สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ธุรกิจ รับบริหารอาคาร ระส่ำหนัก สร้างคนไม่ทันยุคคอนโดฯบูม-เปิดศึกแย่งซื้อตัว

จากประชาชาติธุรกิจ

อสังหาฯเจอปมปัญหาใหม่ คอนโดฯบูม-ออฟฟิศ-เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ผุดพรึบ ทำมืออาชีพด้านบริหารจัดการอาคารขาดแคลนหนัก ถึงขั้นต้องแย่งซื้อตัว"ซีบี ริชาร์ดฯ-ไนท์แฟรงค์ฯ" จี้รัฐเร่งผลิตบุคลากรรองรับ เผยค่าตอบแทนต่ำขาดแรงจูงใจดึงคนเข้าระบบ ด้านสมาคมบริหารทรัพย์สินฯ จับมือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดหลักสูตรติวเข้มผู้จัดการนิติบุคคล อาคารชุด-บ้านจัดสรร ตั้งเป้าสิ้นปีนี้มีบุคลากรเพิ่มอีก 300 ราย



นางสาวอลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีบี ริชาร์ด เอลลิส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ธุรกิจรับบริหารจัดการอาคารกำลังประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรอย่างมาก เนื่องจากบุคลากรที่มีประสบการณ์ด้านนี้โดยตรงมีในตลาด ไม่มากนัก ประกอบกับที่ผ่านมาอาคารสูงทั้งประเภทอาคารสำนักงาน เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ คอนโดมิเนียมเกิดขึ้นจำนวนมาก ส่งผลให้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการอาคารมีไม่เพียงพอต่อ ความต้องการ ในส่วนของบริษัทใช้วิธีนำผู้ที่มีประสบการณ์ด้านอุตสาหกรรมบริการมาทดแทน โดยจะมีการฝึกอบรมก่อนเพื่อ ติวเข้มก่อนการปฏิบัติงานจริง




"ข้อ จำกัดของธุรกิจบริหารอาคารคือภาครัฐยังไม่มีหลักสูตรเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน สถานศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรอย่างชัดเจน ทำให้จำนวนบุคลากรที่จะเข้ามาทำงานในด้านนี้มีน้อย แต่เชื่อว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้าหากจะมีการผลิตบุคลากรด้านนี้ออกมาอย่างจริง จัง เหมือนกับธุรกิจโรงแรมที่มีหลักสูตรด้านการศึกษารองรับ"

นางสาวอ ลิวัสสากล่าวว่า การขาดแคลนบุคลากรด้านการบริหารจัดการอาคารส่งผลให้เกิดปัญหาการแย่งซื้อตัว บุคลากรบ่อย ๆ เพียงแต่ปัจจุบันกรณีที่เกิดขึ้นยัง ไม่ถือเป็นปัญหาที่รุนแรงมากนัก อย่างไรก็ตาม ในอนาคตถ้ามีคอนโดฯเกิดใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี โอกาสที่เรื่องนี้จะกลายเป็นปัญหารุนแรงมีความเป็นไปได้สูง

ค่า ตอบแทนต่ำขาดแรงจูงใจ

ด้านนายพนม กาญจนเทียมเท่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์และบริหารงานอาคาร กล่าวว่า ผลพวงจากโครงการคอนโดฯที่ทยอยก่อสร้างแล้วเสร็จช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้บุคลากรสาขาวิชาชีพบริหารอาคารประสบปัญหาขาดแคลนมากว่า 1 ปีแล้ว เนื่องจากนักบริหารอาคารเป็นอาชีพที่ไม่ถูกบรรจุเป็นหลักสูตรในสถาบันการ ศึกษาโดยตรง ที่ผ่านมาต้องอาศัยบุคลากรที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจอสังหาฯ หรือการบริหารงานในองค์กรต่าง ๆ เข้ามาทำงาน อาทิ ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด เจ้าหน้าที่นิติกร เจ้าหน้าที่บัญชี ฯลฯ

อย่าง ไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าอาชีพนี้มีค่าตอบแทนไม่สูงมาก เช่น ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ในระดับ 3 หมื่นบาท/เดือน ส่วนตำแหน่งอื่น ๆ ในระดับรองลงมา 15,000-18,000 บาท/ เดือน ทั้งที่อาคารพักอาศัยบางแห่งที่เป็นโครงการระดับไฮเอนด์และมีลูกค้าต่างชาติ ต้องการผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท หรือสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี เป็นต้น

เร่งผลิตคนเข้าสู่ระบบ

ขณะ ที่นายรังสรรค์ นันทกาวงศ์ นายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันบุคลากรวิชาชีพที่ทำหน้าที่บริหารชุมชนทั้งในส่วนของอาคารและบ้าน จัดสรรยังขาดแคลนจำนวนมาก โดยเฉพาะอาคารสูงที่มีกว่า 2,000 แห่ง ทั่วประเทศ ที่ผ่านมาสมาคมและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรมาตรฐาน วิชาชีพผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด และนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรขึ้น เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้อกฎหมายต่าง ๆ และเน้นหนักให้บุคลากรด้านนี้มีจริยธรรมและคุณธรรม แต่บุคลากรที่จบหลักสูตรรุ่นแรกมีเพียง 94 ราย ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการที่มีไม่ต่ำกว่า 1,500 คน

"ส่วนรุ่นที่ 2 จะเปิดหลักสูตรในเดือนสิงหาคมนี้ โดยปีนี้สมาคมมีเป้าหมายจะผลิตบุคลากรให้ได้ประมาณ 300 คน"

นอกจาก นี้สมาคมอยู่ระหว่างการผลักดันให้กรมที่ดินออกกฎกระทรวงที่ว่าด้วยคุณสมบัติ ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดและบ้านจัดสรร แต่เนื่องจากหน่วยงานที่ผลิตบุคลากรด้านนี้ยังมีไม่มากพอจึงยังไม่คืบหน้า มากนัก เพราะกรมที่ดินเกรงว่าหากออกกฎหมายให้ผู้บริหารอาคารและ โครงการจัดสรรต้องผ่านการอบรมและได้ใบรับรอง อาจจะเป็นช่องทางให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตคิดค่าธรรมเนียมการบริหารในอัตรา ที่ไม่เป็นธรรม

view