จากประชาชาติธุรกิจ
นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ และกรมอนามัยได้จับมือกันสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์ โดยได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ และวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการสำรวจปี 2552 พบว่า ก่อนแต่งงาน หญิงอายุ 15-49 ปี หรือสามีได้รับข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวจากบุคลากร สาธารณสุขมีเพียงร้อยละ 15.0 และได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาทาลัสซีเมียหรือเชื้อ HIV ร้อยละ 21.7 (ตรวจหาทาลัสซีเมีย ร้อยละ 19.4 และหาเชื้อ HIV ร้อยละ 20.9) โดยผู้ที่อาศัยในเขตเทศบาลมีผู้ได้รับบริการทั้งด้านข้อมูลและคำปรึกษา เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว รวมทั้งการตรวจเลือดก่อนแต่งงานมากกว่าผู้อยู่นอกเขตเทศบาลอย่างเห็นได้ชัด
แผนภูมิ 1 ร้อยละของหญิงอายุ 15 - 49 ปี จำแนกตามการเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน และ เขตการปกครอง พ.ศ. 2552
- ผู้หญิงในเขตเทศบาลแต่งงานช้ากว่าผู้หญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาล
เมื่อ เปรียบเทียบกับผลการสำรวจปี 2549 พบว่า หญิงไทยมีอายุแรกสมรสเฉลี่ย (SMAM) ลดลงเล็กน้อย คือจาก 23.1 ปี เป็น 22.2 ปี โดยหญิงที่อยู่ในเขตเทศบาล สมรสช้ากว่าหญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาล และพบว่า ความแตกต่างของอายุแรกสมรสเฉลี่ยของหญิงที่อยู่ในเขตเทศบาลและหญิงที่อยู่ นอกเขตเทศบาลเริ่มลดลงคือ ลดจาก 3.3 ปี ในปี 2549 เป็น 2.8 ในปี 2552
แผนภูมิ 2 อายุแรกสมรสเฉลี่ย1/ ของหญิงไทย จำแนกตาม เขตการปกครอง พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2552
- หญิงกรุงเทพตรวจหาก้อนที่เต้านมน้อยที่สุด
หญิง อายุ 30 - 59 ปี ที่เคยตรวจหาก้อนที่เต้านมในรอบปีที่ผ่านมามีเพียงร้อยละ 58.1 ซึ่งเป็นการตรวจด้วยตนเองร้อยละ 23.6 ตรวจโดยบุคลากรสาธารณสุขร้อยละ 20.3 และตรวจด้วยตนเองและบุคลากรสาธารณสุข ร้อยละ 14.2 เมื่อพิจารณาจำแนกตามเขตการปกครองและภาค พบว่า หญิงที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลเคยตรวจหาก้อนที่เต้านมสูงกว่าในเขตเทศบาลเล็ก น้อย (ร้อยละ 59.8 และ 54.6 ตามลำดับ) หญิงที่อาศัยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเคยตรวจหาก้อนที่เต้านมใน รอบปีที่ผ่านมาสูงกว่าภาคอื่น ๆ (ร้อยละ 64.9 และ 63.3 ตามลำดับ) ส่วนภาคที่เคยตรวจน้อยที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร(ร้อยละ 47.4)
แผนภูมิ 5 ร้อยละของหญิงอายุ 30 - 59 ปี จำแนกตามการตรวจหาก้อนที่เต้านมในรอบปีที่ผ่านมา เขตการปกครอง และภาค พ.ศ. 2552
- สาวเหนือและอีสานใส่ใจสุขภาพเร่งตรวจมะเร็งปากมดลูก
หญิง อายุ 30 - 59 ปี ที่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกในรอบ 5 ปีที่ผ่านมามี ร้อยละ 60.2 โดยหญิงที่อาศัยนอกเขตเทศบาลตรวจมะเร็งปากมดลูกมากกว่าหญิงที่อยู่ในเขต เทศบาล (ร้อยละ 64.3 และ 52.1 ตามลำดับ) หญิงที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนที่เคยตรวจต่ำสุด (ร้อยละ 44.4) ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสัดส่วนใกล้เคียงกันและสูงกว่าภาคอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด (ร้อยละ 69.0 และ 67.3 ตามลำดับ)
แผนภูมิ 6 ร้อยละของหญิงอายุ 30 - 59 ปี จำแนกตามการตรวจมะเร็งปากมดลูกในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เขตการปกครองและภาค พ.ศ. 2552
เป็นที่น่าสังเกตว่า การตรวจหาก้อนที่เต้านม และมะเร็งปากมดลูกของหญิงอายุ 30-59 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนน้อยกว่าหญิงที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล และกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนน้อยกว่าภาคอื่น ทั้งนี้อาจเนื่องจากการรณรงค์ในการตรวจมะเร็งระบบสืบพันธุ์ผ่านทางอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หน่วยแพทย์เคลื่อนที่และสถานพยาบาลในพื้นที่นอกเขตเทศบาล สามารถเข้าถึงครัวเรือนหรือกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าในเขตเทศบาล โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ผู้หญิงมีการทำงานหรือดำเนินชีวิตอยู่นอกครัวเรือนและเร่งรีบ โอกาสในการเข้าถึงบริการตรวจมะเร็งระบบสืบพันธุ์โดยบุคลากร สาธารณสุข มีน้อยกว่าหญิงที่อยู่ในภาคอื่น