จากประชาชาติธุรกิจ
ข้อความ สั้น (SMS) ชวนชิงโชค ดูดวง โฆษณาขายของ ล้วนเป็นประสบการณ์ร่วมที่ผู้ใช้มือถือ ทุกคนต้องได้เจอ และหลายคนเจอมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน แม้จะเป็นช่องทางโฆษณาที่เข้าถึงตัวผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง แต่ก็สร้างความรำคาญใจให้กับผู้ใช้ และบางกรณียังทำให้เงินในกระเป๋าผู้บริโภคหายไปอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว
ใน งานสัมมนาประจำปีของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้มีการนำเสนอกฎหมายป้องกัน สแปม SMS หรือบรรดา SMS ขยะที่สร้างความไม่พึงใจแก่ผู้บริโภคโดยมีสหรัฐ อเมริกา และฝรั่งเศสเป็นกรณีศึกษา
น.ส.ศุจิดา อัจนากิตติ นิติกรปฏิบัติการ สำนักงาน ก.พ. ได้ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการส่งข้อความไม่พึงประสงค์เข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ และการจัดสมดุลระหว่างการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับการส่งเสริมการทำตลาด ระบบอิเล็กทรอนิกส์ระบุว่า ปัญหา SMS ขยะเป็นประเด็นที่ต้อง ชั่งน้ำหนักระหว่างสิทธิส่วนบุคคลกับการทำ ธุรกิจ ซึ่งในต่างประเทศมีแนวทางคุ้มครองผู้บริโภคใน 2 รูปแบบ คือ "มาตรการเลือกที่จะรับ (opt-in system)" คือ ผู้ส่ง SMS จะต้องได้รับความยิมยอมโดยชัดแจ้งจาก ผู้บริโภคก่อนจึงจะสามารถส่งข้อความใด ๆ เข้าไปในมือถือได้
อีกรูป แบบคือ "มาตรการเลือกที่จะไม่รับ (opt-out system)" คือให้โอกาสผู้รับข้อความเป็นฝ่ายแจ้งไปถึงต้นทางภายหลังที่ได้รับ SMS โฆษณาว่าไม่ประสงค์จะรับข้อความอีก นั่นคือให้โอกาสผู้จะใช้ SMS ทำตลาด สามารถส่งข้อความไปถึงลูกค้าได้ 1 ครั้งโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมก่อน
สหภาพ ยุโรปมีกฎหมายแม่บท Directive on privacy and electronic communications (E-privacy directive) ทำให้การใช้ SMS เป็นช่องทางการโฆษณาในยุโรปที่จะทำได้โดยผู้บริโภคต้องให้ความยินยอมก่อนที่ จะรับข้อความเท่านั้น ขณะเดียวกันยังคุ้มครองกลุ่มลูกค้าเก่าที่เคยยินยอมรับข้อความ โดยผู้ส่ง SMS ต้องเปิดโอกาสอย่างชัดแจ้งให้ลูกค้าปฏิเสธการส่งข้อความนั้น และต้องเป็นวิธีที่ไม่สร้างความยุ่งยากให้ลูกค้า ที่สำคัญคือต้องสามารถทำได้ในทุกเวลาที่ต้องการโดย ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
นอก จากนี้ ประเทศฝรั่งเศสยังมีกฎหมายเฉพาะเพิ่มขึ้นมาอีก คือ "รัฐบัญญัติลงวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2004 ว่าด้วยความเชื่อมั่นต่อธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์" เพื่อเป็นการยกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้สูงขึ้นอีก โดยเข้าไปแก้ไขประมวลกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และประมวลกฎหมายว่าด้วยการไปรษณีย์และการโทรคมนาคม เพื่อให้การโฆษณาที่ใช้ช่องทางสาธารณะรวมถึง SMS จะต้อง ถูกตรวจสอบว่าไม่เป็นข้อความเกินจริง และสามารถระบุตัวตนของผู้ส่งข้อความ รวมถึงผู้ได้รับประโยชน์จากโฆษณา มิเช่นนั้นจะเข้าข่ายโฆษณาหลอกลวง ซึ่งมีโทษอาญา
ขณะเดียวกัน ยังมีคณะกรรมาธิการแห่งชาติว่าด้วยการประมวลผลข้อมูลและเสรีภาพ (CNIL) เป็นองค์กรหลักทำหน้าที่ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงกรณี SMS ขยะ ซึ่งมีอำนาจตั้งแต่การรับเรื่องร้องเรียน ออกคำสั่งให้หยุดการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิ์ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ รวมถึงลงโทษปรับผู้ฝ่าฝืนในวงเงินที่ค่อนข้างสูงได้ด้วย ทำให้ประชาชนมีช่องทางในการเยียวยาความเสียหายได้ทันทีขณะที่ผู้ประกอบการก็ ระมัดระวังตัวในการโฆษณา
"ผู้ที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายว่าด้วยการ ไปรษณีย์และการโทรคมนาคมของฝรั่งเศสจะต้องถูกปรับเป็นเงิน 750 ยูโรต่อข้อความ และอาจได้รับโทษทางอาญา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 5 ปี และปรับสูงสุด 300,000 ยูโร หากได้เลขหมายโทรศัพท์มาด้วยวิธีการไม่ชอบด้วยกฎหมาย"
ด้านสหรัฐ อเมริกา น.ส.ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี นักวิชาการอิสระกล่าวว่า มีกฎหมายจัดการ SMS ขยะอยู่ 2 ฉบับ คือ กฎหมายคุ้มครองผู้ใช้โทรศัพท์ (Telephone Consumer Protection Act 1991 : TCPA) ซึ่งเกิดขึ้นในยุคที่การขายตรงผ่านโทรศัพท์กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง แต่ปัจจุบันได้มีการปรับใช้เพื่อจัดการกับสแปม SMS ด้วย เพื่ออุดช่องว่างของกฎหมายควบคุมโฆษณาและสื่อลามกที่ไม่พึงประสงค์ในปี 2003 โดยให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายแจ้งไปยังผู้ส่งว่าไม่ต้องการรับข้อความโฆษณา และห้ามส่ง SMS โดยใช้ชื่อผู้อื่น หรือใช้หัวข้อที่อาจทำให้หลงเข้าใจผิด เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้รับถูกหลอกเข้าไปอ่านข้อความ
โดยมีคณะ กรรมการกลางการค้า (Federal Trade Commission : FTC) เป็นผู้กำกับดูแลตามกฎหมายนี้ แต่มีข้อเสียคือประชาชนผู้เสียหายไม่สามารถใช้กฎหมายนี้ฟ้องร้องได้เอง ต้องให้อัยการเป็นผู้ดำเนินคดีให้ จึงเป็นเหตุให้ประชาชนนำกฎหมาย TCPA มาเป็นช่องทางในการฟ้องร้องผู้ส่ง SMS ขยะด้วยตนเอง
เนื่องจาก TCPA ได้คุ้มครองไม่ให้ ผู้บริโภคถูกรบกวนจากการขายสินค้าหรือโฆษณาโดยไม่ได้รับความยินยอม และยังห้ามใช้การต่อสายอัตโนมัติหรือเสียงตอบรับอัตโนมัติโทร.ไปตามเลขหมาย ต่าง ๆ รวมถึงให้เสนอโฆษณาได้ตั้งแต่ 08.00-21.00 น.เท่านั้น
โดยมี กรณีศึกษาที่น่าสนใจในสหรัฐอเมริกา คดีของ Satterfield v. Simon ที่ได้ฟ้องร้องบริษัท Schuster ซึ่งเหตุเกิดจากลูกชายวัย 8 ปีดาวน์โหลดเสียงเรียกเข้าโทรศัพท์มือถือจากเว็บไซต์ nextones.com ซึ่งในการดาวน์โหลดมีข้อความให้ยินยอมรับรายการส่งเสริมการขายสินค้าและ โฆษณาต่าง ๆ จากบริษัทในเครือ nextones มิฉะนั้นจะดาวน์โหลดริงโทนไม่ได้
"ปัญหา เกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีถัดมา กลางดึกคืนหนึ่งลูกชายของ Satterfield ได้รับ SMS ที่มีข้อความสยองขวัญ ทำให้ลูกชายของเธอหวาดกลัวมาก เมื่อตรวจสอบพบว่าเป็น SMS โฆษณาหนังสือสยองขวัญเล่มใหม่ของบริษัท Simon & Schuster ทำให้เธอต้องเสียค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความกลับเพื่อให้บริษัทหยุดส่ง SMS มาก่อกวนลูกของเธอ พร้อมกับรวบรวมผู้ได้รับความเดือดร้อนจากกรณีเดียวกันกว่า 60,000 ราย ฟ้องร้องบริษัท Simon ในกรณีฝ่าฝืนกฎหมาย TCPA โดยต่อสู้ว่าบริษัทดังกล่าวไม่ได้รับความยิมยอมในการส่ง SMS เนื่องจากไม่ใช่บริษัทในเครือ nextones แต่ซื้อรายชื่อเบอร์โทรศัพท์จากเอเยนซี่โฆษณาที่รับซื้อเบอร์ต่อมาจากเว็บไซ ต์ nextones เท่านั้น ซึ่งการฟ้องร้องครั้งนี้ทำให้บริษัท Simon ต้องชดใช้ค่าเสียหายหลายหมื่นเหรียญสหรัฐ"
น.ส.ศุจิดากล่าวว่า สำหรับกรณีในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากปัญหา นี้ ทำให้ต้อง ใช้ช่องทางของสำนักงานคุ้มครอง ผู้บริโภค (สคบ.) เป็นหลัก ทำให้ประชาชนต้องรับภาระในการพิสูจน์ความเสียหาย และหากคำนวณกับค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ เมื่อฟ้องร้องอาจจะไม่คุ้มกัน ทำให้ประชาชนต้องรับภาระในการแจ้งยกเลิกการรับข้อความหรือแจ้งผู้ให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นผู้บล็อกการส่ง SMS ขยะเหล่านี้ ซึ่งมักจะได้ผลไม่ 100% ทำให้ต้องมีการแจ้งบล็อกใหม่อยู่เรื่อย ๆ แม้ว่าก่อนหน้านี้ผู้ให้บริการหลักทั้ง 3 ค่ายจะเคยลงนามในบันทึกความ ร่วมมือเพื่อป้องกันสแปม SMS มาแล้วก็ตาม
ส่วนการ ออกกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน ทราบว่าทางสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ได้มีความพยายามจะเสนอขอกฎหมายในส่วนนี้ แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ผู้บริโภคคนไทยก็คงต้องรอให้มีกฎหมายที่ชัดเจนมารองรับปัญหานี้กันต่อไป