โดย : พิรอบ แต้มประสิทธิ์
จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ถึงเวลากระจาย ถือครองที่ดิน เพราะนับวันความขัดแย้งระหว่างนายทุนกับเกษตรกรในสิทธิที่ดินขยายตัวพุ่ง กลุ่มคนเหล่านี้ล้วนไม่มีอำนาจรัฐและเศรษฐกิจ
ชาว บ้าน"เครือข่ายปฏิรูปที่ดิน"ทั่วประเทศจำนวนมาก ที่ได้รับความเดือดร้อนจากรณีที่ดินและทรัพยากร ได้มารวมกันที่บริเวณพระบรมรูปทรงม้าตั้งแต่วันจันทร์ที่ 16 ก.พ.2554 ที่มาเกือบสัปดาห์ ยังไม่มีท่าทีจากรัฐในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน
ความขัดแย้งเรื่องสิทธิในที่ดินยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยส่วนใหญ่นายทุนครอบครองอยู่ และมีเกษตรกรรายย่อย ที่มาจากแรงงานในภาคชนบท คนจนเข้าไปยึดที่ของนายทุน กลุ่มคนเหล่านี้ล้วนไม่มีอำนาจรัฐและอำนาจทางเศรษฐกิจ อย่างเห็นได้ดังกรณีจับกุมผู้ต้องหาบุกรุกที่ดินเอกชนที่จ.ลำพูนเมื่อ 2545
รวมไปถึงการเข้ายึดสวนปาล์ม โดยเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจนภาคใต้ ที่ จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2546 และจ.สุราษฎร์ธานี เมื่อ 30 ธ.ค.2546 คนจนผู้ยากไร้ถูกจับกุมหลายร้อยคน และจำนวนหนึ่งถูกส่งฟ้องศาลด้วยข้อกล่าวหาว่าบุกรุกที่ดินสวนปาล์มเอกชน รวม 21 คดี และอีกหลายคดีอย่าง กรณีชาวบ้านย่าหมี อ.เกาะยาว จ.พังงา ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ต่อสู้คัดค้านการทำลายป่าชุมชน เพื่อสร้างรีสอร์ทโดยนักลงทุนด้านการท่องเที่ยว จนถูกจับกุมดำเนินคดี จำนวน 18 คน ด้วยข้อหาบุกรุกที่ดินมีเอกสารสิทธิ แต่ต่อมามีการตรวจสอบพบว่าเอกสารสิทธิ์เหล่านี้ออกโดยมิชอบ
คดีที่ดินเกิด ขึ้นกับคนจน สาเหตุสำคัญล้วนมาจากมาจากการกำหนดนโยบายของรัฐในด้านการจัดการทรัพยากร และการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ไม่รอบด้าน โดยที่ดินถือเป็นปัจจัยการผลิตที่ถูกจัดสรร และการเข้าไปยึดครองของแต่ละกลุ่มที่ไม่ได้จัดสรรอย่างเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนจนที่เป็นแรงงานการผลิต แต่ไร้ปัจจัยการผลิตในการดำรงชีวิต จึงเป็นที่มาของปัญหาการบุกรุกที่ดิน และถูกดำเนินคดีในเวลานี้
ยิ่งในปัจจุบันที่ดินนอกจากถือเป็นปัจจัยสี่แล้ว แต่ที่ดินยังมีความหมายเป็นสินค้าที่มีการซื้อขายเก็บไว้เก็งกำไร ปั่นราคาให้สูงขึ้นกว่ามูลค่าเป็นจริง ทำให้ที่ดินกลายเป็นสินค้าที่นายทุน ซึ่งมีเงินทุนมากกว่าสามารถเข้าไปกว้านซื้อ เก็บไว้ ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยต้องปล่อยหลุดมือเร็วขึ้น
นายสหพล สิทธิพันธ์ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.) กล่าวว่า การแย่งชิงและผูกขาดการถือครองที่ดินโดยกลุ่มทุนต่างๆ เพื่อเก็งกำไร บ้างก็จำนองธนาคารเอาเงินไปลงทุนในธุรกิจอื่นๆ จนกลายเป็นหนี้เน่า หลังฟองสบู่ทางเศรษฐกิจแตกเมื่อปี 2540 ที่ดินมากกว่า 30 ล้านไร่เป็นหนี้เน่า และประมาณว่ามีที่ดินประเภทต่างๆ ถูกทิ้งร้าง และก่อให้เกิดการสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจปีละประมาณ 3 แสนล้านบาท โดยเฉพาะจ.สุราษฎร์ธานี จ.กระบี่ และจ.ชุมพร กลุ่มทุนสวนปาล์มรายใหญ่ ถือครองที่ดินรัฐโดยกลวิธีอันฉ้อฉล จำนวนกว่า 2 แสนไร่
คนไร้ที่ดินก่อหวอดยึดที่"ลำพูน-เชียงใหม่"
การ เบียดขับแย่งชิงที่ดินทำให้ปรากกการณ์ตอบโต้จากคนไร้ที่ดินเริ่มเกิดขึ้นใน จ.ลำพูน และที่จ.เชียงใหม่ เมื่อปี 2544-45 โดยการตรวจสอบข้อมูลที่ดินแต่ละแปลง พบว่ามีที่ดินทิ้งร้างอยู่หลายแปลง และเป็นหนี้เน่าอยู่ในธนาคารทั้งเอกสารสิทธิ์ก็ออกโดยมิชอบ ปฏิบัติการต่อมาคือการบุกยึดพื้นที่การเกษตรที่ถูกทิ้งร้างติดค้างธนาคาร พร้อมกับชูคำขวัญ "ที่ดินต้องเป็นของผู้ถือคันไถ"
เหตุการณ์ครั้งนั้นนำไปสู่การจับกุมเกษตรกรจำนวน 108 คน ข้อหาบุกรุก รวมกว่า 1,064 คดี ปัจจุบันศาลฎีกาตัดสินจำคุกชาวบ้านดงขี้เหล็ก จ.ลำพูน 2 ปี จำนวน 2 คน อีก 2 คน เป็นชาวบ้านท่าหลุก จ.ลำพูน ศาลตัดสินจำคุกคนละ 1 ปี อีก 31 คน รอคำพิพากษาศาลฎีกา ที่เหลือยกฟ้อง
ต่อมาปี 2546 การยึดที่ดินขยายตัวลงสู่ภาคใต้ เกษตรกรไร้ที่ดินบุกยึดสวนปาล์มขนาดใหญ่ในเขตจ.สุราษฎร์ธานี จ.กระบี่ จำนวน 13 แห่ง ด้วยกำลังมวลชนประมาณ 20,000 คน ด้วยเหตุผลว่าพื้นที่สวนปาล์มเหล่านั้นหมดสัญญาเช่ากับรัฐบาลแล้ว แต่นายทุนทั้งหลายยังไม่ยอมถอนตัวออกจากพื้นที่ พื้นที่เหล่านั้นมีฐานะทางกฎหมายเป็นที่ดินรัฐ นับตั้งแต่ที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ เขตปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ดินราชพัสดุ ที่ดินสาธารณะประโยชน์ ทุ่งทำเลเลี้ยงสัตว์ ที่ดินสหกรณ์นิคม ซึ่งรัฐบาลควรนำมาปฏิรูปกระจายการถือครองและใช้ทำประโยชน์ในฐานะปัจจัยการ ผลิตให้เกษตรกรมากกว่าปล่อยให้นายทุนผูกขาดการถือครอง ผลักเกษตรกรส่วนใหญ่ให้กลายเป็นแรงงานที่ขาดความมั่นคงในอาชีพ
"เหตุการณ์นี้นำไปสู่การปราบปรามผลักดันด้วยความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ยึด ที่ดินให้ออกจากพื้นที่ และจับกุมสมาชิกที่ไม่ยอมล่าถอยจำนวนหลายร้อยคน แต่ที่เป็นคดีขึ้นสู่ศาลมีจำนวน 48 คน 21 คดี หลังจากต่อสู้คดีประมาณ 3 ปี ด้วยวงเงินประกันตัว 3,780,000 บาท แต่สุดท้ายศาลยกฟ้องเหลือเพียง 1 ราย รอการตัดสินจากศาลฎีกาซึ่งเป็นคดีแจ้งความเท็จ "
ยึดที่สวนปาล์มจ.สุราษฎร์ ไม่สำเร็จ
หลังจากการสลาย การชุมนุมของคนไร้ที่ดินที่จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อปี 2546 เกษตรกรไร้ที่ดินแยกกระจัดกระจายเป็นหลายกลุ่ม และพยายามเคลื่อนกำลังเข้ายึดที่ดินแปลงต่างๆ ที่หมดสัญญาเช่า แต่ก็ถูกตีโต้ด้วยความรุนแรงทุกครั้ง กระทั่งเดือนก.ย.2550 ชุมชนสันติพัฒนา จึงได้เข้ายึดพื้นที่ส.ป.ก.และพื้นที่ป่าถาวร ที่ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นสวนปาล์มน้ำมัน จำนวน 1,484 ไร่ ซึ่งอยู่ในความครอบครองของบริษัทสหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม(มหาชน) จำกัด จากที่บริษัทครอบครองพื้นที่ทั้งหมด 9 แปลง จำนวน 44,000ไร่เศษ ต่อมาบริษัทฯได้ฟ้องสมาชิกชุมชนสันติพัฒนา จำนวน 12 คน ดังนี้ 1.คดีอาญา หมายเลขดำที่ ๑๙๑๒, ๒๑๓๑/ ๕๒ จำเลย 9 คน ข้อหาร่วมกันบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ฯ 2.คดีแพ่ง หมายเลขดำ ที่ ๒๓๐/๕๒ จำเลย 3 คน ข้อหาละเมิด ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจำนวน 5 ล้านบาทเศษ 3.คดีแพ่งหมายเลขดำ ที่ ๑๒๔๓/๕๒ จำเลย 12 คน ข้อหาละเมิด ฟ้องขับไล่เรียกค่าเสียหาย จำนวน 10 ล้านบาทเศษ (โจกท์ถอนฟ้องจำเลย3 คน คงเหลือ 9 คน )
จำเลยลุกขึ้นต่อสู้ 4 ประเด็น 1.บริษัทสหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มฯ ไม่มีอำนาจฟ้อง2.ที่ตั้งของชุมชนตั้งอยู่บนที่ดิน ส.ป.ก. และได้รับการผ่อนผันให้อยู่อาศัยโดยมติคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหา คปท. ครั้งที่ 1 วันที่ 11มี.ค.2553 3.ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของบริษัทสหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มฯ 4.น.ส.๓ ก ที่ใช้เป็นฐานในการฟ้องร้องออกโดยมิชอบด้วยกฎหมายโดยการชี้มูลความผิดของกรม สอบสวนคดีพิเศษภายใต้คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาคดีความ กระทรวงยุติธรรม
ปี 2552 ยังมีการยึดที่ดินสวนป่ายูคาลิปตัสของบริษัทสวนป่ากิตติ และกระดาษดับเบิลเอ และบริษัทลูกในเครือสวนป่ากิตติ ที่หมดสัญญาเช่าจากกรมป่าไม้ และก่อตั้งบ้านเก้าบาตร (รวมอีกประมาณ 4 กลุ่ม)ที่ ต.นางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ สมาชิกของกลุ่มถูกดำเนินคดี 3 คน และการยึดสวนป่ายูคาลิปตัส องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(ออป.)ก่อตั้งบ้านบ่อแก้ว ที่ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ กรณีหลังนี้มีคดีแพ่งเป็นชนักปักหลังนักต่อสู้สามัญชนจำนวน 30 ราย
19รายที่ลำพูนเกษตรกรไร้ที่ดินติดคุก
การต่อสู้ ที่ดินของเกษตรกรนำมาสู่คดีจำคุกคนจน อาทิเช่น กรณีบ้านท่าหลุก กิ่งอ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน เกษตรกรไร้ที่ดิน เข้าใช้พื้นที่ในโครงจัดสรรที่ดินแปลงใหญ่หนองปลาสวายเมื่อปี 2545 ต่อมาถูกนายทุนฟ้องข้อหาบุกรุก 19 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ตัดสินลดโทษเหลือ 6 เดือน ด้วยเหตุผลว่าชาวบ้านบุกรุกเฉพาะกลางวันไม่ได้สร้างที่พักในพื้นที่ และพ้นโทษได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 5ธ.ค.2553 จำนวน 17 คนเสียชีวิตในคุก 1 คน เพราะป่วยด้วยโรคมะเร็ง(ยังถูกจำคุกต่ออีกเพราะมีความผิดในข้อหาอื่นด้วย) กรณีนี้ฝ่ายโจทก์อาศัยเอกสารสิทธ์แสดงการเป็นเจ้าของที่ดินเป็นฐานในการฟ้อง แต่มีเงื่อนงำว่าเหตุใดเอกสารสิทธิ์จึงออกทับที่ดินโครงการจัดสรรของชุมชน และหลังศาลอุทธรณ์พิพากษาทนายความจำเลยพยายามยื่นขอประกันตัวเพื่อสู้คดีใน ศาลฎีกา แต่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตโดยอ้างเหตุผลว่ากลัวจำเลยหลบหนีส่วนศาลฎีกามีแนว โน้มไม่รับพิจารณาด้วยเหตุว่าเป็นคดีที่มีโทษต่ำ ชะตากรรมของคนไร้ที่ดินบ้านท่าหลุก กลุ่มนี้จึงต้องนอนคุก 6 เดือน ครอบครัวเดือดร้อนทางเศรษฐกิจอย่างมาก
กรณีบ้านพรสวรรค์ ต.ข่วงเปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ สมาชิกของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ จำนวน 47 คน ถูกดำเนินคดีอาญา 39 คนในชุดเดียวกัน ถูกดำเนินคดีแพ่ง(เสียชีวิต 8 ราย) ข้อหาบุกรุกสร้างที่พักอาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (กรณีนี้ไม่มีที่ดินทำกิน) ในคดีอาญาศาลชั้นต้นตัดสินจำคุก 6 เดือน แต่ให้รอลงอาญา ส่วนคดีแพ่งให้ชดใช้โทษฐานความผิด 7 ประการ เช่น ทำให้สูญเสียหน้าดิน สูญเสียปุ๋ยในดิน ทำให้เสียเนื้อไม้ ทำให้โลกร้อน(เฉพาะความผิดที่ทำให้โลกร้อนต้องชดใช้เป็นเงิน54,000 บาท/ไร่) ซึ่งภายหลังจำเลยได้ทำสัญญายินยอมทำงานเพื่อใช้แรงงานทดแทนค่าปรับรายละ 200,000-300,000 บาท( ค่าปรับไม่เท่ากัน เพราะพื้นที่อยู่อาศัยแต่ละครอบครัวไม่เท่ากัน) โดยต้องทำงานที่หน่วยเพาะชำกล้าไม้แม่ออนอ.สันกำแพง ระยะทางไปกลับจากที่พักถึงที่ใช้แรงงานประมาณ 180 กิโลเมตร จำเลยต้องทำงานให้แล้วเสร็จภายใน 52 วัน ทั้งนี้ให้ไปทำงานสัปดาห์ละ 1 วัน จำเลยต้องจ่ายค่าเดินทางและค่าอาหารกลางวันด้วยตนเอง ภายหลังองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา มีรถยนต์ให้บริการแต่ต้องเติมน้ำมันเอง
นอกจากการยึดที่ดินในยุคใหม่ ยังมีการบุกเบิกที่ดินในยุคเก่าสร้างหมู่บ้านชุมชนเกษตรกรรมอยู่ในเขตป่ามา ยาวนาน ซึ่งปัจจุบันถูกผนวกเป็นพื้นที่เขตป่าอนุรักษ์ มีปัญหาถูกกรมอุทยานฟ้องดำเนินคดี โดยเฉพาะข้อหาใหม่ในทางแพ่ง คือทำให้โลกร้อนซึ่งสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.)ทั่ว ประเทศ 35 ราย ถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายรวมเกือบ 13 ล้านบาท