สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โสม ขาวเร่งเดินเกมคุม เงิน ตปท. สางปมหนี้ระยะสั้นพุ่ง-เงินวอนดิ่งเหว

จากประชาชาติธุรกิจ



ความ ผันผวนที่ยังคงปกคลุมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้หลายประเทศต้องดำเนิน มาตรการเพื่อควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนและเสถียรภาพสกุลเงินท้องถิ่น

โดย เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ผู้ควบคุมนโยบายทางการเงินของเกาหลีใต้ได้เสนอมาตรการควบคุมการไหลเข้าของ เงินเพื่อป้องกันเศรษฐกิจของประเทศจากภาวะช็อกจากภายนอก เพราะค่าเงินวอนร่วงลงอย่างหนัก หลังวิกฤตการเงินโลกปี 2551 จนกระทั่งเดือนที่ผ่านมาเงินวอนกลับผันผวนอีกและอ่อนค่าหนักเนื่องจากความ วิตกเกี่ยวกับระดับหนี้ในยุโรป รวมถึงความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือหลังเรือดำ น้ำเกาหลีใต้จม โดยค่าเงินวอนร่วงลงเกือบ 10% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ในช่วงไตรมาสนี้ ซึ่งเป็นการอ่อนค่าลงหนักที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินเอเชียอื่น ๆ

วอลล์ สตรีต เจอร์นัล อ้างคำพูดของ คิม ยี-แต ผู้อำนวยการฝ่ายอัตราแลกเปลี่ยนของกระทรวงการคลังเกาหลีใต้ว่า เกาหลีใต้ต้องการใช้กลไกความปลอดภัย ขั้นต่ำสุดในช่วงเวลาที่ไม่ส่งผลกระทบมากต่อตลาดทุนหรือภาคเศรษฐกิจแท้จริง

มาตรการ ครั้งนี้ประกอบด้วยการจำกัดการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน หรือสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า และ ตราสารอนุพันธ์ของทั้งธนาคารท้องถิ่นและธนาคารต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจใน เกาหลีใต้

สำหรับธนาคารท้องถิ่นนั้น ทางการได้จำกัดสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน ล่วงหน้า เช่น สว็อปสกุลเงิน และสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า โดยไม่กำหนดส่งมอบเท่ากับ 50% ของทุนที่ประเมิน ณ สิ้นเดือนของเดือนก่อนหน้า ขณะที่บรรดาธนาคารต่างชาติในเกาหลีใต้จำกัดสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วง หน้าไว้ที่ระดับ 250% ของทุน

ปัจจุบันธนาคารท้องถิ่นดำเนินการอยู่ใน กรอบดังกล่าว แต่ธนาคารต่างชาติกลับมีสัญญาฟอร์เวิร์ดเฉลี่ย 300% ของทุน และบางรายสูงถึง 800% ของทุน และภายใต้ข้อเสนอครั้งนี้ธนาคารต่างชาติจะมีเวลา 2 ปี เพื่อปรับให้อยู่ในกรอบที่กำหนดไว้

ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้เกาหลีใต้ ไม่เคยจำกัดการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ซึ่งส่งผลให้หนี้ระยะสั้นของประเทศพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังกรณีของบรรดาบริษัทต่อเรือของเกาหลีใต้ที่มีออร์เดอร์มหาศาลในช่วง ปี 2548-2550 และป้องกันความเสี่ยงมูลค่าของคำสั่งซื้อ โดยอาศัยแบงก์ต่างชาติ

การ ป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวส่งผลให้ค่าเงินวอนพุ่งขึ้นในช่วงดังกล่าว แต่เมื่อเกิดวิกฤตการเงินโลกเมื่อปี 2551 ระดับหนี้สูงของเกาหลีใต้ยิ่งตอกย้ำภาพที่ว่าแดนกิมจิมีความเสี่ยงในการชำระ หนี้คืน ซึ่งทำให้ ค่าเงินวอนร่วงลงอย่างรวดเร็ว

นอกจากจำกัดสัญญา ซื้อขายอัตรา แลกเปลี่ยนล่วงหน้าแล้ว ผู้กำหนดนโยบายของเกาหลีใต้เสนอให้คุมเข้มอัตราส่วนสภาพคล่องสกุลเงินต่าง ประเทศของธนาคารท้องถิ่น และเรียกร้องให้สำนักงานท้องถิ่นของแบงก์ต่างชาติสร้างกลไกบริหารความเสี่ยง สภาพคล่องเหมือนกับในอังกฤษ

พร้อมกันนี้เกาหลีใต้จะออกข้อบังคับควบ คุมการกู้ยืมเป็นสกุลเงินต่างประเทศ เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่า เงินกู้สกุลเงินต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจ ฟื้นตัว และมีช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยตลาดต่างประเทศและตลาดเกาหลีใต้ โดยจะอนุญาตให้ใช้เงินกู้สกุลเงินต่างประเทศเฉพาะกรณีใช้ในต่างประเทศเท่า นั้น

อย่างไรก็ตามข้อเสนอทั้งหมดต้องผ่านการพิจารณาและอนุมัติจากคณะ กรรมการประธานาธิบดีด้านการปฏิรูปกฎข้อบังคับ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวกินเวลาหลายสัปดาห์ แต่คาดว่าเกาหลีใต้จะเริ่มเดินหน้าบังคับใช้กฎระเบียบนี้ในเดือนกรกฎาคมนี้

ส่วน กระแสตอบรับนั้น ควอน กู-ฮุน นักวิเคราะห์เกาหลีใต้ของโกลด์แมน แซกส์ แสดงความคิดเห็นว่า ข้อบังคับนี้จะทำให้สภาพคล่องในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินวอนของเกาหลีใต้ลดลง แต่ไม่กระทบมากต่อมูลค่าของเงินวอนเมื่อเทียบกับดอลลาร์

ไฟแนนเชียล ไทม์ส อ้างความเห็นของเทรดเดอร์ธนาคารต่างชาติว่า มาตรการ ดังกล่าวจะช่วยลดความผันผวนในตลาดเงิน แต่การควบคุมการไหลของเงินทุนที่เข้มข้นเกินไปอาจขัดแย้งกับความพยายามของ เกาหลีใต้ที่ต้องการเป็นศูนย์กลางการเงิน และอาจเกิดการขาดแคลนสภาพคล่องของเงินตราต่างประเทศในธนาคารท้องถิ่น

ก่อน หน้านี้ประเทศอื่น ๆ เช่น ไต้หวัน บราซิล และรัสเซีย ได้คุมเข้มการไหลของเงินทุนมากขึ้น เพื่อป้องกันการผันผวนอย่างรุนแรงของเงินท้องถิ่น

ล่าสุดธนาคารกลาง อินโดนีเซียเผยว่า เดือนนี้จะออกข้อบังคับเพื่อลดการไหลเวียนของเงินทุน พร้อมรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงิน ดาร์มิน นาสุชั่น รองผู้ว่าอาวุโสของธนาคารระบุว่า นี่ไม่ใช่นโยบายควบคุมเงินทุนแต่มีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการไหลเข้าออกของ เงินทุนในอินโดนีเซีย

เรฟริสันด์ บาสเวอร์ นักเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยกาจาห์ มาดา มองว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซียควรใช้นโยบายควบคุมเงินทุน หลังจากที่ได้ทุ่มเงินทุนมหาศาลเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับอัตราแลกเปลี่ยน เงินรูเปียะห์

ส่วน ฟอซี อิกห์ซาน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเชื่อว่า นโยบายควบคุมทุนต้องอาศัยการสำรองเงินทุนต่างประเทศอย่างแข็งแกร่งด้วย โดยยกมาเลเซียเป็นตัวอย่างที่เคยทำได้ผลมาแล้ว

สำหรับการควบคุมการ ไหลเข้าออกของเงินทุนนั้น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ชี้ว่า อาจช่วยให้ประเทศต่าง ๆ รับมือการไหลเข้าออกอย่างไร้เสถียรภาพของ "เงินร้อน" แต่มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่แสดงให้เห็นว่าสามารถป้องกันการแข็งค่าของเงิน ที่ไม่พึงปรารถนาได้

view