สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กรมวิชาการงัด พ.ร.บ.วัตถุอันตราย จัดระเบียบผู้ค้ายา-สารเคมีการเกษตร

กรมวิชาการงัด พ.ร.บ.วัตถุอันตราย จัดระเบียบผู้ค้ายา-สารเคมีการเกษตร

จากประชาชาติธุรกิจ



พระ ราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ให้อำนาจแก่ 3 หน่วยงานหลักในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งดูแลรับผิดชอบสินค้าวัตถุอันตรายที่ใช้ในทางการเกษตรทั้งหมด โดยกรมวิชาการเกษตรรับหน้าที่ดูแลวัตถุอันตรายที่ใช้กับพืช, กรมประมงดูแลวัตถุอันตราย ที่ใช้กับสัตว์น้ำ และกรมปศุสัตว์ดูแลวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ใช้ในการปศุสัตว์

กว่า 10 ปีที่ผ่านมา ภาคการเกษตร ของไทยมีการใช้สารเคมีในอัตราสูงมาก ส่งผลให้ธุรกิจการค้าสารเคมีการเกษตรเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีร้านจำหน่ายสารเคมีทั่วประเทศกว่า 5,000 แห่ง ในปี พ.ศ. 2543 พบว่า มีการนำเข้าสารเคมีเพื่อขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายประมาณ 224 ชนิด และมีสินค้าสารเคมีการเกษตรประเภทสารเคมีกำจัดแมลง- สารป้องกันกำจัดวัชพืช-สารกำจัดเชื้อรา วางจำหน่ายในท้องตลาดกว่า 8,425 ชื่อการค้า

ในขณะเดียวกัน กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบพบว่า สารเคมีจำนวนมากมีชื่อสามัญเดียวกัน แต่ใช้ชื่อทางการค้าหลายชื่อ ยกตัวอย่างเช่น "กลัยโฟเซท" ถือเป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีปริมาณการนำเข้ามากที่สุด พบว่ามีชื่อการค้ามากถึง 241 ชื่อ รองลงมาคือ "เอ็นโดซัลแฟน" มีชื่อการค้าถึง 111 ชื่อ ทั้งหมดนี้ขาดการจัดระบบขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่มีการอ้างใช้ชื่อทางการ ค้าหลายชื่อ ทั้งที่เป็นชื่อสามัญเดียวกัน กลายเป็นปัญหาสร้างความสับสนแก่เกษตรกรผู้ใช้วัตถุอันตรายเป็นอย่างมากใน ช่วงที่ผ่านมา

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีแนวโน้มการ นำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ปี 2546 มีมูลค่าการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของปี 2538 ในปี 2550 ไทยนำเข้าสารเคมีมากถึง 67,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าราว 15,000 ล้านบาท และปี 2552 มีการนำเข้าสารเคมีการเกษตรสูงถึง 19,181.75 ล้านบาท โดยสารเคมีที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสารป้องกันกำจัดวัชพืช รองลงมาคือสารเคมีกำจัดแมลง, สารป้องกัน/กำจัดเชื้อรา และสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช

ปัจจุบัน กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ฯลฯ ต่างเพิ่มมาตรการเข้มงวดในการตรวจสอบสุขอนามัยและความปลอดภัยสินค้าเกษตร มากขึ้น เช่น การกำหนดค่าปริมาณ สารตกค้าง/สารปนเปื้อน/ยาปฏิชีวนะ รวมทั้งกำหนดให้กระบวนการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารต้องมีความเป็นมิตรกับสิ่ง แวดล้อม และสามารถตรวจสอบ ย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน

เพื่อส่งเสริมให้ ทิศทางการผลิตสินค้าเกษตรของไทยสอดคล้องกับกระแสความต้องการของโลก ลดอุปสรรคทางการส่งออก ส่งเสริมสุขภาพอนามัยความปลอดภัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม รัฐบาลได้ยกร่างแผนยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2550-2554) โดยมีเป้าหมายลดการใช้สารเคมีภาคการเกษตรให้เหลือร้อยละ 70

โดยกรม วิชาการเกษตรทำหน้าที่ยกร่างมาตรการทางกฎหมายขึ้นมาดูแลควบคุม/กำกับและ ติดตามสารเคมีเกษตรครบวงจร ประเมินความเสี่ยงจากสารเคมีเกษตร เพื่อกำหนดชนิดสารเคมีที่อนุญาตให้ใช้ กำหนดอายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียน และไม่ต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนให้แก่สารเคมีเกษตรที่มีความเสี่ยงสูง เช่น สารเคมีใน class Ia และ Ib ตาม ข้อเสนอแนะของ WHO ห้ามนำเข้าและ เพิกถอนทะเบียนสารเคมีการเกษตรที่ประเทศพัฒนาแล้ว ห้ามใช้ รวมทั้งจัดทำบัญชีรายชื่อสารเคมีที่มีความเสี่ยงน้อยให้เกษตรกรเลือกใช้ ชำแหละ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ฉบับใหม่

กรม วิชาการเกษตรได้มอบหมายให้สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรปรับปรุง พ.ร.บ.วัตถุอันตรายที่มีอยู่เดิม ให้มีความเข้มงวดในการควบคุมกำกับดูแลสารเคมีทางการเกษตรทุกขั้นตอน ตั้งแต่การขึ้นทะเบียนการนำเข้า ตลอดจนการจำหน่าย ให้เป็นไปตามอำนาจกฎหมาย พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551, ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการตรวจเอกสารข้อมูลประกอบ, การขึ้น ทะเบียนวัตถุอันตราย ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ พ.ศ. 2553 เป็นต้น ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตร ได้เชิญผู้ประกอบการในธุรกิจสารเคมีเข้าฟัง คำชี้แจงหลักเกณฑ์ วิธีการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2552 กำหนดให้ "ใบอนุญาต" ในการนำเข้า- ผลิต-จำหน่ายสารเคมีการเกษตรที่มีอยู่เดิมสามารถใช้ต่อได้จน สิ้นอายุ ส่วนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนและ ใบแจ้งดำเนินการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ที่ออกไว้ก่อนนั้นให้ใช้ต่อไปได้อีก 3 ปี นับจากวันที่พระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้ เมื่อครบกำหนดวัตถุอันตรายที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วจะต้องมายื่นขอขึ้น ทะเบียนตามเงื่อนไขใหม่ทั้งหมด ทั้งนี้ บริษัทเอกชนต้องยื่นใบทะเบียนอนุญาตผลิตในประเทศ ที่เป็นแหล่งผลิต เอกสารทั้งหมดดังกล่าวต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานราชการ ตัวแทนประเทศ โดยต้องเป็นเอกสารระหว่างประเทศ

ส่วนการกำหนดอายุและการต่อ ใบรับแจ้งดำเนินการวัตถุอันตรายชนิด ที่ 2 กำหนดไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ออกใบรับแจ้ง และใบสำคัญการขึ้นทะเบียน วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 /ชนิดที่ 3 ไม่เกิน6 ปี นับจากวันที่ออกใบสำคัญ ตลอดจนการอนุญาตให้ผลิต/นำเข้าหรือมีไว้ใน ครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ให้สามารถนำเข้า/ครอบครองวัตถุ อันตรายชนิดที่ 4 เพื่อเป็นสารมาตรฐาน ในห้องปฏิบัติการ โดยต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่กำกับดูแล


ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน/ออกใบอนุญาต

จากประชาชาติธุรกิจ


สำหรับ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการขึ้นทะเบียน/การออกใบสำคัญและการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียน วัตถุอันตราย ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ พ.ศ. 2551 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ วันที่ 20 มกราคม 2552 กำหนดให้การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายนั้นมีสาระสำคัญ ได้แก่ 1) ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นพิษของสารเข้มข้นและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ต้องได้มาจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GLP (Good Laboratory Practice) ตามมาตรฐาน OECD ใบทะเบียนอนุญาตผลิตในประเทศที่เป็น แหล่งผลิต เอกสารทั้งหมดดังกล่าวต้อง ผ่านการรับรองจากหน่วยงานราชการ ตัวแทนประเทศ โดยต้องเป็นเอกสารระหว่างประเทศ

2) การนำเข้าวัตถุอันตรายสำหรับขึ้นทะเบียนขั้นตอนที่ 1 อนุญาตให้นำเข้ามา เป็นรายครั้ง ภายใต้การควบคุมของ พนักงานเจ้าหน้าที่ เช่นเดียวกับการขึ้นทะเบียนในขั้นตอนที่ 2 และเมื่อข้อมูลครบถ้วนแล้ว การขอรับใบสำคัญขึ้น ทะเบียนให้ยื่นเอกสารวิชาการตามที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด รายงานผลวิเคราะห์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์และตัวอย่างบรรจุภัณฑ์

3) การขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่เป็นสารผสม ให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนปฏิบัติเช่นเดียวกับสารชนิดเดียว โดยผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องส่งเอกสารวิชาการของวัตถุอันตรายที่เป็นสารผสมของ ส่วนประกอบแต่ละชนิด และเอกสารวิชาการของวัตถุอันตรายที่เป็นสารผสมตามรายการข้อมูล เพื่อการขึ้นทะเบียนที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดการ ต่ออายุ ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนให้ ยื่นก่อน ใบสำคัญสิ้นอายุ 180 วัน โดยการพิจารณาคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการออกใบสำคัญมาใช้โดยอนุโลม ซึ่งการต่ออายุใบสำคัญขึ้นทะเบียน จะแสดงไว้ด้านหลังใบสำคัญเดิม หรือจะออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียนให้ใหม่ก็ได้

ภายหลังที่ประกาศกระ ทรวงเกษตร และสหกรณ์ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้กรมวิชาการเกษตรร่วมกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องได้ยกร่างประกาศกรมวิชาการเกษตร เพื่อรองรับการปฏิบัติงาน ตามประกาศของกระทรวงเกษตรฯที่กล่าวในข้างต้น โดยออกเป็นประกาศ กรมวิชาการเกษตร เรื่องกำหนดรายละเอียด หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียนการออก ใบสำคัญและการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ พ.ศ. 2552 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 166 ง เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2552

ประกาศของกรมวิชาการเกษตรฉบับนี้ ได้นำเอาประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มากำหนดรายละเอียดของการดำเนินการ โดยในการดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1 การทดลองเบื้องต้น กำหนดให้ผู้ยื่นขอขึ้นทะเบียน ต้องยื่นแผนการทดลองประสิทธิภาพ จำนวน 6 ชุด เว้นแต่มีผลการทดลองประสิทธิภาพที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด อยู่แล้ว ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี แผนการทดลองพิษตกค้าง จำนวน 6 ชุด ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

เว้นแต่มีผลการทดลองพิษตกค้างในประเทศ ที่ดำเนินการตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับ หรือได้รับการเผยแพร่ในเอกสารวิชาการที่อ้างอิงได้ หรือมีผลการทดลองในกลุ่มพืช ที่มีการใช้ที่เหมือนหรือใกล้เคียงกัน รวมทั้งรายงานผลการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ และรายการข้อมูลอื่น ๆ ซึ่งผู้อ่านสามารถศึกษาได้โดยละเอียดจากประกาศฉบับนี้


ผู้ค้ายาพืชถอดใจประกาศขายรง.ให้ต่างชาติ

จากประชาชาติธุรกิจ


ผู้ สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานกรณีที่กรมวิชาการเกษตรปรับปรุงกฎหมายควบคุมการใช้สารเคมีการเกษตร อาทิ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551, ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการตรวจเอกสารข้อมูลประกอบการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย พ.ศ. 2553 โดยให้มีหลักเกณฑ์/วิธีการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายให้เข้มงวดขึ้น เช่น การปรับค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนสารเคมีในราคาสูงขึ้น

โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ง การกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการสารเคมีทางการเกษตรต้องส่ง "ตัวอย่าง" สารเคมีไปตรวจสอบความเป็นพิษของสารเข้มข้นและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากห้อง ปฏิบัติการที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน GLP (Good Laboratory Practice) ตามมาตรฐาน OECD ส่งผลให้ ผู้ประกอบการต้องเสียค่าใช้จ่ายในการส่ง ตัวอย่างไปตรวจสอบในประเทศที่สาม ตัวอย่างละ 1.5-2 ล้านบาท จนทำให้ผู้ประกอบค้าสารเคมีไทยไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้

ล่า สุดมีรายงานจากผู้ประกอบการค้าสารเคมีการเกษตรเข้ามาว่า ขณะนี้ ผู้ประกอบการค้าสารเคมีไทยหลายราย ที่มีโรงงานผลิตและแปรรูปสารเคมีการเกษตรได้ประกาศขายกิจการให้แก่นักลงทุน ต่างชาติแล้วโดยส่วนใหญ่เป็นโรงงานประเภท SMEs ในย่านลาดหลุมแก้ว-ไทรน้อย-อู่ทอง-สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ตามหลักเกณฑ์/ วิธีการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่เข้มงวดขึ้น ภายใต้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ขณะที่บางส่วนได้เตรียมประกาศปิดกิจการ หากเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนดังกล่าวไม่ได้รับการผ่อนผันจำนวนโรงงานสารเคมี การเกษตรที่ลดลง กลับสอดคล้องกับความต้องการของกรมวิชาการเกษตรที่ต้องการลดปริมาณสารเคมีที่ จำหน่ายในท้องตลาดให้มีจำนวนประเภทน้อยลง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง ในอนาคต ก็คือสารเคมีทางการเกษตรจะมีราคาแพงขึ้น เพราะตามปกติ ธุรกิจสารเคมีส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายในลักษณะสินเชื่อระหว่างบริษัทผู้ผลิต สารเคมีกับร้านจำหน่ายสารเคมี เมื่อมีจำนวนผู้ผลิตน้อยรายลง เกษตรกรไทยก็มีโอกาสเลือกซื้อสินค้าได้น้อยลง และต้องจ่ายเงินสดซื้อสินค้าในราคาที่สูงขึ้น

ที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตรอ้างว่าต้องการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ.วัตถุอันตรายเพื่อยกระดับรักษามาตรฐาน ด้าน Food Safety กับสร้างมาตรฐาน ความปลอดภัยของสินค้าเกษตรของไทย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ผู้ประกอบการคนไทยส่วนใหญ่มองว่าเป็นการสร้างกฎกติกา เพื่อตัดตอนการเติบโตของเอกชนไทยในธุรกิจสารเคมีการเกษตรเสียมากกว่า

ทั้ง นี้ บริษัทผู้ประกอบการค้าสารเคมีที่เป็นบริษัทไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่ม SMEs มีข้อจำกัดด้านเงินทุนและเทคโนโลยีอยู่แล้ว เมื่อกรมวิชาการเกษตรกำหนดกฎกติกามาตรฐานไว้สูง เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นพิษของสารเข้มข้นและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากห้อง ปฏิบัติการที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน GLP (Good Laboratory Practice) ตามมาตรฐาน OECD แต่ประเทศไทยไม่มีห้องปฏิบัติการดังกล่าวในประเทศ เอกชนไทย "จำเป็น" ต้องส่งตัวอย่างสารเคมีไปตรวจสอบในต่างประเทศ ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายสูงมาก "ที่ผ่านมา เอกชนหลายรายได้ยื่นขอให้มีการพิจารณาทบทวนเงื่อนไขที่ยากต่อการปฏิบัติ แต่กรมวิชาการเกษตรกลับมองว่าเป็นกลุ่ม พวกหัวแข็ง และตอบโต้โดยการส่งสารวัตรเกษตรเข้าไปตรวจสอบโรงงานมากขึ้น หรือชะลอการปล่อยสินค้าสารเคมีที่สั่งนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้เกิดความยุ่งยากในการบริหารงานจนทำให้เอกชนส่วนใหญ่ ไม่กล้าเปิดตัวออกมาเคลื่อนไหว เพื่อร้องขอให้มีการทบทวนกฎหมายอีก"ผู้ค้าสารเคมีรายหนึ่งกล่าว

ขณะ ที่นายอภิชาติ จงสกุล โฆษก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า หากกฎหมายฉบับใดมีจุดบกพร่อง ผู้ที่เกี่ยวข้องควรยื่นข้อเสนอให้มีการพิจารณาทบทวนแก้ไขกฎหมายในช่วงที่ เปิดให้มีการประชาพิจารณ์กฎหมายฉบับดังกล่าวสำหรับกฎหมาย พ.ร.บ.วัตถุอันตรายฉบับใหม่ ขณะนี้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเป็นที่เรียบร้อยแล้วและจะมีผลในทาง ปฏิบัติในปีหน้า (2554) ดังนั้นกระทรวงเกษตรฯคงจะปล่อยให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ไปสักระยะหนึ่งก่อน หากมีปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้นจริงผู้ที่เกี่ยวข้องจึงสามารถยื่นข้อเสนอต่อ รัฐบาลให้มีการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าวได้อีก

Tags : กรมวิชาการ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย จัดระเบียบผู้ค้ายา สารเคมีการเกษตร

view