จาก โพสต์ทูเดย์
เปิดรายละเอียดร่างพ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ กฎหมายบำนาญประชาชนหวังช่วยแก้ปัญหาความยากจนในช่วงบั้นปลายชีวิต
โดย....นิติพันธุ์ สุขอรุณ
สภาพสังคมความเป็นอยู่ของประชาชนคนไทย ที่ไม่สามารถหลุดพ้นจากปัญหาความยากจนในบั้นปลายชีวิตได้ จน นำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาของรัฐบาล ด้วยการให้ประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการ ที่ก่อนหน้านี้ได้มีการออกมีนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยรัฐจะจ่ายเงินให้ผู้สูงอายุรายละ 500 บาท/เดือน
แต่ในสภาพความเป็นจริงที่ค่าครองชีพในสังคม เงินจำนวนเพียง 500 บาท ไม่สามารถจะยังชีพผู้สูงอายุได้อย่างเพียงพอ แนวทางการแก้ปัญหาของรัฐบาลในยุค “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรี จึงริเริ่มคิด ร่างพระราชบัญัติกองทุนออมแห่งชาติ พ.ศ. .... (กอช.) หรือจะเรียกง่ายๆว่า พ.ร.บ.บำนาญ ประชาชน และจะเร่งบรรจุระเบียบวาระการประชุมสภา เป็นกรณีพิเศษ
“วิทยา แก้วภราดัย” ประธานคณะกรรมการประสานงาน ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) เปิดเผยว่า พ.ร.บ.กองทุนแห่งชาติ มีวัถุประสงค์ให้ประชาชนอายุหว่าง 20-60 ปี ซึ่งไม่ได้อยู่ในภาคแรงงาน หรือ ราชการ ที่มีจำนวนประมาณ 26 ล้านคน หรือคิดเป็น 70 % ของแรงงานทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และอาชีพอิสระต่างๆ ได้เข้าสู่ระบบเมื่อเกษียนอายุ 60 ปี ทั้งนี้ประชาชนตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไปสามารถแสดงความจำนงสะสมเงินออมเป็นรายเดือนของตนเอง และรัฐบาลก็จะสมทบเงินออมให้ ถือเป็นการช่วยเหลือประชาชนในระยะยาว
วัตุประสงค์ในการดูแลผู้สูงอายุโดยให้เป็นภาระต่อรัฐให้น้อยที่สุด ทางออกของการแก้ปัญหาเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่จะได้รับเงินจำนวน 500 บาท ต่อเดือน หากต้องการเพิ่มเป็น 1,250 บาทต่อเดือน จะต้องใช้งบประมาณ 16,000-17,000 ล้านบาท แต่เมื่อมี กอช. จะทำให้รัฐสามารถใช้งบประมาณเพียง 4,000 ล้านบาท และยังเป็นการฝึกนิสัยการออมแก่ประชาชน ทั้งนี้ผู้ที่เป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคมอยู่แล้ว ไม่สามารถลาออกมาเป็นสมาชิกกองทุนนี้ได้ ซึ่งผลประโยชน์ที่จะได้รับจากกองทุนจะเป็นรูปแบบของบำนาญเท่านั้น โดยจ่ายให้จนกว่าจะเสียชีวิต
ชำแหละร่างพ.ร.บ.กองทุนแห่งชาติ พ.ศ. .....
ในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ผู้ที่มีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกได้จะต้องเป็น ผู้ปะกอบอาชีพอิสระ เช่น เกษตรกร ค้าขาย รับจ้างทั่วไป คนขับรถแท็กซี่ แม่บ้าน สถาปนิก แพทย์ ทนายความ ,นักการเมือง (ส.ส.) นักการเมืองท้องถิ่น ได้แก่ นายก อบจ. สมาชิกสภาจังหวัด นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศมนตรี ,สมาชิกองทุนสวัสดิการชุมชน (ไม่มีกฏหมายจัดตั้งกองทุน),ลูกจ้างรายวันหรือรายสัปดาห์ของบริษัทเอกชน ,ลูกจ้างชั่วคราว ของส่วนราชการที่ไม่ใช่ลูกจ้างรายเดือน และลูกจ้างชั่วคราว รัฐวิสาหกิจที่ไม่เข้าประกันสังคม
คำถาม? การจะรับเงินจากกองทุนทำได้อย่างไร
1.กรณีอายุครบ 60 ปี จะได้รับเงินบำนาญตลอดชีวิต เป็นการคืนเงินที่เหลือหากเสียชีวิต หากมีเงินในบัญชีไม่ถึงจำนวนบำนาญขั้นต่ำจะจ่าย “เงินดำรงชีพ”เท่ากับบำนาญขั้นต่ำ จ่ายเป็นรายเดือนจนกว่าเงินในบัญชีจะหมด
2.กรณีทุพพลภาพ จะได้รับสิทธิรับเงินก้อน =ไม่เกิน (จำนวนเงินสะสม + ผลประโยชน์เงินสะสม) เนื่องจากเงินสมทบ และเงินที่คงไว้ในกองทุน (ถ้ามี) จะเก็บไว้จ่ายบำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปี หรือออมต่อหรือไม่ก็ได้
3.กรณีลาออกจากกองทุน จะได้รับสิทธิรับเงินก้อน =ไม่เกิน (จำนวนเงินสะสม + ผลประโยชน์เงินสะสม) และสามารถกลับมาเป็นสมาชิกได้อีก
4.กรณีเสียชีวิต รับเงินก้อน เท่ากับ จำนวนเงินในบัญชี จะจ่ายให้แก่ทายาท หากไม่มีทายาทจะจ่ายให้ผู้สมาชิกแจ้งไว้กับกองทุน
ตารางจะแสดงบำนาญที่คาดว่าจะได้รับ
บำนาญที่คาดว่าจะได้รับ |
|||||||
ช่วงอายุผู้ออม(ปี) |
รัฐสมทบ/เดือน(บาท) |
กรณีสมเดือนละ 100 บาท |
กรณีสะสมอัตราแนะนำ |
||||
เงินสะสม |
บำนาญ |
บำนาญ+เบี้ยยังชีพ |
เงินสะสม |
บำนาญ |
บำนาญ+เบี้ยยังชีพ |
||
บรรลุนิติภาวะแต่ไม่เกิน 30 ปี |
50 |
100 |
1,251.92 |
1,751.92 |
200 |
3,414.38 |
3,914.38 |
มากกว่า 30 ปี แต่ไม่เกิน 50 ปี |
80 |
100 |
770.31 |
1,270.31 |
500 |
2,611.69 |
3,111.69 |
มากกว่า 50 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี |
100 |
100 |
166.60* |
666.60 |
700 |
666.42 |
1,166.42 |