จาก เดลินิวส์ออนไลน์
คอลัมน์ มุมภาษี
อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์
ขอนำประเด็นภาษีอากรเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชกฤษฎีกาออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 501) พ.ศ. 2553 เพื่อกำหนดยกเว้นภาษีประเภทต่างๆ ให้แก่ลูกค้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วง หน้า โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2553 เป็นต้นมา มากล่าวต่อจากสัปดาห์ก่อน ซึ่งกล่าวถึงการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ ลูกค้า หรือบุคคลซึ่งใช้บริการจากตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ารวม 2 ประเด็น ในคราวนี้มีประเด็นเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ครับ
3. ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้แก่ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สำหรับเงินได้ที่เกิดจากการโอนหลักทรัพย์ที่เป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องไม่นำมูลค่าต้นทุนของหลักทรัพย์ ดังกล่าวมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
4. ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้แก่สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สำหรับเงินได้ที่เกิดจากการโอนหลักทรัพย์ที่เป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องไม่นำมูลค่าต้นทุนของหลักทรัพย์ ดังกล่าวมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
5. ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้แก่ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สำหรับเงินได้ที่เกิดจากการรับโอนหลักทรัพย์ที่เป็นประกันในการปฏิบัติตาม สัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากลูกค้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
6. ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้แก่สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สำหรับเงินได้ที่เกิดจากการรับโอน หลักทรัพย์ที่เป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากตัวแทนซื้อ ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
7. ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกค้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี สำหรับรายรับหรือการ กระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนหลักทรัพย์ที่เป็นประกันในการปฏิบัติตาม สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
นอกจากนี้ยังยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินปันผลที่ได้จาก บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกองทุนรวมฯ ให้แก่บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ได้ รับโอนกลับคืนมาไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งหลักทรัพย์ที่ออกโดยนิติบุคคล หรือโครงการจัดการกองทุนรวมเดียวกัน ประเภทรุ่นและชนิดเดียวกันและในจำนวนที่เทียบเท่ากับหลักทรัพย์ที่โอนเพื่อ เป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของเงิน ปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับ ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดอีกด้วย.