จาก โพสต์ทูเดย์
ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่คณะกรรมการพิจารณาแนวทางแก้ไขรัฐ ธรรมนูญที่โพสต์ทูเดย์ดอทคอมนำเสนอก่อนหน้านี้ พอจะชี้ให้เห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญยังเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนให้มากกว่า นี้....
โดย...ธรรมสถิตย์ ผลแก้ว
ทันที่ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ประเด็น คือ มาตรา 190 กรอบข้อตกลงสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภา และ มาตรา 93-98 ว่าด้วยระบบเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากเขตเดียวเรียงเบอร์เป็นเขตเดียวเบอร์เดียว
เริ่มมีปฏิกริยาต่อต้านแล้ว ทั้งฝ่ายพรรคเพื่อไทยที่ไม่ขอสังฆกรรมแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ ตามมาด้วยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) แถลงจุดยืนคัดค้านไม่เห็นด้วย ถ้าจะแก้ไขต้องผ่านประชามติจากประชาชน
ทั้งนี้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพธม.เรียกร้องด้วยว่า ข้อเสนอของคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีนายสมบัติ ธำรงค์ธัญวงศ์ เป็นประธาน นั้น ยังไม่เพียงพอ เพราะเป็นเรื่องของทั้งประเทศไม่ใช่ตัวแทนเพียงกลุ่มเดียว
ตอกย้ำผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่คณะกรรมการพิจารณาแนวทางแก้ไขรัฐ ธรรมนูญที่โพสต์ทูเดย์ดอทคอมนำเสนอก่อนหน้านี้ พอจะชี้ให้เห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญยังเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนให้มากกว่า นี้
โอกาสนี้ โพสต์ทูเดย์ขอนำผลสำรวจประชาชนทั่วประเทศชุดนายสมบัติ ที่ได้มอบหมายให้สำนักงานสถิติแห่งชาติไปสำรวจ โดยสำนักงานสถิติได้เลือกเป็นตัวอย่าง 6,000 ราย ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญนำเสนออีกครั้ง
เริ่มจาก ความคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550
กรณีการอ่านรัฐธรรมนูญ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ 49.8 % ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญ 2550 เลย ที่อ่านเป็นส่วนน้อย 37.7 % อ่านเป็นส่วนใหญ่ 9.8 % และเคยอ่านทั้งหมด 2.8 %
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
ผลสำรวจ พบว่า ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับน้อยจนแทบจะไม่มีความรู้หรือไม่เข้า ใจ โดยทั้งสองกลุ่มมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันประมาณ 37.7 % และ 37.3 % ที่มีความรู้ความเข้าใจรัฐธรรมนูญฯปานกลาง 22.9 % และมากกว่า 2.1 %
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ประชาชนส่วนใหญ่ 34.1 % ควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 12.9 เปอร์เซนต์ไม่ควรแก้ไขและที่ระบุว่ายังไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ 53.0 เปอร์เซนต์
การจัดตั้งสมาชิกสภาร่งรัฐธรรมนูญ (สสร)
ผลสำรวจ พบว่า เมื่อสอบถามประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐะรรมนูญทั้งฉบับว่าควรจะมีการจัด ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.) ทำนองเดียวกับ สสร. ปี 5240 หรือไม่นั้น ผลสำรวจพบว่า ประชาชน 45.2 % เห็นด้วยว่าควรมีการจัดตั้งสสร. ทำนองเดียวกับปี 2540 ขณะที่ 9.9 % ไม่เห็นด้วย และ 44.9 % ไม่มีความคิดเห็น
ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอของคณะกรรมการฯ 6 ประเด็น
ประเด็นที่ 1 เรื่องการทำหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภา (มาตรา 190 )
จากการสอบถาม พบว่า ประชาชน 46.4 % เห็นด้วยกับสาระที่แก้ไข ควรกำหนดประเภทของหนังสือสัญญาให้ชัดเจนไปเลยว่าเรื่องใดบ้างที่ต้องผ่าน ความเห็นชอบจากรัฐสภา นั่นคือ ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบทุกเรื่อง ขณะที่ 17.9 % เห็นด้วยกับสาระเดิมว่าการทำหนังสือสัญญาทุกเรื่องต้องได้รับความเห็นชอบของ สภา 0.7 % ไม่เห็นด้วยทั้งสาระที่แก้ไขและสาระเดิม และ 35.0 % ไม่มีความเห็นประเด็นนี้
ประเด็นที่ 2 เรื่องที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส.ส. (มาตรา 93-98 )
-การเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 39.7 % เห็นด้วยแก้ไขเป็นเขตเดียวเบอร์เดียว ขณะที่ 33.0 %เห็นด้วยกับสาระเดิมให้แบ่งเขตเลือกตั้งแบบเขตเดียวหลายคน และ 0.9 % ไม่เห็นด้วยทั้งสาระที่แก้ไขและสาระเดิม และ 26.4 % ไม่มีความคิดเห็นประเด็นนี้
-การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
ประชาชนส่วนใหญ่ 37.6 % เห็นด้วยกับสาระที่แก้ไขใช้เพียงบัญชีเดียวทั่วประเทศ ขณะที่ 29.7 % เห็นด้วยกับสาระเดิมว่าใช้บัญชีรายชื่อโดยแบ่งเป็นแปดกลุ่มจังหวัด และ 1.0 % ไม่เห็นด้วยทั้งสาระที่แก้ไขและสาระเดิม และ 31.7% ไม่มีความคิดเห็นประเด็นนี้
- การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)
ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนที่เห็นด้วยกับสาระที่แก้ไข (ให้ส.ส.มี 500 คน มาจากการเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียว จำนวน 375 คน และมาจากบัญชีรายชื่อเดียวทั้งประเทศ 125 คน ) และที่เห็นด้วยกับสาระเดิม (ให้ส.ส.มีจำนวน 480 คน มาจากการแบ่งเขตเลือกตั้งเขตเดียวหลายคน จำนวน 400 คน และมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน 80 คน ) รวมทั้งกลุ่มที่ไม่มีความคิดเห็นในประเด็นนี้ จะมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันมากนัก คือ ประมาณ 1 ใน 3 หรือ 33.8 % ,31.3% และ 33.0 % ตามลำดับ สำหรับผู้ที่ไม่เห็นด้วยทั้งสาระที่แก้ไขและสาระเดิมมี 1.9 %
ประเด็นที่ 3 การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของส.ส. ( มาตรา 265 )
ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 70.9 % เห็นด้วยกับสาระเดิมว่า ส.ส. ไม่สามารถดำรงตำแหน่งใดๆในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ 1.2 % เห็นว่าควรแก้ไขและ 27.9 ไม่มีความคิดเห็นในประเด็นนี้
ประเด็นที่ 4 เรื่องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของ ส.ส.และส.ว.( มาตรา 266 )
ผลการสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ 53.5 เห็นด้วยกับสาระที่แก้ไขว่าในกรณีที่ประชาชนมาแจ้งเรื่องร้องทุกข์ผ่าน .ส.ส.และ ส.ว.โดย ส.ส.และ ส.ว. รับเรื่องไว้และแจ้งให้หน่วยงานราชการทราบเป็นลายลักษณ์อักษร 22.8 % เห็นด้วยกับสาระเดิมว่า ส.ส.และ ส.ว.ต้องไม่ใช้ตำแหน่งเข้าไปก้าวก่าย แทรกแซงการปฏิบัติราชการ 0.7 % ไม่เห็นด้วยทั้งสาระที่แก้ไขและสาระเดิม และ 23.0 % ไม่มีความคิดเห็นในประเด็นนี้
ประเด็นที่ 5 เรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ( ส.ว.) ( มาตรา 111-121 )
ผลการสำรวจพบว่า ประชาชน 44.5 % เห็นด้วยกับสาระที่แก้ไขว่าให้เพิ่มจำนวน คณะกรรมการสรรหาให้มากกว่า 7 คน และมีความหลากหลาย โดยเฉพาะมาจากตัวแทนองค์กรวิชาชีพตามกฎหมาย 18.9 % เห็นด้วยกับสาระเดิมว่าให้มี่คณะกรรมการสรรหา 7 คน ทำหน้าที่สรรหาส.ว.จำนวน 74 คน ส่วน 1.9 % ไม่เห็นด้วยกับสาระที่แก้ไขและสาระเดิม และ 34.7% ไม่มีความคิดเห็นในประเด็นนี้
ประเด็นที่ 6 เรื่องการยุบพรรคการเมืองและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง ( มาตรา 237 )
ผลการสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 46.7 % เห็นด้วยกับสาระที่แก้ไขว่าให้ยกเลิกการยุบพรรคและตัดสิทธิการเลือกตั้ง เฉพาะบุคคลที่ทุจริตการเลือกตั้ง 27.4 % เห็นด้วยกับสาระเดิมว่าให้ยุบพรรคและตัดสิทธิการเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการ เมืองและกรรมการบริหารพรรค 1.7 % ไม่เห็นด้วยทั้งสาระที่แก้ไขและสาระเดิม และ 24.0 % ไม่มีความคิดเห็นในประเด็นนี้