จาก โพสต์ทูเดย์
ในการแต่งตั้งไม่ว่าตำแหน่งใด ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ อธิบดี ต้องมีหลักยึดความรู้ความสามารถมากกว่าเส้นสาย ดังนั้นทาง ก.พ. จึงได้ออกกฎระเบียบกำหนดคุณสมบัตินักปกครอง....
โดย...ปริญญา ชูเลขา
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาการแต่งตั้งโยกย้าย ข้าราชการระดับสูงในกระทรวงมหาดไทยสร้างความขัดแย้งระหว่างสองพรรคใหญ่ รัฐบาลผสมระหว่าง พรรคประชาธิปัตย์ และ พรรคภูมิใจไทย อย่างมาก ล่าสุดกรณีแต่งตั้ง นายมงคล สุระสัจจะ อธิบดีกรมการปกครอง ที่กำลังจ่อขึ้นปลัดกระทรวง แต่ต้องโดนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเบรกฟ้าผ่าให้ตรวจสอบปัญหาเรื่องการทุจริตการจัดซื้อ คอมพิวเตอร์เสียก่อน
นี่ไม่ใช่ความขัดแย้งระลอกแรกระหว่าง 2 พรรคใหญ่ แต่กำลังจะเกิดขึ้นอีกหลายระลอกจากการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เพราะเป็นตำแหน่งใหญ่ที่ทุกฝ่ายต่างหมายปองที่จะให้คนของตัวเองเข้าไปนั่ง เพราะมากล้นทั้งอำนาจ งบประมาณ และฐานเสียงทางการเมือง ดังนั้นจึงเกิดคำถามตามมาว่า
ในการแต่งตั้งไม่ว่าตำแหน่งใด ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ อธิบดี ต้องมีหลักยึดความรู้ความสามารถมากกว่าเส้นสาย ดังนั้นทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จึงได้ออกกฎระเบียบกำหนดคุณสมบัตินักปกครอง หรือ ข้าราชการมหาดไทยต้องมี จึงจะผ่านเกณฑ์ส่งชื่อให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา เช่นกันเป็นสิ่งที่ฝ่ายการเมืองควรรับรู้ไว้ด้วย
ทั้งนี้ ก.พ.ได้มีมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง สายงานบริหารงานปกครอง ที่มีลักษณะงานโดยทั่วไป สายงานนี้คลุมถึงตำแน่งต่างๆ ที่ปฏิบัติงานบริหารราชการประจำของจังหวัดในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัด และรองผู้ว่าฯ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนงานที่อยู่ในความ รับผิดชอบให้สอดคล้องกับกฎหมาย นโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นต่ออธิบดี ปลัดกระทรวง รัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการที่เกี่ยวกับราชการในหน้าที่และความรับผิดชอบปกครองบังคับ บัญชาทรัพยากรบุคคลในจังหวัดนั้นๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
สำหรับหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ปฏิบัติงานในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ.กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบ หมาย
1.ด้านแผนงาน (1) วางแผนการบริหารงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และงานบริหารราชการของจังหวัด เพื่อควบคุมดูแลการบริหารราชการและการปฏิบัติงานให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส และประสบผลสำเร็จตามเป้า
(2)กำหนดทิศทาง แนวนโยบาย ประเด็นกลยุทธ์ ความคาดหวังและเป้าหมายความสำเร็จของจังหวัด วางกรอบความคิด ในภาพรวมและส่วนย่อย โดยเชื่อมโยงกับพันธกิจของจังหวัด กระทรวง และกรม เพื่อผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ จังหวัด (3) กำกับ ติดตามเร่งรัด การดำเนินงานของส่วนราชการในส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามทิศทาง แนวนโยบาย กลยุทธ์ที่กำหนดไว้ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ ตามที่กำหนดไว้
2.ด้านบริหารงาน (1) บริหารราชการฐานะผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อแปลงนโยบายของรัฐบาลเป็นแนวทางและแผนบริหารราชการ หรือแผนกลยุทธ์การปฏิบัติราชการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (2)สั่งราชการ มอบหมาย อำนวยการ ควบคุม ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข ตัดสินใจแก้ปัญหา ประเมินผลการปฏิบัติงาน และให้คำปรึกษาแนะนำการปฏิบัติราชการ เพื่อให้ผลการปฏิบัติราชการบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่ส่วนราชการกำหนด ไว้
(3)ปรับปรุง หรือเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงแนวทาง มาตรฐาน ระบบงานกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในเรื่องต่างๆ เพื่อการปฏิบัติราชการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน (4)พิจารณาอนุมัติ อนุญาต ดำเนินการต่างๆ ตามภารกิจของส่วนราชการในจังหวัดเพื่อผลสัมฤทธิ์ภารกิจของรัฐ (5)เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่างๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เพื่อการพิจารณาให้ความเห็นหรือการตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง (6)ประสานงานกับองค์กรภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมในระดับผู้นำที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือหรือแก้ปัญหาใน การปกิบัติราชการของจังหวัด
3. ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล (1) ปกครองบังคับบัญชา กำกับดูแล และพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลตามหลักคุณธรรม และ (2) บริหารทรัพยากร บุคคลของส่วนราชการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ข้าราชการได้อย่างเป็นธรรม 4. ด้านบริหารทรัพยากรและงบประมาณ (1) วางแผน ติดตาม ควบคุม และตรวจสอบการใช้งบประมาณและทรัพยากรของจังหวัด เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกิดประสิทธิภาพและคุ้มค่า บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของจังหวัด และ (2) บริหารงานการคลัง และการควบคุมการเบิกจ่ายเงินแผ่นดินให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าและ เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้คุณสมบัติสำหรับตำแหน่ง คือ 1.ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมาแล้ว ดังต่อไปนี้ 1.1ประเภทบริหาร ระดับสูง 1.2ประเภทบริหาร ระดับต้นไม่น้อยกว่า 1 ปี 1.3 ประเภทบริหาร ระดับต้น และ ประเภทอำนวยการ รวมกันไม่น้อยกว่า 3 ปี 1.4 ประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ.กำหนด หรือ เคยดำรงตำแหน่งข้างต้นรวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี และ 1.5 ตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบเท่า 1.1 หรือ 1.2 หรือ 1.3 แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ.กำหนด
และ 2.ผ่านการอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงของสำนักงาน ก.พ.หรือผ่านการอบรมหลักสูตรนักปกครองระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย หรือผ่านการอบรมหลักสูตรใดๆที่ก.พ.พิจารณาให้เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเสมือน ได้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงของสำนักงาน ก.พ.หากยังไม่เคยผ่านการอบรมหลักสูตรดังกล่าวมาก่อน จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมภายในระยะเวลา 1 ปี นักจากวันที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง