สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โจ ฮินริคส์ ฟอร์ด มองเมืองไทยยังน่าลงทุน

จากประชาชาติธุรกิจ

สัมภาษณ์




หลังจาก แสดงความสนใจว่าจะเข้ามาลงทุนมูลค่ามหาศาล เพื่อตั้งโรงงานผลิตรถยนต์นั่งแห่งปี โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต แต่เนื่องจากติดขัดปัญหาที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทำให้ "ฟอร์ด" ต้องปรับแผนเพื่อหาพื้นที่ตั้งโรงงานแห่งใหม่ โดยภายในระยะเวลา 2 เดือน ที่ผ่านมา จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ภาพการลงทุนติดขัดไปบ้าง แต่ล่าสุด นายโจ ฮินริคส์ ประธานฟอร์ด ประจำ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา ได้ออกมาประกาศความชัดเจน และแผนงานการลงทุนของโรงงานใหม่อย่างเป็นรูปธรรม

- เป็นการลงทุนโดยฟอร์ด 100%

โรงงานแห่งนี้ถือเป็นโรงงานที่ลงทุน โดย "ฟอร์ด" อย่างเต็มรูปแบบ 100% และถือเป็นการลงทุนที่แตกต่างจากการลงทุนที่โรงงานออโต้อัลลายแอนซ์ (เอเอที) ที่เป็นการลงทุนร่วมระหว่าง "ฟอร์ด" กับ "มาสด้า"

สำหรับ การลงทุนครั้งนี้ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการขยายการดำเนินธุรกิจ เชิงรุกของฟอร์ดอย่างต่อเนื่องในเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อตอบสนองต่อความต้องการสินค้าคุณภาพระดับโลกของฟอร์ดในประเทศไทยและใน ภูมิภาคที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วแห่งนี้

- ความแตกต่างระหว่างพื้นที่เดิมและ พื้นที่ใหม่

เดิมเราตัดสินใจจะ เข้าไปตั้งโรงงาน ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งเดิมฟอร์ดไม่ได้ห่วงเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เนื่องจากโรงงานของเราเป็นโรงงานที่ได้มาตรฐาน EIA และเป็นโรงงานที่มีมาตรฐานค่อนข้างสูง "ฟอร์ด" ก็ไม่รู้สึกกังวลกับปัญหานี้ เพียงแต่หากบริษัท ตัดสินใจเข้าลงทุนซื้อพื้นที่และก่อสร้างโรงงานแล้วก็ไม่รู้ว่าอนาคตจะ สามารถเปิดโรงงานได้เมื่อใด เพราะทุกอย่างยังไม่มีความชัดเจน

ดัง นั้น บริษัทจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกพื้นที่ตั้งโรงงานแห่งใหม่ และถือเป็นการโชคดีที่เรามาเจอพื้นที่ตั้งโรงงานในปัจจุบันที่นิคม อุตสาหกรรมเหมราช ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่ไกลจากโรงงานของเอเอที และยังอยู่ใกล้เคียงกับบริษัทเป็นซัพพลายเออร์ของเรา ซึ่งพื้นที่แห่งใหม่นี้ถือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพไม่ต่างจากที่เดิม และช่วงระยะเวลา 2 เดือนนั้นไม่ได้ทำให้แผนการดำเนินธุรกิจของฟอร์ดต้องล่าช้าออกไป เพียงแต่ชะงักชั่วคราว แต่วันนี้ฟอร์ดก็พร้อมดำเนินงานทุกอย่างให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ทั้งนี้ฟอร์ดเองก็มองเรื่องการลงทุนในประเทศไทยเป็นการลงทุนในระยะยาว โดยไทยจะเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่ สำคัญของฟอร์ด

- ยังเชื่อมั่นต่อการลงทุนในไทย

สำหรับประเทศไทย "ฟอร์ดมองว่าวันนี้มีบรรยากาศในการลงทุนที่ดี โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีทุกอย่างเอื้อต่อการลงทุน ทั้งบริษัทชิ้นส่วนซัพพลายเออร์ต่าง ๆ ระบบการขนส่ง การสนับสนุนการลงทุนอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ และที่สำคัญยิ่งคือ คุณภาพ ฝีมือแรงงานชาวไทยที่วันนี้เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์โลก และเชื่อว่าไทยจะเป็นประเทศที่มีอนาคตมั่นคง เห็นได้จากยอดขายของตลาดรถยนต์โดยรวมที่ผ่านมา

- การลงทุนและศักยภาพของโรงงาน แห่งใหม่

สำหรับโรงงานแห่งนี้ฟอร์ดใช้ เงินลงทุนมูลค่า 15,000 ล้านบาท หรือ 450 ล้านเหรียญสหรัฐ และถือ

เป็น การลงทุนครั้งสำคัญเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์การขยายธุรกิจเชิงรุกในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิกและแอฟริกา โดยโรงงานแห่งนี้ถือเป็นโรงงานที่มีความยืดหยุ่น ค่อนข้างสูง สามารถรองรับการผลิตรถยนต์รุ่นต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลายในอนาคต

โรงงานแห่งนี้คาดว่าจะก่อสร้างแล้ว เสร็จในปี 2555 และมีกำลังการผลิตเบื้องต้นอยู่ที่ 150,000 คันต่อปี แบ่งเป็นการผลิตเพื่อตลาดในประเทศ 15% และตลาดส่งออก 85% แต่หากตลาดในประเทศมีความต้องการเพิ่มขึ้น โรงงานก็สามารถขยายการผลิตเพื่อรองรับได้ทันทีด้วย

โดยแผนแรกของโรง งานแห่งนี้คือ จะผลิตรถยนต์นั่งอย่างฟอร์ด โฟกัสในปี 2555 และฟอร์ด เฟียสต้าก่อน และจากความยืดหยุ่นของโรงงาน อนาคตเรายังสามารถผลิตรถยนต์นั่งขนาดซี-คลาส และดี-คลาส อย่าง "มอนเดโอ" ได้ด้วย

- จะมีการดึงพันธมิตรบริษัทชิ้นส่วนมาลงทุน

ปัจจุบัน ฟอร์ดมีบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่เป็นพันธมิตรอยู่ 177 ราย ที่โรงงานเอเอที และในจำนวนนี้กว่า 160 รายเป็นบริษัทผู้ผลิตของคนไทย ส่วนที่เหลือเองก็เป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนระดับโลก เบื้องต้นฟอร์ดคาดว่าจะมีการจัดซื้อชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ ซึ่งมูลค่าสูงสุดถึง ปีละ 26,000 ล้านบาท หรือ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ จากผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทยด้วย

- จะปิดโรงงานที่ฟิลิปปินส์

วันนี้ "ฟอร์ด" ยังไม่มีแผนงานเรื่องการปิดโรงงานที่ฟิลิปปินส์ แต่ในส่วนของแผนงานโรงงานในประเทศไทยนั้น เราต้องการมุ่งมั่นพยายามใช้ประโยชน์จากโรงงานแห่งนี้ให้ได้มากที่สุดด้วย การลดต้นทุน ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าที่มีคุณภาพ คุ้มค่า และราคาโดนใจตลาด ขณะที่แผนงานของที่อื่น ๆ "ฟอร์ด" ก็ยึดมั่นในหลักการเดียวกัน ส่วนโรงงานเอเอทีที่ผลิตฟอร์ด เรนเจอร์ และเฟียสต้านั้น วันนี้ก็ได้ใช้กำลังการผลิตอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อผลิตสินค้าที่ดีออกสู่ตลาดคู่ขนานไปกับโรงงานแห่งใหม่

- ความพอใจหลังเข้ามาทำตลาดในไทยตลอด 14 ปี

หากจะเปรียบเทียบความพอใจ ของฟอร์ด ประเทศไทย กับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคแล้ว ต้องบอกว่าวันนี้ฟอร์ดพอใจกับประเทศไทยเพียง 2 เรื่อง คือ 1.ตลาด ส่งออก และ 2.การเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ แต่ในส่วนของ "ยอดขาย" นั้นต้องยอมรับว่าฟอร์ดยังต้องการให้มียอดขายมากกว่านี้ แต่เราต้องยอมรับว่าตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา ฟอร์ดเองก็มัวแต่สนใจตลาดอื่น ๆ โดยไม่ได้สนใจทำตลาดเอเชีย-แปซิฟิกเท่าใดนัก แต่วันนี้ภาพตรงกันข้ามฟอร์ดจะมุ่งมั่นทำตลาดนี้ให้มากขึ้นรวมถึงประเทศไทย ด้วย


ฟอร์ ดจ้างงานหมื่นคนผลิตเก๋งป้อนโลก

จากประชาชาติธุรกิจ


"ฟอร์ด" ทุน 1.5 หมื่นล้านบาท ผุดโรงงานผลิตรถยนต์นั่ง ที่นิคมเหมราช กำหนดเสร็จ ในปี 2555 เริ่มผลิตรถยนต์ "ฟอร์ด โฟกัส" รุ่นใหม่ในปี 2555 เพื่อป้อนตลาดภายในประเทศและตลาดโลก มั่นใจซื้อชิ้นส่วนจาก ผู้ผลิตคนไทยมูลค่าสูงสุดถึง 26,000 ล้าน บาทต่อปี พร้อมจ้างงานใหม่ 11,000 ตำแหน่ง



นายอ ลัน มูลัลลี ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี กล่าวว่า ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ประกาศแผนการลงทุน มูลค่า 15,000 ล้านบาท (หรือ 450 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในการสร้างโรงงานผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแห่งใหม่ที่พร้อมไปด้วยเทคโนโลยี ชั้นยอดในจังหวัดระยอง ประเทศไทย มีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2555

โรง งานแห่งนี้จะเริ่มผลิตรถยนต์ฟอร์ด โฟกัส รุ่นใหม่ ในปี 2555 เพื่อป้อนตลาด ในประเทศไทย รวมถึงการส่งไปจำหน่าย ยังตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ ด้วยการเป็นโรงงานที่มีความ ยืดหยุ่นสูง ทำให้ฟอร์ดมีศักยภาพในการผลิตรถยนต์ได้หลากหลายรุ่นในอนาคต

สำหรับ โรงงานผลิตรถยนต์แห่งใหม่จะ มีกำลังการผลิตเบื้องต้นอยู่ที่ 150,000 คันต่อปี ใช้ระบบการผลิตระบบอัตโนมัติอัน ทันสมัย และปฏิบัติงานภายใต้ระบบและกระบวนการผลิตรถยนต์ระดับโลกของฟอร์ด โดยการผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่จะเป็น การผลิตเพื่อการส่งออกสูงสุดถึงร้อยละ 85

นาย โจ ฮินริคส์ ประธานฟอร์ด ประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกและแอฟริกา กล่าวว่า การตัดสินใจสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ของฟอร์ดในครั้งนี้ เป็นผลมาจากความพร้อมของอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย ระบบโลจิสติกส์ และโครงสร้างพื้นฐานด้านการส่งออกที่มีมาตรฐานในระดับโลก

ทั้งนี้ รถยนต์ฟอร์ด โฟกัส รุ่นใหม่ จะถูกผลิตโดยใช้โครงสร้างตัวถังใหม่ของรถยนต์ขนาดกลาง หรือ "ซี-คาร์" ของฟอร์ด ซึ่งคาดว่าจะมียอดขายรวมทั่วโลกมากกว่าปีละสองล้านคัน โดยปัจจุบันตลาดรถยนต์นั่งขนาดกลางถือเป็นตลาด ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และคาดกันว่าภายในปี 2556 จะมีสัดส่วนราวร้อยละ 28 ของยอดขายรถยนต์นั่งโดยรวมทั้งหมด

โรงงานประกอบรถยนต์แห่งใหม่ขนาด 750,000 ตารางเมตร จะเป็นโรงงานแบบครบวงจร เพื่อการประกอบตัวถัง การพ่นสี การเก็บรายละเอียด และการประกอบรถยนต์ขั้นสุดท้าย โดยใช้กระบวนการ ผลิตตามรูปแบบระดับโลก ซึ่งเป็นแนวคิดเพื่อความยั่งยืน ตลอดจนกระบวนการ ผลิตที่มีความรับผิดชอบและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

"สำหรับฟอร์ดแล้ว การดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นมาก กว่าความมุ่งมั่นของเรา ในการเป็นผู้นำ ด้านการประหยัดพลังงาน โดยเราประสบความสำเร็จอย่างสูงในการประยุกต์ใช้เทคนิคด้านการใช้พลังงานต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ในโรงงานผลิต และสำนัก งานของเราทั่วโลก โรงงานแห่งใหม่ในประเทศไทยนี้จะปฏิบัติตามนโยบายของฟอร์ดทั่วโลกอย่างเคร่ง ครัด ซึ่งการปฏิบัติการ ผลิตภัณฑ์ และบริการของเรา บรรลุการทำหน้าที่ในการปกป้องสุขภาพและ สิ่งแวดล้อม"

โรงพ่นสี ของโรงงานแห่งใหม่นี้จะใช้กระบวนการพ่นสีแบบ 3-Wet technology ที่พ่นสีซ้อนทับกัน 3 ชั้น แล้วจึงอบสีแห้งเพียงครั้งเดียว โดยถือเป็นวิธีที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพของการพ่นสี ความละเอียด และความทนทานของสี ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีคุณภาพระดับโลกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังช่วยลดปริมาณการปล่อยสารอินทรีย์ไอระเหยและก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ รวมทั้งของเสียต่าง ๆ จากการผลิตลงได้อย่างมาก นอกจากนั้นยังมี โรงบำบัดน้ำเสียอยู่ภายในโรงงาน ระบบควบคุมแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน โดยใช้แสงธรรมชาติ ระบบระบายอากาศด้วยลมธรรมชาติ รวมทั้งใช้วัตถุดิบที่ผลิต ในประเทศไทยและสามารถนำกลับมาใช้ อีกได้

ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี มีแผนจัดซื้อชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ ซึ่งมูลค่าสูงสุด 26,000 ล้านบาท จากเครือข่าย ผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทย พร้อมกันนี้ ฟอร์ดยังเปิดเผยว่า โรงงานผลิตรถยนต์แห่งใหม่นี้จะสามารถจ้างงานใหม่ได้สูงสุดถึง 11,000 ตำแหน่ง โดยโรงงานมีกำลังการผลิตสูงถึง 150,000 คันต่อปี

view