สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อาหาร (ไม่) ปลอดภัย

อาหาร (ไม่) ปลอดภัย

จากประชาชาติธุรกิจ

บทบรรณาธิการ



ไม่ ว่าจะเป็นการถูกสหภาพยุโรป (อียู) สั่งห้ามนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายก็ดี หรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สั่งระงับการส่งออกด้วยตนเองก็ดี แต่กรณีสินค้าเกษตร 16 ชนิด อาทิ กะเพรา โหระพา พริก มะเขือ ผักชีฝรั่ง ต้องหยุดการส่งออกไปยังอียูเป็นการชั่วคราว เพราะพบปัญหาปนเปื้อนทั้งสารเคมีตกค้างและเชื้อจุลินทรีย์อยู่ในพืชผักดัง กล่าว มิใช่เรื่องเล็กเลยสำหรับภาคการเกษตรและการส่งออกของไทย

ถึง แม้ว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าทั้ง 16 ชนิดไปยังอียู จะมีอยู่เพียงปีละ 18 ล้านเหรียญยูโร หรือประมาณ 700-800 ล้านบาท แต่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งกับตลาดภายนอกและการผลิตภายในนั้นมากมายมหาศาล และจะต้องมีการตรวจสอบ ทบทวน แก้ไข ทั้งเพื่อบรรเทาผล เสียหายเฉพาะหน้า และป้องกันปัญหามิให้เกิดขึ้นอีก

ด้านหนึ่งจะต้องดำเนินการตรวจสอบ มาตรฐานการตรวจสารปนเปื้อนในพืชผัก ซึ่งหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงของกรมวิชาการเกษตร และเซ็นทรัลแล็บ หน่วยงานอิสระใน กระทรวงเกษตรฯที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง เพราะก่อนจะถูกคำสั่งระงับการส่งออกนั้นมีหลักฐานยืนยันว่า อียูมีการแจ้งเตือนบริษัทผู้ส่งสินค้าเหล่านี้มาก่อนแล้วเป็นเวลานาน บางบริษัทถูกคำเตือนถึงกว่า 60-70 ครั้ง

รัฐมนตรีเศรษฐกิจผู้หนึ่ง ระบุว่า ได้แจ้งปัญหานี้ให้กับผู้รับผิดชอบโดยตรงให้ระมัดระวังมาตรการตอบโต้ของอียู ตั้งแต่เมื่อ 6-7 เดือนก่อน แต่คำเตือนดังกล่าวไม่ได้รับความเอาใจใส่ และไม่มีการลงมือปฏิบัติจัดการปัญหา แต่อย่างใดทั้งสิ้น

ความเสีย หายที่เกิดขึ้นซึ่งเห็นชัดเจนก็คือ เกษตรกรผู้ปลูกพืชผักดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ไม่ได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้า ต้องประสบปัญหาขาดทุนทันทีเพราะไม่สามารถขายสินค้าที่ผลิตค้างอยู่ได้ ในขณะที่ตลาดส่งออกซึ่งสูญเสียไปแล้วบางส่วนก็ยากจะชิงคืนมาได้ เพราะสินค้าเกษตรเป็นสิ่งที่สามารถผลิตทดแทนกันได้ และประเทศคู่แข่งของไทยไม่ว่าจีน หรือเวียดนาม ก็พร้อมอยู่แล้วที่จะส่งสินค้าประเภทเดียวกันเข้ามาทดแทน

นอกจากนั้น การส่งออกพืชผักที่ตกค้างสารปนเปื้อน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใดก็ดี ย่อมกระทบกระเทือนต่อเป้าหมายใหญ่ที่ภาครัฐและเอกชนไทยร่วมกันตั้งเอาไว้ว่า จะผลักดันประเทศไทยให้เป็นครัวของโลกในอนาคต เพราะโดยศักยภาพทางการผลิต ไทยเป็น 1 ใน 8 ประเทศของโลกที่มีความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกได้หลากหลาย ประเภท

ความผิดพลาดนั้นเป็นสิ่งที่สามารถให้อภัยหรือแก้ไขได้ ถ้าพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าความผิดพลาดนั้นมิได้เกิดขึ้นจากความบกพร่องไม่ เอาใจใส่ หรือการไร้ความรับผิดชอบ มุ่งแต่จะหารายได้โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ ซึ่งจะมิได้กระทบแต่ในแง่เศรษฐกิจหรือการส่งออกเท่านั้น แต่ยังสะเทือนถึงความมั่นใจของผู้บริโภคในประเทศด้วย ว่ายังมีอาหารปลอดภัยที่สามารถบริโภคได้ในประเทศนี้จริงหรือไม่


แตงโมฟูราดาน ได้เวลา "แบน" ยาฆ่าแมลง

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ สามัญสำนึก

โดย ถวัลย์ศักดิ์ สมรรคะบุตร



กลาย เป็นเรื่องใหญ่โตขึ้นมาทันที เมื่อสหภาพยุโรป ส่งสัญญาณที่ชัดเจนออกมาว่า พร้อมที่จะห้ามนำเข้าพืชผักสดแช่เย็นแช่แข็งที่ส่งออกจากประเทศไทยด้วย เหตุผลที่ว่า มีสารกำจัดศัตรูพืช-ยาฆ่าแมลง-เชื้อซัลโมเนลลา ตกค้าง เจือปน ปนเปื้อน เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด

การส่งสัญญาณดังกล่าว ดำเนินมาตลอดปี 2553 ตั้งแต่การเพิ่มมาตรการเข้มงวดให้ด่านทุกด่านในสหภาพ อาทิ ด่านนำเข้าในเนเธอร์แลนด์/เบลเยียม ดำเนินมาตรการตรวจเข้มหาสารตกค้างในกลุ่มยาฆ่าแมลงในพืชผักไทย 3 กลุ่ม ทั้งกะหล่ำ-มะเขือ-ถั่วฝักยาวในปริมาณ 50% ณ ด่านนำเข้า หรือสินค้า 1 ตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุทั้งมะเขือยาว-มะเขือพวง- มะเขือเปราะจะถูกสุ่มตรวจหาสารตกค้าง 50% จากมะเขือทั้งหมด

นอกจาก นี้ สหภาพยุโรปยังขึ้นบัญชียากำจัดศัตรูพืชถึง 22 รายการที่ห้ามพบการปนเปื้อนในการนำเข้าพืชผักนำเข้าจากประเทศไทยโดยเฉพาะ ซึ่งจากเดิมไม่เคยกำหนดมาก่อน ส่งผลให้ตลอดทั้งปี 2553 มีรายงาน การตรวจพบสารตกค้างต้องห้ามในพืชผักผ่านทางระบบ Rapid Alerts มากเป็นพิเศษ โดยหลายตัวอย่างเป็นการตรวจพบสารกำจัดศัตรูพืชที่ห้ามใช้หรือกำลังจะถูกห้าม ใช้ในสหภาพยุโรป เนื่องจากมีพิษร้ายแรงต่อผู้บริโภค แต่กลับวางจำหน่ายโดยทั่วไปในประเทศไทย

ยกตัวอย่าง สารกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรงในฐานะสารก่อมะเร็งที่มีระดับพิษรุนแรง มากเป็นพิเศษ (Ia) อย่างคาร์โบฟูราน (Carbofuran) ในชื่อการค้าฟูราดาน 3% G หรือฟูราดาน หรือยิปปุราน หรือคาซาลิน หรือคาเบนฟูดาน 3 G หรือค็อกโคได ที่เกษตรกรไทยรู้จักกันดีในการฆ่าหนอนกออ้อยในอ้อย ฆ่าแมลงวันเจาะต้นถั่วในถั่วฝักยาว/ถั่วลันเตา และที่สำคัญก็คือ การฆ่าเพลี้ยไฟฝ้ายในผลไม้จำพวก แตงโม-แตงไทยกันอย่างกว้างขวาง

จน อาจพูดได้ว่าแตงโม 1 ลูก น่าจะมีฟูราดานเจือปนเกินกว่า 50% ของมาตรฐาน เนื่องจากสารตัวนี้ถูก "หยอดหลุม" ไปข้าง ๆ เมล็ดแตงโมตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการปลูก เพื่อให้แตงโมดูดซึมยาฆ่าแมลงเข้าไปไว้ ในลำต้น-ใบและผล มีระยะเวลาป้องกันเพลี้ยไฟและแมลงปากดูดอื่นประมาณ 15-20 วัน ที่สำคัญก็คือ ห้ามใช้เกินกว่า 1 ครั้ง

แต่สิ่งที่เกษตรกรสวนแตงโมทำอยู่ใน ปัจจุบันก็คือ ระยะเวลาการเก็บแตงโมนั้น เกินกว่า 15-20 วัน จึงมีการใช้ฟูราดานซ้ำสองเพื่อป้องกันผลแตงโมถูกแมลง กัดกิน ส่งผลให้เกิดการ "ตกค้าง" ของฟูราดานในผลแตงโมอย่างมหาศาล แน่นอนว่าในขณะที่พิษของฟูราดานอยู่ในระดับรุนแรงมากที่สุด เป็นสารก่อมะเร็งจนสหภาพยุโรป-สหรัฐสั่งห้ามใช้สารตัวนี้ในทุกสินค้าไปแล้ว

ที่ น่าประหลาดใจที่ว่ากรมวิชาการเกษตรยังยอมให้มีการขึ้นทะเบียนและสามารถวาง จำหน่ายได้อยู่ เพียงแต่ขึ้นบัญชีไว้ในกลุ่มสารกำจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง (Watch List) 11 รายการไว้เท่านั้น

ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุขเองก็พึ่งจะเผยแพร่ รายงานอันตรายจากการใช้สารฟูราดานผิดวิธี โดยให้รายละเอียดว่าเป็นสารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่ม คาร์บาเมตที่เกษตรกรนิยมใช้ในการหยอดหลุมแตงโม/แตงกวา และหว่านในนาข้าว มีฤทธิ์รุนแรงต่อระบบประสาท หากได้รับปริมาณมากจะทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ในที่สุด

ที่ สำคัญกระทรวงสาธารณสุขกำลังจัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษาในปีนี้ด้วย

จึงน่าที่จะถึงเวลาที่กรมวิชาการเกษตร ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทบทวนสารเคมีเกษตร อันตรายทั้ง 11 รายการที่บรรจุ ไว้ใน Watch List ได้เสียที

Tags : อาหารไม่ปลอดภัย

view