จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
ใครหลายคนจึงเลือกเข้าวัด เข้าวา เดินหน้าเข้าหาธรรมะ เพื่อเป็นที่พึ่งทางจิตใจ ทำให้ที่ผ่านมารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงศาสนา หรือ"ทัวร์ ธรรมมะ" หรือ"ทัวร์บุญ" ได้รับความนิยมอย่างสูง โดยมีรูปแบบการท่องเที่ยวที่หลากหลาย อาทิ การไปนั่งปฏิบัติธรรมในวัด การทัวร์ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไหว้เทพเจ้า การทัวร์ทำบุญ ฟังเทศน์ ฟังธรรม การเที่ยวตามวัดดังต่างๆ เที่ยวตามประเพณีสำคัญทางศาสนา และการไหว้พระ 9 วัด ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในรอบ 5-6 ปีที่ผ่านมา |
||||
ในขณะที่หมอต้อง สมพล รุ่งกิติพงศ์พันธ์ พิธีกรรายการ"ต้องจิต ติดจรวด" ช่องซุปเปอร์บันเทิง ASTV ผู้ที่คุ้นเคยกับการทัวร์ธรรมะเป็นอย่างดี กล่าวว่า จากอดีตถึงปัจจุบันการท่องเที่ยวทางธรรมเป็นวิถีปกติของคนไทย เพราะคนไทยมีวัฒนธรรมการเข้าวัด ทำบุญ ไหว้พระ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจุดประสงค์ของการเข้าวัดและไปเที่ยวทัวร์ธรรมมะ เพื่ออะไรเท่านั้นเอง |
||||
ทั้งนี้ในการเลือกวัดทัวร์ธรรมะนั้น หมอต้องเสนอว่า ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกวัดที่ต้องการความช่วยเหลือในที่กันดาร ห่างไกลเจริญ แต่ต้องเป็นวัดที่น่าเชื่อถือ น่าศรัทธา เพราะการไปทำบุญช่วยเหลือวัดเหล่านั้นถือเป็นการช่วยทำนุบำรุงศาสนาอีกทาง หนึ่ง |
||||
ด้าน อ. คฑา ชินบัญชร พรีเซ็นเตอร์โครงการ "ทัวร์ ธรรมมะ เที่ยวทั่วไทย สุขใจเสริมมงคล" โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย(ททท.) เปิดเผยว่า เหตุที่ทัวร์ธรรมมะในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างสูง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ความวุ่นวายของบ้านเมืองในปัจจุบัน |
||||
เรื่องนี้ อ.คฑา กล่าวว่า การทำบุญไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนวัดแต่อยู่ที่จิตใจของเรา แต่อย่างน้อยการไหว้พระ 9 วัดก็เป็นจุดเริ่มต้นของการทำความดีอาจทำให้รู้จักตัวตนของเราได้ "อยากให้หลายหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเข้ามาปรับปรุงรูปแบบการจัดทัวร์ธรรมะให้มีรูปแบบหลากหลายมาก ขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชนที่สนใจ เช่น การท่องเที่ยวทางธรรมแบบตามรอยพระดำรัสของในหลวงที่เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน หรือชาวบ้าน การไปปฏิบัติธรรม การศึกษาคำภีร์พระไตรปิฏก การไปสถานที่ประวัติศาสตร์ที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเพื่อ เพิ่มคุณค่าของเรื่องราวต่างๆให้มีความน่าสนใจ และมีวิธีคิดใหม่ๆซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้ อีกทั้งเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์และความดีของพระพุทธศาสนาให้คนรุ่นหลังเก็บ รักษาไว้ต่อๆไป" อ.คฑา เสนอแนะ |
||||
"การท่องเที่ยวทัวร์ธรรมมะนี้ ไม่ใช่การท่องเที่ยวเพื่อความสนุกแค่เพียงอย่างเดียว แต่หลักธรรมคำสอนและแนวคิดทางพระพุทธศาสนา สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตจริงได้ นอกจากนี้ยังเป็นที่พึ่งทางใจ ก่อให้เกิดกำลังใจในการดำเนินชีวิต" อ.คฑากล่าวทิ้งท้าย * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * |
||||
การท่องเที่ยวเชิงศาสนาหรือทัวร์ธรรมะที่ได้รับความนิยมขึ้นเป็น ลำดับในสังคมไทย ทำให้เกิดข้อถกเถียงขึ้นในสังคมว่า "วัดควรเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือไม่?" เพราะมองว่าวัดสมควรเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่อยู่ของสงฆ์ และสถานที่เผยแผ่ศาสนา ซึ่งหากไม่มีการศึกษาการจัดการที่เหมาะสม จะทำให้วัดสูญเสียคุณค่าของความเป็นวัดไป สำหรับในเรื่องนี้ "พัชรินทร์ อิ่มพิทักษ์" ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ traveler leisure&Business คอลัมน์ Travel in Trend โดยอ้างอิงจากโครงการวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) "เรื่องรูปแบบการพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยวประเภทวัดในกรุงเทพ มหานคร" ที่มีพระมหาสุทิตย์ อาภากโร สังกัดวัดสุทธิวราราม เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เพื่อศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาท่องเที่ยวประเภทวัดในกรุงเทพมหานครว่า วัดควรเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือไม่ อย่างไร โดยหาความเหมาะสมในการจัดการท่องเที่ยววัด โดยได้มีการศึกษาจากวัดจำนวน 9 แห่ง ที่มีความเหมาะสมในการจัดการการท่องเที่ยว อาทิ วัดพระเชตุพนวิมลฯ(วัดโพธิ์) วัดอรุณฯ วัดสุทัศน์ฯ วัดชนะสงครามฯ เป็นต้น โดยบทความนี้มีเนื้อหาสำคัญคือ จากผลการศึกษาจากพระสงฆ์และผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่า วัดมีความเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้และเที่ยวชมในด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม พุทธศิลปกรรม และการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา แต่ควรมีการจัดการในเชิงพื้นที่และผลกระทบต่อวิถีของชาวพุทธและพระสงฆ์ ขณะที่การเรียนรู้จากการท่องเที่ยวจะเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ แต่กระบวนการจัดการจะต้องตั้งอยู่บนพื้นที่ฐานของพุทธศาสนา วัฒนธรรมประเพณีของไทย และความเคารพต่อสถานที่และวิถีชาวพุทธ และการเที่ยวชมวัดและความงดงามของศิลปกรรมจะนำไปสู่การเรียนรู้ในด้านอื่นๆ ดังนั้น ควรมีการใช้สื่อสัญลักษณ์ที่เหมาะสม และการเรียนรู้จากภายในและความเป็นตัวตนของวัดและชุมชน อย่างไรก็ดี จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศรวม 800 คน พบว่า คนไทย ที่เดินทางเที่ยววัดส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุระหว่าง 21-30 ปีมากที่สุด รองลงมาคือ 31-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด รองลงมาเป็นมัธยมศึกษาตอนปลาย และอนุปริญญาตามลำดับ เหตุผลหลักในการท่องเที่ยว คือ พักผ่อน ไหว้พระพุทธรูป ชมวัด สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ พบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ชายอายุประมาณ 21-30 ปีมากที่สุด รองลงมา คือ 31-40 ปี การศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญามากที่สุด รองลงมา คือมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่วนใหญ่เดินทางมาเที่ยวเป็นครั้งแรก 52.1% ครั้งที่ 2 ประมาณ 28.3% และครั้งที่ 3 ประมาณ 19.5% การท่องเที่ยวจะเป็นการเที่ยวชมความงดงามด้านศิลปกรรมเจดีย์ พระปรางค์ พระอุโบสถ และยังสนใจกิจกรรม การสวดมนต์ การนั่งสมาธิ อย่างไรก็ดี จากการสำรวจยังพบว่าวัดโพธิ์ เป็นวัดที่นักท่องเที่ยวนิยมไปมากสุดจำนวน 8.15 ล้านคน/ปี ความนิยมอันดับที่ 24 ของโลก วัดอรุณ จำนวน 5 ล้านคน/ปี วัดระฆัง 1 ล้านคน/ปี วัดสระเกศ ประมาณ 5-7 แสนคน/ปี ขณะเดียวกันยังให้คะแนนวัดโพธิ์ ในเรื่องของการจัดกิจกรรมมากที่สุด รองลงมาเป็นวัดระฆัง และวัดเบญจมบพิตร ขณะที่ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวในวัด มีมากมายตั้งแต่การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อสถานที่ โอกาส และวัฒนธรรมอันดีงามของไทยและระเบียบวัด โดยส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ , การไม่ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม และขาดความเป็นระเบียบในการเที่ยวชม โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทย, การรุกล้ำของร้านขายสินค้าและบริการภายในวัด จนเกิดข้อขัดแย้งกับชุมชน ไปจนถึงการแสวงหาผลประโยชน์ของผู้ให้บริการบางกลุ่ม ทั้งนี้ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่มี ความเห็นว่า วัดทั้ง 9 วัด สามารถเป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้ โดยวัดสามารถจัดการเพื่อรองรับทางการท่องเที่ยวได้ เช่น มีการดูแลและอนุรักษ์โบราณวัตถุ โบราณสถาน และสถาปัตยกรรมภายในวัดในระดับดี รองลงมา ได้แก่ มีการใช้ประโยชน์จากแหล่งท่องเที่ยวภายในวัดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้าน วัฒนธรรม การจัดพื้นที่ภายในวัด เช่น สถานที่ไหว้พระ สถานที่ถ่ายรูป หรือที่นั่งสมาธิ ไหว้พระ สวดมนต์ การให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของวัดหรือทางพระพุทธศาสนา การกำหนดเขตพื้นที่ในการรองรับนักท่องเที่ยวและการเที่ยวชมภายในวัด ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า วัดถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย แต่ก็จะต้องมีการวางระบบการจัดการให้เหมาะสม เพื่อการพัฒนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน |