สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กทช.คลอดเกณฑ์ประมูลไลเซ่นส์3G เปิดประมูลก.ย.รวม3ใบอนุญาต เคาะราคาเริ่มต้นใบละ1หมื่นล้าน

จากประชาชาติธุรกิจ

กทช.เห็นชอบอย่างเป็นทางการ ออกไลเซ่นส์ 3G 3ใบภายในเดือนก.ย. พร้อมตั้งราคาประมูลขั้นต้นที่ 10,000 ล้านบาท และต้องสำรองโครงข่าย 40% ให้ผู้ให้บริการ MVNO ระบุต้องวางหลักประกัน10% หรือ1พันล้านก่อนประมูล หลังจากนั้นต้องจ่ายอีก50%ก่อนรับใบอนุญาต


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันที่ 4 มิ.ย. 2553 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.)ได้ประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการออก ใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G โดยเบื้องต้นมีมติเห็นชอบให้มีการจัดสรรความถี่ย่าน 2100 MHz สำหรับใบอนุญาต 3 ใบ ใบละ 15x2 MHz อายุใบอนุญาต 15 ปี 


 ส่วนวิธีการจัดสรรจะใช้วิธีการประมูลแบบ SMR (simultaneous multiple-round)โดยประมูลพร้อมกันทุกใบ แต่จำนวนใบอนุญาตที่เปิดจะใช้วิธี -1 จากจำนวนผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติขั้นต้น(pre-qualification) เช่น หากมีผู้ผ่านPre-Q 3 ราย จะเปิดประมูลใบอนุญาตแค่ 2 ใบ ผ่านPre-Q 2ราย เปิดประมูล 1 ใบ และหากผ่าน Pre-Q เพียงรายเดียวจะไม่เปิดประมูล 


 เหตุที่ใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อกทช.ต้องการให้มีการแข่งขันเสนอราคา อย่างแท้จริง และใบอนุญาตที่เหลือจากการประมูลรอบแรก กทช.จะเร่งเปิดประมูลครั้งใหม่ให้เร็วที่สุดเพื่อให้ผู้ให้บริการรายใหม่ สามารถเข้าสู่ตลาดในเวลาไล่เลี่ยกัน 


 ส่วนราคาขั้นต้นในการประมูล กทช.เห็นชอบให้ตั้งไว้ที่ 10,000 ล้านบาท โดยเป็นสัดส่วนอยู่ที่ 80% ของมูลค่าความถี่ที่ควรเป็น ซึ่งจากการศึกษาคาดว่าน่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 12,800 ล้านบาท/ใบ บวก-ลบ ไม่เกิน 10% 


 นอกจากนี้กทช.ยังเห็นชอบให้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับใบอนุญาตต้องสำรอง โครงข่าย 40% แก่ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เสมือน หรือ MVNO หมายความว่าในผู้รับใบอนุญาตไม่มีสิทธิปฏิเสธหากมีผู้ขอเข้าใช้โครงข่าย เพื่อเป็น MVNO และผู้รับใบอนุญาตรายนั้นยังมีผู้ให้บริการ MVNO ใช้โครงข่ายไม่ถึง 40% ของความจุ 


 ส่วนผู้ให้บริการ MVNO สามารถที่จะเช่าใช้โครงข่ายกับผู้รับใบอนุญาต 3G ได้เพียงรายเดียวเท่านั้น หากประสงค์จะเปลี่ยนโครงข่ายต้องยกเลิกการเช่าโครงข่ายกับเจ้าของโครงข่าย รายเดิมก่อน และต้องไม่ทำให้เกิดผลกระทบกับลูกค้าที่ใช้บริการอยู่ด้วย  
ทั้งนี้กทช.จะพิจารณาประเด็นอื่นๆในช่วงบ่ายของวันที่ 4 มิ.ย. 2553 ประกอบด้วยเรื่องกระบวนการอนุญาต และสิทธิ เงื่อนไขของผู้รับใบอนุญาต 


 หลังจากมีความชัดเจนในประเด็นต่างๆแล้ว กทช.จะพิจารณาเห็นชอบร่างสรุปข้อสนเทศ (IM) ในวันที่ 9 มิ.ย. 2553 และจะนำขึ้นเผยแพร่ในเว็บไซต์เป็นเวลา 14 วัน จากนั้นจะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันที่ 25 มิ.ย. 2553 


 ส่วนกระบวนการประมูลจะเริ่มคัดเลือกผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติและเริ่ม ประมูลในเดือน ก.ย. 2553     ส่วนกระบวนการพิจารณาคุณสมบัตินั้น ผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องมีสถานะเป็นบริษัทจำกัด และเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วต้องเปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทมหาชนภายใน 45 วันหลังจากรับใบอนุญาต และต้องเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายใน 3 ปี   และต้องวางหลักประกันเป็นจำนวนเงิน 10% ของราคาประมูลขั้นต้น จากนั้นเมื่อประมูลใบอนุญาตได้แล้วต้องจ่ายเงินประมูลล่วงหน้า 50% ก่อนรับใบอนุญาต จากนั้นจากอีก 25% ในปีที่ 2 และอีก 25% ในปีที่3 แต่หากผู้รับใบอนุญาตสามารถติดตั้งโครงข่ายก่อนกำหนด กทช.จะยืดเวลาชำระเงิน 25% ที่เหลือให้ออกไปอีก 1 ปี 


 ทั้งนี้ กทช.กำหนดเงื่อนไขการติดตั้งโครงข่ายไว้ว่าจะต้องเปิดให้บริการภายในปีแรก จากนั้นต้องครอบคลุม 50% ของจำนวนประชากรทุกจังหวัดทั่วประเทศในปีที่ 2 และครอบคลุม 80%ของจำนวนประชากรทุกจังหวัดทั่วประเทศในปีที่ 4 และหากผู้รับใบอนุญาตไม่สามารถติดตั้งโครงข่ายให้เสร็จตามนี้จะค้องจ่ายค่า ปรับเป็นจำนวน 0.05% ของราคาประมูลต่อวัน 


 นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการโรมมิ่ง กล่าวคือผู้ให้บริการ 3G สามารถโรมมิ่งกับโครงข่ายของผู้ให้บริการ 2G โดยที่ผู้ให้บริการ 2G ไม่มีสิทธิปฏิเสธเป็นระยะเวลา 4 ปี แต่ผู้ให้บริการ 2G ไม่สามารถโรมมิ่งกับโครงข่าย 3G ได้ ยกเว้นแต่จะขอรับใบอนุญาติเป็นผู้ให้บริการแบบ MVNO เท่านั้น


กทช.ออกคำสั่งโทรใน-นอกเครือข่ายอัตรา เดียว มีผลบังคับทันทีไม่ต้องรอจนถึง31ส.ค.

จากประชาชาติธุรกิจ

กทช.ยันมติเรื่องค่าโทรมือ ถือ on-off net มีผลบังคับใช้ทันที ชี้เมื่อทำผิดกฏหมายและออกคำสั่งทางปกครองไปแล้วผู้ให้บริการมือถือต้อง แก้ไขเลยไม่ใช่รอจนถึง 31 ส.ค. 2553 พร้อมเตรียมส่งหนังสือคำสั่งอย่างเป็นทางการสัปดาห์หน้า

รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) กล่าว ถึงกรณีที่กทช.มีมติเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2553 ให้ผู้ ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยกเลิกการคิดค่าบริการโทรระหว่างในเครือข่าย (on net) กับนอกเครือข่าย (off net) แตกต่างกัน โดยมีคำสั่งให้ต้องคิดค่าโทรในอัตราเดียวกันไม่ว่าจะโทรภายในหรือออกนอกโครง ข่ายก็ตาม


ทั้งนี้ตนยืนยันว่ามติดังกล่าวเป็นคำสั่ง ทางปกครอง และเมื่อมีมติออกมาแล้วสำนักงานกทช.มี หน้าที่ดำเนินการส่งหนังสือคำสั่งทางปกครองไปยังผู้ให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ และคำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับทันที ไม่ได้มีผลในวันที่ 31 ส.ค. 2553 ดังที่ เข้าใจกัน

รศ.สุธรรม ย้ำว่ากทช.ไม่เคยมีการทบทวนมติใน เรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะตามขั้นตอนแล้วสำนักงานกทช.ต้องออก คำสั่งทางปกครอง แต่ที่ขณะนี้ยังไม่มีการออกคำสั่งเนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีเหตุการณ์จลาจล ทางการเมืองและเป็นข้อจำกัดในการทำงาน ดังนั้นเมื่อขณะนี้สถานการณ์สงบลงแล้วคาดว่าสำนักงานกทช.จะส่ง หนังสืออย่างเป็นทางการได้ในสัปดาห์หน้า


“เรื่องนี้เป็นข้อร้องเรียนจากผู้ บริโภคเอง ประเด็นก็คือบริการเดียวกัน บริษัทเดียวกันแต่กลับคิดค่าบริการไม่เท่ากัน ซึ่งถือเป็น Price discrimination และกฏหมายก็เขียนไว้ชัดไม่ต้องตีความเลยว่า ต้องคิดค่าบริการในอัตราเดียวกัน ดังนั้นเมื่อเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมาย เราก็ต้องออกคำสั่งและคำสั่งต้องมีผลแก้ไขให้ถูกต้องตามกฏหมายทันที เราไม่มีอำนาจที่จะไปบอกว่ารอให้ถึงวันที่ 31 ส.ค.แล้วค่อยแก้ไขให้ถูกกฏหมาย ยิ่งในอนาคตจะมีบริการคงสิทธิเลขหมายยิ่งจะวุ่นวายเพราะลูกค้ามีการย้ายค่าย ไปมา แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าใครอยู่เครือข่ายไหน อีกทั้งผู้บริโภคก็ไม่ควรต้องมีภาระในการตรวจสอบด้วยว่าเลขหมายที่จะโทรหา อยู่โครงข่ายไหน”


ส่วนประเด็น ที่ผู้ให้บริการอ้างว่าโปรโมชั่นที่ให้บริการมีสัญญากับลูกค้าและเกรงว่าหาก เปลี่ยนโปรโมชั่นให้เป็นไปตามคำสั่งกทช.แล้วอาจเป็นการผิดสัญญากับลูกค้านั้น รศ.สุธรรมกล่าวว่ามาตรฐานสัญญาเป็นเรื่องเกี่ยว กับกระบวนการในการให้บริการ เช่นวันที่ที่จ่ายเงิน จุดชำระเงิน เงื่อนไขการให้บริการต่างๆ แต่ไม่เกี่ยวกับเรื่องอัตราค่าบริการเพราะเรื่องนี้ถูกกำหนดโดยกฏหมายอยู่ แล้ว


รศ.สุธรรม ยืนยันว่านโยบายของกทช.จะไม่ทำให้ค่าบริการในตลาดแพง ขึ้นและมีแต่จะถูกลง รวมทั้งผู้ให้บริการก็ยังสามารถทำโปรโมชั่นแข่งขันกันในตลาดได้ ทั้งการทำโปรโมชั่นตามช่วงเวลา หรือทำราคาแข่งขันให้แตกต่างกันในแต่ละราย ไม่ได้หมายความว่าเมื่อกทช.มี คำสั่งออกมาแล้วจะทำให้ราคาค่าบริการต้องเท่ากันหมดทั่วประเทศแต่อย่างใด

view