จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ตัวแทนร่วมเสนอ ร่างปฏิรูปเมืองไทย ท้องถิ่นมีส่วนร่วมตัดสินใจทุกด้าน หยุดพัฒนาเอาเปรียบ "ประเวศ"หนุนปฏิรูปที่ดิน กม.ภาษี ตั้งองค์กรหนุนเนื่อง
ผลจากการประชุมระดมความคิดเพื่อ หาแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยในวันนี้(17 มิถุนายน) เครือข่ายภาคีจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคประชาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น ธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน และภาครัฐได้ร่วมกันเสนอแนะความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งทุกฝ่ายเห็นร่วมกันในหลักการที่ต้อง”ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม” ในการขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ โดยมีข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปในเชิงประเด็นและเชิงกลไกกระบวนการขับเคลื่อน การปฏิรูปประเทศไทย โดยสรุป ดังนี้
ข้อเสนอเชิงประเด็น
1.การ บริหารจัดการ/การจัดสรรทรัพยากร
ให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นมีส่วนร่วมตัดสินใจในการจัดการทรัพยากร การแก้ไขปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองภาครัฐเป็นผู้สนับสนุน
ศึกษา ผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน
2.อาชีพ/ราย ได้/ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
การพัฒนาเศรษฐกิจที่หลากหลาย เป็นธรรม ไม่เอาเปรียบคนจนและทำลายเศรษฐกิจชุมชน สร้างโอกาสการทำกินของประชาชนให้มีความทั่วถึง เป็นธรรม ตั้งแต่โอกาสการเข้าถึง การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชน การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการจัดการทรัพยากรชุมชน ปกป้องวิถีชีวิตชุมชน รวมทั้งการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร
กำหนดให้การแก้ไขปัญหาความเหลื่อม ล้ำเป็นวาระแห่งชาติ
3.การศึกษา
การปฏิรูปการ ศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับ กระบวนการคิดที่ยอมรับความแตกต่าง ปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องประชาธิปไตย สิทธิและหน้าที่ โดยเฉพาะสำนึกในความเป็นพลเมืองและประเด็นความเหลื่อมล้ำในสังคมการพัฒนา คุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกัน จัดกระบวนการการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และศักยภาพในการใช้ความ คิดในทางสร้างสรรค์ การจัดโครงสร้างหลักสูตรที่เอื้อต่อการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม และการสร้างการเรียนรู้ให้ประชาชนรู้เท่าทัน
ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการออกแบบหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ มีการเปิดพื้นที่ให้กับเด็กและเยาวชนในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการศึกษาต้องตอบโจทย์สังคม และวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย
4.ประเด็น สังคมอื่นๆ
เด็กและเยาวชน
- สร้างพื้นที่ในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างทักษะชีวิตและภูมิคุ้มกัน รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน และเพิ่มช่องทางในการสื่อสารความคิดเห็นในการพัฒนาประเทศเพื่อให้สังคมเห็น คุณค่า
- ส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรมและศีลธรรม ของคนไทยตั้งแต่เยาว์วัย
การมีส่วนร่วม
- การสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิรูประเทศไทย
- การสร้างโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน และสร้างความรู้ความเข้าใจให้คนไทยเข้าใจถึงเป้าหมายในการสร้างอนาคตของ ประเทศร่วมกัน
- การเชื่อมความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัดและโรงเรียน โดยการสนับสนุนที่สำคัญขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกันในสังคม
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสวัสดิการสังคมของประชาชน เพื่อหลีกเลี่ยงระบบอุปถัมภ์ในสังคม
- ปรับสมดุลของสังคมในทุกด้าน (ด้านรายได้ โอกาส อำนาจ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการจัดสวัสดิการ) ครอบคลุมการจัดสวัสดิการให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งด้านการรักษาพยาบาล การศึกษา การประกอบอาชีพ ที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย ฯลฯ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสวัสดิการสังคมของประชาชน
- สร้างจิตสำนึกและการทำกิจกรรม เพื่อการเยียวยาให้ผู้ที่มีโอกาสดีกว่า ให้ความช่วยเหลือและสร้างพลังให้กับผู้ด้อยโอกาส ควบคู่กับการออกแบบสังคมและสิ่งอำนวยที่เอื้อต่อกลุ่มคนผู้พิการ
5. การบริหารราชการแผ่นดิน/กฎหมาย
ปฏิรูประบบราชการ ให้มีระบบประเมินผลโดยประชาชน หรือเริ่มใช้กระบวนการจัดการที่เน้นระบบที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และทำงานภายใต้จิตสำนึกที่ดีมีความเป็นธรรม
การปฏิรูปกลไกและการตรวจสอบโดย ให้มีการตรวจสอบอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ที่ให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 87(3) ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550
แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง/กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจสู่ชุมชน ท้องถิ่นและมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิผลด้วยมาตรฐานเดียว
ปรับ ปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพของกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจของหน่วยงานของรัฐ
ระบบ การบริหารราชการแผ่นดิน (ส่วนภูมิภาค)
- ผู้ว่าราชการ ต้องมาจากการจัดทำประชาคม โดยมหาดไทย เสนอรายชื่อผู้ว่าน ให้ประชาคมจัวหวัดร่วมกันพิจารณาทุกภาคส่วน ทั้งนี้ ในการแต่งตั้งผู้บริหารทุกระดับ ให้นำแนวคิดและความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ มาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิจารณาแต่งตั้ง
- การบริหารงบประมาณ จัดให้มีคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด ที่ต้องนำแผนชุมชนของพื้นที่ระดับหมู่บ้านมาร่วมจัดทำประชาคมแผนฯ เสนอต่อสภาประชาชนจังหวัดอนุมัติ
- การบริหารพื้นที่เป็นรูปแบบสภา ประชาชน ด้วยสมาชิกของสภาต่าง ๆ ที่มีอยู่ในจังหวัดเช่น สภาผู้สูงอายุ สภาหอการค้า สภาองค์กรชุมชน สภาอุตสาหกรรม เป็นต้น
- การตรวจสอบการนำ แผนฯ สู่การปฏิบัติ และการควบคุมประเมินผลการดำเนินงานโดยคณะประชาคมร่วมคณะทำงานผ่านสมัชชาตาม ภารกิจงานของกระทรวงฯ
- การสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาชนถึงระบบ กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม มีช่องทางเข้าถึงข้อมูลฝ่ายรัฐ เพื่อแก้ปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างถูกกฎหมาย
6.การ เมือง/การปกครอง/ประชาธิปไตย
พัฒนาคนที่จะเข้าสู่อาชีพทางการ เมือง ให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม โดยเริ่มตั้งแต่นักการเมืองท้องถิ่น และเสริมสร้างความโปร่งใสในระบบการเมืองการปกครองและความยุติธรรม
การ ปฏิรูปทางการเมือง ให้พรรคการเมืองและนักการเมือง ดำเนินการ
- เปลี่ยนแนวคิด/พฤติกรรมนักการเมือง การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของข้าราชการที่คำนึงถึงประชาชน, การให้ความรู้แก่ประชาชน/เยาวชนในเรื่องของการเมือง เช่น การอบรม/แนะนำแนวคิดในการเลือก สส.
-ยกระดับมาตรฐานทางจริยธรรมของนักการ เมืองและข้าราชการการเมืองให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน โดยให้มีการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 หมวด 13 อย่างเคร่งครัด
- สร้างกลไกระดับพรรคและระดับสมาชิกพรรค ในการควบคุมตรวจสอบพฤติกรรม การปฏิบัติของพรรคและนักการเมืองของพรรคตนเอง ไม่ให้มีการแสวงหาผลประโยชน์
- มีมาตรการที่เหมาะสม ไม่ให้พรรคการเมืองหรือนักการเมืองไปสนับสนุน ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมต่อการเคลื่อนไหวที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานของระบอบ ประชาธิปไตยของมวลชน
ก.ก.ต. หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ต้องให้น้ำหนักอย่างสูงกับการสนับสนุนกิจกรรมที่นำไปสู่การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการมีทักษะ ของสมาชิกพรรคการเมืองหรือประชาชนในการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐในทุกระดับ ทั้งการใช้จ่ายงบประมาณ และการใช้อำนาจอนุมัติ
สร้างเสริมให้เกิดระบบการเมืองที่ไม่ พึ่งพิงทุนทางการเมืองของบุคคลหรือกลุ่มทุน แต่ให้พึ่งพิงทุนหรือการสนับสนุนจากรัฐหรือประชาชน
ปลูกฝังค่านิยม สิทธิหน้าที่ของพลเมืองไทยให้กับเยาวชนและประชาชนได้เข้าถึงแก่นแท้ของระบอบ การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และปฏิรูประบบประชาธิปไตยให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในสังคมไทยและจากฐานล่าง ของสังคม
สร้างความรู้ความเข้าใจในวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข โดยการสร้างวิทยากรแกนนำระดับจังหวัดและอำเภอ เพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดให้อาสาสมัครต้นแบบประชาธิปไตยในแต่ละอำเภอ และจัดกิจกรรมส่งเสริมวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยในระดับหมู่บ้าน โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นกลไกในการขับเคลื่อน
การสร้างความรู้แก่ประชาชนให้รู้เท่าทันนักการเมือง และการปรับเปลี่ยนวิธีคิดของนักการเมืองที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน และปัญหาเชิงโครงสร้างอำนาจรัฐ และนายทุนที่แผ่อิทธิพล และนำมาซึ่งการดำเนินการที่ไม่ยุติธรรม และเกิดการคอรัปชั่นที่ทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัย สิทธิชุมชนระดับตำบล
7. สื่อ
- เปิดพื้นที่ให้ภาค ประชาชนเข้าถึงสื่อ ด้วยการมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมผลิตรายการ เป็นเจ้าของรายการในระดับจังหวัดให้มากขึ้น ไม่ครอบครองผูกขาดความคิดไว้ที่ส่วนกลาง โดยเริ่มนำร่องในจังหวัดที่มีความพร้อม
- การให้ความรู้และข้อมูลข่าวสาร แก่ประชาชน และสร้างระบบการสื่อสารที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเปิดช่องทางให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น และนำเสนอข้อมูลข่าวสารจากมุมมองของประชาชน
- ภาครัฐต้องเข้ามากำกับดูแล และผลักดันให้เกิดกฎหมายเพื่อควบคุมและสร้างให้เกิดสื่อสร้างสรรค์ โดยเฉพาะสื่อสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ยังขาดภูมิคุ้มกัน เช่นเด็กและเยาวชน
ข้อ เสนอเชิงกลไก/กระบวนการการปฏิรูปประเทศไทย
1. แนวทางการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศไทย ควรยึดหลัก 5 ส. ได้แก่ สันติภาพ : ยึดหลักเมตตาธรรม และนำไปปฏิบัติอย่างจริงใจและจริงจัง โดยปราศจากเงื่อนไขที่นำไปสู่การขัดแย้ง
สามัคคี : น้อมนำแนวพระราชดำรัส รู้รัก สามัคคี และแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
สัตยาบัน : ทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงร่วมกัน และประกาศให้สังคมและนานาชาติรับรู้
สื่อ สาร : ทุกฝ่ายเจรจาบนความจริงใจและความเป็นมิตร โดยหาข้อตกลงและบทสรุปร่วมกันส่วนร่วม : ทุกภาคส่วนในสังคม ร่วมคิด ร่วมกำหนดมาตรการ แนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการในการปฏิรูปฯอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยทุกภาคส่วนให้การยอมรับและนำไปสู่การปฏิบัติ
2. เปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศไทยทุกระดับ ทั้งระดับตำบล เมืองจังหวัด ให้มีทั้งเวทีหารือแนวทางปฏิรูป และปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหาชุมชนท้องถิ่นควบคู่กันไป โดย
- จัดเวทีปฏิรูปและนำเนื้อหา/ข้อเสนอจากเวทีเครือข่ายต่าง ๆ ที่จัดอยู่แล้วในระดับชุมชนมาเป็นแนวทางในการปฏิรูป เช่น สภาองค์กรชุมชน เครือข่ายงานพัฒนาเชิงพื้นที่/ประเด็นต่าง ๆ
- สร้างความรู้ความเข้าใจ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างความรักและสามัคคี และการดูแลในชุมชน โดยการจัดประชุมในภาคประชาชน ชุมชน NGOs
- สร้างความตระหนักและเข้าใจถึงการพัฒนาชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน สร้างแผนแม่บทชุมชน และการใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
- ใช้แนวทางธุรกิจเพื่อสังคมและความรับผิดชอบของภาคธุรกิจต่อสังคมเป็นตัว เชื่อมของคนที่ด้อยสิทธิในสังคม กับบุคคลที่เป็นชนชั้นนำในสังคม และเป็นการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนในระดับหมู่บ้าน
- ฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นจากฐานล่างในระดับตำบลหมู่บ้าน โดยให้ความสำคัญกับบทบาทของชุมชนในการพัฒนาสู่ความยั่งยืนและส่งเสริมให้ ชุมชนท้องถิ่นสามารถจัดการตนเองได้ โดยการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวมและมีความสมดุลทั้งศก. จิตใจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง การศึกษา สุขภาพ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
3. จัดกลไกที่เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายอย่างจริงจัง โดยรัฐบาลทำหน้าที่สนับสนุน ไม่เข้าไปทำเอง แต่ทำในส่วนที่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลโดยตรง
4. เสนอแนะให้นายกรัฐมนตรีเชิญผู้ใหญ่ในบ้านเมืองมาช่วยคิด ช่วยดูแลการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศไทย ได้แก่ ท่านอานันท์ ปันยารชุน อ.ประเวศ วะสี อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นต้น
ราษฎรอาวุโส หนุนใช้วิกฤตปฏิรูปที่ดินสร้างมาตรการภาษี
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ให้สัมภาษณ์ภายหลังการบรรยายเรื่องการปฏิรูปว่า เราทำกันมานานแล้วกว่า 10 ปี โดยต้องการแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำและความเป็นธรรมในสังคม และเรื่อง ศีลธรรมคือการเคารพศักดิ์ความป็นคนอย่างเท่าเทียมกันแต่ที่ผ่านมาสังคมไทย ไม่เคยเคารพตรงนี้เราจึงต้องปฏิรูป ตนเคยบอกมาตลอดว่าจะหนีการนองเลือดไม่พ้นซึ่งก็เป็นจริง และวันนี้พอมีวิกฤตก็จึงเกิดกระแสการปฏิรูปขึ้น โดยข้อเสนอที่จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำของสังคมก็มีอาทิ การจัดสรรพื้นที่ทำกินที่ควรจัดให้ประชาชนมีที่ทำกินให้มากที่สุด นอกจากนี้ยังต้องมีมาตรการทางภาษี เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่าทางรายได้ในสังคมที่มากเกินไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า การสร้างรัฐสวัสดิการเช่นการปฏิรูปที่ดิน หรือมาตรการทางภาษีสามารถทำได้จริงหรือไม่ ศ.นพ.ประเวศกล่าวว่า ในสภาวะปกติไม่สามารถทำได้เลย เราต้องไปดูประวัติศาสตร์ว่าที่ผ่านมาทำไม่ได้ เพราะยากที่คนรวยจะให้มีการปฏิรูปที่ดินและมาตรการทางภาษี การจะทำได้ก็มีเงื่อนไขคือบ้านเมืองมีภาวะวิกฤติ หากไม่ใช่วันนี้ก็ทำไม่ได้อีกแล้ว เป็นโอกาสที่นาน ๆ จะทำได้สักครั้ง
ศ.นพ.ประเวศกล่าวว่า เราต้องแยกว่าเรื่องปฏิรูปไม่ใช่เรื่องเดียวกับการปรองดอง แต่การปฏิรูปเป็นการมองไปข้างหน้าและเดินไปข้างหน้า และทำในสิ่งใหม่ เพราะการแก้ปัญหาเป็นที่รู้กันว่าเป็นเรื่องยากยิ่งแก้ก็ยิ่งทะเลาะกัน การแก้เป็นเรื่องยากมาก แต่การทำสิ่งใหม่เป็นเรื่องที่ง่ายกว่าเยอะ ส่วนเรื่องการปรองดองนั้นเป็นกระบวนการแสวงหาความจริง
ผู้สื่อข่าวถามถึงความจริงใจของรัฐบาล ในการทำเรื่องนี้ ศ.นพ.ประเวศกล่าวว่า ตนจะไม่พูดเรื่องนี้ เพราะตนผ่านมาแล้วหลายรัฐบาล ตนจะพูดเพียงแค่เราทำงาน เราคงไม่รอให้นักการเมืองบริสุทธิ์แล้วค่อยทำเพราะเราต้องสร้างกลไกที่เลย รัฐบาลไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า แนวคิดรัฐสวัสดิการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้หรือไม่ ศ.นพ.ประเวศกล่าวว่า การจัดทำรัฐสวัสดิการทำให้ประชาชนมีอำนาจ แต่ไม่เพียงจะเป็นรัฐสวัสดิการเท่านั้น เราต้องออกแบบสังคมสวัสดิการให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพราะรัฐสวัสดิการบางครั้งใกล้เคียงกับประชานิยมซึ่งไม่ได้แก้ปัญหาอะไรซ้ำ ยังทำให้เกิดปัญหา และวันนี้ประชาชนก็กำลังเสพติดประชานิยม เมื่อไม่ได้ก็ลงแดง
ศ.นพ.ประเวศ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ภาคสังคมควรเร่งสร้างกลไกในการปฏิรูป โดยมีภาครัฐเป็นผู้สนับสนุน แต่กลไกต้องเป็นอิสระอย่างแท้จริง ไม่มีภาครัฐ หรือการเมืองมาครอบงำ ซึ่งสามารถทำได้ โดยจัดตั้งเป็นมติครม. หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้มีคณะทำงานแก้ปัญหา โดยอาจจะเป็นรูปแบบองค์กรที่ไม่ขึ้นตรงต่อรัฐแต่รัฐต้องสนับสนุนทรัพยากร
"แต่มาตรการเฉพาะหน้าภายใน 3-4 เดือนนับจากนี้ต้องมีมาตรการสร้างความเป็นธรรม นอกจากนี้ต้องมีมาตรการแก้ปัญหาที่เข้มข้นและแรงพอที่จะสร้างความเป็นธรรม กับสังคมได้ เช่น มาตรการทางภาษี การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น การสร้างสังคมสวัสดิการ ระบบยุติธรรม และระบบการศึกษา เป็นต้น ซึ่งกลไกเหล่านี้จะมีความยั่งยืน แม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาลหรือไม่ก็ตาม" นายแพทย์ประเวศ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเลือกตั้งเป็นปัญหาหรือไม่ ศ.นพ.ประเวศ กล่าวว่า ยอมรับว่าการเลือกตั้งก่อให้เกิดความรุนแรง การเลือกตั้งเป็นรูปแบบหนึ่งแต่ไม่ใช่สาระ พอการเลือกตั้งเป็นกลไก ก็จะกลายเป็นกลโกง มีการทุ่มเงินซื้อ แต่การแก้ปัญหาทำได้โดยการกระจายอำนาจ เพราะเมื่อกระจายอำนาจแล้ว การทุ่มซื้อก็จะประสบผลสำเร็จน้อยลงการลงทุนไม่คุ้มค่า นักลงทุนก็จะไม่เข้ามาเพราะเข้ามาไม่มีผลประโยชน์มีแต่หน้าที่