สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดคำวินิจฉัยกฤษฎีกา จารุวรรณ พ้นผู้ว่าสตง.

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เปิดคำวินิจฉัย คณะกรรมการกฤษฎีกาคณะ1ประเด็นข้อกฏหมายดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯสตง."คุณหญิงจารุ วรรณ "2ประเด็น ชี้หลัง5ก.ค.2553ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้
รัฐสภา-ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหนังสือด่วนที่สุดที่ นร 0801/0750 วันที่ 6 สิงหาคม ลงนามโดยคุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา แจ้งไปยังผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (ผู้ว่าการสตง.) เรื่อง ประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ระบุว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะที่ 1) ได้พิจารณากรณีที่สตง.สอบถามว่า คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสตง.มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ จึงมีปัญหาข้อกฎหมายว่า คุณหญิงจารุวรรณ จะต้องพ้นจากตำแหน่งโดยผลของมาตรา 34 (2) แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน 2542 ประกอบรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 302 (3) หรือยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ตามประกาศคปค.ฉบับ 29 ข้อ และ 3 เสร็จสิ้นแล้ว โดยมี 2 ประเด็นในการพิจารณาคือ

 1.กรณีคุณหญิงจารุวรรณ มีอายุครบ 65 ปี บริบูรณ์ ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2553 จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้หรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกาฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ประกาศคปค.ฉบับ 29 ได้กำหนดให้ ผู้ว่าการสตง.ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 18 กันยายน 2549 คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2550 นั้น เป็นการยกเว้นวาระการดำรงตำแหน่งผู้ว่าการสตง.ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 18 กันยายน 2549 โดยให้ดำรง ตำแหน่งตามระยะเวลาที่กำหนดในประกาศคปค.ฉบับ 29 ซึ่งอาจมีผลเป็นการขยายระยะเวลา หรือลดระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง แต่การยกเว้นดังกล่าวมิได้เป็นการยกเว้น คุณสมบัติหรือเหตุแห่งการพ้นจากตำแหน่งตามที่กำหนดในพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน 2542

ดังนั้น คุณสมบัติของผู้ว่าการสตง.และเหตุแห่งการพ้นจากตำแหน่ง จึงยังต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.ประกอบฯ เช่น เมื่อตาย ลาออก ขาดคุณสมบัติ ย่อมทำให้ผู้ว่าการสตง. ต้องพ้นจากตำแหน่งไปแม้จะอยู่ในระยะเวลาที่ประกาศคปค.ฉบับ 29 ขยายไว้ให้ก็ตาม คณะกรรมการกฤษฎีกาฯ ยังเห็นว่า การที่ข้อ 3 ของประกาศคปค.ฉบับ 29 กำหนดให้สรรหาคตง.และผู้ว่าการสตง.ใหม่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ว่าการสตง.พ้นจากตำแหน่งและในวรรคสองที่กำหนดว่า ระหว่างยังไม่มีคตง.และผู้ว่าการสตง.ให้ผู้ว่าการสตง.ที่พ้นจากตำแหน่งตาม วรรคหนึ่ง ยังคงปฏิบัติหน้าที่คตง.และผู้ว่าการสตง.ไปพลางก่อนนั้น ความในวรรคสองมุ่งหมายจำกัดไว้เฉพาะในระหว่างยังไม่มีผู้ว่าการสตง.ตามวรรค หนึ่งเท่านั้น ซึ่งก็คือช่วง 90 วันที่จะต้องดำเนินการสรรหาผู้ว่าการสตง.คนใหม่ให้แล้วเสร็จ ทั้งนี้ที่เคยมีการวินิจฉัยว่า ระยะเวลาการสรรหาดังกล่าว เป็นเพียงมาตรการเร่งนัด แม้จะพ้น 90 วันแล้วยังมิได้มีการสรรหาให้เสร็จ ก็ยังต้องดำเนินการสรรหาต่อไปให้แล้วเสร็จ แต่ผู้ว่าการสตง.ที่จะปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนตามวรรคสอง เมื่อถูกจำกัดระยะเวลาไว้เพียงช่วงเวลาที่กำหนด ภายหลังจากนั้นจึงไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนตามบทบัญญัตินี้ เพราะเป็นการเกินระยะเวลาที่ให้อำนาจไว้

ส่วนกรณีที่ผู้ว่าการสตง.กระทำการใดๆหลังพ้นจากตำแหน่งไปแล้วนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาฯเห็นว่า จะต้องนำมาตรา 19 แห่งพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 ที่บัญญัติว่า ถ้าปรากฏภายหลังว่า เจ้าหน้าที่ขาดคุณสมบัติ อันเป็นเหตุให้ผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งเช่นว่านี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นปฏิบัติไปตาม อำนาจหน้าที่

 สำหรับกรณีที่ผู้ว่าการสตง.พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว สตง.จะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาฯ เคยให้ความเห็นในการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนผู้ว่าการสตง.แล้ว ( เรื่องเสร็จที่ 648/2544) โดยรองผู้ว่าการสตง.ที่รักษาราชการแทนผู้ว่าการสตง. พึงต้องระวังเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ กล่าวคือ ทำได้เฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไปในฐานะหัวหน้าส่วนราชการของสต ง.แต่ไม่รวมถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าการสตง.ตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญ

นอกจากนี้ ประเด็นการปฏิบัติหน้าที่คตง.ตามประกาศคปค.ฉบับ 29 กำหนดให้ ผู้ว่าการสตง.ปฏิบัติหน้าที่คตง.ไปพลางก่อนนั้น ก็เจาะจงเฉพาะผู้ว่าการสตง.ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 18 กันยายน 2549 ถึง 30 กันยายน 2550 เท่านั้น      

 อนึ่งการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาฯ มิได้นำรัฐธรรมนูญมาตรา 301 ซึ่งได้กำหนดระยะเวลาในการสรรหาคตง.และผู้ว่าการสตง.แตกต่างจากประกาศคปค. ทั้งมิได้มีบทบัญญัติรองรับให้ผู้ว่าการสตง.ที่พ้นจากตำแหน่งยังคงสามารถ ปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไป มาประกอบการพิจารณา เนื่องจากคณะกรรมการกฤษฎีกาฯไม่มีอำนาจวินิจฉัยรัฐ ธรรมนูญ

 2. การจ่ายบำเหน็จตอบแทนให้สอดคล้องกับข้อ 1 คณะกรรมการกฤษฎีกาฯ เห็นว่า มาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ประกอบฯว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินได้บัญญัติไว้ โดยการพ้นจากตำแหน่งตามระยะเวลาที่ได้รับการขยายตามประกาศคปค.ฉบับ 29 ถือเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ซึ่งในการนับระยะเวลาดำรงตำแหน่งเพื่อคำนวณบำเหน็จ ให้นับตั้งแต่วันมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่สิ้น สุดการปฏิบัติหน้าที่ คือ 31 ธันวาคม 2544 จนถึง วันที่ 5 กรกฎาคม 2553

Tags : เปิดคำวินิจฉัยกฤษฎีกา จารุวรรณ ผู้ว่าสตง.

view