จากประชาชาติธุรกิจ
ดร . อัญชนา ท่านเจริญ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าหิ่งห้อยเป็นแมลงที่มีแสงในตัวเองและกะพริบแสงเพื่อหา คู่ผสมพันธุ์นักวิทยาศาสตร์หลายท่านสันนิษฐานว่าแสงไฟในเวลากลางคืนเช่นแสง ไฟจากอาคารบ้านเรือนเสาไฟฟ้าน่าจะเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ การหายไปของหิ่งห้อยในหลายพื้นที่ แต่ก็ยังไม่มีการทดลองหรือการพิสูจน์ที่แน่ชัดว่าแสงไฟมีผลกระทบต่อหิ่งห้อย อย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการผสมพันธุ์จึงเป็นที่มาในการวิจัย เรื่อง "ผลกระทบของแสงต่อพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของหิ่งห้อยชนิด Luciola aquatilis" สนับสนุนทุนวิจัยโดยโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ( คปก. )
"การศึกษาพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของหิ่งห้อยทำได้ยากเนื่องจากต้องสังเกตใน เวลากลางคืนและยากที่จะพบเห็นหิ่งห้อยแสดงพฤติกรรมเกี้ยวพาราสีหรือกำลังผสม พันธุ์กันในสภาพธรรมชาติจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะพิสูจน์ผลกระทบของแสงไฟ ต่อพฤติกรรมการผสมพันธุ์งานวิจัย ชิ้นนี้จึงเป็นครั้งแรกที่ได้ศึกษาผลกระทบดังกล่าวเนื่องจากเราสามารถเพาะ เลี้ยงหิ่งห้อยได้เองจึงสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆในการทดลองได้เช่นอายุ หิ่งห้อยที่อายุต่างกันจะมีพฤติกรรมที่ต่างกันหรือประสบการณ์ในการผสมพันธุ์ หากเป็น ในธรรมชาติหิ่งห้อยที่เคยผสมพันธุ์แล้วอาจจะไม่ยอมผสมพันธุ์อีกในช่วงเวลา ทดลองจึงอาจทำให้ผลวิจัยคลาดเคลื่อนได้ดังนั้นหากควบคุมปัจจัยเหล่านี้ได้ก็ จะทำให้อธิบายได้ชัดเจนว่าพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของหิ่งห้อยเป็นอย่างไรใน สภาพที่มีแสง"
ดร . อัญชนา กล่าวต่อว่างานวิจัยจะแบ่งออกเป็นหลายชุดการทดลองโดยชุดการทดลองแรกจะนำ หิ่งห้อยตัวผู้และตัวเมียที่ยังไม่ผ่านการผสมพันธุ์มาจับคู่เพื่อผสมพันธุ์ ในห้องที่มืดสนิท ( ความเข้มแสง 0 ลักซ์ ) และในชุดการทดลองต่อ ๆ ไปจะค่อยๆเพิ่มความเข้มแสงเป็น 005 , 0.1 , 0.2 และ 0.3 ลักซ์ตามลำดับ ซึ่งผลการทดลองพบว่าหิ่งห้อยที่จับคู่ผสมพันธุ์ในห้องมืดสนิทสามารถจับคู่ ผสมพันธุ์ได้สำเร็จภายในเวลา 30 นาที แต่ถ้าในสภาพที่มีแสงสว่างมากขึ้นเรื่อยกลับพบว่าพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสี ของหิ่งห้อยก่อนผสมพันธุ์จะนานขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งที่แสงความเข้ม 0.3 ลักซ์นั้นพบว่าหิ่งห้อยต้องใช้เวลาถึง 5-7 ชั่วโมงกว่าจะผสมพันธุ์ได้สำเร็จเมื่อสังเกตพฤติกรรมการผสมพันธุ์อย่างใกล้ ชิดพบว่าในห้องที่มืดสนิทเมื่อหิ่งห้อยตัวผู้บินมาเจอตัวเมียหิ่งห้อยตัวผู้ จะ ทำการขี่หลังตัวเมียและผสมพันธุ์กันทันที่เราจะเห็นหิ่งห้อยมีก้นชนกัน แต่ในสภาวะที่มีแสงหิ่งห้อยตัวเมียจะไม่ยอมผสมพันธุ์ทำให้หิ่งห้อยตัวผู้ขี่ หลังตัวเมียนานมากหรือบางครั้งหิ่งห้อยตัวผู้จะต้องเกี้ยวพาราสีโดยกะพริบ แสงเป็นนานเวลา "
ดร . อัญชนา กล่าวว่าจากการทดลองดังกล่าวสรุปได้ชัดเจนว่าแสงไฟมีผลต่อพฤติกรรมการผสม พันธุ์ของหิ่งห้อยอย่างแน่นอนโดยความเข้มแสงเพียง 0.3 ลักซ์นั้นถือเป็นแสงที่มีความสว่างน้อยมากเมื่อเทียบกับหลอดไฟที่ใช้กันทั่ว ไป ซึ่งมีความถึงเข้มแสง 320-500 ลักซ์ดังนั้นแสงไฟจากท้องถนนบ้านเรือนหรือแม้กระทั่งจากการนั่งเรือชม หิ่งห้อยย่อมส่งผลกระทบต่อหิ่งห้อยอย่างแน่นอนโดยนอกจากจะทำให้หิ่งห้อยหา คู่เจอได้ยากแล้วเมื่อมาเจอกันกลับยังต้องใช้เวลาในการผสมพันธุ์ที่ ยาวนานขึ้นหรืออาจจะไม่ประสบผลสำเร็จในการผสมพันธุ์เลยก็เป็นได้
ทั้งนี้จึงอยากฝากไปถึงประชาชนนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการธุรกิจท่อง เที่ยวด้วยว่าหากเป็นไปได้อยากให้เลี่ยงการส่องแสงไฟไปที่ต้นลำพูที่มี หิ่งห้อยอาศัยอยู่รวมทั้งการใช้ไฟฉายสื่อสารระหว่างเรือโดยสารในบริเวณที่ ให้บริการการ ท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยควรหลีกเลี่ยงการใช้ไฟสีขาวโดยการครอบไฟฉายด้วยกระดาษ แก้วสีแดงจะช่วยให้ผลกระทบน้อยลงได้นอกจากนั้นบ้านเรือนที่อยู่ใกล้แหล่งที่ มีหิ่งห้อยควรลดหรือเลิกเปิดไฟในบริเวณดังกล่าวพลางแสงไฟ จากบ้านเรือนโดยการใช้ม่านหรือปรับเปลี่ยนหลอดไฟให้มีมลพิษทางแสงน้อยลงเช่น เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟที่มีที่ครอบหรือหาวัสดุมาครอบหลอดไฟเพื่อให้แสงไฟตกลง เฉพาะบริเวณที่ต้องการเท่านั้น โดยหากวันนี้เราไม่ช่วยกันดูแลหิ่งห้อยแล้ววันข้างหน้าก็อาจไม่เหลือ หิ่งห้อยอยู่ในระบบนิเวศเลยก็เป็นได้ ดร . อัญชนา ทิ้งท้ายกล่าว
ข้อมูลจากศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช