จากประชาชาติธุรกิจ
ก.ล.ต.ร่อนหนังสือแจ้งทีพีไอ โพลีน ระบุชัดคุณสมบัติ"ประชัย เลี่ยวไพรัตน์" ที่นั่งเป็นกรรมการและผู้บริหารขาดความน่าไว้วางใจ เหตุมีคดีอาญาสร้างราคาหุ้นที่ถูกก.ล.ต.กล่าวโทษต่อดีเอสไอ เตือนผู้บริหารต้องรับผิดชอบร่วม ขณะที่บริษัทร่อนหนังสือโต้คดียังไม่ถึงที่สุด ยังไม่ถือว่ามีความผิด!!
รายงานข่าวจากสำนักงานก.ล.ต. แจ้งว่า ตามที่บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPL มีหนังสือแจ้ง ก.ล.ต. และแจ้งผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าคณะกรรมการบริษัทในการประชุม ครั้งที่ 6/2553 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2553 ได้พิจารณาหนังสือแจ้งของ ก.ล.ต. ที่มีถึง TPIPL กรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่านายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการและผู้บริหารของ TPIPL มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจให้เป็นกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลัก ทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน โดยคณะกรรมการบริษัท TPIPL มีมติว่านายประชัยยังเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการและกรรมการบริหารของ บริษัทต่อไป และสมควรรอการพิจารณาถอนชื่อนายประชัยออกจากการเป็นกรรมการและผู้บริหารของ TPIPL ไว้ก่อน จนกว่าจะทราบผลคดีอาญาถึงที่สุดในชั้นศาลว่าเป็นผู้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา นั้น ก.ล.ต. ขอชี้แจงว่า ก.ล.ต.ได้มีหนังสือถึง TPIPL เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2553 ว่าการที่นายประชัยเป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีตามการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. ในข้อหาความผิดในเรื่องการแพร่ข่าวตามมาตรา 239 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ทำให้นายประชัยมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามข้อ 4(3) ของประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 8/2553 เรื่อง การกำหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 23 เมษายน 2553 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 89/3 และมาตรา 89/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ และเป็นผลให้นายประชัย ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารของ TPIPL โดยผลของมาตรา 89/4 และมาตรา 89/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ การที่ TPIPL จะยังคงให้นายประชัยดำรงตำแหน่งกรรมการ กรรมการบริหาร และผู้บริหารของบริษัทต่อไป จึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท TPIPL ที่ต้องตระหนักว่า บรรดากิจการของบริษัทที่คณะกรรมการ กรรมการ หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ได้กระทำไปในนามของบริษัทโดยมีกรรมการที่มีลักษณะที่ต้องพ้นจากตำแหน่งตามบท บัญญัติแห่งกฎหมาย อาจกระทบต่อความสมบูรณ์และความผูกพันของกิจการดังกล่าวต่อบริษัทได้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2547 ก.ล.ต. ได้ดำเนินการกล่าวโทษ (1) นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร ในฐานะผู้บริหารแผนบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (TPIPL) และ (2) บริษัท สเติร์น สจ๊วต (ประเทศไทย) จำกัด ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อสอบสวนดำเนินคดีกรณีแพร่ข่าวเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ทำให้บุคคลอื่น เข้าใจว่าราคาหุ้น TPIPL จะเพิ่มสูงขึ้น โดยที่มิได้มีการแจ้งข้อมูลกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งได้กล่าวโทษ (3) TPIPL กรณีเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่มิได้เปิดเผยไว้ในร่าง หนังสือชี้ชวน จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง ก.ล.ต. พบว่า ในช่วงวันที่ 15 - 16 ธันวาคม 2546 ในระหว่างที่ TPIPL อยู่ระหว่างขออนุญาตเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนจาก ก.ล.ต. นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินกิจการของ TPIPL ได้ยินยอมหรือรู้เห็นกับบริษัท สเติร์นฯ ในการแพร่ข่าวเกี่ยวกับผลการประเมินมูลค่าองค์กรของ TPIPL ที่บริษัท สเติร์นฯ เป็นผู้ประเมินว่า TPIPL มีมูลค่าองค์กร 91,387 ล้านบาท และหุ้น TPIPL มีมูลค่าที่เหมาะสมหุ้นละ 89 บาท (ในขณะนั้นหุ้น TPIPL ราคาประมาณ 46 บาท) โดยได้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ สิ่งพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ ซึ่ง ก.ล.ต. เห็นว่า ข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อเท็จจริงที่อาจทำให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดว่าหุ้น TPIPL จะมีราคาสูงขึ้น และมิได้มีการแจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ฯ อันเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 239 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังเป็นข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้น TPIPL ที่ไม่ได้ถูกเปิดเผยในร่างหนังสือชี้ชวนที่ TPIPL ได้ยื่นต่อ ก.ล.ต. TPIPL จึงเข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา 77 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ............................ ล้อมกรอบหนังสือชี้แจงคุณสมบัติของกรรมการและผู้ บริหารของทีพีไอ โพลีน ที่ ทห.035/2553
วันที่ 7 กรกฎาคม 2553
เรื่อง ชี้แจงคุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหาร
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อ้างถึง 1.จดหมายอิเล็คทรอนิคส์ของฝ่ายบริษัทจดทะเบียนและเปิดเผยข้อมูล ตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2553 เรื่อง SET : ติดตามให้บริษัทเปิดเผย
สารสนเทศผ่านระบบ SET กรณีสำนักงาน ก.ล.ต. แจ้งว่าคุณประชัย มีลักษณะขาดความ
น่าไว้วางใจ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2553
2.หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลต.ต. 895/2553 ลง
วันที่ 18 มิถุนายน 2553 เรื่อง แจ้งการมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจให้เป็นกรรมการและ
ผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน
บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") ขอเรียนให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ทราบว่า ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทฯ ครั้งที่ 6/2553 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2553 ได้มีมติว่า
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ยังคงเหมาะสมดำรงตำแหน่งกรรมการ กรรมการบริหาร และผู้บริหาร
ของบริษัทฯ ต่อไป เนื่องจากคดีกล่าวโทษของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ต่อ
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ คดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.937/2549 และคดีหมายเลขแดงที่ อ.4761/2550
ยังไม่ถึงที่สุด เพราะตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด
ของประเทศ มาตรา 39 วรรคสอง ได้บัญญัติว่า "ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือ
จำเลยไม่มีความผิด" และวรรคสาม ที่บัญญัติว่า "ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใด ได้กระทำ
ความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนผู้กระทำความผิดมิได้"
นอกจากนี้ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 69 ยังได้บัญญัติว่า "การ
กำหนดข้อจำกัดใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการกีดกัน มิให้ผู้ถือหุ้นเป็นกรรมการนั้น จะกระทำมิได้"
อีกทั้งประกาศของสำนักงานฯ ฉบับที่ กจ. 8/2553 อาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมายและวิธีปฏิบัติ
ราชการทางปกครอง ดังนั้น ในชั้นนี้บริษัทฯ จึงยังไม่อาจดำเนินการตามหนังสือของสำนักงาน
คณะ กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่อ้างถึงข้างต้นได้
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น การกล่าวโทษจึงไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและฐานะทางการ
เงินของ บริษัทฯ แต่อย่างใด ด้วยประการฉะนี้บริษัทฯ จึงเห็นสมควรรอการพิจารณาถอนชื่อบุคคล
ดังกล่าวออกจากการเป็นกรรมการและ ผู้บริหารของบริษัทฯ ไว้ก่อน จนกว่าจะทราบผลคดีอาญาถึงที่สุด
ในชั้นศาล ว่าเป็นผู้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
(นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์)
กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส
ก.ล.ต.สั่งTPIPLตะเพิด'ประชัย'พ้นตำแหน่ง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ก.ล.ต.สั่งทีพี ไอโพลีนตะเพิด"ประชัย เลี่ยวไพรัตน์"พ้นตำแหน่งกรรมการบริษัท เหตุอยู่ระหว่างถูกดำเนินคดี ทำให้ขาดความน่าไว้วางใจ
ตามที่บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ("TPIPL") มีหนังสือแจ้ง ก.ล.ต. และแจ้งผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าคณะกรรมการบริษัทในการประชุม ครั้งที่ 6/2553 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2553 ได้พิจารณาหนังสือแจ้งของ ก.ล.ต. ที่มีถึง TPIPL กรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่านายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการและผู้บริหารของ TPIPL มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจให้เป็นกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลัก ทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน โดยคณะกรรมการบริษัท TPIPL มีมติว่านายประชัยยังเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการและกรรมการบริหารของ บริษัทต่อไป และสมควรรอการพิจารณาถอนชื่อนายประชัยออกจากการเป็นกรรมการและผู้บริหารของ TPIPL ไว้ก่อน จนกว่าจะทราบผลคดีอาญาถึงที่สุดในชั้นศาลว่าเป็นผู้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา นั้น
ก.ล.ต. ขอชี้แจงว่า ก.ล.ต.ได้มีหนังสือถึง TPIPL เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2553 ว่าการที่นายประชัยเป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีตามการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. ในข้อหาความผิดในเรื่องการแพร่ข่าวตามมาตรา 239 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ทำให้นายประชัยมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามข้อ 4(3) ของประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 8/2553 เรื่อง การกำหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 23 เมษายน 2553 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 89/3 และมาตรา 89/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ และเป็นผลให้นายประชัย ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารของ TPIPL โดยผลของมาตรา 89/4 และมาตรา 89/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ
การที่ TPIPL จะยังคงให้นายประชัยดำรงตำแหน่งกรรมการ กรรมการบริหาร และผู้บริหารของบริษัทต่อไป จึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท TPIPL ที่ต้องตระหนักว่า บรรดากิจการของบริษัทที่คณะกรรมการ กรรมการ หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ได้กระทำไปในนามของบริษัทโดยมีกรรมการที่มีลักษณะที่ต้องพ้นจากตำแหน่งตามบท บัญญัติแห่งกฎหมาย อาจกระทบต่อความสมบูรณ์และความผูกพันของกิจการดังกล่าวต่อบริษัทได้