จากประชาชาติธุรกิจ
คอลัมน์ สามัญสำนึก
โดย บุญลาภ ภูสุวรรณ
จากปี 2489-2552...60 ปีที่ผ่านมาเมืองไทยเปลี่ยนไปอย่างไร
ประชากรจาก 17 ล้านคน เป็น 63 ล้านคน
รายได้ต่อหัวต่อปีจาก 6,600 บาท เป็น 64,500 บาท เพิ่มขึ้น 10 เท่า
คนที่ยังอยู่ใต้เส้นความยากจนจาก 24 ล้านคน ในปี 2529 เหลือ 5 ล้านคน ในปี 2543
ภายใต้ "การปฏิรูปประเทศไทย" ที่ฟีเวอร์ในทุกวงสัมมนา
ต่างบอกว่า ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสังคมถดถอยอย่างรุนแรงท่ามกลางจีดีพีที่เติบโตอย่าง เป็นที่น่าพอใจของรัฐบาล
"นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" แต่ราคาสินค้าอาหารกลับแพงลิ่ว โดยเฉพาะ "ผัก" ทั้งหลายเมื่อเทียบกับราคา "ไข่ไก่" ที่ว่าแพง ไข่อภิสิทธิ์ยังสู้ราคาผักชี ถั่วพู คะน้าไม่ได้เลย แม้แต่กล้วยน้ำว้าปกติราคาหวีละ 20 บาท ตอนนี้เป็น 30 บาท
แม่ค้าใน ตลาดสดบอกว่า พรุ่งนี้จะหยุดปิดร้านเลิกขายผักชั่วคราว เพราะช่วงนี้ผักก็หาซื้อยาก ไปถึงแหล่งซื้อขายอย่างตลาดสี่มุมเมืองมีผักน้อยมาก ซื้อมาก็ต้องคัดของเสีย ๆ เน่า ๆ ทิ้ง กำไรเหลือไม่กี่บาท แม่ค้าบอกว่า สู้อยู่เฉย ๆ ดีกว่าไม่เข้าเนื้อ
ไม่เหนื่อยด้วย
นี่คือสภาพของคนฐานราก
นี่ คือสภาพของวิกฤตอาหารที่ส่งสัญญาณชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ
รัฐบาลอย่าหลง ระเริงว่าจีดีพีโต ๆ ลงมาดูคนจนเมืองเขาบ้างว่า เขาอยู่กินกันอย่างไร เกษตรกรแต่ละท้องถิ่นเขามีปัญหา
อะไร และวันนี้ปัญหาโลกร้อนมันกระทบเราอย่างไรบ้าง
ตั้งรับกันหรือยัง ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ให้ตัวเลขของธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือเอดีบี ที่ศึกษาเมื่อปีที่แล้วใน 4 ประเทศ
มีไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย พบว่าถ้าไม่ทำอะไรเลย
4 ประเทศนี้จะถูกผลกระทบจากโลกร้อน ทำให้จีดีพีหายไปประมาณ 6% เมื่อเทียบกับทั้งโลก ขณะที่ทั้งโลกถ้าไม่ทำอะไรเลยจีดีพีเฉลี่ยจะหายไป 3%
นอกจากนี้ผล กระทบจากโลกร้อนจะทำให้ทะเลฝั่งอ่าวไทยจะโดนกระหน่ำหนักกว่าด้านอันดามัน โดยน้ำทะเลจะเพิ่มมากขึ้น ขณะที่อันดามันน้ำทะเลจะน้อยลง ลองนึกดูว่าแถบอันดามันต่างอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเพื่อขายแหล่งท่องเที่ยว ถ้าน้ำทะเลน้อยลงแล้วเขาจะทำมาหากินกันแบบไหนอย่างไร
รัฐทำหน้าที่ กันหรือยัง...เรามองกันยาวขึ้นอีกสักนิดจะดีไหม และเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างไร ภายใต้พลวัตโลกที่มันเปลี่ยนโครงสร้างใหม่
รัฐบาลควรจะก้าวข้าม "ทักษิณ" กันได้หรือยัง เราควรที่จะก้าวข้ามโครงการประชานิยมกันเสียทีไหม กิจกรรมอีเวนต์ยักษ์ ๆ ไม่ต้องทำมากนักก็ได้ วันนี้การส่งออกไทยโตมากเพราะฝีมือเอกชนล้วน ๆ ส่งผลให้จีดีพีโตอยู่แล้ว
และ รัฐบาลไม่ต้องแจกเงินมากมาย เพราะวันนี้งบประมาณกระเป๋าฉีกบานทะโรคอยู่ 10 ปี ที่ผ่านมางบประมาณจาก 9 แสนล้านบาท ปี 2554 พรวดพราดขึ้นมาเป็น 2 ล้านล้านบาท รัฐเอาไปใช้อะไรกันหนักหนา หน่วยงานที่ไม่เคยได้งบประมาณก็ได้แต่รอ บางทีรอไม่ไหวก็ต้องไป "ขอสงเคราะห์" จากภาคเอกชนแทนในหลาย ๆ เรื่อง
"เงิน" มันหายไปไหนหมด ! ทุกบาททุกสตางค์ที่ใช้เงินไปต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่ใช่แค่ตัวเลขกลม ๆ
แค่ รายจ่ายประจำที่เป็นเงินเดือนข้าราชการ องค์กรใหม่ ๆ ภาระดอกเบี้ยจ่าย (ล่าสุดทะลุปีละ 200,000 ล้านบาท)
และอื่น ๆ โดยเฉพาะงบฯทหารกว่า 186,000 ล้านบาท
เบ็ดเสร็จก็ประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ขณะที่รายได้ก็ประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท แล้วโครงการลงทุนล่ะจะเอาเงินจากไหน นอกจากกู้มาชดเชยการขาดดุลและก็ทำต่อเนื่องมาหลายปี
และนับวันก็กู้ มากขึ้น
แม้แต่การรับจำนำและรับประกันสินค้าเกษตรทั้งลำไย
มัน สำปะหลัง ข้าวโพด ข้าว ทำไมพอถึงเวลาขายมักจะบอกว่า สินค้าเสื่อมคุณภาพ บ้างขึ้นรา บ้างมีความชื้น สารพัด...บ้าง
ทั้ง ๆ ที่เคยรับ "จำนำ" มานมนาน แม้ตอนนี้จะเปลี่ยนมาเป็นประกันราคาก็ตาม แต่ผลสุดท้ายเป็นอย่างนี้ทุกปี ข้าราชการ
ที่ทำอยู่ไม่คิดจะแก้ไขกัน บ้างหรืออย่างไร เงินทุกบาททุกสตางค์มีความหมายนะ อย่าใช้เหมือนโยนทิ้ง สินค้าเน่าก็เผาทิ้ง
ทำไมเกษตรกรเขาทำเอง เก็บเอง ทำไม "ของ" เขาไม่เน่า
ไม่เสีย ทีให้รัฐบาลดำเนินการก็เจ๊งทุกที ทั้ง ๆ ที่มีเงิน มีความรู้
มีเครื่องมือพร้อม !
ประเทศไทยกำลัง เข้าสู่ภาวะสังคมล้มเหลว เราสร้างคนดี-คนเก่งไม่ทันคนชั่ว-คนเลวที่เพิ่มขึ้นใช่ไหม สังคมจึงล้มละลาย