จากประชาชาติธุรกิจ
คอลัมน์ STORY
โดย sunaonne
เหนื่อย-เครียด-ดื่ม กลายเป็นเรื่องปกติสำหรับทุกเพศทุกวัย ส่วนที่ต้องดื่มก็คงไม่พ้นว่าจะเป็นบรรดาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ก็ทราบดีว่าการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อคลายเครียดนั้นไม่ได้ช่วยให้บรรลุเป้า หมายอย่างต้องการ แถมเผลอ ๆ ได้เมา-อ้วก-แฮ้งเป็นของแถม
เพราะว่า ชีวิตนั้นแสนเครียด และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ไม่ใช่ทางออกของการคลายเครียด ดังนั้นผู้ผลิตเครื่องดื่มเองก็ได้เล็งเห็นช่องว่างนั้น และผลิตเครื่องดื่มเพื่อคลายเครียดได้ออกมาเสียเลย
ปัจจุบันเทรนด์เครื่องดื่มคลายเครียด (relaxation beverage) เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยเครื่องดื่มเหล่านี้จะมีส่วนผสมของพืชหรือสารสกัดต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น เมลาโตนิน, ธีอะนีน (ซึ่งเป็นอะมิโนแอซิดที่พบอยู่ในชาเขียว) คาโมไมล์ passion flower, valerian root, rose hips รวมถึงวิตามินบีต่าง ๆ ตามแต่สูตรของเจ้าไหนจะใส่อะไร มีสรรพคุณเพื่อผ่อนคลาย ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
เป็นที่น่าประหลาดใจว่าตลาดของเครื่องดื่ม คลายเครียดทั้งหลายเหล่านี้เติบโตขึ้นพรวดพราดจนน่าตกใจ มีตัวเลขที่ทางผู้ผลิตเครื่องดื่มเปิดเผยออกมา อย่างเช่น Drank ที่เผยยอดจำหน่ายในปี 2008 ว่าเติบโตขึ้นถึง 198% ส่วน Vacation in a Bottle ก็เผยตัวเลขยอดจำหน่ายในปี 2009 ของตนว่าเพิ่มขึ้นเกือบ 200% เลยทีเดียว
ในสหรัฐอเมริกา มีเครื่องดื่มคลายเครียดขายในตลาดเกือบ 100 ประเภทเลยทีเดียว และต่างมีชื่อเรียกมากมาย อาทิ Vacation in a Bottle, Mary Jane"s Relaxing Soda, Dream Water, Drank Mini Chill และ iChill เป็นต้น ด้วยราคาขายต่อขวดเฉลี่ยประมาณ 4-5 ดอลลาร์ และมีขายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป ทำให้ใครก็ได้สามารถหยิบเครื่องดื่มเหล่านี้มาดื่มได้ โดยเฉพาะคนที่ (คิดว่าตัวเอง) เครียด แทนที่จะไปซื้อยาคลายเครียด หรือทานยานอนหลับ การดื่มเครื่องดื่มคลายเครียดกลับเป็นทางออกของคนอเมริกัน
"ผู้คนใน ปัจจุบันต่างแสวงหาเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ" Keith Whitlock ผู้อำนวยการฝ่ายการสื่อสารของเครื่องดื่ม Slow Cow กล่าวผ่านอีเมล์เพื่ออธิบายว่าผลิตภัณฑ์ของเขานั้นมีส่วนผสมของสารสกัดจาก ธรรมชาติ เช่น คาโมไมล์, ฮอปส์, valerian และกรดอะมิโน แอล-ธีอะนิน ที่เขากล่าวว่าจะช่วยเพิ่มความสามารถในด้านสมาธิ ความจำ และการเรียนรู้ได้ด้วย
นักการตลาดหลายคนมองว่าเครื่องดื่มคลาย เครียดกำลังจะมาแทนที่เครื่องดื่มบำรุงกำลังในอเมริกาเหนือ อย่าง Red Bull, Monster Energy และ Rockstar เช่น Slow Cow เครื่องดื่มคลายเครียดที่มีโลโก้เป็นรูปวัวล้ม (เหมือนจะทำมาล้อกับโลโก้ของ Red Bull) ในช่วงปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เปิดตัวสามารถขายได้ 1.2 ล้านกระป๋อง ในแคนาดา
ฟังดูน่าสนใจ !
แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีข้อสงสัย ด้านคุณประโยชน์ของเครื่องดื่มเหล่านี้ว่า "ดื่มแล้วคลายเครียดได้จริงหรือไม่ ?" "นอนหลับได้ดีแค่ไหน ?" และที่สำคัญจะ "มีผลข้างเคียงหรือเปล่า ?"
มีการศึกษาส่วนประกอบที่ ใช้ในเครื่องดื่มแต่ละยี่ห้อ Natural Standard Research Collaboration มหาวิทยาลัย
เคมบริดจ์ ได้ศึกษาวิจัยว่า หัว Kava ที่เป็นส่วนประกอบใน Mary Jane"s Soda นั้นมีสรรพคุณช่วยลดความวิตกกังวล แต่เป็นการนำเอามาใช้เพื่อรักษาโรควิตกกังวลในทางการแพทย์ ไม่ใช่เพื่อลดความเครียดโดยทั่วไป แต่บริษัท The Relaxing ผู้ผลิต Mary Jane ก็ออกมาโต้ว่า มีการทดลองแล้วว่าสามารถใช้ลดความเครียดได้จริง อย่างไรก็ตามในปี 2002 เอฟดีเอ (Food and Drug Administration) ได้เคยออกมาเตือนถึงความเกี่ยวข้องของหัว Kava ว่า อาจก่อให้เกิดปัญหากับตับได้หากบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งผู้ผลิตก็ย้ำว่าไม่ควรบริโภคเครื่องดื่มขนาด 12 ออนซ์ มากเกิน 2 ขวดในแต่ละวัน
สำหรับคนที่มีปัญหาด้านการนอน อาจจะมองหาเครื่องดื่มคลายเครียดที่มีส่วนผสมของเมลาโตนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ให้เราหลับและตื่น ซึ่งหากร่างกายผลิตเมลาโตนินได้น้อยก็จะก่อให้เกิดอาการนอนไม่หลับ (ใช้ในยานอนหลับทั้งหลาย) Aparajitha Verma ผู้อำนวยการศูนย์ความผิดปกติทางด้านการนอนหลับของ Methodist Neurological Institute ในฮุสตัน สหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงการใช้เมลาโตนินในเครื่องดื่มนั้นต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบอย่าง ระมัดระวัง เนื่องจากวารสารของ FDA ในเดือนมกราคม 2553 ได้กล่าวว่า...นวัตกรรมการนำเอาเมลาโตนินมาใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องดื่ม นั้นไม่ได้รับการรับรองให้ใส่เอาไว้ในอาหารอย่างเป็นทางการ ซึ่งยังต้องตรวจสอบผลข้างเคียงของการนำเอาเมลาโตนินมาเป็นส่วนประกอบของ อาหารต่อไป
Caleb Ng แพทย์ด้านประสาทวิทยา แห่ง South Surrey สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เครื่องดื่มคลายเครียดนั้นมีความปลอดภัยมากกว่าเครื่องดื่มชูกำลังที่ กระตุ้นการทำงานของหัวใจและสามารถก่อให้เกิดปัญหาต่อหัวใจได้ในรายบุคคล การใช้สารประกอบจากธรรมชาติในเครื่องดื่มเหล่านั้นมีน้อยกว่าที่ใช้ในการ รักษาแบบไม่ใช้ยา จึงมีผลข้างเคียงต่อหัวใจในระดับที่น้อยมาก แต่อย่างไรก็ตามยังขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคลด้วย
ในขณะที่ Meghan Walker แพทย์ประสาทวิทยา ผู้ร่วมก่อตั้ง Toronto"s Integrative Health Institute ในโทรอนโต แคนาดา เชื่อว่าเครื่องดื่มคลายเครียดนั้นอาจทำให้ผิดหวังมากกว่าจะบรรเทา เนื่องจากระดับของส่วนประกอบที่มีอยู่ในเครื่องดื่มนั้นน้อยมากเกินกว่าจะ ช่วยในการรักษาใด ๆ ได้ !
บรรดาเครื่องดื่มคลายเครียดอาจจะทำให้ผู้ บริโภครู้สึกว่าตนสามารถสามารถแก้ปัญหาได้รวดเร็ว แต่แพทย์หลายคนก็ออกความเห็นว่า ทำไมเราไม่ลองที่จะปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้ดีขึ้น แทนที่จะทำตัวให้เครียดแล้วต้องมาวิ่งหาสิ่งที่คอยบรรเทาตัวเองทีหลังแบบนี้ ซึ่งทำได้ง่ายและช่วยให้ชีวิตห่างไกลความเครียดได้ดีกว่าเยอะ :D
สมุนไพร ไทยคลายเครียด
จริง ๆ บ้านเราก็มีพืชผักมากมายที่ได้รับการยอมรับแล้วว่ามีสรรพคุณช่วยในการคลาย เครียดได้มากมาย หาง่าย ราคาถูก เช่น
- ขี้เหล็ก มีการศึกษาพบว่าใบอ่อนและดอกตูมของขี้เหล็ก มีสารที่ชื่อว่า แอนไฮโดรบาราคอล (Anhydrobarakol) ซึ่งมีสรรพคุณช่วยคลายเครียด และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อน ๆ อีกด้วย
- ดอกบัวหลวง ทำให้หายอ่อนเพลีย สดชื่นขึ้น แถมช่วยให้นอนหลับสบาย นำเอามาสกัดเป็นชาจะมีรสฝาด ๆ หอม ๆ ดื่มแล้วชุ่มชื่น โดยใช้ดอกบัวหลวงสีขาวใกล้จะบาน 5 ดอก ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ให้เดือดนาน 10 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง
- พริกไทย ทำให้สมองปลอดโปร่งและช่วยลดความ เครียด สามารถรับประทานได้โดยนำต้นพริกไทยแห้งที่หั่นแล้วประมาณ 1 หยิบมือ มาคั่วแล้วใส่ในกาชา เติมน้ำร้อนจนเต็ม ชาต้นพริกไทยดื่มได้ทั้งวัน
- มะนาวหรือมะกรูด มีสรรพคุณช่วยให้นอนหลับบรรเทา อาการอาหารไม่ย่อย และทำให้หายเครียดได้ มีวิธีทำง่าย ๆ 2 วิธี ได้แก่ ใช้ลูกมะนาวหรือมะกรูด 1 ลูก ผ่าซีกบีบเอาแต่น้ำใส่แก้ว เติมเกลือและน้ำตาลทรายไม่ขัดขาวอย่างละครึ่งช้อนกาแฟ ใส่น้ำร้อนให้เต็มแก้ว คนให้เข้ากัน ดื่มอุ่น ๆ ทันทีเมื่อมีอาการ จะช่วยคลายเครียดได้รวดเร็ว แต่หากดื่มมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสียได้ หรือนำใบมะนาวหรือมะกรูดแห้งประมาณ 1 หยิบมือมาคั่ว นำไปใส่กาน้ำชา เติมน้ำร้อนจนเต็ม ชงเป็นชาดื่มได้ทั้งวัน หรือวันละ 3-4 ครั้ง ช่วยขับเลือดลมและแก้เครียดดีมาก
- มะเฟือง มีสรรพคุณช่วยระงับความฟุ้งซ่าน ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น โดยใช้มะเฟืองที่แก่จัด 1 ผล ล้างให้สะอาด หั่นและแกะเมล็ดออก คั้นน้ำใส่แก้ว เติมเกลือครึ่งช้อนกาแฟ และเทน้ำร้อนลงไปให้เต็มแก้วคนให้เข้ากัน ดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า-เย็นก่อนอาหาร
(ที่มาคอลัมน์ : เยียวยาก่อนหาหมอ นิตยสารชีวจิต ปักษ์แรก ตุลาคม 2551) (หน้าพิเศษ D-Life)