สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดร่างกม.ประกอบ รธน. 3ฉบับ ชี้ชะตาเลือกตั้งครั้งใหม่

จาก โพสต์ทูเดย์

คงต้องลุ้นว่าการพิจารณาพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับนี้ จะเป็นเลือกทางรอดให้กับใคร ระหว่างให้เหล่าบรรดาพรรคการเมือง หรือจะเป็นผู้ทำหน้าที่ควบคุมการเลือกตั้ง

โดย.....ชัยรัตน์ พัชรไตรรัตน์

ได้เวลานับถอยหลังสู่โหมดการเลือกตั้งเข้าไปทุกขณะ ภายหลังที่รัฐสภามีมติเห็นชอบผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 ใน 2 มาตรา คือ มาตรา 93-98 ในการแบ่งเขตเรียงเบอร์เป็นเขตเดียวเบอร์เดียว และมาตรา 190 ว่าด้วยการทำสัญญากับต่างชาติซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกมาส่งสัญญาณยุบสภาอย่างเป็นทางการ โดยคาดว่าจะเป็นต้นเดือนพฤษภาคม ถึงแม้อำนาจในการประกาศวันเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยไม่ต้องรอกฎหมายลูก

แต่ข้อกังวลถึงเรื่องปัญหาการตีความที่จะตามมาภายหลัง อีกทั้ง การประชุมกกต.ครั้งที่ 26 / 2554 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ก็มีมติเห็นชอบแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 ฉบับ ต่อให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่1) พุทธศักราช 2554 และมาตรา 139 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทำให้เผือกร้อนลูกใหญ่ถูกโยนใส่ตักรัฐบาล เพื่อไปหาทางออกในการประชุมร่วมรัฐสภาต่อไป

 

ดังนั้น จึงต้องจับตาดูกันว่าวันที่ 23 มี.ค. ในการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ ที่ประกอบด้วย 1.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา (ฉบับที่..) พ.ศ.... (34มาตรา) 2.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ฉบับที่..) พ.ศ... (4มาตรา) และ3.ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่) พ.ศ... (10มาตรา) จะสามารถผ่าน 3 วาระได้โดยไร้ปัญหาหรือไม่

เพราะตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่1) พุทธศักราช 2554 ได้เปลี่ยนแปลงองค์กรประกอบของสภาผู้แทนราษฎร ที่ประกอบด้วยจำนวนสมาชิก 500 คน โดยมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 375 คน และมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 125 คน แต่ที่น่าจับตาคือร่างพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ส.ส.และการได้มาซึ่งสมาชิกส.ว.ที่มีการ แก้ไข 34 มาตรา คือ 1.แก้ไขเพิ่มเติมคำว่า “แบบสัดส่วน” เป็น “บัญชีรายชื่อ” เพื่อให้สอดรับกับการเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ในมาตรา 6 (2) มาตรา 7 มาตรา 14 มาตรา 34 มาตรา 35 วรรค 1 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 43 มาตรา 45 มาตรา 46 มาตรา 50 (2) มาตรา 52 วรรค 1 มาตรา 61 วรรค 3 และ 4 มาตรา 82 (3) (4) และ (5) มาตรา 90 มาตรา 91 มาตรา 92 มาตรา 93 มาตรา 96 วรรค 1 และมาตรา 110

2.ให้ยกเลิกบทนิยมคำว่า “กลุ่มจังหวัด” ในมาตรา 4 ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. พ.ศ. 2550 3.ให้ยกเลิกความใน (2) ของมาตรา 6 และใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “(2) การเลือกตั้งส.ส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นการลงคะนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัด ทำขึ้น โดยเลือกจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคการ เมืองเดียวและใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง 4.ยกเลิกความในมาตรา 41 และใช้ข้อความต่อไปนี้ ใน (2) ให้จัดทำบัญชี รายชื่อตามแบบที่กกต.กำหนด โดยจัดเรียงลำดับรายชื่อผู้สมัครตามหมายเลขจำนวนไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบห้า คน

5.ให้ยกเลิกความในมาตรา 46 และใช้ความต่อไปนี้ มาตรา 46 กรณีเลือกตั้งทั่วไป ให้พรรคการเมืองที่ส่งสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้รับหมายเลขที่ใช้ ลงคะแนนเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เรียงลำดับก่อนหลังในการยื่นบัญชี ในกรณีที่มีพรรคการเมืองยื่นบัญชีพร้อมกันและตกลงกันไม่ได้ให้ใช้วิธีจับ ฉลาก ถ้าหากพรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งด้วย ให้ใช้หมายเลขเดียวกันกับแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่สังกัดเป็นหมาย เลขประจำตัวผู้สมัคร

ถ้าพรรคการเมืองใดไม่ส่งสมัครแบบบัญชีรายชื่อ แต่ส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขต เมื่อผู้สมัครยื่นใบสมัครในเขตใด ให้ได้รับหมายเลขประจำตัวผู้สมัครต่อจากหมายเลขสุดท้ายของหมายเลขแบบบัญชี รายชื่อ แต่หากมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตอย่างเดียวพร้อมกันและตกลงกันไม่ได้ ให้ใช้วิธีจับฉลาก 6.ให้ยกเลิกมาตรา 48 และใช้ความต่อไปนี้ “กรณีเป็นการเลือกตั้งแทนตำแหน่งส.ส.ที่ว่าง ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้รับหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเรียงลำดับก่อนหลังใน การมายื่นใบสมัคร ถ้ามีผู้สมัครหลายคนและตกลงกันไม่ได้ให้ใช้วิธีการจับฉลากระหว่างผู้สมัคร ที่มาพ้อมกัน

7.ยกเลิกมาตรา 90 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ ใน (2) เมื่อกกต.จังหวัดรับคะแนนเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อและรวมคะแนนแล้วเสร็จให้ รวมผลคะแนนดังกล่าวให้กกต.โดยพลัน  8.ในมาตรา 91 ว่าด้วยการคำนวณสัดส่วนส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ได้แก้ไขให้เป็น ให้รวมผลคะแนนจากบัญชีรายชื่อทั้งหมดที่พรรคการเมืองได้รับ จากนั้นนำมาหารด้วย 125 ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ให้ถือเป็นคะแนนเฉลี่ยต่อสมาชิกต่อส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน ในการคำนวณหาจำนวนส.ส. ให้นำคะแนนรวมของแต่ละพรรค หารด้วยคะแนนเฉลี่ยต่อสมาชิก ซึ่งผลลัพธ์จะได้เป็นจำนวนเต็ม คือ จำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้รับ โดยเรียงตามลำดับหมายเลขในบัญชี

ส่วนกรณีที่จำนวนส.ส.แบบบัญชีรายชื่อได้รับรวมกันทุกพรรคไม่ครบ 125 คน ให้พรรคการเมืองที่ได้เศษคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด ได้รับจำนวนส.ส.แบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีก 1คน เรียงตามลำดับจนกว่าจะมีส.ส.แบบบัญชีรายชื่อครบ 125 คน และ 9.เมื่อพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้บังคับ ให้กกต.จัดประชุมหารือกับหัวหน้าพรรคการเมือง เพื่อกำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรคการเมืองและของผู้สมัคร รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไป

ขณะที่ร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ฉบับที่..) พ.ศ...มีการแก้ไข 1 มาตรา โดยให้ยกเลิกความใน (9) ของมาตรา 10 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ (9) ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับส.ส.ระบบแบ่งเขต และการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งจัดให้มีบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวมถึงร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ... มีการแก้ไขรวม 7 มาตรา โดยสาระการแก้ไขส่วนใหญ่ ให้ยกเลิกคำว่า “สัดส่วน” ในมาตรา 10 (11) มาตรา 37 วรรค 1มาตรา 38 วรรค 1 มาตรา 39 วรรค 1 มาตรา 52 (1) มาตรา 75 และมาตรา 89 และให้ใช้คำว่า “บัญชีรายชื่อ” แทน

คงต้องลุ้นว่าการพิจารณาพ.ร.บ.ประกอบรัฐ ธรรมนูญ 3 ฉบับนี้ จะเป็นเลือกทางรอดให้กับใคร ระหว่างให้เหล่าบรรดาพรรคการเมือง หรือจะเป็นผู้ทำหน้าที่ควบคุมการเลือกตั้งอย่างกกต.

Tags : เปิดร่าง กม.ประกอบ รธน. ชี้ชะตา เลือกตั้งครั้งใหม่

view