จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
จุฬาราชมนตรีชี้ พัฒนาวัตถุสุดโต่งสาเหตุแก่งแย่ง-รุนแรง ต้องพัฒนากายภาพ-จิตพร้อมกัน ระบุเป็นพระประสงค์พระเจ้าให้มีความหลากหลายชาติพันธุ์ภาษา
เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2553 ณ มัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลา นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี คนที่ 18 เปิดโอกาสให้บุคคล คณะบุคคล ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ได้เข้าแสดงความยินดี
จากนั้น จุฬาราชมตรี ได้กล่าวแสดงต่อหน้าสาธารณชนกว่า 500 คนในห้องประชุม และเกือบ 1,000 คนอยู่ในบริเวณมัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลา ว่าถือว่าเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ สำหรับพระเจ้า ในการที่ต้องรับชอบ ผมได้รับอามานะ ได้รับฉันทานุมัติจากองค์การมุสลิมทั่วประเทศให้เข้ามารับ ตำแหน่งในวาระโอกาสที่บ้านเมืองกำลังวิกฤติเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติทางสังคม วิกฤติทางการเมือง ตลอดจนวิกฤติในสถานการณ์ทางด้านพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผมตระหนักดี พี่น้องหลายฝั่งหลายฝ่ายได้ตั้งความหวังค่อนข้างสูง แต่ตัวผมเองก็ได้เรียนไปกับพี่น้องเหล่านั้นว่า ผมไม่ได้มีสิทธิที่จะไปเสกสรรค์หรือบันดาลได้ ทุกอย่างนั้นเกิดขึ้นตามความประสงค์ได้ เรื่องทุกอย่างจะดำเนินไปได้ด้วยดีก็ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของพี่น้องเป็น สำคัญ ความร่วมมือจากส่วนราชการต่างๆ ความมือที่สำคัญจากพี่น้องในองค์กรมุสลิมเอง มีพี่น้องชาวมุสลิมเราอยู่ทั่วไป
ประการต่อมาก็คือความหวังที่พวกเราทุก คนพึงหวังจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงมีอำนาจสูงสุดและเป็นอำนาจอย่างแท้จริง อำนาจที่จะบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างให้เคลื่อนไปตามความประสงค์ของพระองค์ เพราะฉะนั้นในความเป็นผู้ศรัทธานั้น ขอท่านทั้งหลายต้องตั้งความหวังไว้กับพระองค์ และต้องพยายามในการที่จะ วิงวรอนขอพรจากพระองค์ เพราะโลกวันนี้เป็นโลกที่ถูกครอบงำทางด้านความคิด และวัตถุนิยม ซึ่งกระบวนการด้านการ พัฒนาก็ได้มุ้งเน้นแต่การพัฒนาด้านกายภาพ พัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งแน่นอนว่าตามแนวคิดของเศรษฐศาสตร์มุ่งในเรื่องของทางด้านการดูแลทางด้าน การพัฒนา เป็นประการสำคัญ เพราะฉะนั้นสุดโต่ง
"เรื่องกระบวนการพัฒนา มีส่วนจะทำให้คนไทยเรานั้นหาความสงบสุขในชีวิตของเรายากขึ้น เพราะการพัฒนาอย่างสุดโต่งในด้านกายภาพ ในทางวัตถุโดยไม่ได้คิดถึงความเป็นจริง ความเป็นมนุษย์ที่มีสภาพทางด้านจิตใจด้วยนั้น นำไปสู่การแก่งแย่ง และแข่งขันอย่างรุนแรงในสังคม ความคิดที่จะเผื่อแผ่เมตตาต่อกันนั้นก็ได้เหือดแห้งยิ่งขึ้นทุกวัน"
จุฬาราชมนตรี กล่าวอีกว่าอยากจะเห็นมิติของการพัฒนาที่เดินไปพร้อมๆ กัน ทั้งเรื่องพัฒนาทางด้านสุขภาพ และทางด้านกายภาพ และในเวลาเดียวกันก็ไม่ควรจะละเลยเรื่องกระบวนการพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ ซึ่งเราคงจะลืมความเป็นจริงไม่ได้ว่า ร่างกายของมนุษย์เรานั้นเรามีองค์ประกอบทั้ง 2 ด้าน
1.องค์ประกอบทางสรีระด้านร่างกายซึ่ง เป็นวัตถุ แต่ในส่วนลึกๆ ของมนุษย์อันเป็นตัวตนที่แท้จริงนั้น ที่เป็นที่สุด คือส่วนที่ 2 คือจิตใจ เมื่อกระบวนการพัฒนานั้นต้องการที่จะเติบโตแต่ทางด้านวัตถุ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีเงินทองใช้ มีบ้านอยู่อาศัยที่ใหญ่โตมโหฬาร มีอาหาร มีสิ่งของที่ดีๆใช้ และคิดว่าสิ่งเหล่านั้นจะเอื้อความสุขให้เกิดขึ้นแก่มนุษย์ได้
วันนี้เราเริ่มจะตระหนักแล้วว่ามันไม่ เป็นจริงอย่างนั้น นักเศรษฐศาสตร์ก็เริ่มคิดในมิติของทางจิต วันนี้ในเรื่องของเศรษฐศาสตร์นั้นได้เข้าไปสู่การแสวงหาความสุขในชีวิตของคน ในแง่ของการพัฒนาจิตใจมากขึ้น ในอดีตที่ผ่านมาเมื่อบ้านเมืองต้องการ เป้าใหญ่ในเรื่องขอการพัฒนาคือ การลงทุน เพราะฉะนั้นกระบวนการทางด้านเศรษฐศาสตร์จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ แต่วันนี้เราเริ่มเห็นภัยของทุนนิยมที่ไม่คำนึงสภาวะสะท้อนทางจิตใจของคน
สำหรับในบทบาทของจุฬาราชมนตรีนั้น น่าจะมีส่วนสำคัญ แค่การให้ความคิดหรือชี้นำในแนวทางศาสนา แต่เรื่องของการชี้นำในทางเศรษฐศาสตร์ หากคนเราทั้งหลายนั้น มีการปฏิบัติที่เข้มแข็งในทางศาสนา ก็จะเชิ่อว่าในชีวิตของคนเรานั้นมีความสมดุลมากขึ้น การแก่งแย่งแข็งขัน อันนำไปสู่ความขัดแย้ง ความอิจฉาริษยาระหว่างกันละกัน ก็คงจะนำมาซึ่งสิ่งเหล่านนั้น คือปัจจัย ที่แท้จริงที่จะทำให้พวกเราดำรงชีวิตอย่างปกติสุข
"ผมมาตรงนี้ก็ไม่ได้ตั้งเป้าหมายอะไร ไว้สูงส่งมากนัก แต่สิ่งหนึ่งที่ผมตระหนักก็คือองค์กรทางด้านศาสนาที่ดำเนินมาในประวัติ ศาสตร์ชาติไทยอันยาวนานนั้นคงจะต้องดำเนินอยู่ต่อไป และก็ต้องเป็นสถาบันที่ไว้ใจของพี่น้องประชาชน"
ความตั้งใจของผมก็คือ จะสร้างสถาบันนี้ให้เกิดความเข้มแข็ง และก็เป็นที่ไว้ใจได้ ไม่ใช่สถานที่ ที่จะมาแสวงหาประโยชน์ในทางไม่ชอบ โครงสร้างของเองมันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกระบวนการที่จะนำไปสู่ตรงนั้น ได้มันจะต้องเริ่มต้นจากการสร้างบุคคลที่มีจิตใจเสียสละ ไม่เอนเอียง เข้ากันได้กับเพื่อนร่วมงาน ในท่ามกลางสังคมที่ถูกครอบงำด้วยทุนนิยมอย่างนี้ ซึ่งหาได้ไม่ง่าย ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายที่จะทำเรื่องตรงนี้ แต่โดยมติ โดยความตั้งใจแล้วก็ต้องพยายามทำ
ประการต่อไป สิ่งที่ผมจะทำ คือผมจะเดินทางลงไปทำความรู้จักกับพี่น้องทุกพื้นที่ ซึ่งในภาคใต้ก็รู้จักกันสนิทสนมกันมาเป็นเวลาช้านาน แต่มุสลิมในประเทศไทยนั้นไม่ได้มีเฉพาะในภาคใต้เท่านั้น มีทั้งในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน ซึ่งคนเหล่านี้พวกเขาได้บ่นมาตลอดว่า องค์กรมุสลิมเท่าที่มีอยู่ องค์กรศาสนา ไม่เคยมีใครเข้าไปดูแลและเอาใจใส่พวกเขาๆ ไม่เคยมีสวนร่วมในเรื่องขององค์การบริหารอิสลามแห่งประเทศไทย
"เขาเองก็ได้เชิญผมไปพบ และผมก็ตระหนักถึงความรู้สึกของคนเหล่านี้ดี ผมเรียนกับพี่น้องเหล่านั้นว่า สำหรับผมมาอยู่ตรงนี้ในการบริหารกิจการอิสลามของผมนั้นจะต้องมีคนทุกภูมิภาค มาเป็นองค์การในการทำงานร่วมกัน เพราะฉะนั้นผมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องไปทำความรู้จัก ไปผูกพัน สร้างความสนิทสนมกับพี่น้องในทุกพื้นที่ ผมเชื่อว่าในการสร้างความเข้าใจ ระหว่างกันและกันนั้น หากสร้างความรู้สึกว่าให้เป็นคนกันเองแล้ว เป็นพี่เป็นน้องกันแล้ว ก็นำไปสู่ความร่วมมือที่ดีมากขึ้นในอนาคตข้างหน้า"
จุฬาราชมนตรี กล่าวด้วยว่า สำหรับในภาคใต้บ้านเราก็เช่นเดียวกัน ผมก็หวังที่จะได้รับความร่วมมือจากพี่น้องในทุกจังหวัด และผู้หลัก ผู้ใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ฝ่ายมุสลิม ตลอดจนฝ่ายราชการ เพราะฉะนั้นผมก็ต้องเข้าไปคลุกคลี ไปสร้างความสนิทสนม ซึ่งในอิสลามเรียกว่า ตะอารุฟ หรือการสร้างความเข้าใจระหว่างกันและกัน ตามที่บทบัญญัติแห่งอัลกรุอ่าน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงอยู่ของมนุษย์บนโลก ท่ามกลางความแตกต่างทางความเชื่อ ทางศาสนา และวัฒนธรรม
"อัลกรุอ่านได้กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าได้สร้างสูเจ้าทั้งหลายทั้งเพศหญิง และเพศชาย และพระองค์ทรงบันดาลให้สูเจ้าทั้งหลายนั้นเป็นพวกพ้อง เป็นก๊ก เป็นเหล่า เป็นชาติพันธ์ ที่หลากหลาย ชาติพันธ์ต่างๆ นานา ที่พระองค์ทรงบันดาลให้มีความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ เรื่องของภาษา และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นพระประสงค์ของ พระองค์ พระองค์ทรงยืนยันอย่างชัดเจนว่า ที่บันดาลอย่างนี้ก็เพื่อที่จะให้สูเจ้าทั้งหลายนั้นได้ประสานความเข้าใจ และทำความรู้จักระหว่างกันและกัน การรู้จักระหว่างกันละกันนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การอยู่รวมกัน อย่างเป็นสันติสุข"
ทั้งนี้ แนวคิดที่ว่าทุกคนต้องเหมือนกัน นั่นเป็นปรัชญาที่ผิดธรรมชาติ ตามที่กล่าวแล้วว่า พระองค์ทรงบันดาลให้มีความแตกต่าง เป็นก๊ก เป็นเหล่า เป็นเผ่า เป็นพันธุ์ ตามธรรมชาติอย่างนี้ การที่จะทำให้ทุกอย่างเหมือนกัน จึงเป็นวิธีการบริหารจัดการที่ฝืนธรรมชาติ ซึ่งการบริหารจัดการแบบนี้มันไม่มีท่าทีจะนำไปสู่ความสำเร็จได้
"ความต่างเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของ มนุษย์ เป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งต่างๆในโลก แต่ความต่างเหล่านั้นหากมีความเข้าใจระหว่างกันและกันแล้ว ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการที่คนเรานั้นจะใช้ชีวิตร่วมกันอย่างเป็นปกติสุข ได้ หากคนเรานั้นยอมรับเงื่อนไขในเรื่องขอความแตกต่างที่เป็นอุปสรรค ผมเองก็เชื่อว่ากระบวนการที่จะนำไปสู่ตรงนี้ได้ก็คือ การจัดการในเรื่องขององค์ความรู้"
ซึ่งเรามีองค์กรที่สำคัญและเป็นองค์กร หลักต่างๆ ที่มีระดับสูงกว่า ระบบครอบครัว ซึ่งเป็นองค์กร แรกก็คือมัสยิด เป็นองค์กรที่สามารถขับเคลื่อนไปสู่ความเปลี่ยนแปลงได้ ทุกอย่างก็จะนำไปสู่การคลีคลายปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เริ่มต้นจากประการที่สำคัญ คือการจัดการเรื่องความรู้ ให้คนเราทุกคนได้รู้จริง ได้มีโอกาสที่จะเรียนรู้ และรู้จริงถึงความเกี่ยวข้องของการดำรงอยู่บนโลก และความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องศาสนา อย่างแท้จริงแล้ว ก็จะนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่ดีงามตลอดไป
"ผมรู้ว่าที่ผมมาถึงตรงนี้ได้ไม่ใช่ เพราะความรู้มากกว่าคนอื่น ไม่ใช่เพราะความสามารถที่ดีหรือเก่งกว่าคนอื่น แต่ที่มาอยู่ตรงนี้ได้ก็ด้วยการขอพร หรือบารอกัต ในเรื่องของการขอดุอาร์ของพี่น้องในภาคใต้หลายจังหวัด แม้กระทั่งที่ยะลา หรือหาดใหญ่ ซึ่งผมเองก็ทราบ ด้วยความเป็นมงคลของท่านนั่งหลายที่ตั้งจิตอธิฐานต่อพระผู้เป็นเจ้า จนกระทั่งผมเองมายืนอยู่ตรงนี้ได้ ผมจึงอยากขอยืนยันว่าไม่ใช่เพราะการมี ความรู้ หรือความสามารถมากกว่าคนอื่น ดีกว่าคนอื่น แต่อย่างใด แต่เป็นเพราะ บารอกัต จากดุอาร์ของพี่น้อง"
จุฬาราชมนตรี กล่าวต่อไปว่า เมื่อผมมาอยู่ตรงนี้แล้ว ผมเองก็อยากขอให้ทุกท่านอย่าทิ้งผมไป ให้ผมยืนอยู่ตรงนี้อยู่เพียงลำพัง ขอให้พี่น้องทั้งหลายต่อไป ขอให้ผมนั้นได้รับการช่วยเหลือจากพระผู้เป็นเจ้า ได้รับการเตาฟิร(การเกื้อหนุน) จากพระองค์ให้พระองค์ชี้นำทางในการดำเนินชีวิตอยู่ในทางที่ถูกต้อง เที่ยงธรรมตลอดไป ไม่มีใครที่จะสามารถบันดาลทุกอย่างให้เกิดขึ้นได้นอกจากพระองค์เจ้า จึงขอฝากในโอกาสสุดท้าย ว่าขอให้ท่านช่วยขอดุอาร์กันต่อไป
"ผมขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติมาร่วม ในวันนี้ ผมเองก็ต้องขอจารึกปรากฏการณ์นี้ไว้ตราบชั่วชีวิต ที่สำคัญคือไม่ว่าจะเป็นอาหารที่พี่น้องในหลายพื้นทีได้ยกกันมาเพื่อแสดง น้ำใจที่ดีต่อกัน ขอให้พวกท่านที่มารวมกันในวันนี้จงได้รับความร่มเย็นเป็นสุข ดำเนินชีวิตอยู่ในครรลองคลองธรรมอันดีงาม อยู่ในทางนำ และที่สำคัญคือ การได้รับทางนำจากพระองค์เจ้าตลอดไป วัสซาลามูอาลัยกุม วาเราะห์ มาตุลลอฮ. ฮีวาบารอกาตุฮ" นายอาศีส กล่าวในที่สุด