จากประชาชาติธุรกิจ
เฮลท์ ทริกส์
นอกจากการใช้พลาสติกจะทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน เพราะเป็นวัสดุที่ย่อยสลายยากแล้ว มันยังอาจไปกระตุ้นฮอร์โมนเพศชายให้สูงกว่าปกติด้วย ลอสแองเจลิส ไทม์ส รายงานว่า นักวิจัยอังกฤษพบว่าอาสาสมัครที่มีสารบิสฟีนอล (bisphenol : BPA)
ซึ่งมักพบในพลาสติกทั่วโลกในร่างกายสูงจะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมากตาม ไปด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีสารดังกล่าวในร่างกายต่ำ นักวิจัยจากวิทยาลัยแพทย์เพนิซูลาและมหาวิทยาลัยเอ็กซีเตอร์ในสหราชอาณาจักร ได้วิเคราะห์ตัวอย่างปัสสาวะของผู้ใหญ่ 715 คน พบว่าทั้งหมดได้รับสาร BPA เฉลี่ย 5 ไมโครกรัมต่อวัน แต่อาสาสมัครที่มีระดับสารนี้ในปัสสาวะสูงกว่าค่าเฉลี่ยจะมีระดับความเข้ม ข้นของฮอร์โมนเพศชายสูงกว่าคน อื่น BPA เป็นสารเคมีที่พบมากในพลาสติกสำหรับบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม หรือแม้แต่ขวดนมของทารก ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่สารตัวนี้จะปนเปื้อนเข้าสู่อาหารที่บรรจุอยู่ในภาชนะ พลาสติก สารเคมีตัวนี้ได้รับการขนานนามว่า ′Endocrine disruptor′ เพราะมันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในมนุษย์ ซึ่งอาจนำไปสู่อาการ ผิดปกติ หรือโรคร้ายได้ ดูแลปอดด้วยการกินมะละกอ กินอาหารที่มีฤทธิ์เป็นยาย่อมดีกว่าการกินยาจริง ๆ เป็นไหน ๆ เพราะนอกจากอาหารเป็นยาจะมีรสชาติอร่อยกว่า มีผลข้างเคียงน้อยกว่าแล้ว ยังแสดงว่าสภาพร่างกายคุณยังไม่ย่ำแย่จนถึงขนาดต้องพึ่งสารเคมีที่ประกอบ เป็นตัวยาด้วย หนึ่งในอาหารที่มีผลด้านการป้องกันโรคตัวหนึ่งที่สามารถหารับประทานได้ง่าย คือ′มะละกอ′ เชื่อหรือไม่ว่าผลไม้สดรสชาติหวานอร่อยที่เราเห็นกันจนชินตานั้นช่วยลดความ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดได้
เว็บไซต์เรียลเอจดอทคอมรายงานว่า ผลการวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าอาสาสมัครคนใดที่รับประทานสารเบต้า-คริบโทแซนธินเป็นประจำ มีแนวโน้มเป็นมะเร็งปอดลดลง สารตัวนี้เป็นแคโรทีนอยด์ (สารให้สีในผักผลไม้) ประเภทหนึ่ง พบมากในมะละกอ รองลงมาคือส้มและมะม่วง มีคุณสมบัติคล้ายกับญาติของมันอย่างไลโคปีนในมะเขือเทศ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง เบต้า-คริบโทแซนธินมีศักยภาพในการปรับสภาพสารอนุมูลอิสระซึ่งมีฤทธิ์สร้าง ความเสื่อมให้กับเซลล์ให้เป็นกลางได้ โดยเฉพาะอนุมูลอิสระที่เกิดจากการสูบบุหรี่ หรือควันพิษจากแหล่งอื่น ผู้โปรดปรานส้มตำอย่าเพิ่งไชโยโห่ร้อง เพราะมะละกอที่มีสารตัวนี้มาก คือมะละกอสุกเท่านั้น