จากประชาชาติธุรกิจ
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้บริจาคอวัยวะ กับสภากาชาดไทยเพียง 5 แสนราย ทั้งที่ร่างกายของคน 1 คนสามารถบริจาคอวัยวะปลูกถ่ายช่วยคนอื่น ๆ ได้ 40-50 คน ดังนั้นจึงมีความต้องการอวัยวะอีกมากสำหรับรักษาผู้เจ็บป่วย โดยคุณสมบัติของอวัยวะที่รับบริจาคคือ 1) อายุไม่เกิน 70 ปี 2) เสียชีวิตจากสมองตายแล้วเท่านั้น และ 3) ญาติยินยอม
"วิชัย กิ่งชา" ผู้อำนวยการโครงการกลุ่มสิทธิผล We Care เล่าว่า การเสียชีวิตจากสมองตายต้องให้แพทย์ยืนยันก่อน ส่วนการวินิจฉัยลงความเห็นว่าสมองตายแล้วหรือไม่ ตามระเบียบแพทยสภาจะมีแพทย์ตรวจสอบถึง 2 ชุด ตามช่วงอายุ ถ้าผู้เสียชีวิตหรือผู้ป่วยนั้นสมองตายแล้วและมีอายุมาก ๆ ต้องทดสอบสมอง 2 ครั้ง ครั้งละ 6 ชั่วโมง มีแพทย์ถึง 3 คนมาตรวจสอบ ถ้าแพทย์ยืนยันว่าสมองตายแล้วก็อยู่ที่ว่าญาติยินยอมหรือไม่ ถ้าญาติยินยอมก็จะมีแพทย์อีกชุดหนึ่งมาทำการผ่าตัดอวัยวะไป ซึ่งอวัยวะแต่ละส่วนก็จะมีเวลาของตัวเอง
ขณะที่ทางศูนย์รับบริจาค อวัยวะสภากาชาดไทยนี้เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ถ้ามีผู้ป่วยบริจาค อวัยวะอยู่เชียงใหม่ ทางโรงพยาบาลจะแจ้งมาที่ศูนย์ สภากาชาดไทย ทางศูนย์ก็จะส่งแพทย์ไปผ่าตัด และเนื่องจากมีบัญชี
ผู้รับอยู่แล้ว ก็จะทราบได้ทันทีว่า ใครรออวัยวะส่วนไหนอยู่
ส่วนคิวการรับก็จะ พิจารณาตามความเหมาะสม เช่น ผู้ป่วยรายหนึ่งต้องการหัวใจและเป็นคนที่มีภาระต้องรับผิดชอบครอบครัว คนนี้ก็อาจจะได้รับอวัยวะก่อนอีกคนที่มีอายุมากแล้ว เช่น 60-70 ปีแล้ว แม้ต้องการอวัยวะเหมือนกัน แต่เพราะคนแรกมีภาระต้องรับผิดชอบทางสังคมมากกว่า ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าใครมาก่อนมาหลัง หรือใครมีสตางค์ ไม่มีสตางค์