จากประชาชาติธุรกิจ
คอลัมน์ มองซ้ายมองขวา
โดย ปกป้อง จันวิทย์ pokpongj@econ.tu.ac.th
ทฤษฎี เศรษฐศาสตร์กระแสหลักมาตรฐานเชื่อว่าคนมีการตัดสินใจในรูปแบบ "ส่วนเพิ่ม" กล่าวคือ แต่ละคนตัดสินใจโดยคำนึงถึงส่วนที่เพิ่มขึ้นจากฐานเดิม คนที่มีเหตุมีผลทางเศรษฐศาสตร์ตัดสินใจเลือกกระทำสิ่งใดขึ้นกับว่าผล ประโยชน์ส่วนเพิ่ม (marginal benefit) จากกิจกรรมนั้นสูงกว่าต้นทุนส่วนเพิ่ม (marginal cost) หรือไม่
ตัวอย่าง เช่น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ตัดสินใจว่าจะอุทธรณ์ต่อดีหรือไม่ การตัดสินใจของโจทก์ขึ้นอยู่กับการประเมินผลประโยชน์ที่จะได้รับเพิ่มขึ้นใน ชั้นอุทธรณ์ (เช่น โอกาสที่อาจพลิกกลับมาชนะคดีจนได้รับค่าชดเชย) กับต้นทุนที่ต้องเสียเพิ่มขึ้นในชั้นอุทธรณ์ (เช่น ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ค่าเสียเวลาต่อ) ถ้าประเมินแล้วโจทก์เห็นว่าผลประโยชน์ส่วนเพิ่มของการอุทธรณ์สูงกว่าต้นทุน ส่วนเพิ่มของการอุทธรณ์ โจทก์ก็จะตัดสินใจสู้คดีต่อ
อีกตัวอย่าง หนึ่ง หากกฎหมายกำหนดบทลงโทษการขโมยรถจักรยานกับการขโมยรถยนต์เท่ากัน (ไม่มีบทลงโทษส่วนเพิ่มสำหรับอาชญากรรมที่มีระดับความรุนแรงไม่เท่ากัน) นักเศรษฐศาสตร์จะทำนายว่าโจรมีแนวโน้มที่จะขโมยรถยนต์เพิ่มมากขึ้น เพราะการขโมยรถยนต์สร้างผลประโยชน์ส่วนเพิ่มให้โจรเมื่อเทียบกับการขโมยรถ จักรยาน เนื่องจากมีมูลค่าสูงกว่า และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า ขณะที่ต้นทุนส่วนเพิ่มของการขโมยเท่ากับศูนย์ เพราะมีโทษเท่ากัน โจรที่เป็นคนมีเหตุมีผลทางเศรษฐศาสตร์ย่อมตัดสินใจขโมยรถยนต์แทนรถจักรยาน
ทฤษฎี นิติเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการป้องปรามอาชญากรรมจึงเสนอว่า บทลงโทษที่เหมาะสมต้องคำนึงถึงแนวคิดการป้องปรามส่วนเพิ่ม (marginal deterrence) ด้วย หลักการป้องปรามอาชญากรรมต้องกำหนดบทลงโทษให้แตกต่างกันตามประเภทของ อาชญากรรมที่มีระดับความรุนแรงและความเสียหายไม่เท่ากัน กล่าวคือ ต้องกำหนดบทลงโทษคาดคะเนให้เท่ากับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงสำหรับ ระดับความเสียหายต่าง ๆ ทุกระดับ
บทลงโทษที่เหมาะสมต้องกำหนดบทลง โทษสูงที่สุดแก่อาชญากรรมประเภทที่มีขนาดของความรุนแรงมากที่สุด เช่น การฆ่าต่อเนื่อง แล้วกำหนดบทลงโทษลดหลั่นกันลงมาตามขนาดความรุนแรงของอาชญากรรมจากการฆ่าคน ตาย ไล่ลงมาถึงการลักเล็กขโมยน้อย เพื่อเพิ่มต้นทุนส่วนเพิ่มแก่การประกอบอาชญากรรมที่มีระดับความรุนแรงสูง ขึ้น ทำให้อาชญากรไม่กล้าทำความผิดที่รุนแรงขึ้น มิเช่นนั้น อาชญากรจะมีแรงจูงใจที่จะประกอบอาชญากรรมที่มีระดับความรุนแรงสูงมากกว่าต่ำ หากกำหนดบทลงโทษของอาชญากรรมต่างประเภทไว้เท่าเทียมกัน ตามหลักคิดแบบส่วนเพิ่ม
ลองพิจารณากรณีสมมติด้านล่างนี้เป็นตัวอย่าง ประกอบการวิเคราะห์
สมมติว่า สังคมหนึ่งต้องการลดจำนวนการปล้น จึงเพิ่มบทลงโทษของการปล้นเป็นการจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งเป็นโทษเทียบเท่ากับการฆ่าคนตายโดยตั้งใจ แน่นอนว่า อาชญากรจำนวนหนึ่งคงไม่กล้าที่จะปล้นต่อไป เพราะเกรงกลัวโทษที่หนักขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่ง การเพิ่มบทลงโทษดังกล่าวอาจนำมาซึ่งผลพวงที่ไม่ได้คาดหวังตั้งใจไว้ (unintended consequence) ด้วยก็เป็นได้
นิติเศรษฐศาสตร์ตั้งข้อ สังเกตเชิงทำนายไว้ว่า ภายหลังจากการเพิ่มโทษดังกล่าว สังคมนั้นอาจจะเกิดเหตุปล้นเสร็จแล้วฆ่าเหยื่อทิ้งมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนส่วนเพิ่มของการฆ่า (เมื่อเทียบกับการปล้น) เท่ากับศูนย์ แต่ผลประโยชน์ส่วนเพิ่มของการฆ่าเป็นบวก เพราะการฆ่าปิดปากเหยื่อช่วยลดความน่าจะเป็นในการถูกจับกุมมาลงโทษ (ไม่มีพยานรู้เห็นเหตุการณ์) ทำให้ต้นทุนคาดคะเนของการก่ออาชญากรรมลดลง
ดัง นั้น อาชญากรที่ปล้นจึงมีแรงจูงใจที่จะฆ่ามากขึ้น ผลลัพธ์ในท้ายที่สุดอาจมีจำนวนคนตายเพิ่มมากขึ้น หากการแก้กฎหมายดังกล่าวส่งผลกระตุ้นพฤติกรรมปล้นแล้วฆ่ามากกว่าส่งผลป้อง ปรามให้อาชญากรไม่กล้าปล้นตั้งแต่แรกเพราะกลัวโทษที่แรงขึ้น
นอกจาก การป้องปรามส่วนเพิ่มจะสะท้อนอยู่ในรูปแบบของบทลงโทษที่หนักเบาแตกต่างกัน ตามฐานความผิดแล้ว ยังอาจสะท้อนอยู่ในการลงทุนเพื่อเพิ่มโอกาสในการจับกุมผู้กระทำความผิดมา ดำเนินคดีแตกต่างกันตามฐานความผิดด้วย โดยภาครัฐควรลงทุนในการเพิ่มโอกาสจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษมากขึ้นในคดีที่ มีความเสียหายร้ายแรงมากกว่า
สำนักงานสอบบัญชี พี แอนด์ อี,สำนักงานบัญชี พี.เอ.แอล.,คณะบุคคลที่ปรึกษา พี.เอ.ที.,#สำนักงานบัญชี,#ผู้สอบบัญชี,#ทำบัญชี,#สอบบัญชี,#สำนักงานสอบบัญชี,#ผู้สอบบัญชีภาษีอากร
บทความ
-
.......... บทความ 108 ..........
-
สำนักงานบัญชีในฝัน (1)
-
สถิติการจ่ายภาษีตามภาค
-
สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด
-
KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)
-
KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)
-
คลิปนี้ ชอบมาก
-
ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ
-
จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
-
คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี
-
ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)
-
พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม
-
ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา
-
การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี
-
สำนักงานบัญชีในฝัน (6)
-
สำนักงานบัญชีในฝัน (5)
-
สำนักงานบัญชีในฝัน (4)
-
สำนักงานบัญชีในฝัน (3)
-
สำนักงานบัญชีในฝัน (2)
-
บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)
-
เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่
-
วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี
-
องค์กรในมุมมองของนักบัญชี
-
อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?
-
บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)
-
ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา
-
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)
-
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)
-
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน
-
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)
-