เปิดหลักเกณฑ์สรรพากรหักลดหย่อนภาษีช่วยผู้บริจาคน้ำท่วม
กรมสรรพากรออกเอกสารข่าวแจ้งว่า ตามที่ขณะนี้หลายพื้นที่ของประเทศประสบภัยน้ำท่วม สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก จนมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยรับ เงินบริจาคและสิ่งของ เพื่อรวบรวมส่งไปใช้บรรเทาทุกข์มาอย่างต่อเนื่องนั้น กรมสรรพากร จึงได้เสนอมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยและผู้บริจาคเงิน / สิ่งของบรรเทาทุกข์ ให้แก่ผู้เดือดร้อนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน 2553 โดยที่ประชุม คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมาตรการภาษีของกรมสรรพากรดังกล่าว ดังมีรายละเอียดความช่วยเหลือสำคัญพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. กรณีเงินบริจาค
1.1 ผู้บริจาคที่เป็นบุคคลธรรมดา ได้จ่ายเงินหรือโอนเงินเข้าบัญชีช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งจัดโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล(เป็นตัวแทนรับเงินบริจาคให้แก่ ผู้ประสบภัย ) ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 อสมท. หรือกองทุนภาคเอกชน เป็นต้น สามารถนำเงินบริจาคนั้นหักลดหย่อนได้ตามจริง ( รวมกับเงินบริจาคอื่นๆ ด้วย ) แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว
1.2 ผู้บริจาคที่เป็นบริษัท / ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคนำมา หักรายจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิในปีที่บริจาค นอกจากนี้ กรณีทรัพย์สินหรือสินค้า ที่นำไปบริจาคก็ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ถือเป็นการขาย
1.3 ผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยที่ลงทะเบียนไว้กับศูนย์หรือ หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือของทางราชการ เมื่อได้รับเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค จะได้รับยกเว้นเงินได้พึงประเมินเท่าจำนวนความเสียหาย โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีในปีที่เกิดรอบภาษีนั้นๆ
1.4 บุคคลธรรมดาที่ประสบอุทกภัย เมื่อได้รับการช่วยเหลือหรือชดเชยที่มีมูลค่าไม่เกินความเสียหายได้รับยก เว้นภาษีเงินได้จากเงิน / ทรัพย์สินที่ได้รับจริงเพื่อการนี้ รวมถึงกรณีที่ผู้ประสบอุทกภัยได้รับเงินชดเชยจากภาครัฐก็ได้รับการยกเว้น ภาษีเงินได้ด้วย
1.5 ผู้รับบริจาคหรือผู้รับเงินชดเชยจากภาครัฐที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ประสบอุทกภัย ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคนั้นเช่น เดียวกัน
2. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับ จากการประกันภัย เพื่อชดเชยความเสียหาย ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือ จากการหัก ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาแล้ว
3. การขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ที่ต้องยื่นแบบในเดือนกันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม 2553 ได้รับการขยายเวลาโดยให้นำไปยื่นภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2553 ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่ประสบภัยในพื้นที่ที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดใน ภายหลัง
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า มาตรการภาษีให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ( อุทกภัย ) ในครั้งนี้ เป็นมาตรการที่ใช้และได้รับการกลั่นกรองอย่างครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้องทุก ฝ่ายแล้ว ซึ่งเป็นสิทธิที่ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปใช้หักลดหย่อนหรือหักค่าใช้จ่าย เป็นการบรรเทาภาระภาษีที่เกิดขึ้นในระหว่าง ภัยพิบัติได้ เพื่อช่วยเหลือด้านสภาพความเป็นอยู่ของผู้รับบริจาค รวมทั้ง ผู้ที่เข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุนหรือเป็นตัวแทนระดมความช่วยเหลือ การลดภาระภาษีจากค่าสินไหม ค่าทดแทน ค่าชดเชยใด ๆ ที่ผู้ประสบภัยจะได้รับจากภาครัฐหรือภาคเอกชน ที่มุ่งให้เกิดการฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ อันเป็นการตอบสนองน้ำใจของผู้เสียสละ ร่วมบริจาคให้ ถือเป็นจิตสำนึกสำคัญที่มอบความร่วมมือที่ดีและมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ในเหตุอุทกภัย ครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในหลายภูมิภาคของประเทศในขณะนี้
สรรพากรให้สิทธิลดหย่อนภาษีบริจาคน้ำท่วม
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
สรรพากรคลอดหลักเกณฑ์ลดหย่อนภาษีเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม! ได้สิทธิเต็มที่ไม่ว่าจะบริจาคผ่านหน่วยงานรัฐ-เอกชน
ที่ ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (2พ.ย.) มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีของกรมสรรพากรเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยและผู้ บริจาคเงิน/สิ่งของบรรเทาทุกข์ โดยให้สามารถหักลดหย่อนได้เต็มตามสิทธิที่ได้รับไม่ว่าจะเป็นการบริจาคผ่าน หน่วยงานรัฐ หรือภาคเอกชน
สำหรับหลักเกณฑ์การขอหัหลดหย่อนนั้น ได้แก่
กรณีเงินบริจาค
ผู้บริจาคที่เป็นบุคคลธรรมดา ได้จ่ายเงินหรือโอนเงินเข้าบัญชีช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งจัดโดย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ( เป็นตัวแทนรับเงินบริจาคให้แก่ผู้ประสบภัย ) ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 อสมท. หรือกองทุนภาคเอกชน เป็นต้น สามารถนำเงินบริจาคนั้นหักลดหย่อนได้ตามจริง(รวมกับเงินบริจาคอื่นๆด้วย) แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว
ผู้บริจาคที่เป็นบริษัท / ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคนำมาหักรายจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิในปีที่บริจาค นอกจากนี้กรณีทรัพย์สินหรือสินค้าที่นำไปบริจาคก็ได้รับยกเว้นภาษี
มูลค่าเพิ่มโดยไม่ถือเป็นการขาย
ผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยที่ลงทะเบียนไว้กับศูนย์หรือ หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือของทางราชการ เมื่อได้รับเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค จะได้รับยกเว้นเงินได้พึงประเมินเท่าจำนวนความเสียหาย โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีในปีที่เกิดรอบภาษีนั้นๆ
บุคคลธรรมดาที่ประสบอุทกภัย เมื่อได้รับการช่วยเหลือหรือชดเชยที่มีมูลค่าไม่เกินความเสียหาย ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากเงิน/ทรัพย์สินที่ได้รับจริงเพื่อการนี้ รวมถึงกรณีที่ผู้ประสบอุทกภัยได้รับเงินชดเชยจากภาครัฐก็ได้รับการ
ยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย
ผู้รับบริจาคหรือผู้รับเงินชดเชยจากภาครัฐที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ประสบอุทกภัย ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคนั้นเช่น เดียวกัน
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้ รับจากการประกันภัย เพื่อชดเชยความเสียหาย ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือ จากการหัก ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาแล้ว
การขยายเวลาการยื่นแบบแสดง รายการภาษี สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ที่ต้องยื่นแบบในเดือนกันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม 2553 ได้รับการขยายเวลาโดยให้นำไปยื่นภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2553 ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่ประสบภัย ในพื้นที่ที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศ
กำหนดในภายหลัง
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า "มาตรการภาษีให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ(อุทกภัย)ในครั้งนี้ เป็นมาตรการที่ใช้และได้รับการกลั่นกรองอย่างครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้องทุก ฝ่ายแล้ว ซึ่งเป็น สิทธิที่ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปใช้หักลดหย่อนหรือหักค่าใช้จ่าย เป็นการบรรเทาภาระภาษีที่เกิดขึ้นในระหว่างภัยพิบัติได้"