จาก โพสต์ทูเดย์
หากมองไปที่ความขัดแย้งของพรรคเพือแผ่นดินและพรรคภูมิใจไทยถ้า มองแบบการเมืองก็น่าเชื่อว่ามาจากเรื่องของผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว ซึ่งผลประโยชน์ที่ว่านั้น คือ การจัดสรรงบประมาณของกระทรวงใหญ่อย่างมหาดไทยและคมนาคม
โดย...ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย
หากมองไปที่ความขัดแย้งของพรรคเพือแผ่นดินและพรรคภูมิใจไทยถ้ามองแบบการ เมืองก็น่าเชื่อว่ามาจากเรื่องของผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว ซึ่งผลประโยชน์ที่ว่านั้น คือ การจัดสรรงบประมาณ เพราะสิ่งนี้จะเป็นเครื่องมือในการหาเสียงที่สำคัญในอนาคต โดยหากส.ส.คนไหนสามารถผันงบประมาณลงพื้นที่ของตัวเองได้มากเท่าไหรโอกาสใน การได้เก้าอี้ส.ส.ยิ่งมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ไม่แปลกที่นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม จะเสนอให้พรรคประชาธิปัตย์เข้ามาดูแลกระทวงมหาดไทย เอง ซึ่งในส่วนลึกๆแล้วก็อาจต้องการให้ประชาธิปัตย์เข้ามาดูในกระทรวงคมนาคมด้วย
ถามว่าทำไมสองกระทรวงนี้ถึงมีความสำคัญในทางการเมืองมากมายขนาด นี้ ?
ในส่วนของ "กระทรวงมหาดไทย" (มท.) ถือว่าเป็นศูนย์บัญชาการส่วนราชการทั่วประเทศโดยเฉพาะท้องถิ่นตั้งแต่ผู้ว่า ราชการจังหวัดไปจนถึงผู้ใหญ่บ้าน โดยในร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2554 กำหนดให้กระทรวงมหาดไทยมีงบประมาณทั้งสิ้น 231,685,000,000 บาท คิดเป็น11.2% ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานลำดับต้นๆที่ได้รับงบประมาณค่อนข้างสูงจากทั้งหมด 2.07 ล้านล้านบาท
ไม่เพียงเท่านี้ หากเจาะเข้าไปในรายละเอียดของกระทรวงมหาดไทยจะพบว่า กรม ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับงบประมาณสูงสุดจำนวน 160,025,319,100 บาท ซึ่งเป็นส่วนราชการของมหาดไทยที่จะมีผลต่อการทะลวงฟันในพื้นที่ให้กับภูมิใจ ไทย
งบประมาณรายต่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2554 จำแนกตามหน่วยงานรวมกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานในกำกับ 231,685,000,000 บาท
ส่วนราชการ |
216,600,430,000 บาท |
- สำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย - กรมการ ปกครอง - กรมการ พัฒนาชุมชน - กรมที่ดิน - กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย - กรมโยธาธิ การและผังเมือง - กรมส่ง เสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น |
3,093,189,800 บาท 34,443,704,100 บาท 4,000,029,400 บาท 5,673,841,200 บาท 2,623,581,500 บาท 6,800,692,900 บาท 160,025,391,100 บาท |
หน่วยงานในกำกับ |
15,024,570,000 บาท |
- กรุงเทพมหานคร - เมือง พัทยา |
13,629,570,000 บาท 1,395,000,000 บาท |
ที่มา : เอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 งบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ.2554 เล่มที่ 6
ทั้งนี้หากจะบอกว่างบประมาณของกระทรวงมหาดไทยถือว่าเป็นชิ้นปลามันมากที่ สุดในทางการเมืองมากที่สุด คือ งบประมาณของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนทิ้งถิ่น เพราะเป็นหน่วยงานนี้จะควบคุมกลไกส่วนราชการท้องถิ่นทั่วประเทศกว่าหมื่น แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้จะเป็นหัวคะแนนให้กับนักการเมืองและนั่นหมายความว่า จะเป็นกลไกที่สร้างฐานทางการเมืองได้มากที่สุดเช่นกัน
โดยงบประมาณของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นมีจำนวนทั้งสิ้น 160,025,391,100 บาท จำแนกตามแผนงาน 5 ด้าน ดังนี้
1. แผนงานสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี 2,942,574,100 บาท
2. แผนงานพัฒนาด้านสาธารณสุข 7,240,557,600 บาท
3. แผนงานสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 31,068,312,000 บาท
4. แผนงานส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครอง 117,123,986,300 บาท
5.แผนงานบริหารจัดการภาครัฐ 1,649,961,100 บาท
ขณะที่ กระทรวงคมนาคม (คม.)แม้ในภาพรวมของกระทรวงจะดูเหมือนว่าไม่ได้เป็นกลไกสร้างฐานอำนาจทางการ เมืองมากนักถ้าหากเทียบกับกระทรวงคมนาคม แต่ด้วยการที่กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานที่ดูแลระบบการขนส่งของประเทศ ทำให้ย่อมมีบทบาทในการจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างถนนหนทางทั่วประเทศ ส่งผลให้การเซ็นอนุมัติเกี่ยวกับการก่อสร้างระบบขนส่งในต่างจังหวัดหรือส่วน ท้องถิ่นย่อมมีผลในทางการเมืองไม่แพ้กันเพราะการเอาถนนเข้าไปในพื้นที่แบบใน คำจำกัดความว่า “ไกลปืนเที่ยง” ได้ย่อมนำมาซึ่งคะแนนความนิยมในทางด้วย
งบประมาณประจำปีงบประมาณพ.ศ.2554 จำแนกตามหน่วยงาน 76,713,406,600 บาท
ส่วนราชการ |
76,713,406,600 บาท |
สำนักปลัดกระทรวงคมนาคม |
400,947,700 บาท |
กรมเจ้าท่า |
4,130,787,300 บาท |
กรมการขนส่งทางบก |
2,139,312,100 บาท |
กรมการบินพลเรือน |
1,374,305,900 บาท |
กรมทางหลวง |
47,444,907,800 บาท |
กรมทางหลวงชนบท |
20,768,483,500 บาท |
สำนักงานนโยบายและแผนขนส่งและจราจร |
454,662,300 บาท |
ที่มา : เอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 งบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ.2554 เล่มที่ 4
ทั้งนี้ หากมองกระทรวงคมนาคมในมิติของการเมืองแล้วกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทจะมี บทบาทเพราะจะเป็นส่วนราชการที่อนุมัติเกี่ยวกับการก่อสร้างในการสร้างถนนโดย เฉพาะในต่างจังหวัด โดยหากส่วนไหนของประเทศอยากได้ถนนลาดยางก็ต้องผ่านการยินยอมของสองหน่วยงาน นี้ จึงไม่แปลกที่สองหน่วยงานดังกล่าวจะได้งบประมาณมากที่สุดในกระทรวงคมนาคม
แผนงานกรมทางหลวงในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริหารจัดการ ขนส่งสินค้าและบริการ 47,444,907,800 บาท
โครงข่าย ทางหลวงได้รับการพัฒนา |
11,835,867,400 บาท |
โครงข่าย ทางหลวงได้รับการบำรุงรักษา |
14,038,512,100 บาท |
โครงข่าย ทางหลวงมีความปลอดภัย |
3,083,678,300 บาท |
โครงการ เร่งรัดขยายทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องทางจราจร |
3,430,907,000 บาท |
โครงการ แก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่กทม. ปริมณฑล และเมืองหลัก |
704,510,000 บาท |
โครงการก่อ สร้างทางหลวงสนับสนุนการขนส่งแบบต่อเนื่อง |
3,051,692,000 บาท |
โครงการก่อ สร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง จังหวัดนครพนม |
743,948,000 บาท |
โครงการ เพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง |
3,753,000,000 บาท |
โครงการ บูรณะทางหลวงสายหลัก |
4,974,000,000 บาท |
โครงการ สร้างสะพานแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย |
295,913,000 บาท |
โครงการ พัฒนาโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ |
982,564,000 บาท |
โครงการก่อ สาร้างบูรณะ ปรับปรุง สะพานทั่วประเทศ |
550,316,000 บาท |
ที่มา : เอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 งบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ.2554 เล่มที่ 4
แผนงานกรมทางหลวงชนบาทในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริหาร จัดการขนส่งสินค้าและบริการ 20,768,483,500 บาท
การพัฒนา ระบบโครงข่ายทางหลวงชนบท |
8,993,131,000 บาท |
การบำรุง รักษาระบบโครงข่ายทางหลวงชนบท |
9,983,756,500 บาท |
การพัฒนา บุคคลากรด้านช่างให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น |
169,553,100 บาท |
โครงข่าย ทางหลวงชนบทเพื่อการท่องเที่ยว |
795,492,300 บาท |
โครงข่าย ทางหลวงชนบทเพื่อการเชื่อมต่อระบบขนส่ง |
826,550,600 บาท |
ที่มา : เอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 งบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ.2554 เล่มที่ 4
เพราะฉะนั้น เมื่อดูจากตัวงบประมาณทั้งในส่วนของภาพรวมและจำแนกในกรมกองที่มีผลต่อการ สร้างฐานเสียงเลือกตั้งแล้ว จะเห็นได้ว่าด้วยตัวเลขงบประมาณจำนวนมหาศาลนี้จึงเป็นสิ่งหอมหวานให้ครอบ ครอง หรือถ้าใครครอบครองดูแลอยู่แล้วก็อยากจะรักษามันเอาไว้