สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ธปท.ตั้ง ทีมนโยบายบัญชี ดูสถาบันการเงิน ปรับใช้ TAS 19

จากประชาชาติธุรกิจ

เมื่อ ได้ยินคำว่า "มาตรฐานการบัญชี" เชื่อว่าต้องมีคนรู้สึกว่าเป็นเรื่องยาก ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ แถมมีแนวโน้มว่าจะปรับปรุงมาตรฐานเข้มข้นขึ้น เรื่อย ๆ โดยสภาวิชาชีพบัญชีจะนำมาตรฐานการบัญชีของสากลที่ใช้ใน ต่างประเทศมาใช้ในประเทศไทย โดยดูความเหมาะสมแต่ละช่วงเวลาที่ใช้ ซึ่งขณะนี้มีอยู่ 38 ฉบับ ที่จะนำมาใช้ใน 2 ช่วงเวลา คือในปี 2554 จำนวน 28 ฉบับ ที่เหลืออีก 10 ฉบับ จะบังคับใช้ในปี 2556

มาตรฐานบัญชี ที่จะนำมาปฏิบัติถึง 38 ฉบับ ส่วนใหญ่จะมีผลบังคับใช้กับกิจการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และกิจการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะ ซึ่งกิจการธนาคารพาณิชย์เข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้กำกับดูแลสถาบันการเงิน จึงให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรฐานบัญชีเป็นอย่างมาก เพราะหลาย ๆ ฉบับที่จะนำมาใช้ค่อนข้างมีรายละเอียดมากในการปฏิบัติ และอาจจะมีผลกระทบต่อฐานะของธนาคารพาณิชย์

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.บอกว่า ธปท. ได้จัดตั้ง "ทีมนโยบายบัญชีสถาบันการเงิน" ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เพื่อดูเรื่องมาตรฐานบัญชีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน เนื่องจากในระยะต่อไป โดยเฉพาะใน ปี 2556 มาตรฐานบัญชีที่จะนำมาใช้เป็นฉบับยาก ๆ และเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินค่อนข้างเยอะ

เรื่องที่ทีมนโยบาย บัญชีสถาบันการเงินประเมินเรื่องแรกที่มาตรฐานบัญชีไทย (TAS) ฉบับที่ 19 หรือ TAS 19 เป็นเรื่องผลประโยชน์พนักงาน โดยกิจการที่ต้องนำมาตรฐานฯฉบับนี้มาใช้ ได้แก่กิจการที่มีผลต่อสาธารณะ คืออะไรก็ตามที่กระทบกับสาธารณะ ได้แก่บริษัทมหาชน ธุรกิจ ภายใต้หน่วยงานกำกับ เช่น ธนาคาร บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต เป็นต้น ส่วนบริษัทจำกัดที่ไม่เป็นมหาชน และไม่เกี่ยวข้องกับสาธารณะไม่ต้องใช้




ผล ประโยชน์พนักงาน ได้แก่เงินเดือน โบนัส ค่ารักษาพยาบาล บางกิจการก็ให้ค่ายานพาหนะ ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ เงินจ่ายสมทบประกันสังคม เงินจ่ายสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าประกันชีวิตพนักงาน รวมผลประโยชน์ทุกอย่างจนกว่าจะเกษียณ หรือจนถึงเสียชีวิต เช่น บำนาญ ค่ารักษาพยาบาล เหล่านี้ขึ้นอยู่กับกิจการนั้นมีเงื่อนไขอะไรที่เซ็นสัญญาตกลงกับพนักงาน

สาเหตุ ที่นำมาตรฐานบัญชี TAS 19 มาใช้ เพราะปัจจุบันกิจการทั่วไป เวลาลงบันทึกบัญชีเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงาน เช่น เงินที่ต้องจ่ายให้พนักงานเมื่อเกษียณอายุ ก็จะบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายเมื่อพนักงานเกษียณ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจำนวนเงินก้อนใหญ่ ซึ่งสภาวิชาชีพบัญชีมองว่าไม่ถูกต้อง เพราะพนักงานเข้าทำงานมาก่อนหน้านี้ เช่น เริ่มเข้าทำงานตอนอายุ 35 ปี แล้วเกษียณอายุ 60 ปี บริษัทจะบันทึกผลประโยชน์ที่จ่ายให้พนักงานครั้งเดียวเมื่อพนักงานเกษียณ

สภา วิชาชีพบัญชีจึงเห็นว่า การบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายให้พนักงานหรือผลประโยชน์พนักงาน ควรทยอยลดบันทึกค่าใช้จ่าย เพื่อลดความเสี่ยงของกิจการจากความผันผวนของงบการเงิน และเป็นสิทธิที่พนักงานควรจะได้รับเงินชดเชยเมื่อเกษียณอายุ แต่ไม่เคยมีการบันทึกไว้เลย หากกิจการล้มละลายไป หรือเลิกดำเนินการ ก็ต้องมีการทวงสิทธิ์ แต่ถ้าเราบันทึกไว้ในงบการเงิน ก็ง่ายต่อการดำเนินการในอนาคต เพราะพนักงานก็เรียกร้องตามสิทธิ์นั้นได้ เนื่องจากบริษัทจะบันทึกตั้งพนักงานเป็นเจ้าหนี้ และตั้งผลประโยชน์พนักงานเป็นหนี้สิน เมื่อกิจการล้มลายก็มีสิทธิหนี้สินไล่เบี้ยได้ เพราะฉะนั้น จะทำให้พนักงานมีความมั่นใจ รู้แน่ว่าจะได้ผลประโยชน์แน่นอน เป็นการจูงใจ และรักษาพนักงานให้มีคุณสมบัติ ให้ยังคงทำงานกับกิจการ

นางผ่องเพ็ญ วิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะมีต่อธนาคารพาณิชย์ ว่าเรื่องนี้ไม่เคยมี เดิมเป็นผลประโยชน์ที่นับเป็นรายจ่ายเมื่อจ่าย เพราะฉะนั้น ไม่ว่าพนักงานจะอยู่กับบริษัท 40 ปี 60 ปี หรือเท่าไร ในช่วงเวลาที่เขาอยู่กับบริษัท บริษัทไม่เคยคิดค่าใช้จ่ายเลย แต่ตามมาตรฐานบัญชี TAS 19 จะต้องมีการคิดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วย

ตัวอย่าง เช่น เงินที่เขาจ่ายให้ตอนออกจากงาน จะคิดครั้งเดียวเป็นก้อนใหญ่เมื่อจ่ายให้พนักงานตอนออก แต่นักบัญชีมองว่า วิธีคิดแบบนี้ไม่ถูก ต้องทยอยคิดเป็นค่าใช้จ่ายไปเรื่อย ๆ โดยตั้งพนักงานเป็นเจ้าหนี้ธุรกิจไว้ เมื่อพนักงานออก ก็จ่ายให้เขาไป ธนาคารพาณิชย์มีพนักงานจำนวนมาก ถ้ามีพนักงานอาวุโสจำนวนมาก และให้ผลประโยชน์เยอะ ก็จะเสียเงินตรงนี้เยอะ และอาจจะกระทบอัตราส่วนฐานะการเงินหลายตัว รวมทั้งเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงด้วย (BIS Ratio)

เพราะฉะนั้น ผลประโยชน์พนักงานที่บริษัทจ่ายให้ในอดีต จากที่ไม่เคยนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายแล้วบันทึกบัญชี จะต้องมีการคำนวณคิดย้อนหลัง แล้วบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายด้วยในตั้งแต่ 1 ม.ค. 2554 ซึ่งผลประโยชน์พนักงานที่ต้องคำนวณย้อนหลัง ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่น้อย ขณะที่การคำนวณคิดผลประโยชน์พนักงานล่วงหน้าเพื่อบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย ในส่วนนี้ สามารถทยอยลงบันทึกในแต่ละปีได้ จึงไม่มีผลกระทบมากนัก

อย่าง ไรก็ตาม เพื่อให้กิจการมีทางเลือกในการบริหารจัดการ สภาวิชาชีพบัญชีจึงเสนอ 4 แนวทางเลือกสำหรับการบันทึกค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานในอดีต ได้แก่ 1.ปรับที่กำไรสะสมต้นปี 2554 ทั้งจำนวน 2.ทยอยรับรู้เข้างบกำไรขาดทุน 5 ปี 3.รับรู้เข้างบกำไรขาดทุนปี 2554 ทั้งจำนวน และ 4.ปรับเข้ากำไรสะสมสิ้นปี"53 ทั้งจำนวน

ทั้ง 4 ทางเลือกกิจการที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชี TAS 19 สามารถเลือกวิธีใดก็ได้ แต่ถ้าเลือกวิธีทยอยรับรู้ จะต้องมีหมายเหตุประกอบงบฯระบุค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้ทราบด้วย แต่ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ ธปท.จะเป็นผู้กำหนดทางเลือกเพียงวิธีเดียว เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

"สำหรับสถาบันการเงิน เราไม่อยากให้เปรียบเทียบกันไม่ได้ ธปท.คิดว่าจะฟันธงบอกไป 1 วิธี แต่ตอนนี้ยังไม่เลือก เพราะกำลังรอดูข้อมูลที่ขอตัวเลขจากแบงก์ว่า ให้ประมาณการของแต่ละแบงก์ที่คิดว่าต้องตั้งค่าใช้จ่ายเรื่องนี้เท่าไร และเปรียบเทียบกับรายได้ที่คิดว่าจะได้รับเป็นเท่าไร เพื่อจะได้ดูผลกระทบที่เกิดขึ้น ถ้าเงินเป็นหลายพันล้านในบางแบงก์ที่รายได้ไม่มีมาก การให้เป็นครั้งเดียวจบ คงไม่ได้ แต่ถ้ารายได้ดี ส่วนนี้ไม่มากเท่าไร การทำครั้งเดียวจบก็ได้ และเมื่อได้ตัวเลขแล้วจะคุยกับแบงก์ ซึ่งคาดว่าจะให้คำตอบได้ประมาณเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้" นางผ่องเพ็ญกล่าว

ทั้งนี้ ธปท.ได้ประเมินเบื้องต้นว่า ผลกระทบของมาตรฐานบัญชี TAS 19 ไม่มากเท่ากับ IAS 39 โดยค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ น่าจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 1% ของเงินกองทุน

นี่คือโจทย์ใหญ่ที่ธนาคารพาณิขย์ต้องเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้



ระบบบัญชีใหม่ลูกจ้างได้เงินก่อน

19 กรกฎาคม 2553 เวลา 05:17 น.

พิษมาตรฐานบัญชีไทย ให้นำผลประโยชน์จ่ายพนักงานบันทึกเป็นหนี้ ป่วนฐานะบริษัท ขณะลูกจ้างเฮ ถ้าเลิกกิจการได้เงินก่อน

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ปีนี้สภาวิชาชีพบัญชีได้กำหนดให้นิติบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับสาธารณะ ทุกแห่ง เช่น บริษัทมหาชน ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง บริษัทประกันภัย และบริษัทประกันชีวิต ต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีไทย (TAS) ในเรื่องผลประโยชน์พนักงาน ตามมาตรการบัญชีฉบับที่ 19 ที่กำหนดให้บันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าจ้างพนักงานในปัจจุบัน และที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต นำมาลงบัญชีเป็นภาระหนี้ โดยให้พนักงานมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท

สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะต้องลงบันทึกในบัญชีประกอบด้วย ค่าจ้าง เงินเดือน กองทุน เงินสะสมประกันสังคม ค่าตอบแทน บำนาญ การแบ่งกำไร โบนัส สวัสดิการการรักษาพยาบาล ผลประโยชน์หลังเลิกจ้าง เบี้ยประกันชีวิต ค่ารักษาพยาบาลหลังออกจากงาน รวมทั้งค่าตอบแทนทุกอย่างที่ต้องจ่าย

นางผ่องเพ็ญ กล่าวว่า ในประเทศไทยกฎหมายฉบับนี้จะบังคับใช้จริงในปี 2554 ซึ่งการปฏิบัติธนาคาร บริษัทมหาชน สามารถทำได้ใน 2 รูปแบบ คือ ตั้งภาระหนี้ในส่วนของผลประโยชน์พนักงานทั้งหมดปีเดียวครั้งเดียว หรือทยอยทำหลายครั้งก็ได้

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของระบบธนาคารพาณิชย์ ธปท.ยังไม่กำหนดว่าจะให้ทำครั้งเดียวหรือทยอยทำ เนื่องจากขณะนี้ ธปท.ยังรอข้อมูลการประเมินค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จากธนาคารอยู่ ว่าจะมีจำนวนเท่าไร ก่อนที่ ธปท.จะนำข้อมูลเหล่านี้กลับมาสรุปรูปแบบวิธีในการดำเนินการอีกครั้ง เบื้องต้นคาดว่าจะสรุปแนวทางปฏิบัติของระบบธนาคารในเรื่องนี้ได้ในช่วงต้น ไตรมาส 4 ปีนี้

“ประเด็นที่เราห่วงว่าอาจกระทบกับระบบธนาคารและบริษัทมหาชน คือ ต้องบันทึกผลประโยชน์ของพนักงานระยะสั้นหลังออกจากงานระยะยาว และผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างลงไป ธนาคารไหน บริษัทใดที่มีพนักงานจำนวนมาก อายุงานหลาย 10 ปีขึ้นไปต้องบันทึกภาระหนี้ส่วนนี้มาก เนื่องจากต้องประเมินค่าใช้จ่ายปัจจุบันและคาดต้องจ่ายในอนาคตบันทึกไปด้วย จึงอาจกระทบต่อฐานะ รายได้ ความสามารถทำกำไร หรือราคาหุ้นของธนาคารหรือบริษัทได้ โดยเฉพาะธนาคารขนาดเล็กที่มีผลประกอบการไม่สูงมากนัก” ผู้บริหาร ธปท. กล่าว

ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติถือว่าให้ความเป็นธรรมกับพนักงาน ช่วยลดความเสี่ยงหากบริษัทเลิกกิจการ พนักงานจะได้รับชำระหนี้ก่อนในฐานะเจ้าหนี้ทั้งนี้ หากพิจารณาในทางปฏิบัติแล้ว แนวทางการดังกล่าวถือว่าจะมีความเป็นธรรมกับพนักงาน ลูกจ้างในการลดความเสี่ยง ป้องกันสิทธิของพนักงานว่าจะได้รับค่าชดเชย หากบริษัทหรือธนาคารมีการเลิกกิจการ เพราะถ้าพนักงานเป็นเจ้าหนี้ต้องได้รับชำระหนี้ก่อน

นางผ่องเพ็ญ กล่าวอีกว่า มาตรฐานบัญชีไทยที่จะนำมาใช้บังคับนั้นแม้จะสร้างภาระให้กับบริษัท สถาบันการเงิน ธุรกิจประกัน แต่ก็สร้างความเชื่อมั่นต่อผลประโยชน์ของกิจการ ทำให้พนักงานมีขวัญกำลังใจเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สอดคล้องกับมาตรฐานบัญชีสากล (IAS) ซึ่งหากประเทศใดนำไปปฏิบัติได้ก็สร้างความน่าเชื่อถือในระดับสากล

น.ส.พิมพา ถาวรายุศม์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า มาตรฐานบาร์เซิล 3 ที่คณะกรรมการบาร์เซิลกำลังพิจารณาปรับปรุงอยู่ในขณะนี้ เพื่อนำมากำหนดใช้ประมาณปี 2556 ในเรื่องความเข้มแข็งของเงินกองทุนและสภาพคล่องป้องกันการเกิดปัญหาวิกฤตการ เงินซ้ำรอยสหรัฐและยุโรป เช่น เกณฑ์การกำหนดเงินกองทุน ซึ่งบาร์เซิลต้องการให้เครดิตเรสติ้งต่างกันควรมีความเสี่ยงต่างกัน ไม่ใช่กำหนดระดับเงินกองทุนเท่ากันที่ไม่ต่ำกว่า 8% เช่นในปัจจุบัน เพียงแต่ขณะนี้การหารือยังไม่มีข้อสรุปว่าควรกำหนดเงินกองทุนที่ระดับเท่าใด

นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มการสำรองหนี้ทันทีที่ปล่อยกู้ แม้จะยังไม่เป็นหนี้เสีย จากเดิมที่ให้กันสำรองหลังเกิดหนี้เสียหรือถ้ายังไม่เสียก็ให้กันสำรองแบบ สมัครใจไม่บังคับ การกำหนดให้เพิ่มสภาพคล่องด้วยการถือสินทรัพย์สภาพคล่อง เช่น เงินสด พันธบัตร ฯลฯ ไว้ให้เพียงพอกับการถอนเงินในบัญชีเงินฝากบุคคลธรรมดา ในระยะเวลาหนึ่งโดยไม่ต้องพึ่งธนาคารกลางหรือหน่วยงานรัฐ เพื่อรองรับภาวะวิกฤตที่คาดไม่ถึง

หรือ การคำนวณเงินกองทุน ที่ต่อไปบาร์เซิลจะไม่ให้นับหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่น ตราสารหนี้ประเภทไฮบริด T1 หรือ ไฮบริด T2 เข้าเป็นเงินกองทุนของธนาคาร เพราะถือว่ามีความเสี่ยงในการใช้เงินกู้ยืมมากกว่าใช้เงินทุนของตัวธนาคาร เอง ซึ่งจุดนี้อาจจะกระทบกับระบบธนาคารพาณิชย์ไทยที่เคยออกไฮบริดไปก่อนหน้านี้ ที่มีวงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาท

“เรื่องที่ไม่ให้นับไฮบริดนี้อาจกระทบเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(บีไอ เอส)ของระบบแบงก์เราบ้าง แต่ถึงจะไม่ให้ก็ไม่ทำให้เงินกองทุนแบงก์ลดต่ำกว่าเลข 2 หลัก เพราะขณะนี้เงินกองทุนทั้งระบบสูง เฉลี่ยอยู่ที่ 16% จึงไม่น่าห่วง อีกอย่างหลักเกณณ์เหล่านี้ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะนำมาบังคับใช้หรือไม่ เพราะยังอยู่ระหว่างหารือ ที่สำคัญการนำมาบังคับใช้บาร์เซิลยังให้สิทธิธนาคารกลางแต่ละประเทศพิจารณา ปรับใช้ให้เหมาะสมได้ เพราะเกณฑ์หลายอยางเข้มงวดไปสำหรับระบบธนาคารไทย และเกณฑ์หลายอย่างธปท.ให้ทำไว้ก่อนแล้วเพื่อความเข้มแข็ง ซึ่งฐานะของธนาคารไทยปัจจุบันแข็งแกร่งมากไม่น่าห่วง หรือหากให้บังคับใช้จริงธนาคารไทยก็ยังมีเวลาปรับตัว เพราะบาร์เซิลให้ยืดหยุ่นใช้ได้จนครบกำหนดอายุ ซึ่งนานเป็น 10 ปี ไม่น่ากระทบมาก ” น.ส.พิมพากล่าว

อย่างไรก็ตาม เกณฑ์การกำกับดูแลระบบธนาคารพาณิชย์ขอบาร์เซิล 3 ยังไม่มีข้อสรูปที่ชัดเจนว่าเกณฑ์ใดควรมากำหนดใช้หรือไม่ เพราะยังอยู่ในช่วงรับฟังความเห็น ซึ่งระบบธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะเกณฑ์เหล่านี้เข้มงวดและเป็นข้อจำกัดการดำเนินธุรกิจของธนาคารมากเกิน ไป

Tags : ธปท. ทีมนโยบายบัญชี ดูสถาบันการเงิน ปรับใช้ TAS 19

view