สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สหภาพ ขรก.กฎหมายปลดแอกการเมือง

จาก โพสต์ทูเดย์

สหภาพข้าราชการนั้น ข้าราชการคนหนึ่งอาจเป็นสมาชิกสหภาพของส่วนราชการ สหภาพของจังหวัด และสหภาพของสายงานกลุ่มอาชีพได้ในเวลาเดียวกัน

โดย...ปริญญา ชูเลขา

ในกระบวนการผลักดัน "ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ...." ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หรือที่เรียกกันอย่างง่ายๆว่า  “สหภาพ ข้าราชการ” ที่ได้เปิดโอกาสให้มีบัญญัติรับรองเสรีภาพในการรวมกลุ่มของข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ในมาตรา 64 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551  ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการปลดแอกตัวเองจากการถูกครอบงำทางการเมือง 

โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ประกอบด้วย 6 หมวด ได้แก่ บททั่วไป วัตถุประสงค์ของสหภาพข้าราชการ  การจัดตั้ง การจดทะเบียน และการดำเนินงาน การยื่นข้อเสนอแนะ ข้อเรียกร้อง คณะกรรมการส่งเสริมกิจการสหภาพข้าราชการ สหพันธ์ข้าราชการ และบทเฉพาะกาล ขณะที่ร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ไม่รวมถึงข้าราชการตุลาการ อัยการ ทหาร ตำรวจ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์

สำหรับการดำเนินกิจกรรมของสหภาพข้าราชการ ต้องอยู่ภายใต้หลักวิชาชีพของข้าราชการ วินัยและการรักษาวินัย และหน้าที่ที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน  ที่สำคัญสหภาพข้าราชการและสมาชิกต้องไม่หยุดงานประท้วง  ละทิ้งหน้าที่ รบกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือกระทำการอันมีผลต่อการให้บริการสาธารณะหยุดลงหรือช้าลง หรือให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการไม่ได้รับบริการจากหน่วยงานของรัฐ รวมถึงห้ามสหภาพข้าราชการและสมาชิกสนับสนุนพรรคการเมืองหรือการแบ่งฝักฝ่าย ทางการเมือง

นอกจากนี้วัตถุประสงค์หลักของสหภาพข้าราชการ ได้แก่ การปกป้องรักษาผลประโยชน์ของสมาชิก เพื่อสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติราชการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนสร้างความมีเกียรติและศักดิศรีของอาชีพรับราชการ ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารและข้าราชการ การมีส่วนร่วมกับฝ่ายการเมืองและผู้บริหารในการให้ความสำคัญกับระบบคุณธรรม และหลักธรรมาภิบาล เป็นตัวแทนของสมาชิกในการร้องทุกข์ขอความเป็นธรรม เข้าร่วมเจรจากับผู้บริหาร

ทั้งนี้สหภาพข้าราชการนั้น ข้าราชการคนหนึ่งอาจเป็นสมาชิกสหภาพของส่วนราชการ สหภาพของจังหวัด และสหภาพของสายงานกลุ่มอาชีพได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้การจัดตั้งสหภาพหรือการรวมกลุ่มในชื่ออื่นจะต้องจดทะเบียนกับนาย ทะเบียนคือ เลขาธิการ ก.พ.

อย่างไรก็ตามความใฝ่ฝันของบรรดาข้าราชการหลายล้านคน ที่ต้องการก่อตั้งสหภาพข้าราชการจะเป็นจริงได้ ก็ต่อเมื่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม.) พิจารณาเห็นชอบ ดังนั้นการผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นประเด็นที่ฝ่ายข้าราชการจับตามองว่า ฝ่ายการเมืองจะผ่านร่างพ.ร.ฎ.ฉบับนี้หรือไม่  

นายจาดุร อภิชาติบุตร หัวหน้าผู้ตรวจกระทรวงมหาดไทย ในฐานะนายกสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าการออกกฎหมายฉบับนี้ต้องการส่งเสริมระบบข้าราชการ 3 ด้าน คือ

1.การส่งเสริมการรวมกลุ่มของข้าราชการในด้านวิชาชีพ ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิ เพราะที่ผ่านมาข้าราชการไม่มีกลไกในการดำเนินการ ดังนั้นหากมองในแง่ดีจะเป็นการคุ้มครองบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถให้ทำ งานอยู่ในราชการต่อไปอีกนานๆ เพราะข้าราชการบางคนดำรงชีพอยู่ได้ด้วยเงินพิเศษ และยังมีข้าราชการอีกจำนวนมากที่ต้องทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อย ดังนั้นหากมีกลไกที่เป็นจริงจะช่วยส่งเสริมข้าราชการที่อยู่ในวิชาชีพเดียว กันได้มีชีวิตที่ดีขึ้น

2. ส่งเสริมให้ข้าราชการสามารถออกกฎหมายหรือนโยบายที่ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนตามมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญที่ส่งเสริมให้ข้าราชการรวมกลุ่มในการเสนอกฎหมายเพราะบาง เรื่องที่ฝ่ายราชการเห็นว่ามีความสำคัญควรออกกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ทางรัฐบาลหรือส.ส.เป็นผู้เสนอ แต่ทางข้าราชการสามารถรวมตัวกันได้ตามกลไกนี้นำเสนอกฎหมายและนโยบายให้ สาธารณชนได้รับทราบ

“อะไรที่เราเห็นว่านักการเมืองไปหาเสียงดูถูกดูแคลนข้าราชการ แล้วไปโยกย้ายข้าราชการคนนั้นคนนี้ตามอำเภอใจอย่างไม่เป็นธรรม ทางสหภาพข้าราชการก็จะนำเรื่องแบบนี้มาแฉให้ข้าราชการด้วยกันได้รับทราบ ว่าพรรคการเมืองนี้ นักการเมืองคนนี้เป็นอย่างไร เพื่อจะให้ข้าราชการได้เข้าใจไม่ต้องเลือกพรรคนี้หรือพรรคการเมืองคนนี้อีก นี้ก็คือการแสดงออกถึงความเข้าใจประชาธิปไตยรูปแบบหนึ่ง” นายจาดุร กล่าว

3. การสร้างอำนาจต่อรองด้านกลุ่มวิชาชีพให้เกิดขึ้นและ สร้างความเป็นเอกภาพและความเป็นบึกแผ่นของข้าราชการในการสร้างความมั่นคงให้ แก่ชีวิตในหน้าที่ทางการงาน เช่น การเข้าพบฝ่ายนโยบายหรือนักการเมือง หากเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยทางฝ่ายการเมืองจะไม่ให้เข้าพบเพราะเห็นว่าไม่ ได้มีผลประโยชน์

หรือ การขอใช้สถานที่ราชการเพื่อประกอบกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหาก ดำเนินการในนามสมาคม สหภาพ หรือ สหพันธ์จะมีน้ำหนักและได้รับความร่วมมือ และขอยืนยันว่าในร่างกฎหมายฉบับนี้สั่งห้ามโดยเด็ดขาดไม่ให้ข้าราชการ ประท้วงหยุดงาน ดังนั้นประเด็นนัดหยุดงานจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

“การขอพบรัฐมนตรีถ้าไม่มีผลประโยชน์ไปแลกไม่มีทางได้พบ แต่ถ้าเข้าพบในนามสมาคมที่ทำงานให้ส่วนรวมได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายข้า ราชการก็จะไม่ถูกกลั่นแกล้ง” นายกสมาคมข้าราการฯ กล่าว

ทั้งนี้ข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม สามารถจัดตั้งหรือรวมกลุ่มขึ้นได้หาก พ.ร.ฏ.ฉบับนี้ผ่าน โดยที่นักการเมืองหรือรัฐมนตรีไม่สามารถระงับยับยั้งได้ผ่านการรับรองเป็น สมาชิกข้าราชการพลเรือน และสมาชิกสหภาพข้าราชการแยกตามรายกระทรวง เช่น สหภาพข้าราชการฝ่ายปกครอง กระทรวงมหาดไทย, สหภาพข้าราชการกระทรวงยุติธรรม ,สหภาพข้าราชการอัยการ หรือสหภาพข้าราชการตำรวจ

“หากฝ่ายการเมืองต้องการให้ร่างพ.ร.ฏ.ฉบับนี้ออกเป็น พ.ร.บ.แทนนั้นแสดงถึงความจริงใจและตั้งใจเกี่ยวกับความเข้าใจข้าราชการอย่าง แท้จริงว่าแท้จริงแล้วข้าราชการต้องการสิ่งใด” นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย กล่าว



‘สมาคมขรก.’หนุนออกกฎหมายสหภาพ

จาก โพสต์ทูเดย์

13 กรกฎาคม 2553 เวลา 05:30 น.

นายกสมาคม ขรก.หนุนออก พ.ร.ฎ.สหภาพ เน้นสร้างอำนาจต่อรองนักการเมืองกลั่นแกล้ง ออกกฎหมาย และ นโยบายเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

นายจาดุร อภิชาตบุตร หัวหน้าผู้ตรวจกระทรวงมหาดไทย ในฐานะนายกสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กฎหมายฉบับนี้ต้องการส่งเสริม 3 ด้าน คือ 1.การส่งเสริมการรวมกลุ่มของข้าราชการในด้านวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิ เพราะที่ผ่านมาข้าราชการไม่มีกลไกในการดำเนินการ ดังนั้นหากมองในแง่ดีจะเป็นการคุ้มครองบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถให้ทำ งานอยู่ในราชการต่อไปอีกนานๆ เพราะข้าราชการบางคนดำรงชีพอยู่ได้ด้วยเงินพิเศษ และยังมีข้าราชการอีกจำนวนมากที่ต้องทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยดังนั้นหากมี กลไกที่เป็นจริงจะช่วยส่งเสริมข้าราชการที่อยู่ในวิชาชีพเดียวกันได้มีชีวิต ที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ 2.ส่งเสริมให้ข้าราชการสามารถออกกฎหมายหรือนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ตามมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญที่ส่งเสริมให้ข้าราชการรวมกลุ่มในการเสนอกฎหมาย เพราะบางเรื่องที่ฝ่ายราชการเห็นว่ามีความสำคัญควรออกกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ทางรัฐบาล หรือ สส.เป็นผู้เสนอ แต่ทางข้าราชการสามารถรวมตัวกันได้ตามกลไกนี้นำเสนอกฎหมายและนโยบายให้ สาธารณชนได้รับทราบ

“อะไรที่เราเห็นว่านักการเมืองไปหาเสียงดูถูกดูแคลนข้าราชการ แล้วไปโยกย้ายข้าราชการคนนั้นคนนี้ตามอำเภอใจอย่างไม่เป็นธรรม ทางสหภาพข้าราชการก็จะนำเรื่องแบบนี้มาแฉให้ข้าราชการด้วยกันได้รับทราบ ว่าพรรคการเมืองนี้ นักการเมืองคนนี้เป็นอย่างไร เพื่อจะให้ข้าราชการได้เข้าใจไม่ต้องเลือกพรรคนี้หรือพรรคการเมืองคนนี้อีก นี้ก็คือการแสดงออกถึงความเข้าใจประชาธิปไตยรูปแบบหนึ่ง” นายจาดุร กล่าว

นายจาดุร กล่าวว่า 3.การสร้างอำนาจต่อรองด้านกลุ่มวิชาชีพให้เกิดขึ้นและสร้างความเป็นเอกภาพ และความเป็นบึกแผ่นของข้าราชการในการสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตในหน้าที่ ทางการงาน เช่น การเข้าพบฝ่ายนโยบายหรือนักการเมือง หากเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยทางฝ่ายการเมืองจะไม่ให้เข้าพบ เพราะเห็นว่าไม่ได้มีผลประโยชน์ หรือ การขอใช้สถานที่ราชการเพื่อประกอบกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหาก ดำเนินการในนามสมาคม สหภาพ หรือ สหพันธ์จะมีน้ำหนักและได้รับความร่วมมือ และขอยืนยันว่าในร่างกฎหมายฉบับนี้สั่งห้ามโดยเด็ดขาดไม่ให้ข้าราชการ ประท้วงหยุดงาน ดังนั้นนัดหยุดงานจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

“การขอพบรัฐมนตรีถ้าไม่มีผลประโยชน์ไปแลกไม่มีทางได้พบ แต่ถ้าเข้าพบในนามสมาคมที่ทำงานให้ส่วนรวมได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายข้า ราชการก็จะไม่ถูกกลั่นแกล้ง” นายกสมาคมข้าราการฯ กล่าว

ทั้งนี้ข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม สามารถจัดตั้งหรือรวมกลุ่มขึ้นได้หาก พ.ร.ฏ.ฉบับนี้ผ่าน โดยที่นักการเมืองหรือรัฐมนตรีไม่สามารถระงับยับยั้งได้ผ่านการรับรองเป็น สมาชิกข้าราชการพลเรือน และสมาชิกสหภาพข้าราชการแยกตามรายกระทรวง เช่น สหภาพข้าราชการฝ่ายปกครอง กระทรวงมหาดไทย, สหภาพข้าราชการกระทรวงยุติธรรม ,สหภาพข้าราชการอัยการ หรือสหภาพข้าราชการตำรวจ

“หากฝ่ายการเมืองต้องการให้ร่าง พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ออกเป็น พ.ร.บ.แทนนั้นแสดงถึงความจริงใจและตั้งใจเกี่ยวกับความเข้าใจข้าราชการอย่าง แท้จริงว่าแท้จริงแล้วข้าราชการต้องการสิ่งใด” นายจาดุร กล่าว

Tags : สหภาพ ขรก. กฎหมาย ปลดแอก การเมือง

view