จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
โดย : จรูญ ทองนวล
เรื่องราวดีๆ อีกมิติมุมมองหนึ่งที่สอดแทรกอยู่ท่ามกลางความรุนแรงที่เกิดขึ้น
นับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ข่าวร้าย เศร้า สะเทือนใจจากพื้นที่ปลายด้ามขวานถูกส่งผ่านสื่อหลากหลายช่องทางให้ได้รับรู้กันแทบทุกวัน จนกลายเป็นเรื่องปกติในสถานการณ์ไม่ปกติ
"วันไหนไม่มีเหตุร้าย ถือว่าเหตุการณ์ไม่ปกติ " คำคมปนความขมขื่นใจของคนที่นี่ที่มักปลอบประโลมกันเองยามไร้ทางออก เพียงเพื่อให้ได้มาแค่รอยยิ้มพอขำๆ ไปวันๆ ไม่ต้องพะวงหมกมุ่นอยู่แต่ในโลกแห่งความกลัวเพียงอย่างเดียว
เมื่อเหตุร้ายรายวันเกิดขึ้นเช่นนี้ การจะไปปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ หรือซุกขยะไว้ใต้พรมคงไม่ได้ แต่ในอีกมิติหนึ่งยังคงมีเรื่องราวดีๆ ที่สอดแทรกอยู่ท่ามกลางความรุนแรงที่เกิดขึ้น
ผมยังจำได้ว่าเมื่อประมาณสิบปีที่ผ่านมา มีเพื่อนคนหนึ่งพื้นเพชาวปัตตานี เป็นคนไทยเชื้อสายจีน มีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาจีนและมลายูท้องถิ่น เนื่องจากคลุกคลีอยู่กับสังคมมุสลิมมาตั้งแต่เด็ก เพื่อนคนนี้เวลาเจอกันทีไร มักจะชวนไปเที่ยวดื่มด่ำบรรยากาศยามราตรีของหัวเมืองตามชายแดนเสมอ จนถูกแซวว่าเป็น "เพลย์บอยชายแดนใต้ " ตามประสาคนไม่มีภาระทางครอบครัวต้องรับผิดชอบในขณะนั้น
ยามเย็นกินเที่ยวกันอยู่ที่ปัตตานี พอเริ่มตกดึกหน่อยก็ไปโผล่ไปที่ยะลา บางครั้งสุดท้ายไปหาที่ซุกหัวนอนเอาที่ชายแดนไทย -มาเลเซีย อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ดึกดื่นเที่ยงคืนยังขับรถกินลมสัมผัสบรรยากาศความมืดครึ้มของขุนเขาและสวยยางพารา บนถนนสายโกตาบารู - รามัน - รือเสาะ - ยี่งอ แล้วไปโผล่ถนนสายเอเซีย ( A42) ที่ อ.เมือง นราธิวาส แต่ปัจจุบันถนนสายนั้นถูกขนานนามว่าเป็นถนนสายโจร เพราะมีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นบ่อยมาก
มีครั้งหนึ่งผมได้เดินทางไปกับนักข่าวประจำจังหวัดนราธิวาส เข้าไปทำข่าวที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ติดกับเทือกเขาบูโด อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เป็นหมู่บ้านของชาวไทยมุสลิมทุกครัวเรือน ขณะที่คอยแหล่งข่าวที่จะไปสัมภาษณ์อยู่นั้น สายตาเหลือบไปเห็นเงาะโรงเรียนของชาวบ้านต้นหนึ่ง ออกผละแดงไปทั้งต้น เลยให้เพื่อนนักข่าวที่ไปด้วยกันช่วยเจรจากับลุง ("เวาะ" ในภาษามลายู) ผู้เป็นเจ้าของ เป็นภาษามลายูถิ่นว่า "จะขอซื้อเงาะสัก 5 กก."
ลุงเจ้าของเงาะต้นดังกล่าว คว้าไม้ไผ่ที่ทำเป็นขอเกี่ยว เก็บเงาะมาให้ประมาณ 1 กระสอบ ผมนึกในใจว่าเราสื่อสารผิดพลาดไปหรือเปล่า เพราะจะขอซื้อแค่ 5 กก.เอง แต่ ด้วยความเกรงใจเลยถามว่าเขาจะเอาเงินเท่าไหร่ เพราะไหนก็เก็บมาแล้ว แต่เจ้าของเงาะกลับบอกว่า
“ไม่เอาสตางค์ ให้เอาไปกินฟรีๆ เพราะเก็บไว้ก็กินไม่หมด จะขายก็ได้ไม่กี่บาท สู้มอบให้เป็นของฝากคนแปลกหน้าที่มาเยือนถึงหน้าบ้านดีกว่า เพราะไม่แน่วันหน้า วันหลัง อาจจะเจอกันอีก”
ความประทับใจนี้ยังอยู่ในความทรงจำจวบจนปัจจุบัน ความมีน้ำใจของลุง ผู้เป็นเจ้าของเงาะต้นนั้น "เงินซื้อทุกอย่างไม่ได้จริงๆ" โดยเฉพาะมิตรภาพระหว่างกัน แม้จะต่างศาสนาและวัฒนธรรม เราก็สามารถอยู่ร่วมกันได้
นั่นเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของชีวิตในจังหวัดชายแดนใต้ที่เคยได้มาสัมผัสเมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว ซึ่งผมหวังว่าจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมในเร็ววัน...
-1-
สำหรับคนภายนอกแล้วการเดินทางไปเยือนนราธิวาสอาจจะน่าหวาดหวั่น แต่ในสายตาของคนพื้นที่ "บางนรา" ยังเป็นเมืองที่เปี่ยมเสน่ห์ ทั้งจากความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ สีสันความหลากหลายทางวัฒนธรรม และผู้คนที่เต็มไปด้วยมิตรไมตรี
หากมองจากแผนที่ประเทศไทยหรือสภาพทางภูมิศาสตร์ จังหวัดนราธิวาสเป็นดินแดนที่อยู่ใต้สุดของประเทศ ความหลากหลายทางธรรมชาติจึงโดดเด่นกว่าจังหวัดปัตตานีและยะลาซึ่งมีพื้นที่ต่อเนื่องกัน เนื่องจากพื้นที่ด้านตะวันออกติดกับชายทะเลฝั่งอ่าวไทย ชาวบ้านตลอดแนวชายฝั่งทำอาชีพประมงพื้นบ้านโดยใช้เรือกอและอันเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของจังหวัดเป็นพาหนะโต้คลื่นสู่ท้องทะเล
อีกทั้งมีการวางแนวปะการังเทียมหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "บ้านปลา" เป็นแนวยาวตลอดน่านน้ำอ่าวบางนรา ตามโครงการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและวางไข่ของสัตว์น้ำตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทำให้ชาวประมงสามารถหาปลาได้ตลอดทั้งปี โดยการทำประมงที่นี่เน้นเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก ชาวประมงจะไม่ใช้เครื่องมือที่ผิดกฎหมาย ไม่จับปลาในฤดูวางไข่ และไม่จับสัตว์น้ำตัวเล็กตัวน้อย
ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันตกจะเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนตั้งแต่แนวเทือกเขาบูโดทอดตัวยาวเหยียดไปจนถึงเทือกเขาสันกาลาคีรีติดชายแดนประเทศมาเลเซีย ถือเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรป่าไม้ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ ที่สำคัญยังเป็นถิ่นกำเนิดของ " ลองกอง " ผลไม้เลื่องชื่อ จากความสมบูรณ์ดังกล่าวนี้ทำให้มีการพูดเปรียบเปรยกันว่า "ไม่ว่าพันธุ์ไม้ชนิดใดหากนำมาปลูกที่นี่ รับรองเจริญงอกงามได้หมด ขอเพียงแต่อย่าเอาส่วนปลายฝังลงดินก็แล้วกัน"
นราธิวาสหรือบางนรา ถ้านับความห่างจากกรุงเทพมหานคร กว่าพันกิโลเมตร แต่ด้วยความเจริญและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นราธิวาสไม่ไกลอย่างที่คิด เพราะมีการคมนาคมให้เลือกทั้งทางเครื่องบิน รถไฟ และรถยนต์ที่สะดวกสบายด้วยถนนสี่ช่องจราจรจนถึงชายแดนมาเลเซีย
เมื่อมาถึงนราธิวาสแล้ว แนะนำให้เริ่มต้นเที่ยวในตัวเมืองก่อน จากริมเขื่อนท่าพระยาสายที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางนรา จะเห็นเขาตันหยงเด่นเป็นสง่า ณ ที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ซึ่งชาวนราภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง พระตำหนักแห่งนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานมาประทับแรม ในระหว่างทรงเยี่ยมเยียนพสกนิกรและทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่ภาคใต้
ในพระตำหนักมีโรงงานเซรามิคและเครื่องปั้นดินเผา งานด้านศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อให้ชาวบ้านหรือสมาชิกศิลปาชีพได้เข้าไปฝึกงานฝีมือ ทั้งการปั้น การจักสาน และงานปักผ้า
ใกล้กับพระตำหนักมีหาดทรายที่สวยงามเรียกกันว่า อ่าวมะนาว ชายหาดสีขาวทอดตัวจากเขาตันหยงไปจรดแม่น้ำบางนรา มีทิวสนสีเขียวตลอดแนวชายหาดให้ความร่มรื่นแก่ผู้มาเยือน ยามเช้าจะเห็นตะวันดวงโตที่ค่อยๆ โผล่พ้นน้ำจากขอบฟ้าฝั่งตะวันออกเป็นอีกภาพหนึ่งที่น่าบันทึกผ่านเลนส์และความทรงจำ
ถือเป็นความโชคดีของชาวนราธิวาสที่มีชายหาดในเมืองถึงสองแห่ง หาดนราทัศน์ เป็นอีกชายหาดหนึ่งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวกลางเมือง ที่นี่มีหมู่บ้านชาวประมงพื้นบ้าน "ชุมชนบาเละฮิเล" นอกจากจะล่องทะเลหาปลาเป็นอาชีพหลักแล้ว กลุ่มแม่บ้านยังรวมกลุ่มกันทำข้าวเกรียบปลาหรือ "กือโปะ" รสชาติของเนื้อปลาอร่อยเต็มคำ กรอบทุกชิ้น เป็นของฝากที่รับรองว่าถูกใจผู้รับแน่นอน
ที่นี่เราจะได้เห็นศิลปะอันงดงามบน "เรือกอและ" ที่จอดเรียงรายอวดลวดลายสีสันสะดุดตาราวกับลานแสดงศิลปะหรือแกลลอรีกลางแจ้ง ซึ่งลวดลายจิตรกรรมที่เห็นทั้งสองข้างลำเรือเหล่านี้ไม่มีซ้ำกันแม้แต่ลำเดียว ทุกลำจิตรกรที่ไม่เคยผ่านการร่ำเรียนจากสำนักใด สามารถตวัดปลายพู่กันวาดได้โดยไม่ต้องร่างแบบ นับว่า "น่าทึ่งจริงๆ"
-2-
เรียกน้ำย่อยในตัวเมืองกันพอสมควร คราวนี้ลองตระเวนออกไปนอกเมืองกันบ้าง เราใช้ถนนสายนราธิวาส - ระแงะ ไปยังตำบลลำภู เพื่อแวะสักการะพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล พระพุทธรูปปางประทับนั่งประทานพรที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ องค์พระพุทธรูปประดับด้วยโมเสดสีทองเหลืองอร่าม งดงามจับตายิ่งนัก
พุทธศาสนานอกจากเป็นที่พึ่งทางใจของพุทธศาสนิกชนแล้ว หากศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เราต้องเสียดินแดนให้อังกฤษสมัยรัชกาลที่ 5 ก็จะทราบว่าในร่มบวรพุทธศาสนานี่เองที่ได้ปกป้องผืนแผ่นดินไทยที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสไว้ได้ ด้วยเพราะขณะที่ปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับอังกฤษเมื่อปี 2441 ไทยได้หยิบยก วัดชลธาราสิงเห ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตากใบมาเป็นหลักฐานในการอ้างอิงว่า ฝั่งซ้ายของแม่น้ำตากใบคือแผ่นดินไทย ทำให้ดินแดนส่วนนี้รอดพ้นจากเงื้อมมือนักล่าอาณานิคม
วัดชลธาราสิงเหจึงได้ชื่อใหม่ว่า วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย หรือวัดหลักเขต ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม วัตถุโบราณล้ำค่า และจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจ น่าศึกษา
ไหว้พระขอพรเรียบร้อยแล้ว ต้องไม่พลาดอีกหนึ่งของดีเมืองตากใบ "ปลากุเลาเค็ม" ร่ำลือกันว่ารสชาติอร่อย เมื่อทอดแล้วเนื้อปลาจะกรอบนอกนุ่มใน กลิ่นหอม คนตากใบทำปลากุเลาเค็มขายเพียงอาชีพเดียวก็สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ เพราะราคาต่อกิโลกรัมละประมาณ 700-1,000 บาท แต่กว่าจะได้มาต้องใช้เวลาและกรรมวิธีหลายขั้นตอนมาก ใครได้ชิมแล้วจะรู้ว่าคุ้มค่า คุ้มราคาจริงๆ
จากชายฝั่งทะเลวกเข้าป่าปีนเขาซึมซับบรรยากาศดิบๆ ของธรรมชาติ หลายคนคงได้ยินชื่อ ผืนป่าฮาลา - บาลา แห่งเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อ.แว้ง และสุคีริน ติดชายแดนมาเลเซีย มีสภาพเป็นป่าดิบเมืองร้อนที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ เป็นต้นกำเนิดพันธุ์ไม้หายากหลายชนิด เช่น ปาล์มบังสูรย์ ใบไม้สีทอง, เถาดาโอ๊ะ ที่มีสีของใบต่างกันตามช่วงฤดูกาล ตั้งแต่เงิน นาก ทอง นี่คือความมหัศจรรย์ของธรรมชาติและถือเป็นไม้มงคลของจังหวัดนราธิวาสที่ใครๆ อยากมีไว้ประดับบ้าน
นอกจากนี้ป่าฮาลา-บาลา ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อย่าง "นกเงือก" ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าดิบเมืองร้อน โดยเฉพาะที่เทือกเขาบูโดไปจนถึงสันกาลาคีรีมีนกเงือกอาศัยอยู่ถึง 6 ชนิด คือ นกชนหิน นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ นกเงือกกรามช้าง และ นกเงือกหัวแรด นับว่ามากที่สุดเท่าที่มีการค้นพบทั้งหมด 13 ชนิดในประเทศไทย
กว่า 10 ปีแล้วที่โครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ลงมาสร้างเครือข่ายให้ชุมชนที่อาศัยอยู่รอบๆ ผืนป่ามาร่วมกันอนุรักษ์นกเงือกเหล่านี้ ปัจจุบันมีทั้งรังนกเงือกตามธรรมชาติและรังเทียมที่เจ้าหน้าที่สร้างให้ อยู่ในความดูแลของชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ของโครงการฯ ทำให้มีจำนวนนกเงือกเพิ่มขึ้นทุกปี
-3-
หากกล่าวถึงของดีเมืองนรา นอกจากธรรมชาติ วัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมแล้ว ผู้คนก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เมืองที่ดูเหมือนตกอยู่ในสถานการณ์ความรุนแรงแห่งนี้ งดงามน่าประทับใจ
เมื่อครั้งเกิดเหตุคาร์บอมบ์ที่ข้างธนาคารกสิกรไทย สาขารือเสาะ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โชคดีที่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บและสูญเสีย ผมได้พบกับสองผู้เฒ่าหัวใจแกร่งแห่งรือเสาะ นายฮวงซิว แซ่ลี่ อายุ 84 ปี และนางอี้บ๊วย แซ่เซ่า อายุ 78 ปี สองสามีภรรยาที่อายุอานามรวมกันได้ 162 ปี เป็นเจ้าของร้านขายน้ำชา กาแฟโบราณ ที่โบราณจริงๆ เพราะเปิดขายมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจนแก่เฒ่าปูนนี้
ลองคิดกันเล่นๆ ว่า "น้ำ" ที่ใช้ต้มกาแฟหมดไปแล้วกี่ร้อยกี่พันโอ่งตรามังกร เพราะยาวนานมากว่า 50 ปีแล้วที่ร้านเก่าแก่แห่งนี้เปิดให้บริการชาวบ้านย่านตลาดรือเสาะ ไม่คิดจะย้ายหนีไปไหน แม้ลูกๆ ซึ่งออกเหย้าออกเรือนไปหมดแล้ว ต่างมีหน้าที่การงานเป็นหลักเป็นแหล่งอยู่นอกพื้นที่จะชวนไปอยู่ด้วย แต่สองผู้เฒ่าไม่ยอมไป...
"อย่ามาชวนเสียให้ยาก" คำพูดที่ออกจากปากอากง
ถามว่ากลัวไหมกับเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ที่ห่างจากร้านไม่ถึง 10 เมตร
อาก๋งฮวงซิว ตอบอย่างฉาดฉานเสียงดังฟังชัดว่า
" กลัวซิ ! แต่จะไม่หนีไปไหนอยู่มันแบบกลัวๆ อย่างนี้แหละ..."
น่านับถือจริงๆ อย่างนี้ถึงจะเรียกว่า "ยอดนักสู้" แม้จะกลัว แต่ความกล้าและความแกร่งมีมากกว่า... หากใครมีโอกาสแวะไป " รือเสาะ" อยากชวนให้มานั่งจิบกาแฟ เยี่ยมคารวะสองผู้เฒ่ารักถิ่นได้ที่ร้านกาแฟโบราณ (จริงๆ) ที่บ้านเลขที่ 26 ถนนรือเสาะสนองกิจออก อยู่ในเขตเทศบาลรือเสาะใกล้แบงก์กสิกรไทย รับรองว่าจะได้จิบกาแฟหอมกรุ่นและสัมผัสบรรยากาศที่ชาวบ้านเขาอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาและพึ่งพิง จนอดนึกสงสัยไม่ได้ว่า "ที่ยิงกันเป็นฝีมือใคร"
แม้ปัจจุบันเราจะปฏิเสธไม่ได้ว่า "นราธิวาส" อยู่ในสถานะเดียวกันกับจังหวัดชายแดนภาคใต้อื่นที่ตกอยู่ภายใต้ความขัดแย้งทางความคิด จนก่อให้เกิดการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงมาเป็นระยะเวลานาน หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็พยายามฟื้นฟูสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ ที่มีความแตกต่างทางด้านวิถีชีวิต เชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม โดยยึดหลัก "แตกต่างแต่ไม่แตกแยก"
แต่สำคัญที่สุด คนนราธิวาสอยากให้คนภายนอกได้รู้จักเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "ที่อยู่ของคนดี " แห่งนี้ว่า...ยังมีสิ่งที่ดีๆ ที่งดงามอีกมากมาย
การเดินทาง
นราธิวาสห่างจากกรุงเทพฯ 1,149 กิโลเมตร ถ้าชอบขับรถจากหาดใหญ่สามารถเดินทางไปจังหวัดนราธิวาสได้โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 43 (หาดใหญ่-ปัตตานี) แล้ว เลี้ยวซ้ายเข้าสู่จังหวัดปัตตานี ไปยังจังหวัดนราธิวาสโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) อีกประมาณ 100 กิโลเมตร
รถโดยสารมีทั้งแบบธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่ทุกวัน ติดต่อสอบถามได้ที่ 0-2435-1200 หรือหากจะเลือกใช้บริการรถไฟก็มีรถด่วนและรถเร็วทุกวัน จากกรุงเทพฯ (สถานีหัวลำโพง) ถึงนราธิวาส (สถานีตันหยงมัส) สอบถามโทร. 0-2223-7010, 0-2223-7020
สำหรับคนที่ต้องการความสะดวกสบาย สายการบินแอร์เอเชียมีเที่ยวบินจากสุวรรรณภูมิ-นราธิวาส ทุกวัน ส่วนสายการบินโอเรียนท์ไทย วัน-ทู-โก ออกเดินทางจากดอนเมือง-นราธิวาส สอบถามข้อมูลเพิ่มติมได้ที่ 1126
นับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ข่าวร้าย เศร้า สะเทือนใจจากพื้นที่ปลายด้ามขวานถูกส่งผ่านสื่อหลากหลายช่องทางให้ได้รับรู้กันแทบทุกวัน จนกลายเป็นเรื่องปกติในสถานการณ์ไม่ปกติ
"วันไหนไม่มีเหตุร้าย ถือว่าเหตุการณ์ไม่ปกติ " คำคมปนความขมขื่นใจของคนที่นี่ที่มักปลอบประโลมกันเองยามไร้ทางออก เพียงเพื่อให้ได้มาแค่รอยยิ้มพอขำๆ ไปวันๆ ไม่ต้องพะวงหมกมุ่นอยู่แต่ในโลกแห่งความกลัวเพียงอย่างเดียว
เมื่อเหตุร้ายรายวันเกิดขึ้นเช่นนี้ การจะไปปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ หรือซุกขยะไว้ใต้พรมคงไม่ได้ แต่ในอีกมิติหนึ่งยังคงมีเรื่องราวดีๆ ที่สอดแทรกอยู่ท่ามกลางความรุนแรงที่เกิดขึ้น
ผมยังจำได้ว่าเมื่อประมาณสิบปีที่ผ่านมา มีเพื่อนคนหนึ่งพื้นเพชาวปัตตานี เป็นคนไทยเชื้อสายจีน มีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาจีนและมลายูท้องถิ่น เนื่องจากคลุกคลีอยู่กับสังคมมุสลิมมาตั้งแต่เด็ก เพื่อนคนนี้เวลาเจอกันทีไร มักจะชวนไปเที่ยวดื่มด่ำบรรยากาศยามราตรีของหัวเมืองตามชายแดนเสมอ จนถูกแซวว่าเป็น "เพลย์บอยชายแดนใต้ " ตามประสาคนไม่มีภาระทางครอบครัวต้องรับผิดชอบในขณะนั้น
ยามเย็นกินเที่ยวกันอยู่ที่ปัตตานี พอเริ่มตกดึกหน่อยก็ไปโผล่ไปที่ยะลา บางครั้งสุดท้ายไปหาที่ซุกหัวนอนเอาที่ชายแดนไทย -มาเลเซีย อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ดึกดื่นเที่ยงคืนยังขับรถกินลมสัมผัสบรรยากาศความมืดครึ้มของขุนเขาและสวยยางพารา บนถนนสายโกตาบารู - รามัน - รือเสาะ - ยี่งอ แล้วไปโผล่ถนนสายเอเซีย ( A42) ที่ อ.เมือง นราธิวาส แต่ปัจจุบันถนนสายนั้นถูกขนานนามว่าเป็นถนนสายโจร เพราะมีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นบ่อยมาก
มีครั้งหนึ่งผมได้เดินทางไปกับนักข่าวประจำจังหวัดนราธิวาส เข้าไปทำข่าวที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ติดกับเทือกเขาบูโด อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เป็นหมู่บ้านของชาวไทยมุสลิมทุกครัวเรือน ขณะที่คอยแหล่งข่าวที่จะไปสัมภาษณ์อยู่นั้น สายตาเหลือบไปเห็นเงาะโรงเรียนของชาวบ้านต้นหนึ่ง ออกผละแดงไปทั้งต้น เลยให้เพื่อนนักข่าวที่ไปด้วยกันช่วยเจรจากับลุง ("เวาะ" ในภาษามลายู) ผู้เป็นเจ้าของ เป็นภาษามลายูถิ่นว่า "จะขอซื้อเงาะสัก 5 กก."
ลุงเจ้าของเงาะต้นดังกล่าว คว้าไม้ไผ่ที่ทำเป็นขอเกี่ยว เก็บเงาะมาให้ประมาณ 1 กระสอบ ผมนึกในใจว่าเราสื่อสารผิดพลาดไปหรือเปล่า เพราะจะขอซื้อแค่ 5 กก.เอง แต่ ด้วยความเกรงใจเลยถามว่าเขาจะเอาเงินเท่าไหร่ เพราะไหนก็เก็บมาแล้ว แต่เจ้าของเงาะกลับบอกว่า
“ไม่เอาสตางค์ ให้เอาไปกินฟรีๆ เพราะเก็บไว้ก็กินไม่หมด จะขายก็ได้ไม่กี่บาท สู้มอบให้เป็นของฝากคนแปลกหน้าที่มาเยือนถึงหน้าบ้านดีกว่า เพราะไม่แน่วันหน้า วันหลัง อาจจะเจอกันอีก”
ความประทับใจนี้ยังอยู่ในความทรงจำจวบจนปัจจุบัน ความมีน้ำใจของลุง ผู้เป็นเจ้าของเงาะต้นนั้น "เงินซื้อทุกอย่างไม่ได้จริงๆ" โดยเฉพาะมิตรภาพระหว่างกัน แม้จะต่างศาสนาและวัฒนธรรม เราก็สามารถอยู่ร่วมกันได้
นั่นเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของชีวิตในจังหวัดชายแดนใต้ที่เคยได้มาสัมผัสเมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว ซึ่งผมหวังว่าจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมในเร็ววัน...
-1-
สำหรับคนภายนอกแล้วการเดินทางไปเยือนนราธิวาสอาจจะน่าหวาดหวั่น แต่ในสายตาของคนพื้นที่ "บางนรา" ยังเป็นเมืองที่เปี่ยมเสน่ห์ ทั้งจากความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ สีสันความหลากหลายทางวัฒนธรรม และผู้คนที่เต็มไปด้วยมิตรไมตรี
หากมองจากแผนที่ประเทศไทยหรือสภาพทางภูมิศาสตร์ จังหวัดนราธิวาสเป็นดินแดนที่อยู่ใต้สุดของประเทศ ความหลากหลายทางธรรมชาติจึงโดดเด่นกว่าจังหวัดปัตตานีและยะลาซึ่งมีพื้นที่ต่อเนื่องกัน เนื่องจากพื้นที่ด้านตะวันออกติดกับชายทะเลฝั่งอ่าวไทย ชาวบ้านตลอดแนวชายฝั่งทำอาชีพประมงพื้นบ้านโดยใช้เรือกอและอันเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของจังหวัดเป็นพาหนะโต้คลื่นสู่ท้องทะเล
อีกทั้งมีการวางแนวปะการังเทียมหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "บ้านปลา" เป็นแนวยาวตลอดน่านน้ำอ่าวบางนรา ตามโครงการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและวางไข่ของสัตว์น้ำตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทำให้ชาวประมงสามารถหาปลาได้ตลอดทั้งปี โดยการทำประมงที่นี่เน้นเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก ชาวประมงจะไม่ใช้เครื่องมือที่ผิดกฎหมาย ไม่จับปลาในฤดูวางไข่ และไม่จับสัตว์น้ำตัวเล็กตัวน้อย
ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันตกจะเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนตั้งแต่แนวเทือกเขาบูโดทอดตัวยาวเหยียดไปจนถึงเทือกเขาสันกาลาคีรีติดชายแดนประเทศมาเลเซีย ถือเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรป่าไม้ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ ที่สำคัญยังเป็นถิ่นกำเนิดของ " ลองกอง " ผลไม้เลื่องชื่อ จากความสมบูรณ์ดังกล่าวนี้ทำให้มีการพูดเปรียบเปรยกันว่า "ไม่ว่าพันธุ์ไม้ชนิดใดหากนำมาปลูกที่นี่ รับรองเจริญงอกงามได้หมด ขอเพียงแต่อย่าเอาส่วนปลายฝังลงดินก็แล้วกัน"
นราธิวาสหรือบางนรา ถ้านับความห่างจากกรุงเทพมหานคร กว่าพันกิโลเมตร แต่ด้วยความเจริญและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นราธิวาสไม่ไกลอย่างที่คิด เพราะมีการคมนาคมให้เลือกทั้งทางเครื่องบิน รถไฟ และรถยนต์ที่สะดวกสบายด้วยถนนสี่ช่องจราจรจนถึงชายแดนมาเลเซีย
เมื่อมาถึงนราธิวาสแล้ว แนะนำให้เริ่มต้นเที่ยวในตัวเมืองก่อน จากริมเขื่อนท่าพระยาสายที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางนรา จะเห็นเขาตันหยงเด่นเป็นสง่า ณ ที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ซึ่งชาวนราภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง พระตำหนักแห่งนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานมาประทับแรม ในระหว่างทรงเยี่ยมเยียนพสกนิกรและทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่ภาคใต้
ในพระตำหนักมีโรงงานเซรามิคและเครื่องปั้นดินเผา งานด้านศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อให้ชาวบ้านหรือสมาชิกศิลปาชีพได้เข้าไปฝึกงานฝีมือ ทั้งการปั้น การจักสาน และงานปักผ้า
ใกล้กับพระตำหนักมีหาดทรายที่สวยงามเรียกกันว่า อ่าวมะนาว ชายหาดสีขาวทอดตัวจากเขาตันหยงไปจรดแม่น้ำบางนรา มีทิวสนสีเขียวตลอดแนวชายหาดให้ความร่มรื่นแก่ผู้มาเยือน ยามเช้าจะเห็นตะวันดวงโตที่ค่อยๆ โผล่พ้นน้ำจากขอบฟ้าฝั่งตะวันออกเป็นอีกภาพหนึ่งที่น่าบันทึกผ่านเลนส์และความทรงจำ
ถือเป็นความโชคดีของชาวนราธิวาสที่มีชายหาดในเมืองถึงสองแห่ง หาดนราทัศน์ เป็นอีกชายหาดหนึ่งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวกลางเมือง ที่นี่มีหมู่บ้านชาวประมงพื้นบ้าน "ชุมชนบาเละฮิเล" นอกจากจะล่องทะเลหาปลาเป็นอาชีพหลักแล้ว กลุ่มแม่บ้านยังรวมกลุ่มกันทำข้าวเกรียบปลาหรือ "กือโปะ" รสชาติของเนื้อปลาอร่อยเต็มคำ กรอบทุกชิ้น เป็นของฝากที่รับรองว่าถูกใจผู้รับแน่นอน
ที่นี่เราจะได้เห็นศิลปะอันงดงามบน "เรือกอและ" ที่จอดเรียงรายอวดลวดลายสีสันสะดุดตาราวกับลานแสดงศิลปะหรือแกลลอรีกลางแจ้ง ซึ่งลวดลายจิตรกรรมที่เห็นทั้งสองข้างลำเรือเหล่านี้ไม่มีซ้ำกันแม้แต่ลำเดียว ทุกลำจิตรกรที่ไม่เคยผ่านการร่ำเรียนจากสำนักใด สามารถตวัดปลายพู่กันวาดได้โดยไม่ต้องร่างแบบ นับว่า "น่าทึ่งจริงๆ"
-2-
เรียกน้ำย่อยในตัวเมืองกันพอสมควร คราวนี้ลองตระเวนออกไปนอกเมืองกันบ้าง เราใช้ถนนสายนราธิวาส - ระแงะ ไปยังตำบลลำภู เพื่อแวะสักการะพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล พระพุทธรูปปางประทับนั่งประทานพรที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ องค์พระพุทธรูปประดับด้วยโมเสดสีทองเหลืองอร่าม งดงามจับตายิ่งนัก
พุทธศาสนานอกจากเป็นที่พึ่งทางใจของพุทธศาสนิกชนแล้ว หากศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เราต้องเสียดินแดนให้อังกฤษสมัยรัชกาลที่ 5 ก็จะทราบว่าในร่มบวรพุทธศาสนานี่เองที่ได้ปกป้องผืนแผ่นดินไทยที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสไว้ได้ ด้วยเพราะขณะที่ปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับอังกฤษเมื่อปี 2441 ไทยได้หยิบยก วัดชลธาราสิงเห ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตากใบมาเป็นหลักฐานในการอ้างอิงว่า ฝั่งซ้ายของแม่น้ำตากใบคือแผ่นดินไทย ทำให้ดินแดนส่วนนี้รอดพ้นจากเงื้อมมือนักล่าอาณานิคม
วัดชลธาราสิงเหจึงได้ชื่อใหม่ว่า วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย หรือวัดหลักเขต ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม วัตถุโบราณล้ำค่า และจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจ น่าศึกษา
ไหว้พระขอพรเรียบร้อยแล้ว ต้องไม่พลาดอีกหนึ่งของดีเมืองตากใบ "ปลากุเลาเค็ม" ร่ำลือกันว่ารสชาติอร่อย เมื่อทอดแล้วเนื้อปลาจะกรอบนอกนุ่มใน กลิ่นหอม คนตากใบทำปลากุเลาเค็มขายเพียงอาชีพเดียวก็สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ เพราะราคาต่อกิโลกรัมละประมาณ 700-1,000 บาท แต่กว่าจะได้มาต้องใช้เวลาและกรรมวิธีหลายขั้นตอนมาก ใครได้ชิมแล้วจะรู้ว่าคุ้มค่า คุ้มราคาจริงๆ
จากชายฝั่งทะเลวกเข้าป่าปีนเขาซึมซับบรรยากาศดิบๆ ของธรรมชาติ หลายคนคงได้ยินชื่อ ผืนป่าฮาลา - บาลา แห่งเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อ.แว้ง และสุคีริน ติดชายแดนมาเลเซีย มีสภาพเป็นป่าดิบเมืองร้อนที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ เป็นต้นกำเนิดพันธุ์ไม้หายากหลายชนิด เช่น ปาล์มบังสูรย์ ใบไม้สีทอง, เถาดาโอ๊ะ ที่มีสีของใบต่างกันตามช่วงฤดูกาล ตั้งแต่เงิน นาก ทอง นี่คือความมหัศจรรย์ของธรรมชาติและถือเป็นไม้มงคลของจังหวัดนราธิวาสที่ใครๆ อยากมีไว้ประดับบ้าน
นอกจากนี้ป่าฮาลา-บาลา ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อย่าง "นกเงือก" ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าดิบเมืองร้อน โดยเฉพาะที่เทือกเขาบูโดไปจนถึงสันกาลาคีรีมีนกเงือกอาศัยอยู่ถึง 6 ชนิด คือ นกชนหิน นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ นกเงือกกรามช้าง และ นกเงือกหัวแรด นับว่ามากที่สุดเท่าที่มีการค้นพบทั้งหมด 13 ชนิดในประเทศไทย
กว่า 10 ปีแล้วที่โครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ลงมาสร้างเครือข่ายให้ชุมชนที่อาศัยอยู่รอบๆ ผืนป่ามาร่วมกันอนุรักษ์นกเงือกเหล่านี้ ปัจจุบันมีทั้งรังนกเงือกตามธรรมชาติและรังเทียมที่เจ้าหน้าที่สร้างให้ อยู่ในความดูแลของชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ของโครงการฯ ทำให้มีจำนวนนกเงือกเพิ่มขึ้นทุกปี
-3-
หากกล่าวถึงของดีเมืองนรา นอกจากธรรมชาติ วัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมแล้ว ผู้คนก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เมืองที่ดูเหมือนตกอยู่ในสถานการณ์ความรุนแรงแห่งนี้ งดงามน่าประทับใจ
เมื่อครั้งเกิดเหตุคาร์บอมบ์ที่ข้างธนาคารกสิกรไทย สาขารือเสาะ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โชคดีที่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บและสูญเสีย ผมได้พบกับสองผู้เฒ่าหัวใจแกร่งแห่งรือเสาะ นายฮวงซิว แซ่ลี่ อายุ 84 ปี และนางอี้บ๊วย แซ่เซ่า อายุ 78 ปี สองสามีภรรยาที่อายุอานามรวมกันได้ 162 ปี เป็นเจ้าของร้านขายน้ำชา กาแฟโบราณ ที่โบราณจริงๆ เพราะเปิดขายมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจนแก่เฒ่าปูนนี้
ลองคิดกันเล่นๆ ว่า "น้ำ" ที่ใช้ต้มกาแฟหมดไปแล้วกี่ร้อยกี่พันโอ่งตรามังกร เพราะยาวนานมากว่า 50 ปีแล้วที่ร้านเก่าแก่แห่งนี้เปิดให้บริการชาวบ้านย่านตลาดรือเสาะ ไม่คิดจะย้ายหนีไปไหน แม้ลูกๆ ซึ่งออกเหย้าออกเรือนไปหมดแล้ว ต่างมีหน้าที่การงานเป็นหลักเป็นแหล่งอยู่นอกพื้นที่จะชวนไปอยู่ด้วย แต่สองผู้เฒ่าไม่ยอมไป...
"อย่ามาชวนเสียให้ยาก" คำพูดที่ออกจากปากอากง
ถามว่ากลัวไหมกับเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ที่ห่างจากร้านไม่ถึง 10 เมตร
อาก๋งฮวงซิว ตอบอย่างฉาดฉานเสียงดังฟังชัดว่า
" กลัวซิ ! แต่จะไม่หนีไปไหนอยู่มันแบบกลัวๆ อย่างนี้แหละ..."
น่านับถือจริงๆ อย่างนี้ถึงจะเรียกว่า "ยอดนักสู้" แม้จะกลัว แต่ความกล้าและความแกร่งมีมากกว่า... หากใครมีโอกาสแวะไป " รือเสาะ" อยากชวนให้มานั่งจิบกาแฟ เยี่ยมคารวะสองผู้เฒ่ารักถิ่นได้ที่ร้านกาแฟโบราณ (จริงๆ) ที่บ้านเลขที่ 26 ถนนรือเสาะสนองกิจออก อยู่ในเขตเทศบาลรือเสาะใกล้แบงก์กสิกรไทย รับรองว่าจะได้จิบกาแฟหอมกรุ่นและสัมผัสบรรยากาศที่ชาวบ้านเขาอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาและพึ่งพิง จนอดนึกสงสัยไม่ได้ว่า "ที่ยิงกันเป็นฝีมือใคร"
แม้ปัจจุบันเราจะปฏิเสธไม่ได้ว่า "นราธิวาส" อยู่ในสถานะเดียวกันกับจังหวัดชายแดนภาคใต้อื่นที่ตกอยู่ภายใต้ความขัดแย้งทางความคิด จนก่อให้เกิดการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงมาเป็นระยะเวลานาน หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็พยายามฟื้นฟูสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ ที่มีความแตกต่างทางด้านวิถีชีวิต เชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม โดยยึดหลัก "แตกต่างแต่ไม่แตกแยก"
แต่สำคัญที่สุด คนนราธิวาสอยากให้คนภายนอกได้รู้จักเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "ที่อยู่ของคนดี " แห่งนี้ว่า...ยังมีสิ่งที่ดีๆ ที่งดงามอีกมากมาย
การเดินทาง
นราธิวาสห่างจากกรุงเทพฯ 1,149 กิโลเมตร ถ้าชอบขับรถจากหาดใหญ่สามารถเดินทางไปจังหวัดนราธิวาสได้โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 43 (หาดใหญ่-ปัตตานี) แล้ว เลี้ยวซ้ายเข้าสู่จังหวัดปัตตานี ไปยังจังหวัดนราธิวาสโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) อีกประมาณ 100 กิโลเมตร
รถโดยสารมีทั้งแบบธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่ทุกวัน ติดต่อสอบถามได้ที่ 0-2435-1200 หรือหากจะเลือกใช้บริการรถไฟก็มีรถด่วนและรถเร็วทุกวัน จากกรุงเทพฯ (สถานีหัวลำโพง) ถึงนราธิวาส (สถานีตันหยงมัส) สอบถามโทร. 0-2223-7010, 0-2223-7020
สำหรับคนที่ต้องการความสะดวกสบาย สายการบินแอร์เอเชียมีเที่ยวบินจากสุวรรรณภูมิ-นราธิวาส ทุกวัน ส่วนสายการบินโอเรียนท์ไทย วัน-ทู-โก ออกเดินทางจากดอนเมือง-นราธิวาส สอบถามข้อมูลเพิ่มติมได้ที่ 1126