เขาเป็น "วันชัย ตัน" คอลัมนิสต์ฝีปากคมที่วิพากษ์สังคม-การเมือง ในมติชน-ทุกวันอาทิตย์
ใน ฐานะนักข่าว-บรรณาธิการ "วันชัย" ประจำการที่นิตยสารสารคดี และเป็นประธานชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ในฐานะเอ็นจีโอ "วันชัย" เป็นรองประธานมูลนิธิโลกสีเขียวและมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
เป็นคนที่ มีความเชื่อว่า การใช้ชีวิตให้มีความสุขควรประกอบด้วย 3 สิ่ง คือทำงานที่ใจรัก ช่วยเหลือคนรอบข้าง และเดินทางท่องเที่ยว
ทรรศนะ ทางการเมืองของ "วันชัย" เชื่อว่าอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นสิทธิของทุกคนที่ต้องเคารพ
"แต่ ต้องตระหนักให้ดีว่า การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ และอำนาจก็ไม่เข้าใครออกใคร นักการเมืองพร้อมที่จะหักหลังหรือผูกมิตรกับทุกฝ่ายได้เสมอ นักการเมืองไม่เคยคิดจะรักษาชีวิตของประชาชน มักใช้ประชาชนเป็นแค่ตัวประกันเพื่อไต่ไปสู่อำนาจเท่านั้น"
ทรรศนะ ในกระแสการปฏิรูปสื่อ "วันชัย" พูดตรง-เสียงเข้ม-จริงจัง
- ในสถานการณ์การเมืองช่วงที่ผ่านมามองสื่อ-หนังสือพิมพ์ และข่าวการเมืองอย่างไร
ผมว่า...ต้องเลิกไปตามสัมภาษณ์นักการเมือง เพราะแค่เห็นชื่อก็รู้แล้วว่า นักการเมืองคนนี้จะพูดอะไร คืออ่านแล้วก็ไม่มีอะไรเติมเข้ามาในสมอง ตอแหล เล่นลิเกไปอีก เราก็ไม่รู้ว่าทำไมต้องไปตามสัมภาษณ์ ก็รู้ว่าโกหก จะไปลงทำไม ลงเพื่อให้ขาย ลงเพื่อเป็นข่าว ?
แต่ผมคิดว่าในโลกที่อะไร ๆ มันเร็วไปหมด เมื่อก่อนเราใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง อ่านหนังสือพิมพ์ 4-5 ฉบับ แต่วันนี้มันประมาณ 15 นาที ก็รู้เรื่องหมดแล้ว มันหมดยุคที่หนังสือพิมพ์ไปลงยาว ๆ เรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะสมัยนี้คนไม่มีเวลามานั่งจิบกาแฟเป็นชั่วโมงเพื่ออ่าน ว่าเฉลิม อยู่บำรุง พูดยังไง ทุกบรรทัด อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตอบโต้ยังไง
เรา ให้น้ำหนักกับการเมืองที่เคยกินพื้นที่กว่าครึ่งของหน้าหนังสือพิมพ์มาตลอด เวลา ผมก็เข้าใจว่าการเมืองมันสำคัญ แต่มันต้องบาลานซ์ เพราะคนตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น ทำให้ข่าวน่าจะมีคุณภาพ คิดให้ลึกขึ้นว่าควรเล่นประเด็นอะไรกันแน่ และโลกของความเป็นจริงทุกวันนี้มีความหลากหลายสูงมาก ไม่ใช่แค่เรื่องการเมือง เศรษฐกิจหรือดารา
- วิเคราะห์ว่าเพราะอะไรจึงไม่ค่อยมีคนมาท้าทายสื่อมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา
แน่ นอนว่า แหม...นักการเมืองมันยังยอมสื่อเลย แล้วใครจะไม่ยอมสื่อ ด้วยอิทธิพลของสื่อ มันเลยทำให้เสธ.ไก่อูต้องเกรงใจ ผบ.ทบ.ก็เกรงใจ เพราะเชื่อกันว่า คนพวกนี้แหละคือคนที่นำสิ่งที่เราอยากบอกประชาชนไปบอกต่อ โดยที่เราไม่ต้องเสียสตางค์เลยก็ตาม เพราะทุกวันนี้มันเป็นโลกของการ Propaganda โลกของการโฆษณาชวนเชื่อ
ก็ไม่อ่านนะ เห็นพร้อมพงศ์ (โฆษกพรรคเพื่อไทย) เทพไท (โฆษกหัวหน้าประชาธิปัตย์) ก็ไม่อ่านนะ คิดว่าเออ... เลิกซื้อแล้วว่ะ ก็รู้อยู่แล้วมันจะตอแหลอะไร ทำไมต้องไปลง
- กลายเป็นนักการเมืองที่ปรับตัวใช้สื่อ แต่สื่อไม่ปรับตัวเพื่อใช้นักการเมืองหรือเปล่า
ผมว่าตอนนี้นักการ เมืองใช้สื่อมากกว่าสื่อใช้นักการเมือง เขาใช้สื่อเพื่อบอกประชาชนในสิ่งที่เขาต้องการจะบอก โดยที่เขาไม่ต้องลงทุนกับค่าโฆษณาเลย บริษัทเอกชนอาจต้องจ่ายหน้าละเป็นแสนบาท แต่ทำไมนักการเมืองลง 1 หน้า ไม่ต้องเสียเลย แต่ถ้าถามว่า คนอ่านได้อะไร หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ตอนนี้อาจจะไม่ต่างจากหน้าโฆษณาเท่าไร เห็นแล้วก็ไม่อยากอ่าน ก็รู้ว่ามันโฆษณาชวนเชื่อ
- ถ้าสื่อกระแสหลักไม่ตอบสนองข่าวสาร ต่อไปจะใช้สื่ออะไรในการเสพ
ต้องบอก ว่า สื่อกระแสหลักก็ให้ประโยชน์บ้าง ผมก็อ่านหมด แต่สื่อกระแสหลักต้องทำหน้าที่ ให้มัน Balance ยกตัวอย่าง หลังเหตุการณ์ 19 พ.ค.ทำไมสื่อกระแสหลักไม่ Investigate ประเด็นหลายเรื่องที่ยังคาใจคนอ่าน อย่างเรื่อง 6 ศพในวัดปทุมวนาราม ทำไมคนที่ Investigate กลายเป็นสื่อใต้ดินไป ทั้งที่เป็นภารกิจหลักของสื่อกระแสหลัก ไอ้ข่าวเจาะลึก หรือข่าวสืบสวนสอบสวน ผมไม่เห็นสื่อกระแสหลักจะทำอะไร ยังรับแถลงการณ์จาก ศอฉ. ทำไมไม่มีการตั้งทีมข่าวคอยเจาะลึกเรื่องควานหาใครคือไอ้โม่ง
ต้อง ถามสื่อกระแสหลักว่า ทำไมทำแค่รับแถลงข่าว ศอฉ.และอีกทีก็ไปฟังแถลงข่าวของเพื่อไทย แล้วทำไมสื่อไม่เจาะเรื่องนี้เอง ทำไมไปอ้าปากรับ เหมือนปลาเงินปลาทองรอรับอาหาร มันยากไป หรือว่าเจาะไม่ได้ แต่จริง ๆ นี่คือหน้าที่สื่อเลยนะ
ที่สำคัญผมเชื่อว่า ผู้บริโภคเขาไม่เชื่อข้อมูลทั้งสองฝ่ายแล้วนะ นี่คือภารกิจหลักของสื่อนะ คนอยากรู้ความจริงว่า ทำไม หลักฐานของฝ่ายเสื้อแดงมันโผล่ขึ้นมา เรื่อย ๆ มันจริงหรือ Make มันไม่มี Third Party บุคคลที่สามที่จะมาบอกว่า อันนี้จริงไม่จริง
- สื่อบางฉบับพยายามจะบอก แต่ยังไม่รอบด้านมากพอ มีธงหรือเปล่า
เรามันไม่ Professional ตรงนี้ไง เราคิดว่าสื่อจริง ๆ ส่วนตัวคุณอยู่สีอะไร ถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่เวลาคุณรายงานข่าว คุณต้อง Professional พอที่จะเชื่อว่า ความจริงที่คุณรายงานวันนี้มันเปลี่ยนแปลงได้ ข้อเท็จจริงที่คุณรายงานวันนี้มันเปลี่ยนแปลงได้ เพราะวันต่อมาหลักฐานมันเพิ่มขึ้น ข้อเท็จจริงที่คุณคิดว่าใช่ มันอาจจะไม่ใช่แล้ว เพราะฉะนั้นเราในฐานะสื่อก็อย่ามีตัวตนตรงนี้
ปัญ าหาของสื่อไทยคือมีธงในใจ ตลอดเวลา ปัญหาหนึ่งของคนทำงานบ้านเราคือ "เชื่อว่าความจริงมันเปลี่ยนไม่ได้" จริง ๆ แล้วมันเปลี่ยนได้ทุกวัน จากหลักฐานสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น
จุดยืนของนักข่าวคืออะไร คือการแสวงหาความจริง แต่อย่าไปติดกับดัก
- เมื่อคนไม่เสพ ไม่เชื่อสื่อกระแสหลัก ก็หันไปเสพสื่ออย่าง Twitter
ถือเป็นความ ผิดพลาดของสื่อหลักอย่างรุนแรงที่ไม่ทำหน้าที่ของสื่ออย่างรอบด้าน เลยทำให้คนเบื่อและหันไปหาอย่างอื่น
- สื่อกระแสหลักยังมีข้อดีอยู่บ้างมั้ย
มี...เยอะเลย ไม่งั้นมันเจ๊งไปแล้ว ผมว่ายังกู้กระแสกลับมาได้ แต่สำคัญคือ สื่ออย่าแบ่งตัวเองเป็นเหลืองเป็นแดง มันไม่จำเป็นหรอก อยู่ในใจก็พอแล้ว
- สื่อกระแสหลักอาจจะมีสมมุติฐานว่า คนอ่านต้องการดู Movement (ความเคลื่อนไหว) มากกว่า Content (เนื้อหาสาระ) อย่างต้องไปถามสุเทพ เพราะอยากรู้ท่าทีต่อเรื่องต่าง ๆ
มันก็อาจจะถูก แต่คงไม่ใช่แบบเดิมอีกต่อไปแล้ว คนที่ถูกสัมภาษณ์ทุกวันมันจะเอาสติปัญญาที่ไหนไปตอบคำถามทั้งหมด มันก็พูดแบบกลาง ๆ อ้อมไปอ้อมมา หนักเข้า คนอ่านก็เลยไม่อ่าน มันก็ไม่มีอะไรใหม่ เหมือนกับโฆษกพรรคทั้งคู่ ไม่มีอะไร เถียงกันไปเถียงกันมา ยกตัวอย่างถ้ามีข่าวอย่างคนไทยคิดยากำจัดไรฝุ่นเป็นแห่งแรก ถามว่า เคยขึ้นพาดหัวไหม ไม่มีทาง นี่คือวิธีคิดของหัวหน้าข่าว
- อาจจะเลือกข่าวจากที่เขาคุ้นชิน เคยทำ ๆ กันมา
แล้วเป็นไงล่ะ ยอดขายก็ลดลงไป เรื่อย ๆ จริง ๆ มันต้อง Post Modern คิดนอกกรอบหน่อย
- คิดว่าสื่อหนังสือพิมพ์เริ่มนับถอยหลังการสูญพันธุ์หรือยัง
ผมว่า ในชนบท ในตลาดที่โลก อินเทอร์เน็ตยังไปไม่ถึงอาจจะยังจำเป็น แต่ในเมืองผมคิดว่าเปลี่ยนอยู่แล้ว หนังสือพิมพ์ ข่าวรายวัน เขาเอาไว้สแกนดูว่ามีอะไร ๆ แล้วก็จบ ซึ่ง Internet มันก็ทำหน้าที่ได้แล้ว ดูว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง พอแล้ว แน่นอนว่ากระดาษมันยังใช้ง่ายว่าอินเทอร์เน็ต เข้าไปอ่านในห้องน้ำ ในรถได้ แต่เวลาทำงาน มันยากแล้วไง มันคงสูญพันธุ์ในสังคมเมือง
- ต้องปรับตัวอะไรเพื่อให้อยู่รอดต่อไปได้
มีข่าวเจาะ ซึ่งเคยเป็นบทบาทหลักของหนังสือพิมพ์ แต่ตอนนี้มันไม่ค่อยมีแล้วไง โดยเฉพาะข่าวการเมืองแทบจะไม่มีเลย ข่าวเจาะเศรษฐกิจก็ยังพอมี ในข่าว สิ่งแวดล้อมจะเยอะ แต่ในข่าวการเมืองน้อยมาก เพราะปรากฏการณ์ช่วงหลังสื่อเอาแต่เดินตามนักการเมือง และถูกนักการเมืองใช้ ตั้งแต่สมัยทักษิณแล้ว
- บทบาทของสื่อทีวี ทั้งฟรีทีวีและเคเบิลทีวีในช่วงวิกฤตการเมืองมีพัฒนาการอย่างไร
พูด ถึงข่าวอย่างเดียวนะ การเจริญเติบโตของเคเบิลทีวีมันสะท้อนการทำข่าวของฟรีทีวี แสดงว่า 1.การเสนอข่าวของฟรีทีวีมันเอียงหรือเปล่า ทำให้คนไปเปิดเคเบิลทีวีดู 2.สะท้อนว่าสังคมไทยเลือกฝ่ายหมดแล้ว ทุกวันนี้คนจะดูเฉพาะสิ่งที่ตัวเองดู อย่างไรก็ตามถ้าการเสนอข่าวของฟรีทีวีทำได้อย่างดี มืออาชีพจริง จะทำให้การ ดูข่าวในเคเบิลทีวีลดลงนะ มันก็ไม่ต่างจากหนังสือพิมพ์หรอก