัย

"จุดเสี่ยง" หลังไฟไหม้อาคาร

สำหรับอาคารที่เกิด เหตุเพลิงไหม้ ในทางวิศวกรรมสามารถแบ่งความเสียหายได้เป็น 3 ระดับ คือ 1."เสียหายระดับรุนแรง" หมายถึงมีความเสียหายมาก จุดสังเกตคือ ตัวอาคารมีฝ้ายุบตัวลงมา คานหรือพื้นอาคารไม่ได้ระดับ ผนังอาคารเอียง โครงสร้างอาคาร (เสา-คาน) ขยายออกในลักษณะบวมตัว ส่วนใหญ่มักเป็นอาคารที่ถูกไฟไหม้เป็นเวลานานเกินกว่า 8 ชั่วโมง

2."เสีย หายระดับที่ต้องเฝ้าระวัง" กรณีนี้ถือว่ามีความเสียหายค่อนข้างมาก จุดสังเกตคือ มีพื้นอาคารแอ่นตัว คอนกรีตที่ติดกับผิวเหล็กเส้นในตำแหน่งที่ไม่สำคัญ (จุดที่ไม่ได้รับน้ำหนักมาก) กะเทาะร่อน ส่วนใหญ่มักเป็นอาคารที่ถูกไฟไหม้เป็นเวลาไม่เกิน 3-4 ชั่วโมง

และ 3."เสียหายระดับที่ต้องตรวจสอบเชิงลึก" กรณีนี้ถือว่ามีความเสียหายไม่มาก จุดสังเกตคือ มีรอยแตกร้าวและเขม่าควันในตำแหน่งที่ไม่สำคัญ ส่วนใหญ่มักเป็นอาคารที่ถูกไฟไหม้ไม่เกิน 30 นาที

ตรวจอาคาร "ตลท.-มาลีนนท์"

ทั้งนี้ ภายหลังเกิดเหตุทั้ง 3 สมาคม วิชาชีพพร้อมด้วยทีมงาน กทม. (กรุงเทพมหานคร) ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบอาคาร 2 แห่ง คือ อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ และอาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์

"ผศ.ชลชัย ธรรมวิวัฒนุกูร" นายกสมาคม ตปอ. หนึ่งในทีมตรวจสอบอาคารระบุว่า เบื้องต้นทั้ง 2 อาคารถือว่าได้รับความเสียหายในลักษณะต้องตรวจสอบเชิงลึก คือมีความเสียหายไม่มาก

กรณี "อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ" พบความเสียหายจากเพลิงไหม้บริเวณชั้น 1-2-3 และพื้นที่ห้องสมุดมารวยบริเวณ ชั้น 1 และ 2 หลังจากนี้จะกั้นพื้นที่ห้ามคนเข้าเพื่อตรวจสอบดูความแข็งแรงโครงสร้างอาคาร ต่อไป

ส่วน "อาคารมาลีนนท์" พบความเสียหายจากเพลิงไหม้บริเวณชั้นใต้ดินและชั้น 1 และส่วนอาคารจอดรถ เบื้องต้นอาจต้องมีการค้ำยันเพื่อเสริมความแข็งแรงในพื้นที่อาคารจอดรถบาง จุดก่อนเข้าตรวจสอบอาคาร

"โดยสรุปคาดว่าอาคารแต่ละแห่งจะใช้เวลาใน การซ่อมแซมไม่เกิน 15 วัน แนวทางทำงาน วสท.มีการนัดหารือกันเพื่อแบ่งทีมงานออกตรวจสอบตามอาคารในจุดต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้ในกรุงเทพฯ"

view