จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
นอกจากนี้ในยุคที่โลกตื่นตัวกับสภาวะโลกร้อน ตื่นตัวกับกระแสอนุรักษ์ธรรมชาติ ทำให้ บูติค โฮเทลยุคใหม่มีการปรับตัวมาใส่ใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นับเป็นเทรนด์โรงแรมยุคใหม่ที่จะมาแรงในปีนี้และต่อไปในอนาคต |
||||
เชื่อกันว่า บูติค โฮเทล เกิดขึ้นครั้งแรกในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ อันเนื่องมาจากความต้องการและไลฟ์สไตล์ของนักเดินทางที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ต้องการประสบการณ์และความประทับใจในการเข้าพักในโรงแรม นอกเหนือจากความหรูหรา สะดวกสบาย ที่มีอยู่ในโรงแรมทั่วๆ ไป เรียกได้ว่า บูติค โฮเทล เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักเดินทางที่ต้องการความแตกต่างและเป็น เอกลักษณ์ บูติค โฮเทล จะเป็นโรงแรมขนาดเล็ก ที่ให้ความสำคัญในการตอบสนองความต้องการของนักเดินทางในแต่ละกลุ่ม และส่วนใหญ่จะมีการดีไซน์ การตกแต่ง หรือธีมในการสร้างโรงแรมที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง อีกจุดหนึ่งก็คือ การใส่ใจในรายละเอียดของลูกค้าแต่ละคน เพราะเนื่องจากโรงแรมมีขนาดเล็ก จึงทำให้พนักงานมีความใกล้ชิดกับลูกค้าได้มากกว่าโรงแรมขนาดใหญ่ ด้วยเหตุที่ต้องค้นหาตัวตนที่เป็นจุดเด่นของตัวเอง แต่ละโรงแรมจึงพยายามสรรหาบุคลิกของตัวเอง ให้แตกต่าง และโดดเด่นจากคู่แข่ง เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เลือกเข้ามาใช้บริการ และอีกหนึ่งกระแสที่มาแรงควบคู่กับบูติก โฮเทล ก็คือ โรงแรมอนุรักษ์ธรรมชาติ |
||||
สมัยนี้ ไม่ว่าจะไปส่วนไหนของโลก ก็มีแต่คนพูดถึงเรื่องโลกร้อน และการอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นสิ่งที่คนทั่วโลกให้ความสำคัญและเข้าไปสอดแทรกกับแทบทุกเรื่องในชีวิต ซึ่งก็รวมไปถึงการเดินทางท่องเที่ยว และการเข้าพักโรงแรมด้วยเช่นกัน “กรีน โฮเทล” แนวคิดที่ควบคู่ไปกับการทำบูติคโฮเทล ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ในเชิงบวกให้กับแหล่งท่องเที่ยว และให้กับตัวโรงแรมเองด้วย โรงแรมส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเริ่มสนับสนุนให้แขกที่มาพัก เก็บผ้าเช็ดตัวไว้ใช้ซ้ำโดยที่ไม่ต้องส่งซักทุกวัน หลายๆ โรงแรมก็เปลี่ยนมาใช้บัตรเพื่อเปิดระบบไฟฟ้าในห้องพัก และใช้หลอดประหยัดไฟในพื้นที่ส่วนกลาง โรงแรมจำนวนมากหันมาใช้กระดาษรีไซเคิล จำกัดการใช้พลาสติก ใช้ฝักบัวประหยัดน้ำ และใช้โปรแกรมชดเชยการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวคิด “กรีน โฮเทล” |
||||
โดยรายชื่อของ บูติค โฮเทล ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ได้รับการจัดอันดับโรงแรมอนุรักษ์ธรรมชาติ ปี 2553 มีดังนี้ อลีลา วิลล่าส์ ฮาดาฮา, กาฟู อะลิฟู อะทอล, มัลดีฟส์ (Alila Villas Hadahaa, Gaafu Alifu Atoll, Maldives) ถ้าพูดในด้านสิ่งแวดล้อม อลีลา วิลล่าส์ ฮาดาฮา ถือเป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยม โดยได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวระหว่างขั้นตอนการก่อสร้าง ขั้นตอนการออกแบบ ระบบบริหารจัดการ และการปฏิบัติงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแนวคิด คาร์บอนสมดุล การออกแบบวิลล่าสนับสนุนการท่องเที่ยวยั่งยืนด้วยการรองรับน้ำฝนและการระบาย อากาศตามธรรมชาติเพื่อให้เกิดความเย็นภายใน และสิ่งที่ได้ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องก็คือการใช้กระดาษรีไซเคิล จัดหาการผลิตในท้องถิ่น และมีการผลิตน้ำดื่มแบบรีเวิร์สออสโมซิสสำหรับพนักงาน ในระดับภูมิศาสตร์ อลีลา วิลล่าส์ ฮาดาฮา มีการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้แขกที่มาพักได้มีโอกาสสำรวจและเข้าใจเกี่ยว กับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเยี่ยมชมชุมชนพื้นเมือง และนำเที่ยวเกาะโดยนักชีววิทยาของรีสอร์ท |
||||
โซเนวาคีรี ตั้งอยู่บนเกาะกูดจังหวัดตราด การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นรากฐานของรีสอร์ทแห่งนี้ รีสอร์ทถูกสร้างขึ้นด้วยวัสดุบนเกาะเกือบทั้งหมด (ไม้ไผ่, หินทราย, ขอนไม้, โคลนอิฐ, และประติมากรรมดินเผา) และของบางส่วนทำขึ้นโดยช่างฝีมือชาวกะเหรี่ยงทางภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนั้นโซเนวาคีรียังมีความโดดเด่นแบบ อีโค-วิลล่า หลังคาประดับด้วยเฟิร์นและฉากกันอาบน้ำทำจากขวดโซดารีไซเคิล และยังมีกิจกรรมต่างๆ ให้แขกที่มาพักประทับใจกับสถานที่ยิ่งขึ้นด้วยการรับประทานอาหารบนต้นไม้ เรียนดูดาว เยี่ยมชมฟาร์มผึ้ง ฟาร์มไข่มุก หรือเรียนทำสวน กายานา อีโค รีสอร์ท, มาเลเซีย (Gayana Eco Resort, Malaysia) กายานา อีโค รีสอร์ท ตั้งอยู่ท่ามกลางป่าโกงกางและแนวปะการัง ซึ่งแนวปะการังและปลาเป็นจุดสำคัญของศูนย์การวิจัยของรีสอร์ท โดยจัดให้มีโปรแกรมฟื้นฟูแนวปะการังโดยให้แขกที่มาพักได้มีส่วนร่วมในการ ปลูกปะการังด้วย นอกจากนั้นศูนย์การวิจัยยังเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวสามารถชมม้าน้ำ ปลาดาว และหอยกาบยักษ์ได้อย่างใกล้ชิด หรือเดินสำรวจป่าพร้อมไกด์นำทางซึ่งจะแนะนำให้แขกที่มาพักได้รู้จักกับสัตว์ นานาชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าบนเกาะ กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์รวมไปถึงการพายเรือคะยักรอบอ่าว ให้อาหารปลา ดำน้ำชมปะการัง และทัศนศึกษาหาดฮอร์นบิล |
||||
ภายในรีสอร์ทประกอบไปด้วยฟาร์ม ป่า ป่าชายเลน และชายหาดสำหรับเล่นวินด์เซิร์ฟ บังกะโลแต่ละหลังได้รับการปรับปรุงให้หรูหราตามมาตรฐานโดยใช้วัสดุที่หาได้ ในท้องถิ่น ใช้น้ำฝนมาทำน้ำดื่ม ปลูกผักปลอดสารพิษภายในรีสอร์ท และยังมีฟาร์มผึ้งซึ่งผลิตน้ำผึ้งมานูก้าเพื่อสุขภาพ ด้านความสามัคคีกับชนเผ่าพื้นเมืองเมารีนั้น ผู้บริหารของรีสอร์ทมองว่าตนเองเป็นเหมือนผู้ดูแลรักษามากกว่าที่จะเป็นเจ้า ของสถานที่ และสละเวลาในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมด้วยการปลูกต้นไม้ ใช้วัตถุดิบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และดูแลรักษาพืชและสัตว์ในบริเวณนั้น บันจาร์ โทลา, อินเดีย (Banjaar Tola, India) ตั้งอยู่ใจกลางอุทยานแห่งชาติกัณหา มองเห็นทิวทัศน์ของป่าไม้ไผ่และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเสือนานาชนิด ที่พักของ บันจาร์ โทลา สร้างขึ้นจากวัสดุท้องถิ่นเช่นไม้ไผ่และหวาย ตกแต่งด้วยศิลปะของชนพื้นเมืองบาสตาร์และโดกรา บันจาร์ โทลามีวิถีปฏิบัติแบบ “เอิร์ธ” (EARTH - Environment Awareness and Renewal at Taj Hotels) ซึ่งเป็นแนวคิดริเริ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและการนำกลับมาใช้ใหม่ และได้รับการรับรองจากโครงการเอิร์ธเช็คซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่เบื้องหลัง โครงการลูกโลกสีเขียว ทุกโรงแรมและรีสอร์ทในเครือมีวิถีปฏิบัติแบบ “เอิร์ธ” เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและความยั่งยืน นอกจากนั้นยังมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวอินเดียพื้นเมือง ให้ดีขึ้นโดยจัดให้มีการศึกษา อบรม และจ้างงาน |
||||
ตั้งอยู่ในโรงงานที่ถูกดัดแปลงขึ้นในพื้นที่สัมปทานฝรั่งเศสของ เซี่ยงไฮ้ การปรับปรุงใหม่ใช้เฉพาะวัสดุรีไซเคิลและวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น โรงแรมแห่งนี้เป็นโรงแรมคาร์บอนสมดุลแห่งแรกในประเทศจีน โดยการเข้าร่วมโครงการล้านต้นกล้า (Million Tree Project) ซึ่งเป็นโครงการที่ชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการจัดซื้อต้นกล้า ที่ปลูกขึ้นในทะเลทรายคุหลุนของมองโกเลีย แขกที่มาพักจะได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าร่วมในพิธีชงชาแบบดั้งเดิม เรียนการประดิษฐ์ตัวอักษร และรำไทเก๊กร่วมกับคนท้องถิ่น บาเมอร์รู เพลนส์, ออสเตรเลีย (Bamurru Plains, Australia) บูติกรีสอร์ทแห่งนี้อนุรักษ์นิยมถึงขั้นไม่มีโทรทัศน์หรือโทรศัพท์ใน บังกะโล (มีเพียงแค่ 3 หลังเท่านั้นที่มีเครื่องปรับอากาศ โดยต้องชำระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม) พลังงานที่ใช้ในรีสอร์ทร้อยละ 75 มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ กรองน้ำบาดาลมาเป็นน้ำดื่ม ขวดต่างๆ ถูกนำมารีไซเคิล และสบู่ก็ปลอดสารเคมี สัตว์ป่าออสเตรเลียและทิวทัศน์ทางภูมิศาสตร์เป็นเหมือนภาพพื้นหลังของบา เมอร์รู แขกที่มาพักสามารถออกทัวร์เที่ยวชมศิลปะหินในคาคาดูและอาร์นเฮ็มแลนด์เพื่อ ชมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชนพื้นเมือง |
||||
รีสอร์ทแห่งนี้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับวิลล่า 25 หลัง บำบัดน้ำเสีย และใช้วัสดุที่หาได้ภายในท้องถิ่น นอกจากนั้นยังรักษาระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้อยู่ในระดับต่ำ โทปาส อีโคลอดจ์มีส่วนช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่นด้วยการจ้างงานชาวเผ่าพื้นเมืองในซา ปา เช่น ม้ง, ซ-หยาวแดง, เตย, และเส่ย กิจกรรมต่างๆ ที่มีในรีสอร์ทก็คือเดินชมหมู่บ้านรอบๆ, เดินป่า, ปั่นจักรยานเสือภูเขา, และชมชีวิตสัตว์ป่า นอกจากนั้นอุทยานแห่งชาตินี้ยังเป็นเสมือนบ้านของนกกว่าร้อยสายพันธุ์และ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ นิฮิวาตู รีสอร์ท, ซัมบ้า, อินโดนีเซีย (Nihiwatu Resort, Sumba, Indonesia) บูติกรีสอร์ทแห่งนี้ได้รับรางวัลระดับนานาชาติด้านความพยายาม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาชุมชน บังกะโลทั้ง 13 หลังถูกสร้างขึ้นจากฝีมือชาวอินโดนีเซียและใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น และมีการจ้างงานชาวซัมบ้าทำงานที่รีสอร์ทถึงร้อยละ 95 ของพนักงานทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2544 เจ้าของรีสอร์ทได้ร่วมจัดตั้งมูลนิธิซัมบ้าขึ้นเพื่อขจัดความยากจนในชุมชน ชาวซัมบ้า โครงการของมูลนิธิรวมไปถึงการสร้างคลินิคทางการแพทย์ จัดหาน้ำและอุปกรณ์การเรียนให้กับโรงเรียนต่างๆ โครงการล่าสุดคือการเปลี่ยนมาใช้เตาแก๊สแทนเตาฝืนแบบดั้งเดิมเพื่อป้องกัน การเสียชีวิตจากการสูดดมควันไฟและรักษาป่าไม้ผลัดใบของซัมบ้า |
||||
ไซโลโซจ้างพนักงานที่มีจรรยาบรรณสีเขียวเพื่อลดการทำอันตรายต่อสิ่ง แวดล้อม รีสอร์ทถูกสร้างขึ้นโดยให้มีผลกระทบต่อพืชน้อยที่สุด, ใช้หลอดไฟ CFL, รีไซเคิลของเสีย, และนำน้ำจากเครื่องปรับอากาศมาใช้กับเครื่องทำน้ำอุ่น การออกแบบรีสอร์ทก็มีส่วนช่วยให้เกิดความยั่งยืน เช่น สวนบนหลังคาทำให้เกิดความเย็นภายในห้องพัก และวิลล่าบางหลังก็สร้างไว้รอบๆ ต้นไม้ ด้วยความที่ไซโลโซเป็นรีสอร์ทสีเขียว จึงทำให้มีสัตว์ป่านานาชนิดรวมถึงกบ กิ้งก่า และนก อาศัยอยู่มากมาย นอกจากนั้นไซโลโซยังสนับสนุนกิจกรรมสีเขียวต่างๆ ในท้องถิ่น เช่น การประกวดมิสเอิร์ธและสิงคโปร์จีวัน |
||||
|