ไทยขู่ถอนตัวถกพระวิหาร
จาก โพสต์ทูเดย์
ไทยยื่นค้านจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารอย่างเป็นทางการแล้ว ขู่ถอนตัวทันทีหากคณะกรรมการขึ้นทะเบียนมรดกโลกตามที่เขมรเสนอ
ประเทศไทยได้ยื่นคัดค้านต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ประเทศบราซิล อย่างเป็นทางการแล้ว กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก
มีรายงานว่า คณะผู้แทนรัฐบาลไทย นำโดยนาย สุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ปฏิเสธยอมรับคณะกรรมการร่วม7ประเทศ ที่ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาพื้นที่ทับซ้อน และจะไม่เข้าร่วมในคณะกรรรมการร่วมดังกล่าว
ทั้งนี้ หากกรรมการพิจารณาลงมติกรณีขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารมรดกโลกในวันนี้ (28ก.ค. )ไม่ว่าในทางเปิดเผย หรือทางลับ ไทยจะถอนตัวจากภาคีสมาชิกและออกจากการประชุมทันที
ครม.ขู่ถอนตัวภาคียูเนสโก
จาก โพสต์ทูเดย์
ครม.มีมติค้านเผนจัดการพื้นที่เขาพระวิหารที่กัมพูชาเสนอต่อคณะ กรรมการมรดกโลก มอบอำนาจสุวิทย์ถอนตัวจากภาคีสมาชิกยูเนสโกทันทีหากมีการยอมรับแผนดังกล่าว
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 ก.ค. ได้มีมติต่อการพิจารณาแผนการบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร ที่กัมพูชา เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประเทศบราซิล 3 ข้อ โดยข้อแรก ครม. คัดค้านแผนการบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารของกัมพูชา
ข้อสอง หากยูเนสโก รับรองแผนดังกล่าว ไม่ว่าทั้งในทางเปิดเผยหรือทางลับ รัฐบาลไทยจะทบทวนการเป็นประเทศภาคีสมาชิกยูเนสโก รวมทั้งมอบ ให้นายสุวิทย์ คุณกิติ รมว.ทรัพย์กรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้เดินทางไปร่วมประชุมสามารถถอนตัวจากการเป็นภาคีสมาชิกได้ทันที
ข้อสาม ครม.ได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ(กต.) ทำหนังสือแจ้งมติของ ครม.ในวันนี้ไปยังองค์การยูเนสโก ที่ประเทศฝรั่งเศส และที่การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประเทศบราซิล
รายงานข่าวแจ้งว่า นายสุวิทย์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย ในคณะกรรมการมรดกโลก ได้หารือกับตัวแทนจากฝ่ายกองทัพ เพื่อกำหนดแนวทางการคัดค้านข้อเสนอของฝ่ายกัมพูชา จัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร โดยเบื้องต้นจะเสนอให้ทางยูเนสโก เลื่อนการพิจารณาประเด็นนี้ออกไป จนกว่าจะมีการปักปันเขตแดน เนื่องจากยังเป็นข้อพิพาทที่ต้องหาข้อตกลงร่วมกัน
มาร์คยืนยันหากจำเป็นก็ต้องทำแม้มีผล กระทบ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากไทยถอนตัวจากภาคีของกรรมการมรดกโลก จะมีผลกระทบคือ ไทยจะไม่สามารถที่ขึ้นทะเบียนสถานที่ต่างๆเพิ่มขึ้นเป็นมรดกโลกอีกได้ และสถานะของมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนไว้ก่อนหน้านี้ก็จะไม่ได้รับการช่วยเหลือ ใดจากคณะกรรมการฯอีก รวมถึงจะมีผลผูกพันในเรื่องของค่าสมาชิกและเรื่องต่างๆ ด้วย
อย่างไรก็ตามการถอนตัวต้องมีขั้นตอนของคณะกรรมการมรดกโลก คือ ต้องมีการแสดงเป็นเจตนารมย์เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งขั้นตอนในส่วนของไทยต้อง ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา และเมื่อแสดงเจตนารมย์ไปแล้วกว่าจะมีผลก็ใช้เวลาถึง 12 เดือน
“สิ่งที่เราแสดงออกในขณะนี้คือเราไม่เห็นด้วยกับวิธีการของคณะกรรมการ มรดกโลกที่ไม่เคารพเจตนารมย์ของตัวองค์กรเอง เรามองไม่เห็นว่าการส่งเสริมอนุรักษ์สิ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมแต่กลับนำไป สู่ข้อพิพาทและความขัดแย้ง แม้กระทั่งความเป็นไปได้ที่จะเกิดความรุนแรงมันเป็นไปตามแนวทางของการส่ง เสริมให้คนได้ประโยชน์จากสิ่งที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมได้อย่างไร ซึ่งถ้ายังยืนยันที่จะเดินไปในแนวทางนี้ สิ่งที่เราต้องยึดถือก่อนคือหลักอธิปไตยของเรา ส่วนผลกระทบที่ตามมาถ้าเราจำเป็นต้องทบทวนเรื่องการเป็นภาคีนั้นถ้าจำเป็นก็ ต้องทำ”นายกรัฐมนตรี กล่าว
เชื่อผลตัดสินของกรรมการมรดกโลกทำชายแดน ตึงเครียด
นายกฯ กล่าวว่า ผลการตัดสินของกรรมการมรดกโลกจะส่งผลให้เกิดความตึงเครียดระหว่างไทยกับ กัมพูชามากขึ้น เพราะทั้งสองฝ่ายก็ต้องวิตกกังวลต่อผลที่จะเกิดขึ้นหรือผูกพันทางกฎหมาย เพราะฉะนั้นสิ่งที่ยืนยันมาโดยตลอดคือตราบเท่าที่ทั้งสองประเทศมีข้อตกลงกัน ในปี 2543 ว่าพื้นที่ตรงนี้ต้องมีการจัดทำหลักเขตแดนร่วมกันและไม่ควรมีการ เปลี่ยนแปลงหรือทำอะไรให้เกิดผลกระทบต่อสภาพพื้นที่ตรงนั้น คณะกรรมการมรดกโลกก็ควรจะรอหรือมิฉะนั้นก็ยอมรับไปเลยว่าพื้นที่บริเวณดัง กล่าวต้องเป็นการขึ้นทะเบียนร่วมกันของสองประเทศ
ทั้งนี้อยากจะเรียกร้องไปยังประเทศสมาชิกของกรรมกรรมรดกโลกให้คำนึงถึง เจตนารมย์ของคณะกรรมการมรดกโลกที่เป็นองค์กรที่ต้องส่งเสริมเรื่องสันติภาพ และวัฒนธรรม ไม่ใช่องค์กรที่มาสร้างความตึงเครียดหรือความขัดแย้ง และควรจะเก็บเกี่ยวบทเรียนตรงนี้ เนื่องจากในอดีตเมื่อใดก็ตามที่มีการขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกหรือไปตัดสิน ในสิ่งที่มีปัญหาความละเอียดอ่อนในเรื่องของอธิปไตย หรือข้อขัดแย้ง สุดท้ายก็จะกลายเป็นการขยายความขัดแย้งมากกว่าที่จะเป็นช่องทางในการแก้ ปัญหาและไม่คิดว่าไทยก้าวช้ากว่ากัมพูชาในเรื่องนี้ เพราะไทยพยายามเดินสายคัดค้านอยู่ตลอด
สุวิทย์หวั่นเสียงโหวตไทยเป็นรองในกก.มรดกโลก
จาก โพสต์ทูเดย์
“สุวิทย์”กังวลเสียงโหวตไทยเป็นรองในการประชุมกรรมการมรดกโลก ปณิธานเผยหากมีการยอมรับแผนจัดการของกัมพูชา รัฐบาลจะใช้มาตรการรักษาสิทธิดินแดนตอบโต้
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า นายสุวิทย์ ได้โทรหาเมื่อเวลา 02.00 น. แสดงความกังวลว่ากรรมการมรดกโลกหลายประเทศจะเดินหน้าต่อ แต่หวังว่ามติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่คัดค้านแผนจัดการพื้นที่เขาพระวิหารของกัมพูชา ซึ่งได้มีการมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ มรดกโลกจะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น
สุ วิทย์
"ยืนยันว่าเราจะประท้วงในทุกเรื่องที่เราไม่เห็นด้วย แม้เสียงในตอนนี้เราอาจจะไม่ได้เปรียบมากนัก เพราะประเทศมหาอำนาจส่วนใหญ่ค่อนข้างเอนเอียงไปทางกัมพูชา เพราะเขาอยากมาพัฒนาพื้นที่มรดกโลก เพราะประเทศเหล่านี้เคยไปก่อสงครามทำลายมรดกโลกในประเทศต่างๆไว้เยอะ ตอนนี้เลยอยากเข้ามาฟื้นฟู ทั้งนี้คณะกรรมการมรดกโลกมีสมาชิกจำนวน 21 ประเทศ โดยการตัดสินจะใช้คะแนน 2 ใน 3"นายปณิธานกล่าว
ทั้งนี้ ที่ประชุมครม. ต้องการ ให้นายสุวิทย์ พูดให้ชัดเจนต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกให้ทราบว่าผลจากการขึ้นทะเบียน ปราสาทเขาพระวิหาร ได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศอย่างรุนแรงจนมีคนตายทั้งที่พื้นที่ดังกล่าวเคยมีแบบเรื่องนี้มาก่อน
"ต้องทำให้เขาเห็นว่าผลของการขึ้นทะเบียนมรดกโลกทำให้มีคนตาย ซึ่งไม่ใช่แนวทางสันติภาพตามเจตนารมย์ของยูเนสโก ดังนั้น ทางการไทยจึงอยากให้มีการเลื่อนการพิจารณาออกไปก่อน และให้มีการเดินหน้าตามกรอบเอ็มโอยู 2543 ในเรื่องการปักปันเขตแดนต่างๆซึ่งเป็นเรื่องของสองประเทศที่จะต้องทำร่วม กัน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ต้องใช้เวลา"นายปณิธาน กล่าว
เมื่อถามว่ามีมาตรการหลังจากการถอนตัวจากภาคีมรดกโลกหรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่า ทางการไทยคงจะมีมาตรการในการรักษาสิทธิที่เป็นมาตรการจากเบาไปหาหนัก เช่น การประท้วง การเรียกทูตเข้ามาพบ การทำเครื่องหมายรักษาสิทธิโดยการปักธงในพื้นที่ การคงกองกำลังทหารไว้ และการบริหารจัดการคนที่เข้ามารุกล้ำพื้นที่ ซึ่งสามารถทำได้หลายแบบ แต่ยืนยันว่ารัฐบาจะไม่ใช้ความรุนแรงและจะไม่ใช่มาตรการที่แข็งกร้าว ก้าวร้าว และไม่รุกรานประเทศเพื่อนบ้าน
"เราเป็นประเทศที่ใหญ่กว่า หากใช้มาตรการแข็งกร้าวจะจะเข้าทางประเทศกัมพูชาทันที ที่จะนำประเด็นดังกล่าวไปร้องเรียนต่อนานาชาติให้เข้ามาแก้ปัญหาและนำไปสู่ การให้มีการตัดสินให้ชัดเจนว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นของใคร ดังนั้นการดำเนินการต่างๆต้องมีความระมัดระวัง โดยต้องทำให้เป็นมาตรการที่ชัดเจนว่าเราไม่ยอมรับมติของคณะกรรมการมรดกโลก และเราจะไม่ร่วมมือการพัฒนากับกัมพูชา โดยรายละเอียดเรื่องมาตรการรักษาสิทธิ์สภาความมั่นคงแห่งชาติจะมีการประชุม เพื่อกำหนดรายละเอียดในเรื่องนี้ต่อไป"นายปณิธานกล่าว
มาร์คแจงพร้อมถอนตัวภาคีมรดกโลกหากไทยถูกรุกแดน
จาก โพสต์ทูเดย์
มาร์คยืนยันรัฐบาลพร้อมถอนตัวจากภาคีกรรมการมรดกโลก หากผลการพิจารณาแผนจัดการพื้นที่พระวิหารนำไปสู่การเสียอธิปไตยของไทย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากไทยถอนตัวจากภาคีของกรรมการมรดกโลก จะมีผลกระทบคือ ไทยจะไม่สามารถที่ขึ้นทะเบียนสถานที่ต่างๆเพิ่มขึ้นเป็นมรดกโลกอีกได้ และสถานะของมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนไว้ก่อนหน้านี้ก็จะไม่ได้รับการช่วยเหลือ ใดจากคณะกรรมการฯอีก รวมถึงจะมีผลผูกพันในเรื่องของค่าสมาชิกและเรื่องต่างๆ ด้วย
อย่างไรก็ตามการถอนตัวต้องมีขั้นตอนของคณะกรรมการมรดกโลก คือ ต้องมีการแสดงเป็นเจตนารมย์เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งขั้นตอนในส่วนของไทยต้อง ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา และเมื่อแสดงเจตนารมย์ไปแล้วกว่าจะมีผลก็ใช้เวลาถึง 12 เดือน
“สิ่งที่เราแสดงออกในขณะนี้คือเราไม่เห็นด้วยกับวิธีการของคณะกรรมการ มรดกโลกที่ไม่เคารพเจตนารมย์ของตัวองค์กรเอง เรามองไม่เห็นว่าการส่งเสริมอนุรักษ์สิ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมแต่กลับนำไป สู่ข้อพิพาทและความขัดแย้ง แม้กระทั่งความเป็นไปได้ที่จะเกิดความรุนแรงมันเป็นไปตามแนวทางของการส่ง เสริมให้คนได้ประโยชน์จากสิ่งที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมได้อย่างไร ซึ่งถ้ายังยืนยันที่จะเดินไปในแนวทางนี้ สิ่งที่เราต้องยึดถือก่อนคือหลักอธิปไตยของเรา ส่วนผลกระทบที่ตามมาถ้าเราจำเป็นต้องทบทวนเรื่องการเป็นภาคีนั้นถ้าจำเป็นก็ ต้องทำ”นายกรัฐมนตรี กล่าว
นายกฯ บอกว่า ผลการตัดสินของกรรมการมรดกโลกจะส่งผลให้เกิดความตึงเครียดระหว่างไทยกับ กัมพูชามากขึ้น เพราะทั้งสองฝ่ายก็ต้องวิตกกังวลต่อผลที่จะเกิดขึ้นหรือผูกพันทางกฎหมาย เพราะฉะนั้นสิ่งที่ยืนยันมาโดยตลอดคือตราบเท่าที่ทั้งสองประเทศมีข้อตกลงกัน ในปี 2543 ว่าพื้นที่ตรงนี้ต้องมีการจัดทำหลักเขตแดนร่วมกันและไม่ควรมีการ เปลี่ยนแปลงหรือทำอะไรให้เกิดผลกระทบต่อสภาพพื้นที่ตรงนั้น คณะกรรมการมรดกโลกก็ควรจะรอหรือมิฉะนั้นก็ยอมรับไปเลยว่าพื้นที่บริเวณดัง กล่าวต้องเป็นการขึ้นทะเบียนร่วมกันของสองประเทศ
ทั้งนี้อยากจะเรียกร้องไปยังประเทศสมาชิกของกรรมกรรมรดกโลกให้คำนึงถึง เจตนารมย์ของคณะกรรมการมรดกโลกที่เป็นองค์กรที่ต้องส่งเสริมเรื่องสันติภาพ และวัฒนธรรม ไม่ใช่องค์กรที่มาสร้างความตึงเครียดหรือความขัดแย้ง และควรจะเก็บเกี่ยวบทเรียนตรงนี้ เนื่องจากในอดีตเมื่อใดก็ตามที่มีการขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกหรือไปตัดสิน ในสิ่งที่มีปัญหาความละเอียดอ่อนในเรื่องของอธิปไตย หรือข้อขัดแย้ง สุดท้ายก็จะกลายเป็นการขยายความขัดแย้งมากกว่าที่จะเป็นช่องทางในการแก้ ปัญหาและไม่คิดว่าไทยก้าวช้ากว่ากัมพูชาในเรื่องนี้ เพราะไทยพยายามเดินสายคัดค้านอยู่ตลอด
สมช.สั่งทำแผนดูแลชายแดนเพิ่ม
จาก โพสต์ทูเดย์
สมช.โยนที่ประชุมศอฉ.พิจารณาพื้นที่เลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 29ก.ค.นี้ก่อนชงนายกฯตัดสินใจ สั่งกลาโหมทำแผนดูแลความปลอดภัยชายแดนเพิ่มเติม แต่ยังไม่มีการเพิ่มกำลัง
นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) แถลงหลังการประชุม สมช.ว่า ที่ประชุมยังไม่ประกาศความชัดเจนในการยกเลิก พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในพื้นที่ต่างๆ โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะไปหารือกับฝ่ายความมั่นคง เกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่ต่างๆ จากนั้นก็จะใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกเอง โดยจะมีการพิจารณาถึงขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ในแต่ละพื้นที่ประกอบการ ตัดสินใจด้วย
ถวิล เปลี่ยนศรี
ทั้งนี้ ในวันพรุ่งนี้(29ก.ค.) จะมีการประชุม ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ก็น่าจะทราบว่า จะมีการประกาศยกเลิก พรก.ฉุกเฉินในพื้นที่ใดบ้าง
"ที่ประชุม ศอฉ.จะมีการพิจารณา โดยจะมีการนำเสนอนายกฯ อีกครั้ง น่าจะเป็นวันพรุ่งนี้ที่จะสามารถสรุปพื้นที่ที่จะยกเลิกพ.ร.ก.ได้"นายถวิล กล่าว
นายถวิล กล่าวถึงกรณีการคัดค้านแผนบริหารจัดการพื้นทีปราสาทเขาพระวิหารของกัมพูชา ว่า ที่ประชุม สมช.ได้มอบให้กระทรวงกลาโหม และกระทรวงต่างประเทศไปจัดทำแนวทางเพิ่มเติมในการดูแลรักษาความปลอดภัยตาม แนวชายแดน ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มเติมกำลังเข้าไป รวมถึงยังไม่มีรายงานหรือเหตุผิดปกติเกิดขึ้นตามแนวชายแดน ทั้งนี้คงต้องรอฟังผลจากคณะกรรมการมรดกโลกที่จะมีการประชุมวันนี้(28ก.ค. ตามเวลาท้องถิ่น) ก่อน
ด้าน พล.อ.พิรุณ แผ้วพลสง เสนาธิการทหารบก กล่าวว่า ศอฉ.จะพิจารณาเรื่องการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยจะนำปัญหาของสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ทั้ง 16 จังหวัดมาประเมินแล้วจัดเรียงลำดับเสนอให้นายกฯตัดสินใจครั้งสุดท้าย ซึ่งแนวโน้มเชื่อว่าจะเป็นการทยอยยกเลิกทีละพื้นที่
ส่วนกรณีปราสาทพระวิหารนั้น ท่าทีฝ่ายไทยคงเป็นไปตามแนวนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะใช้มาตรการด้านการเจรจาเป็นหลักไม่มีนโยบายจะใช้ความรุนแรง ซึ่งที่ประชุม สมช.ไม่มีการสั่งให้เพิ่มมาตรการใดๆ เป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ปกติในการเฝ้าระวัง ซึ่งเชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหาอะไรขึ้น
ครม.ถกแก้มรดกโลก-กษิตแฉมหาอำนาจหนุนเขมร
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"กษิต"แฉชาติ ใหญ่หนุนเขมร มีประโยชน์ทับซ้อน "พีระพันธ์"เชื่อชูมรดกโลกบังหน้าหวังฮุบแดนไทย "อภิสิทธิ์"สรุป ย้ำมติครม.ค้าน-วอล์กเอาท์-ถอนตัว
รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะ รัฐมนตรีเปิดเผยถึงการหารือถึงปัญหาเขาพระวิหารเป็นไปอย่างเคร่งเครียด และใช้เวลานานมากเป็นพิเศษ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยไปประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่บราซิล นายสุวิทย์ได้รายงานตรงมาตลอดเวลานับแต่ออกเดินทางไปที่บราซิล โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวของกัมพูชา โดยนายสุวิทย์ได้บอกกับตนว่าท่าทีของไทยเรื่องนี้ควรที่ไทยจะถอนตัวออกจาก ที่ประชุม
หลังจากนายอภิสิทธิ์แจ้งเรื่องดังกล่าว แล้ว จึงเปิดโอกาสให้รัฐมนตรีแต่ละคนแสดงความคิดเห็น ซึ่งก็มีรัฐมนตรีหลายคนแสดงความคิดเห็นเช่น นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รมว.วัฒนธรรม ที่บอกว่าการตัดสินใจเรื่องนี้รัฐบาลต้องทำให้ไทยได้ประโยชน์สูงสุด ขณะที่นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.ท่องเที่ยวเสนอว่าประเทศไทยต้องมีความระมัดระวังในการพิจารณาและหา ทางออกเรื่องนี้ ส่วนนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม แสดงทัศนะไว้ว่าเท่าที่ได้ติดตามเรื่องคิดว่ากัมพูชาไม่ได้ต้องการให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ วัตถุประสงค์ที่กัมพูชาต้องการคือดินแดนที่เป็นปัญหาข้อพิพาทระหว่างไทยกับ กัมพูชามากกว่า และไม่แน่ใจในท่าทีของยูเนสโกเนื่องจากไม่ตอบสนองหรือยืนข้างประเทศไทย และเรื่องนี้ถึงท้ายที่สุดเราต้องยึดหลักอธิปไตยของประเทศเป็นสำคัญ
รายงานแจ้งด้วยว่า นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ แสดงความเห็นว่าองค์กรระหว่างประเทศไม่ค่อยให้ความเป็นธรรมกับไทย ไม่โปร่งใส จึงก่อให้เกิดความขัดแย้ง ปกติแล้วเรื่องแบบนี้ต้องพิจารณาให้เสร็จสิ้นเสียก่อนจึงค่อยนำเสนอแผนการ บริหารพื้นที่ ขณะที่ประเทศมหาอำนาจที่เป็นกรรมการมรดกโลก กัมพูชาไปล็อบบี้บางประเทศมีนักวิชาการของเขาเข้าไปได้ประโยชน์อยู่ใน พื้นที่กัมพูชาด้วย แต่การที่ไทยจะถอนตัวจากการเป็นสมาชิกภาคียูเนสโกไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเมื่อทำหนังสือไปแล้วต้องใช้เวลาอีกหนึ่งปีกว่าที่การถอนตัวดังกล่าวจะ มีผล การจะถอนตัวจึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ
ข่าวแจ้งว่า การพิจารณาวาระนี้เป็นไปอย่างดุเดือด โดยนายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาธิการ เสนอว่ารัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องอธิปไตยของประเทศ โดยจะต้องมีท่าทีที่ชัดเจนแสดงออกมาทันที ควรจะให้ตัวแทนฝ่ายไทยถอนตัวออกมาจากการพิจารณาและถอนตัวออกจากการเป็นภาคี สมาชิก เพราะถ้าปล่อยเวลาไปจนเขมรอ้างมติกรรมการมรดกโลก แล้วนำกำลังหรือคนของเขาเข้าไปในพื้นที่ ก็จะนำไปสู่ปัญหาตามมาไม่สิ้นสุด เมื่อถึงวันนั้นต่อให้ได้ประโยชน์อย่างไรก็ไม่คุ้มกับการสูญเสียสิทธิเหนือ อาณาเขตของไทย ซึ่งหากเรายังเป็นภาคีอยู่ก็จะยังคงมีปัญหาอยู่ไม่จบสิ้น เราต้องยืนยันว่ายังเป็นดินแดนของเราอยู่ จริงๆแล้วกรรมการมรดกโลกมีบทบาทแค่รักษาโบราณสถานไว้เท่านั้น โดยรัฐมนตรีหลายคนเห็นด้วยกับแนวคิดของนายไชยยศ
หลังอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง มีรัฐมนตรีหลายคนต่างเสนอแนวทางว่าหากประเมินแล้วคณะกรรมการมรดกโลกมีแนว โน้มจะโหวตรับแผนบริหารจัดการฯของกัมพูชา จะทำอย่างไร โดยมีการเสนอตั้งแต่เบาไปหาหนักคือย้ายที่นั่งจากตำแหน่งของประเทศภาคี สมาชิก ไปนั่งในซีกผู้สังเกตการณ์ แต่นายไชยยศได้เสนอให้ตัวแทนฝ่ายไทยลุกออกจากที่ประชุมหรือวอล์กเอาท์ไม่ ร่วมการพิจารณาโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ยังมีรัฐมนตรีเสนอถึงขั้นให้ถอนตัวออกจากการเป็นภาคีสมาชิกกรรมการ มรดกโลก แต่ในประเด็นนี้ได้มีการถกเถียงกันหนักเพื่อให้เกิดการพิจารณาอย่างรอบคอบ ถึงผลดีผลเสียของการต่อสู้โดยที่ยังมีสถานะเป็นภาคีสมาชิกหรืออยู่นอกวงแบบ ไหนจะได้ประโยชน์กับประเทศชาติมากกว่ากัน
ในที่สุดนายอภิสิทธิ์ ได้สรุปว่าเรื่องนี้ทางออกมี 3 แนวทางที่รัฐบาลยึดถือคือ 1.มติครม.ยังคงยืนยันว่าไม่ยอมรับและคัดค้านแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชา ส่วนจะถึงขั้นวอล์กเอาท์หรือไม่นั้นให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของนายสุวิทย์ และคณะผู้แทนรัฐบาล 2.ไทยจะพิจารณาทบทวนการเป็นภาคีของยูเนสโก และ 3.ภายในวันนี้ครม.จะมอบหมายให้นายกษิต ทำหนังสืออย่างเป็นทางการในนามกระทรวงการต่างประเทศเพื่อแจ้งมติดังกล่าวไป ยังการประชุมยูเนสโกที่บราซิลและสำนักงานใหญ่ยูเนสโกที่ฝรั่งเศส ว่ารัฐบาลไทยไม่ยอมรับกับแผนพัฒนาพื้นที่เขาพระวิหารของกัมพูชา ด้วยเหตุว่าหากยูเนโกให้การยอมรับแผนดังกล่าวจะทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงและ สร้างความแตกแยกต่อประชาชนทั้งสองประเทศอย่างรุนแรง
รายงานข่าวแจ้งว่า ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ได้แสดงความกังวลสถานการณ์บริเวณ ชายแดนไทย-กัมพูชา โดยสั่งการให้พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะเชื่อว่าหลังจากคณะกรรมการมรดกโลกมีมติออกมาจะเกิดปัญหาที่ชายแดนตามมา แน่นอน
รายงานข่าวแจ้งว่า ในที่ประชุม ครม. ได้มีการกล่าวถึงประเทศที่เป็นกรรมการมรดกโลกที่เข้าข้างกัมพูชา เพราะมีผลประโยชน์ผูกพันธ์กับรัฐบาลกัมพูชา โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส ทำให้ไทยล็อบบี้ยากมากขึ้น
ยูเนสโกหนุนไทย-เขมรเจรจาพระวิหาร
จาก โพสต์ทูเดย์
ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกเรียกร้องให้ไทย-กัมพูชามีการร่วมหารือ เรื่องการคุ้มครองปราสาทพระวิหาร ระบุการคุ้มครองมรดกโลกเป็นการสร้างสันติภาพ
เมื่อวันที่ 28 ก.ค. ไอรินา โบโกวา ผู้อำนวยการใหญ่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้เรียกร้องให้มีการหารือในการคุ้มครองปราสาทพระวิหาร และเน้นย้ำถึงบทบาทของอนุสัญญามรดกโลกปีพ.ศ. 2515 ในฐานะสื่อกลางเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ ไอรินา โบโกวา แสดงความคิดเห็นหลังการประท้วงหน้าสำนักงานองค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่มีการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกที่กรุงบราซี เลีย (ประเทศบราซิล) เพื่อพิจารณาการอนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร ซึ่งได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก ในปีพ.ศ. 2551
ในการพบปะกับตัวแทนจากทั้งประเทศไทยและกัมพูชา โบโกวาได้เน้นย้ำถึงความห่วงใยที่คณะกรรมการมรดกโลกมี นั่นคือการคุ้มครองและส่งเสริมมรดกโลกด้วยความเคารพและปราศจากอคติ ที่มีต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศสมาชิก หรือต่อการอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของอาณาเขต
"การคุ้มครองและส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติของพวกเรา หมายความถึงการสร้างสันติภาพ ความเคารพ และความสามัคคี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของภารกิจขององค์การยูเนสโก นี่คือความรับผิดชอบหลักที่มีความเข้าใจตรงกัน คือการให้มรดกโลกเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ การร่วมหารือ และความปรองดองซึ่งกันและกัน" โบโกวา กล่าว
คลิ๊กชมจดหมายข่าวฉบับภาษาอังกฤษจากเว็บไซต์ยูเนสโกได้ที่นี่
จดหมาย ข่าวในเว็บไซต์ยูเนสโกประจำประเทศไทย
28.07.10 Director-General Of UNESCO Calls For Dialogue In Safeguarding The Temple Of Preah Vihear
Paris, 28 July 2010 – Director-General Irina Bokova today called for dialogue in safeguarding the Temple of Preah Vihear and underscored the role of the 1972 World Heritage Convention as an instrument for international cooperation.
Irina Bokova’s comments follow protests outside UNESCO´s Office in Bangkok (Thailand) held as the World Hertiage Committee meets in Brasilia to examine the state of conservation of Preah Vihear (Cambodia), inscribed on the World Heritage List in 2008.
Referring to her recent meetings with representatives of Cambodia and Thailand, Mrs Bokova emphasized that the first concern of the World Heritage Committee is to protect and promote our heritage, and this with full respect and without prejudice to the sovereignty of Member States or to any territorial claims.
“Protecting and enhancing our natural and cultural heritage, means building the peace, respect and solidarity which lies at the heart of UNESCO´s mission. It is our common responsibility to make these sites emblems of peace, dialogue and reconciliation.”