สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โรคคิดถึงบ้าน...ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับบ้าน

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ เฮลท์ เทรนด์


ช่วง นี้โรงเรียนในไทยอยู่ในระหว่างปิดภาคเรียน แต่สำหรับสถานศึกษาในสหรัฐภาคเรียนใหม่เริ่มต้นมาได้เดือนเศษแล้ว นานพอที่จะเปลี่ยนความรู้สึกตื่นเต้นในช่วงแรกของนักเรียนนักศึกษาบางคนให้ กลายเป็นอย่างอื่น

ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า ไคลา เพนา-เฮอร์นันเดซ คือหนึ่งในจำนวนนั้น ตอนแรกที่เธอย้ายจากเปอร์โตริโกบ้านเกิดมาเรียนต่อระดับปริญญาเอกที่ มหาวิทยาลัยมิสซูรี สหรัฐอเมริกา สิ่งเดียวที่ท่วมท้นคือความตื่นเต้นต่อชีวิตใหม่ เมืองใหม่ สังคมใหม่

"ทุกอย่างมีแต่คำว่า ว้าว ว้าว ว้าว" เธอกล่าว

เมื่อ ถึงสัปดาห์ที่สาม ความตื่นตาตื่นใจเริ่มเลือนหาย เธอได้แต่นอนนิ่งอยู่บนเตียงในห้องมืดสนิท เหม่อมอง ออกไปยังท้องฟ้า คิดถึงครอบครัวและเพื่อน ๆ ที่จากมา

ไคลาระบุว่า "แม้อะไร ๆ จะสะดวกสบาย แต่ยังไงมันก็ไม่ใช่บ้าน"

เมื่อ สิ่งที่คุ้นเคยถูกแทนที่ด้วยสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ที่พักเปลี่ยนจากบ้านอันอบอุ่นเป็นหอพักที่มีแต่คนแปลกหน้า อาการโหยหาสิ่งที่เคยคุ้นหรือโรคคิดถึงบ้านย่อมมาเยี่ยมเยือนได้ไม่ยาก คนที่มีอาการดังกล่าวจะรู้สึกกระวนกระวาย โศกเศร้า และวิตกกังวล แต่หลายครั้งที่โรคคิดถึงบ้านไม่ได้เชื่อมโยงกับบ้านโดยตรงเสมอไป

"จอ ช คลาพาว" นักจิตวิทยาจากวิทยาลัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอลาบามา ชี้ว่า อาการเหล่านี้มาจากความต้องการความรัก ความมั่นคงปลอดภัยตามสัญชาตญาณของมนุษย์ ความรู้สึกเหล่านั้นล้วนเชื่อมโยงกับบ้านหรือครอบครัว และเมื่อมันไม่ปรากฏในสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ เราจึงโหยหาและคิดถึงที่ที่มีมันอยู่ซึ่งก็คือบ้าน

คลาพาวกล่าวว่า "จริง ๆ แล้วคุณไม่ได้คิดถึงบ้านหรอก แต่คิดถึงความปกติ กิจวัตร ที่ทางของตัวเองในหมู่คนที่สนิทชิดเชื้อกัน เพราะสิ่งเหล่านี้ช่วยให้เราผ่านพ้นเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตมาได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก 8 ขวบที่ไปเข้าค่ายฤดูร้อน วัยรุ่น 18 ปีที่เข้ามหาวิทยาลัย หรือผู้ใหญ่อายุ 28 ที่เข้าเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง ล้วนมีอาการไม่ต่างกัน"

สำหรับบางคนโรคคิดถึงบ้านอาจหายไปในช่วงไม่ กี่สัปดาห์ แต่บางคนอาจทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนทำให้ผู้ป่วยถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ และขาดปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น

ผู้ เชี่ยวชาญแนะนำว่า พ่อแม่ไม่ควรรีบรับตัวลูกกลับบ้านทันทีที่พวกแกบ่นคิดถึงบ้าน เพราะเป็นการขัดขวางการพัฒนาทักษะแก้ไขหรือจัดการปัญหาในชีวิต การโทรศัพท์หรือส่งข้อความทุก ๆ ชั่วโมงก็ไม่ใช่ทางแก้

คลาพาวแนะ ให้ผู้ปกครองกำหนดช่วงเวลาติดต่อที่ชัดเจน เช่น โทร.หาสัปดาห์ละครั้ง ส่งอีเมล์ถึงลูก 2-3 ครั้ง เป็นต้น เนื่องจากแรงสนับสนุนจากครอบครัวที่ไม่มากไม่น้อยเกินไป ช่วยให้เด็กปรับตัวได้ดีและลดการพึ่งพาพ่อแม่

ส่วนไคลานั้นด้วยความช่วยเหลือของเพื่อนใหม่และ โบสถ์ รวมถึงการกลับไปเยี่ยมบ้านปีละครั้ง ช่วยให้เธอได้เป็นด็อกเตอร์สมใจ

นัก จิตวิทยาชี้ว่า เราเป็นโรคคิดถึงบ้านเพราะมีบางสิ่งที่เรารัก ความคิดถึงเป็นผลข้างเคียงของความผูกพัน ถ้าปราศจากสิ่งนี้แล้ว คนเราจะไม่ระลึกถึงใครหรืออะไร เมื่อเราจากไกล

Tags : โรคคิดถึงบ้าน ไม่จำเป็น เกี่ยวกับบ้าน

view