จาก โพสต์ทูเดย์
“ผมก็ไม่รู้เอาข่าวมาจากไหน ผมไม่ได้ทำอะไรเลย นอกจากคุยกับพวกเรา แต่ตอนนี้ผมยอมรับว่า ผมออกมาพูดมากขึ้น เพราะเห็นว่ามันเป็นหน้าต่างแห่งโอกาสที่จะสร้างความปรองดองได้”
โดย.....ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีต รมว.ต่างประเทศ และผู้สมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติในนามอาเซียนปี 2549 ที่กำลังถูกจับตาว่า จะก้าวเป็นผู้นำประเทศในอนาคต จากบทวิเคราะห์สื่อหลายสำนักที่ว่า หลังพ้นบ้านเลขที่ 111 ในเดือน พ.ค.ปีหน้า เขาอาจเป็น “นายกฯ ปรองดอง” ของสองขั้ว เรื่อยไปถึงนายกฯ พระราชทาน จาก “ภาพลักษณ์-ผลงาน” ที่ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
โดยเฉพาะสายสัมพันธ์ที่ถูกมองว่า ใกล้ชิดกับสถาบัน เนื่องจากภรรยา ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย เป็นธิดาท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์ (ม.ร.ว.บุษบา กิติยากร) พระขนิษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เขาเปิดใจ “โพสต์ทูเดย์” ถึงกระแสข่าวต่างๆ ที่เกิดขึ้น และมองถึงทิศทางการปรองดองของสังคมในอนาคต
“งานการเมืองมันต้องอาสา คือ อยากทำ เอาล่ะพูดไปตอนนี้ เขาก็บอกว่า ผม 111 แต่ถ้าวันนี้ ผมไม่ใช่ 111 ผมก็ยังไม่อาสา และไม่อยาก”
“การเมืองแรง ...ผมยังไม่สนใจรับตำแหน่งอะไร”
“ผมเห็นการเมืองในช่วงที่ผ่านมา มันเป็นการเมืองที่ไม่ใช่การเมือง คือ ผมเคยเขียนบทความรำลึกถึงอดีตนายกฯ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ตอนท้ายผมเขียนว่า ท่านชาติชายเคยบอกว่า การเมืองนี่นะ เขาชนะกันแค่ 55% เขาไม่ชนะกัน 100% เพราะต้องเปิดช่องเผื่อจะร่วมมือกันได้ในอนาคต
“แต่การเมืองวันนี้มันชนะกัน 150% เอาเป็นเอาตายกันมาก คือ แทบไม่ใช่การแข่งขันตามปกติแล้ว ดังนั้น ผมก็คงไม่มีความสามารถ และก็ไม่สนใจ และก็ไม่อาสา ปีหน้าผมพ้น 111 ก็ไม่ทราบว่า จะมีความสนใจ หรืออยากอาสาหรือไม่”
สุรเกียรติ์ ยืนยันว่า วันนี้มีความสุขจากงานที่ได้ทำ 3 ส่วน คือ 1.งานวิชาการสอนหนังสือ ทำวิจัย และไปปาฐกถา 2.ทำธุรกิจสำนักงานกฎหมายและธุรกิจระหว่างประเทศ 3.ทำการกุศล
“ผมเป็นประธานหาทุนอะไรต่างๆ มากมาย และก็ให้แง่คิดกับสังคม แต่ผมไม่ยุ่งกับการเมือง เพราะวันนี้มันแรงเกินไป มันแตกแยกในสังคมมาก ให้ไปเป็นตำแหน่งอะไรตอนนี้ ก็ทำอะไรไม่ได้ ถ้าสังคมแตกแยก ประเทศไทยก็ไม่มีพลัง อย่างปัญหากัมพูชา ประเทศไทยก็ไม่มีพลัง เราเป็นประธานอาเซียน เราทำอะไรก็ไม่ได้เลย คนก็ผิดหวังกันทั่วภูมิภาค จะจัดประชุมก็จัดไม่ได้ คนมาเยือนเราในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก็ไม่กล้ามา”
สัญญาประชาคมทุกพรรค -ให้คอป.ทำปรองดอง
กระแส “ปรองดอง” ก่อตัวขึ้นทุกภาคส่วน เพื่อหาทางออกจาก “วิกฤตความขัดแย้ง” กระทั่งพรรคการเมืองแทบทุกพรรคยังใช้เป็นสโลแกนหาเสียง “สุรเกียรติ์” มองว่า การเลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค. เป็นโอกาสสำคัญในการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง แต่การเลือกตั้งอย่างเดียวไม่น่าจะเป็นทางออกให้กับสังคมได้
“ตั้งแต่ปี 2548 เรามีนายกฯ มา 5 คนแล้ว มีรัฐบาลหลายแบบทั้งแต่งตั้งและเลือกตั้ง ผลคือ เราก็ยังมีความขัดแย้งทางสังคมสูง และเกิดความเสียหายทั้งชีวิตทรัพย์สิน
แต่เมื่อทุกพรรคแสดงเจตจำนงอย่างนี้ ก็ควรทำเป็นสัญญาประชาคมว่า เลือกตั้งเสร็จแล้ว ไม่ว่า นายกฯ จะเป็นใคร ควรเข้าสู่กระบวนการปรองดองทันที โดยต้องให้ คอป.ซึ่งทำเรื่องนี้มาเกือบปี เป็นแกนทำต่อ
“ที่ผ่านมา คอป.เป็นที่ยอมรับ แม้ช่วงแรกที่ตั้งขึ้นมาถูกวิจารณ์ทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าไม่เอา คอป. และตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมาใหม่ แม้จะฟังดูดี แต่แค่ใครตั้งก็เสียเวลาเป็นเดือนๆ กว่าจะตั้งได้ก็ตีกันไปแล้ว ก็เอา คอป. เพราะผ่านการอภิปรายโต้แย้งมาแล้ว อาจารย์คณิต ณ นคร (ประธานคอป. ก็เลือกรูปแบบของคณะกรรมการจากทั่วโลก มีผู้เชี่ยวชาญจากสหประชาชาติ สหภาพยุโรปมาถ่ายทอดตัวอย่างให้ฟังว่า มีกี่แบบ จนเขาได้เลือกแบบนี้แล้ว ...แล้วเราจะมาเริ่มกันใหม่ ศึกษากันใหม่อีกหรอ”
จุดยืนของ “สุรเกียรติ์” ต่างจากพรรคเพื่อไทยเพราะทั้ง ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ ปลอดประสพ สุรัสวดี ยืนกรานว่า ถ้าได้เป็นรัฐบาลจะตั้งคณะกรรมการปรองดองขึ้นมาใหม่ โดยดึงคู่ขัดแย้งมาพูดคุยบนโต๊ะเจรจา “สุรเกียรติ์” ให้เหตุผลว่า
หลักการปรองดองทั่วโลก ผู้ที่จะเป็นแกนในการทำต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งเสียเอง เมื่อมองสังคมไทยขณะนี้ หาคนกลางยากพอควร หลายองค์กร หลายคน ถูกป้ายสีว่า สังกัดอีกขั้ว แต่ยังเหลือ คอป. และ คอป.ได้ประคับประคองตัวเองในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา พรรคต่างๆ กลุ่มเสื้อเหลือง เสื้อแดง ก็ยอมรับ คอป. พอสมควร
“ถ้าให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพ บางฝ่ายก็บอกว่า เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง หรือจะให้วุฒิสภา ก็ถูกมองว่า เป็นกลางทำได้ไม่เต็มที่ ขณะที่สมาคมสื่อ องค์กรเศรษฐกิจก็ไม่อยากทำ กลัวว่าเข้าข้างบางฝ่าย ส่วน คอป.ทำมาแล้ว แต่ไม่ค่อยเป็นข่าว คอป.เคยจัดให้ทั้ง 7 ฝ่าย พรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง เสื้อเหลือง เสื้อแดง ฝ่ายความมั่นคงนั่งคุยกันมาแล้วครั้งหนึ่ง แล้วเขาก็มีคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ เช่น ชุดค้นหาความจริง ชุดดูยุทธศาสตร์การปรองดอง ทำมาหมด”
“ถ้าเพื่อไทยเป็นรัฐบาลและบอกว่า ข้าพเจ้าจะตั้งกรรมการปรองดองขึ้นมา แน่นอนประชาธิปัตย์ก็ไม่เห็นด้วย ขณะที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ก็เสนอกรรมการปรองดองแห่งชาติขึ้นมาอีกชุด ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ว่าเราจะไปตั้งใหม่ทำไม ในเมื่อเรามี คอป.อยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าเพื่อไทยหรือประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ก็ไม่ต้องไปตั้งกันใหม่ เมื่อทุกพรรคเห็นด้วยกับการปรองดองก็เริ่มได้ทันที ส่วนกระบวนการจะออกมาอย่างไร อย่าเพิ่งมาสรุปกันตอนนี้ว่า ต้องนิรโทษกรรม หรือแก้รัฐธรรมนูญ ต้องให้ 7 ฝ่ายมาคุยกันแล้ว คอป.หาจุดร่วมกันให้ได้ บางครั้งอาจจะเชิญ 2 ฝ่าย หรือ 3 ฝ่ายมาคุยกัน ซึ่งของแบบนี้ในระดับต่างประเทศเขาก็ทำเสมอ อย่างผม ตอนเป็น รมว.ต่างประเทศก็ทำเรื่องนี้”
สุรเกียรติ์ บอกว่า ถ้าเป็นไปได้อยากเห็นสื่อมวลชนถามหัวหน้าพรรคการเมืองทั้งหลาย ไม่ว่า เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทยพัฒนา เสื้อแดง เสื้อเหลือง เสื้อหลากสี ว่าเห็นด้วยกับที่ 7 องค์กรเศรษฐกิจ และ องค์กรสื่อ ออกมาแถลงว่าเห็นด้วยกับแนวทางการปรองดอง 3 ข้อหรือไม่ โดยเฉพาะที่ว่า หลังการเลือกตั้งให้เข้าสู่กระบวนการปรองดองทันที และใช้องค์กรอิสระและเป็นกลางซึ่งน่าจะเป็น คอป.
“เมื่อเข้าสู่กระบวนการปรองดองแล้ว ก็ให้หาจุดร่วมกันได้ 4-5 ประเด็น พอเริ่มได้ ความมั่นใจมันมาแล้ว มันคงไม่ต้องรอทำทีเดียวพร้อมกัน 50 ประเด็น ปัญหาคือ ขณะนี้มันยังไม่รู้ว่า ก้าวที่หนึ่งคืออะไร”
สุรเกียรติ์ เล่าว่า ช่วงที่ คอป.เชิญไปร่วมเสวนาได้เล่าว่า จากการเดินสายฟังทุกฝ่ายในสังคมมีเรื่องที่คนไทยเห็นตกผลึกอยู่ 3 ประเด็น ซึ่งจุดนี้สำคัญมาก เพราะบางความขัดแย้งในโลกนี้ แค่ประเด็นเดียวยังไม่เห็นตรงกัน
ประกอบด้วย 1.ประเทศไทยต้องมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข ส่วนจะพัฒนาต่ออย่างไร ก็เป็นอีกเรื่อง 2.ต้องไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา 3.ช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมามันนานเกินพอสำหรับความขัดแย้ง ควรจะก้าวข้ามไปได้แล้ว
ดังนั้น เมื่อเห็นตรงกัน ก็อาจจะขยายประเด็นต่อ เช่น ให้มีมาตรฐานเดียวกันในการบังคับใช้กฎหมาย ให้มีหลักนิติธรรม ควบคู่กับนิติรัฐ ก็ค่อยแปลงประเด็นเหล่านี้ กล่าวคือ หลักนิติธรรมคู่หลักนิติรัฐ แปลว่า ควรให้ประกันคนที่ควรจะให้ประกันไม่ว่า เสื้อสีอะไรก็ตาม
คุณทักษิณบอกว่า อยากกลับไทยเพื่อมาปรองดองจะช่วยได้หรือขยายความขัดแย้ง? “มันเร็วไปที่จะพูดว่า อดีตนายกฯ ทักษิณจะกลับหรือไม่ ที่ท่านจะพูดว่า จะกลับมาเมื่อนั้น มันตอบไม่ได้หรอก เพราะอีกฝ่ายก็บอกว่า ต้องกลับมาทันที อีกฝ่ายก็บอกว่า ต้องกลับมาเข้าคุกซิ นี่มันเป็นเงื่อนไขที่ไม่ปรองดอง แต่มันต้องเริ่มจากประเด็นปรองดองก่อน สิ่งที่ควรเกิดขึ้นก่อน คือ เลือกตั้งเสร็จแล้วก็เข้าสู่กระบวนการปรองดอง”
ปัญหาความขัดแย้งครั้งนี้มีต้นเหตุจากอะไร “ทักษิณ” หรือการรัฐประหาร หรือความเหลื่อมล้ำ “สุรเกียรติ์” ตอบว่า นี่เป็นคำถามที่ดี... เวลานี้คนไทยยังดีเบตอยู่ว่า จริงๆ แล้วความขัดแย้งมันมาจากอะไร คือ ...การที่จะตอบว่า นิรโทษใคร หรือไม่นิรโทษใคร มันเป็นเรื่องปลายเหตุ บางคนบอกว่า คุณทักษิณเป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง บางคนบอกว่า เป็นเรื่องความยากจน ความมั่งมี หรือเรื่องการปฏิวัติ 2549 หรือองค์กรอิสระทำงานไม่ได้ ปัญหาสองมาตรฐาน บางคนก็บอกว่า เป็นเพราะสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง ซึ่งทั้งหมดมันก็มีส่วน แต่ทั้ง 7 ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ต้องเรียนรู้ร่วมกันว่าอะไรเป็นเหตุ คอป. ก็ต้องมาหาจุดร่วม แต่หลักการปรองดอง คู่ขัดแย้งต้องไม่มีเงื่อนไขมาก่อน ถ้า “ต้อง” อย่างนั้น อย่างนี้ ก็จะไม่มีใครคุยได้ ต้องเปิดใจให้กว้าง แล้วเดินเข้าสู่การปรองดอง
ข้อสรุปจาก “สุรเกียรติ์” คือ องค์กรที่จะทำการปรองดอง ทุกฝ่ายต้องยอมรับ ไม่เป็นคู่ขัดแย้ง ก่อนยกตัวอย่างสมัยเป็นรมว.ต่างประเทศในรัฐบาลไทยรักไทย รมช.ต่างประเทศนอร์เวย์ ได้เป็นคนกลางเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลศรีลังกากับพยัคฆ์ทมิฬอีแลม ซึ่งเป็นความขัดแย้งใหญ่ในรอบ 10 ปี มีผู้เสียชีวิตถึง 7 หมื่นคน โดยขอใช้ประเทศไทยเป็นสถานที่หารือเพราะประเทศไทยมีความพอดี ขณะที่นอร์เวย์ก็มีความพอดีที่จะเป็นคู่เจรจา หรือในสมัย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกฯ ประเทศไทยได้เข้าไปช่วยเจรจาลดความขัดแย้งของเขมร 4 ฝ่าย
“ประเทศไทยก็แปลกหน่อยครับ ในอดีตคนอื่นเขาขัดแย้งกัน เขาก็เชิญเราไปช่วยไกล่เกลี่ย หรือไม่ก็มาขอให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการไกล่เกลี่ย แต่ตอนนี้กลายเป็นว่า เราต้องไปเรียนรู้จากอันอื่น รู้สึกว่าเราเองจะเอาตัวไม่รอด” สุรเกียรติ์หัวเราะพลางว่า ทั้งหมดอยากเรียกว่า
เป็นกระบวนการยุติธรรมช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในช่วงที่กระบวนการยุติธรรมกระแสหลักใช้ไม่ได้
ฉะนั้น เรื่องการปรองดอง ความขัดแย้ง มันมีทั้งทฤษฎีที่สอนในโรงเรียนกฎหมาย ทางปฏิบัติ ให้เห็นในโลกมากมาย
หยุดจาบจ้วงใส่ความ- ลดขัดแย้ง
ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น สุรเกียรติ์ มองว่า ปมหนึ่งอาจมีรากเหง้าจากการจาบจ้วงใส่ความสถาบัน ทำให้คนที่รักสถาบันออกมาปกป้อง จนเกิดขบวนการต่อต้าน ลามมาถึงการเรียกร้องให้แก้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
“ผมคิดว่า คนที่อยู่เบื้องหลังกระบวนการจาบจ้วง ใส่ความอยู่นี้ ต้องหยุดก่อน สังคมจะได้ลดความขัดแย้งลง มันไม่มีประโยชน์อะไรที่ทำอย่างนั้น และไม่บังควรอย่างยิ่ง พระองค์ท่านไม่ได้มาเกี่ยวข้องในเรื่องการเมือง เวลาขัดแย้งกัน ก็ชอบไปดึงสถาบัน อ้างหลายแบบ ในทางที่เสียหายก็มี หรืออ้างเพื่อปกป้องก็มี
...และพระองค์ท่านก็ไม่มีโฆษกของพระราชวัง โฆษกของพระองค์ ที่มีมาในอดีต คือ พระราชกรณียกิจของท่าน ทุกคนก็เห็นว่า ท่านช่วยประชาชนมา 60 กว่าปี ไม่ใช่คนไทยเห็น แต่ทั่วโลกเห็น จนสหประชาชาติมาถวายเหรียญความสำเร็จให้แก่ท่านเป็นพระองค์แรก”
สำหรับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ “สุรเกียรติ์” มองว่า ความจริงแล้ว ก็คือ กฎหมายหมิ่นประมาท ยกตัวอย่าง เวลามีใครมาด่า ก็อาจถูกฟ้องศาลได้ว่า ถูกดูหมิ่น แต่รัฐธรรมนูญระบุว่า พระมหากษัตริย์ไม่มีสิทธิที่จะไปฟ้องใครได้ ซึ่งเป็นหลักสากลในประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข อย่างไรก็ตามประชาชน ตำรวจ อัยการ สามารถดำเนินการแทนได้ว่ามีคนดูหมิ่นสถาบัน ก็เท่านั้นเอง แต่เหนืออื่นใด พระองค์ทรงรับสั่งในที่สาธารณะว่า ไม่เห็นด้วยกับหลักตะวันตกที่ว่า พระมหากษัตริย์ทำอะไรไม่ผิด หรือ The King can do no wrong
ม.112 ต้องแยกแยะเจตนาหมิ่น
“ประเด็นผมเข้าใจนะ ว่า เราอยากคุยกันในสังคมไทยว่า แล้วเราจะพัฒนากันไปอย่างไร ถ้าเผื่อเป็นห่วงกันเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ผมเห็นด้วยว่า ควรจะแยกแยะคนที่มีความจงรักภักดี และอาจจะพูดถึง สถาบันด้วยความหวังดี ไม่มีเจตนาที่จะไปจาบจ้วงใส่ความ ก็ต้องแยกแยะ และเราก็ควรนำเรื่องนี้มาคุยกัน บางทีคอป.ก็อาจนำประเด็นเหล่านี้มาพิจารณาว่า ถ้าความขัดแย้งอันหนึ่งเป็นเรื่องทำนองแบบนี้ มันมีประเด็นอะไรบ้างที่ต้องพิจารณาประกอบ ถ้ามันเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการปรองดองระยะยาว
“อันหนึ่งที่เราอาจจะต้องทำกันคือ การบรรยายฟ้อง หรือ การแจ้งความ ขณะนี้เราไม่ค่อยกล้าเขียนบรรยายฟ้องว่า คนที่ทำผิดพูดว่าอะไรเพราะเกรงว่า คนที่เขียนถึงจะถูกกล่าวหาหมิ่นสถาบันซ้ำ ปัญหาคือ คนอย่างเราๆ ก็คงไม่รู้ด้วยว่า นาย ก. ที่หมิ่นพูดว่าอะไร จนมีคนไปพูดว่า นาย ก. เขาไม่ได้ทำ เพราะเขาถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง คนบางส่วนก็คล้อยตามเชื่อไปด้วย และเกิดกระแสว่า นี่ใช้กฎหมายหมิ่นฯเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งบางที นายก. อาจทำผิดจริงๆ ก็ได้ แต่ด้วยความที่เราไม่ทำความเข้าใจในบรรยายว่า เขาพูดอะไร อันนี้ก็น่าจะพิจารณาว่า คนนั้น ผิดจริง ต้องดำเนินการ
“ส่วนคนที่เขาจงรักภักดี และพูดถึงสถาบันด้วยเจตนาดี ไม่มีเจตนาลบหลู่ ใส่ความ กรณีนี้ก็ต้องแยกแยะ ดังนั้น การใช้กฎหมายหมิ่นมาตรา 112 ในประมวลกฎหมายอาญา โดยไม่แยกแยะก็เป็นอันตรายเหมือนกัน ผมพูดอย่างเป็นกลาง ใครผิดจริงก็ต้องให้รู้ว่า ผิดเพราะอะไร ส่วนใครที่ไม่ได้ผิด หรือไม่ได้เจตนา ผมว่า ต้องเอาหลักเจตนาเข้ามาจับ ถ้าทำได้ ก็จะเกิดความเข้าใจอันดีในสังคม เหมือนกฎหมายหมิ่นประมาทโดยทั่วไป
ปชต.ไทยแบบไทยๆ ไม่ต้องเหมือนอังกฤษ-ญี่ปุ่น
ฝ่ายแกนนำเสื้อแดงเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขเหมือนในอังกฤษหรือในญี่ปุ่น “สุรเกียรติ์” เห็นว่า แต่ละประเทศมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ไม่มีประเทศไหนเหมือนใครทั้งสิ้น
“ของเราคงเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ที่เป็นแบบไทยๆ และก็พัฒนาในแบบไทยๆ เราก็จะมีอะไรที่คนอื่นเขาไม่มี เราก็จะไม่เหมือนญี่ปุ่น ไม่เหมือนยุโรปเหนือ ไม่เหมือนอังกฤษ เช่นเดียวกับญี่ปุ่นกับอังกฤษก็ไม่เหมือนกัน ทุกอย่างมันต้องวิวัฒน์ไปตามบริบทของสังคมนั้นๆ”
“สถาบันพระมหากษัตริย์ของเราก็มีพัฒนาการอยู่แล้ว ถ้าคุณจะเทียบในช่วง 50-100 ปีที่ผ่านมาก็มีความแตกต่างกันอยู่มาก ความคิดริเริ่มของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ประทับในกรุงเทพช่วงที่ พระองค์ทรงแข็งแรงอยู่เพียงแค่ 2-3 เดือน แล้วพระองค์ก็ทรงอยู่ต่างจังหวัด กับประชาชน เช่นเดียวกับ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ก็เป็นรูปแบบที่ไม่มีที่ไหนในโลกนะ เขาถึงมาดูงานกันไง เช่น สมเด็จพระราชาธิบดีของภูฏาน ได้รับสั่งกับผมตอนที่ท่านเป็นมงกุฎราชกุมารว่า ท่านสนใจที่จะเดินตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทย ผมว่า มันเป็นรูปแบบที่ไม่เคยมี เริ่มตั้งแต่ สมเด็จย่าที่ทรงมีหน่วยแพทย์อาสา ในหลวงเสด็จไปช่วยเรื่องน้ำ การกินอยู่ ทรงถือแผนที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯไปช่วยเรื่องงานศิลปชีพมา 40 ปี ก็โอท็อปวันนี้ที่สำเร็จได้เร็ว จนทั่วโลกส่งมาดูงานเพราะเรามีพื้นฐานของงานฝีมือ สมเด็จพระนางเจ้าฯท่านไปถนอมรักษาให้ต่อเนื่องมาตลอด”
“สังคมไทยมี กระบวนการพัฒนาของมันเอง บางคนเล่าให้ฟัง เห็นสมเด็จพระเทพฯ ขี่จักรยานจากพระราชวังไกลกังวลไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาร์เกตหรือ พระองค์ภาฯ ทรงทำงานเป็นอัยการที่อุดรเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ตอนนี้ท่านอยู่ที่หนองบัวลำภู ก็มีคนมาเล่าให้ฟังว่า ท่านเสด็จไปเสวยหาอาหาร ส้มตำ ลาบ ตามร้านต่างๆ ประชาชนก็มีความสุขกันมาก ท่านขี่จักรยาน พบคนไปทานข้าวข้างนอก ในสมัยโบราณเราไม่ค่อยได้เห็น ‘เจ้านาย’ ไปเสวยข้างนอก มันก็มีความเปลี่ยนแปลงนะ ไม่ใช่ไม่มี แต่มันเปลี่ยนแปลงแบบไทย ผมก็เชื่อว่า สถาบันมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ก็เหมือนกับ สถาบันการศึกษา สถาบันทหารที่เขาก็ปรับปรุงมากขึ้น เมื่อก่อนปฏิวัติง่ายมาก เดี๋ยวนี้ก็ยากขึ้นเยอะ 15 ปีมีครั้ง มันก็มีพัฒนาการของมัน
“ประชาธิปไตยไทยวันนี้ มันค่อยๆ วิวัฒน์ มันไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในวันพรุ่งนี้ ลองคิดดู การปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ฉะนั้นถ้าเราทำใจให้เป็นกลาง ดูสถาบันทหาร ข้าราชการ ธุรกิจ มันมีพัฒนาการของมันเหมือนกัน บางอันเพราะต่างประเทศผลักดัน บางอย่างต้องมีพลวัตร บางอันพัฒนาเร็ว พัฒนาช้า ผมว่า เราอย่าไปมองสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันเดียว ทุกๆ สถาบันแม้แต่สถาบันครอบครัว มันก็มีพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของมัน”
อีกเหตุผลของฝ่ายแดง คือ ชนชั้นนำ กับ ชนชั้นล่าง ต้องมีเสียงเท่ากัน ไม่ควรมีใครมีอำนาจเหนือกว่ากัน
สุรเกียรติ์ มองว่า สังคมไทยมีความเท่ากันในสิทธิและกฎหมายอยู่แล้ว
“ผมเคยไปดูการเลือกตั้งในเนปาล กับอดีตประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ คนเนปาลตื่นเต้นกันมากเขาบอกว่า นี่เป็นการปฏิรูปครั้งสำคัญ เพราะเป็นครั้งแรกที่คนในทุกวรรณะมีสิทธิ์เลือกตั้งเท่ากันหมด แต่เมืองไทยเราทุกคนก็มีสิทธิ์ อีกเรื่องที่เขาตื่นเต้นคือ ชนชั้นที่อยู่ต่ำที่สุดในสังคมวรรณะของเขาที่เนปาล สามารถสมัครเป็น ส.ส. อันนี้ทำให้พรรคเหมาอิสต์มีคะแนนนิยมสูงในช่วง 3-4 ปีทีแล้ว เพราะเป็นผู้เสนอเรื่องนี้”
“ของเราไม่ว่า จะมาจากอาชีพใดก็สมัครเป็น ส.ส.ได้ มีสิทธิ์เลือกตั้งได้ เป็นนายพล นักธุรกิจที่มีชื่อเสียงได้ ผมไม่ได้หมายความว่า ของเราไม่มีความแตกต่างระหว่างความจนกับความรวย แน่นอนยังมีอยู่ แต่โอกาสสำหรับคนที่จะไปเป็นอะไร มันก็มีมากพอสมควร ดังนั้น สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความเท่าเทียมกันอยู่แล้ว ในแง่สิทธิทางกฎหมาย
“แต่คำถามที่ถาม ผมไม่รู้หมายความว่า ต้องเท่าเทียมกัน คือ ต้องวิจารณ์ได้หมด ใช่ไหม .. มันก็ไม่เชิงนะ เพราะกฎหมายเขาคุ้มครองคุณกับผมเหมือนกันนะ ไม่ใช่ถือว่าเราเท่ากัน แล้วคุณก็ด่าแม่ผม แล้วผมก็ด่าแม่คุณก็จบไป แต่กฎหมายเขาดูแลให้เอาขึ้นศาลได้นะ ความเท่าเทียมไม่ใช่ว่า มีสิทธิแต่ไม่มีหน้าที่ ผมก็ต้องเคารพสิทธิความเป็นคนซึ่งกันและกัน รวมถึงเคารพสิทธิความเป็นคนของคนในสถาบัน แล้วเมื่อเราไม่ให้ท่านเป็นคนนำคดีไปฟ้องร้องเองได้ ก็ต้องมีกระบวนการที่คนทำแทนท่าน ก็เท่านั้นเอง นี่เป็นกฎหมายที่เป็นสากล ประเทศอื่นก็มี เพียงแต่บางจุดเราก็สามารถปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัยได้
สังคมไทยมีความแตกต่างกับตะวันตก เพราะสังคมเราเคารพผู้ใหญ่ ถ้าผู้ใหญ่เดินอยู่ เราก็จะก้มตัวผ่านไป จะไปบอกว่า ถ้าคุณป้าน้าอา ผมทานขนมกับพื้น ผมมาถึง ก็ยืนคุยกับเขา ท้าวสะเอวอย่างนี้ แสดงว่า ผมนี่ เป็นปัญญาชน เท่าเทียมกันหรือ ผมว่า อันนั้นไม่ใช่เลยนะงนั้น คำว่า เท่าเทียมกันก็ต้องให้เข้ากับบริบทของสังคมไทยด้วย เพราะขนาดพ่อแม่ปู่ย่าตายายเรายังให้ความเคารพนับถือ แล้วการที่เราจะให้ความเคารพ นับถือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและราชินี ผมว่าก็ไม่ใช่เรื่องแปลก”
ทักษิณถูกล้อมด้วยคนหลายประเภท
แล้วมันเกิดอะไรขึ้น บางคนบอกว่า เป็นผลจากฝ่ายซ้ายเดือนตุลาในอดีตบางส่วน หรือปัญหาจากความเหลื่อมล้ำ หรือ ทักษิณมีอำนาจมากในช่วงที่ผ่านมา กลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจึงอาศัยพลังเหล่านี้ลดอำนาจสถาบัน ฯลฯ ”สุรเกียรติ์” ตอบ “ผมคิดว่า คนเดือนตุลา มีความเคารพในสถาบันฯ เท่าที่ผมสัมผัสมา หลายคนก็จริงใจว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อความมั่นคง และสิ่งที่พระองค์ท่านทำมาก็เป็นประโยชน์กับประเทศ และก็จะเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต”
“คนที่อยู่ในกระบวนการล้มเจ้า หรือไม่เอาสถาบัน ผมว่า มีเป็นส่วนน้อย ความจริงก็มีมานานตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 5 ผมก็ไม่ได้เห็นว่า สังคมไทยไปทำอะไรกับคนกลุ่มนั้น ยกเว้นถ้ามีการกระทำอะไรที่ผิดกฎหมายจริงๆ ก็จะมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย
“วันนี้เราอย่าคิดว่า คนส่วนใหญ่เป็นอย่างนั้น เพราะคนที่ต้องการประชาธิปไตย หรือ ต้องการเห็นความเป็นธรรม มันเป็นคนละเรื่องกับ คนที่ล้มเจ้า คุณทักษิณที่ผมเห็นมา ก็ถูกล้อมรอบด้วยคนหลายประเภทหลายแบบ ผมเชื่อว่า คุณทักษิณก็ต้องเห็นว่า สถาบันพระมหากษัตริย์นั้นเป็นที่เคารพ นับถือ เป็นที่ยอมรับ ของคนไทย ผมก็ไม่รู้นะใครอยู่เบื้องหลังอะไร เพราะผมไม่ได้อยู่ฝ่ายข่าวกรอง แต่เห็นคนเขาพูดกันว่า มีคนอยู่เบื้องหลังกระบวนการจาบจ้วง ทำลายล้างทั้งหลาย ผมคิดว่า ควรจะหยุดซะเถอะ กระบวนการนั้น มันไม่ก่อให้เกิดความสุขสงบขึ้นมากับใคร และไม่เป็นผลดีกับใครเลย”
เลิกอ้าง “มือที่มองไม่เห็น” - เลิกอ้าง “ในวัง”
สิ่งที่ “สุรเกียรติ์” เป็นห่วงมากที่สุดในสังคมไทยขณะนี้ คือ กระบวนการกล่าวอ้างผู้ใหญ่ ที่เกิดขึ้นทุกวงการ โดยเฉพาะ การอ้างพระองค์ท่าน อ้างคนรอบข้าง กระทั่ง อ้างคำว่า “ในวัง” ต้องการอย่างนั้นอย่างนี้
“กระบวนการอ้างผู้ใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นในทุกวงการ อย่างผมแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ ในบ้านเราเอง คนในบ้านก็ยังอ้างกันว่า ผมเอาอย่างนั้น หรือ ท่านผู้หญิง ภรรยาผมเอาอย่างนี้ ทั้งที่เรายังไม่ได้พูดเลยซักคำ กระบวนการอ้างมันอาจจะมาจากข้อดีของสังคมไทยก็ได้ ว่า คนไทยเคารพผู้ใหญ่ แต่ ช่วงหลังมันมากขึ้นจริงๆ ซึ่งแปลกมาก บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย แต่ทำไมการอ้างผู้ใหญ่มันเยอะเสียเหลือเกิน อ้างกันเป็นทอดๆ ซึ่งผมว่า มันอันตราย หรือเป็นเพราะเราขี้เกียจอธิบายเหตุผลกันมากเกินไป หรือเพราะอ้างแล้วมันสะดวกดี หรือเราไม่ค่อยผ่านการวิเคราะห์ มีความสามารถในการอธิบาย เสนอความเห็นอะไรที่จะโน้มน้าวเหตุผลได้
“เราได้ยินกันอยู่เรื่อยๆ ก็ไม่รู้ใครคือคนในวัง จะเป็นคนรอบข้างหรือเปล่า หรือมหาดเล็ก หรือการอ้างคำว่ามือที่มองไม่เห็น ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ คือมันยังไม่เห็นเลย ยังอ้างได้ มันก็ไปใหญ่ แล้วถามจริงๆ เถอะ มือที่มองไม่เห็นคือ ใครบ้าง ก็หาไม่เจอ ที่สุดมันก็แย่เพราะคนก็อ้างว่ามือที่มองไม่เห็นจริงๆ ก็คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผมก็ไม่รู้ ทำไมไปคิดอย่างนั้น”
‘ราชินี’ ทรงเป็นห่วงบ้านเมือง
อาจารย์ใกล้ชิดกับ สมเด็จพระนางเจ้าฯ มีรับสั่งอะไรบ้างไหม? สุรเกียรติ์ บอก “ผมไม่ได้ใกล้ชิดอะไรมากหรอกครับ ถึงแม้ว่าท่านผู้หญิง ภรรยาผมเป็นหลานท่าน แต่ผมก็ไม่ได้เข้าเฝ้าเป็นปีๆ โอเค...แม่ยายผม ท่านก็คงได้เฝ้าเสมอ แต่เราไม่ค่อยได้คุยกันเรื่องพระองค์ท่าน”
“ตอนที่ผมไปทานข้าวกับคุณแม่ภรรยาผม ก็คุยกันเรื่องอื่น แต่ก็ทราบอยู่อย่างเดียวว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ ท่านทรงเป็นห่วงบ้านเมืองเสมอ และพระองค์มีจิตใจซาบซึ้งกับคนที่อ่อนแอหรือถูกรังแก อย่างล่าสุด พระองค์พระราชทานดอกไม้ให้หมอมุกทันที หรือ ปู่เย็นท่านก็ทรงสงสารและสร้างเรือให้ หรือ ดาบตำรวจที่เสียสละชีวิตเพื่อชาติบ้านเมืองท่านก็เสด็จไปพระราชทานเพลิงศพใน วัดเล็กๆ ที่อีสาน แต่ไม่มีใครรู้
“ผมทราบว่าหลายๆ อย่างที่คนพูดกันว่าเป็นพระองค์ท่านอย่างนั้น อย่างนี้ หลายอย่างที่ภรรยาผมทราบ...มันไม่จริงเลย คนละเรื่องโดยสิ้นเชิง และก็แต่งเรื่องกันไป เข้าใจกันไปได้จนแบบภาษาไทยเรียกว่า อ้าปากค้าง จนไม่รู้จะบอกว่าอย่างไร”
“อย่างบางเรื่อง ผมก็ถามภรรยาผม ภรรยาผมก็อาจจะถามคุณแม่เขา หรือบางเรื่องที่คุณแม่เขาทราบเอง แม่ยายผมอ้าปากค้างเลย ‘อะไรไม่ใช่เลย’ แม้กระทั่งว่าท่านอยู่ที่ไหน หรือไม่อยู่ที่ไหน บางวันท่านอยู่ด้วยกัน คนก็ไปลือว่าท่านอยู่อีกที่ คืออย่างนี้มันอันตราย น่าเกลียดมาก”
“แต่ไม่มีครับ...ผมไม่เคยได้ยินอะไรเกี่ยวข้องกับท่าน และในเรื่องบ้านเมืองก็ไม่เคยมีรับสั่งอะไร ท่านก็เมตตาภรรยาผมเพราะเป็นหลาน อย่างพ่อตาผม (ม.ล.ทวีสันต์ ลดาวัลย์) เป็นราชเลขาธิการมา 26 ปี เป็นองคมนตรี 13 ปี ไม่เคยคุยเรื่องเกี่ยวกับ ‘ข้างใน’ เลย แล้วท่านเป็นคนที่ถือหลักอันนี้เคร่งครัดมาก”อาจารย์ใกล้ชิดกับ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงรับสั่งอะไรบ้างไหม? สุรเกียรติ์ บอก ผมไม่ได้ใกล้ชิดอะไรมากหรอกครับ ถึงแม้ว่า ท่านผู้หญิง ภรรยาผม เป็นหลานท่าน แต่ผมก็ไม่ได้เข้าเฝ้าเป็นปีๆ แล้วครับ ภรรยาผมเขาก็เป็นนักวิจัย และเป็นเอ็นจีโอ เป็นประธานมูลนิธิ เขาก็ทำงานไป โอเค แม่ยายผม ท่านก็คงได้เฝ้าเสมอ แต่เราก็ไม่ค่อยได้คุยกันเรื่องพระองค์ท่าน
“ตอนที่ผมไปทานข้าวกับ คุณแม่ภรรยาผม ก็คุยกันเรื่องอื่น แต่ก็ทราบอยู่อย่างเดียวว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ ท่านทรงเป็นห่วงบ้านเมืองเสมอ และพระองค์มีจิตใจซาบซึ้งกับคนที่อ่อนแอ หรือ ถูกรังแก อย่างล่าสุด พระองค์พระราชทานดอกไม้ให้หมอมุกทันที หรือ ปูเย็นท่านก็ทรงสงสารและสร้างเรือให้ หรือ ดาบตำรวจที่เสียสละชีวิตเพื่อชาติบ้านเมืองท่านก็เสด็จไปพระราชทานเพลิงศพใน วัดเล็กๆ ที่อีสาน
“ผมทราบว่า หลายๆ อย่างที่คนพูดกันว่า เป็นพระองค์ท่านอย่างนั้น อย่างนี้ หลายอย่างที่ภรรยาผมทราบ...มันไม่จริงเลย คนละเรื่องโดยสิ้นเชิง และก็แต่งเรื่องกันไป เข้าใจกันไปได้จนแบบภาษาไทยเรียกว่า อ้าปากค้าง ไปได้ขนาดนั้น จนไม่รู้จะบอกว่า อย่างไร
“อย่างบางเรื่อง ผมก็ถามภรรยาผม ภรรยาผมก็อาจจะถามคุณแม่เขา หรือ บางเรื่องที่คุณแม่เขาทราบเอง แม่ยายผมอ้าปากค้างเลย ‘อะไรไม่ใช่เลย’ แม้กระทั่งว่า ท่านอยู่ที่ไหน หรือ ไม่อยู่ที่ไหน บางวันท่านอยู่ด้วยกัน คนก็ไปลือว่า ท่านอยู่อีกที่ คือ อย่างนี้มันอันตราย น่าเกลียดมาก
แต่ไม่มีครับ.. ผมไม่เคยได้ยินอะไรเกี่ยวข้องกับท่าน และในเรื่องบ้านเมืองก็ไม่เคยมีรับสั่งอะไร ท่านก็เมตตาภรรยาผมเพราะเป็นหลาน อย่างพ่อตาผม (ม.ล.ทวีสันต์ ลดาวัลย์) เป็นราชเลขาธิการมา 26 ปี เป็นองคมนตรี 13 ปี ไม่เคยคุยเรื่องเกี่ยวกับ ‘ข้างใน’ เลย แล้วท่านเป็นคนที่ถือหลักอันนี้เคร่งครัดมาก”
อาจารย์ใกล้ชิดกับ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงรับสั่งอะไรบ้างไหม? สุรเกียรติ์ บอก ผมไม่ได้ใกล้ชิดอะไรมากหรอกครับ ถึงแม้ว่า ท่านผู้หญิง ภรรยาผม เป็นหลานท่าน แต่ผมก็ไม่ได้เข้าเฝ้าเป็นปีๆ แล้วครับ ภรรยาผมเขาก็เป็นนักวิจัย และเป็นเอ็นจีโอ เป็นประธานมูลนิธิ เขาก็ทำงานไป โอเค แม่ยายผม ท่านก็คงได้เฝ้าเสมอ แต่เราก็ไม่ค่อยได้คุยกันเรื่องพระองค์ท่าน
“ตอนที่ผมไปทานข้าวกับ คุณแม่ภรรยาผม ก็คุยกันเรื่องอื่น แต่ก็ทราบอยู่อย่างเดียวว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ ท่านทรงเป็นห่วงบ้านเมืองเสมอ และพระองค์มีจิตใจซาบซึ้งกับคนที่อ่อนแอ หรือ ถูกรังแก อย่างล่าสุด พระองค์พระราชทานดอกไม้ให้หมอมุกทันที หรือ ปูเย็นท่านก็ทรงสงสารและสร้างเรือให้ หรือ ดาบตำรวจที่เสียสละชีวิตเพื่อชาติบ้านเมืองท่านก็เสด็จไปพระราชทานเพลิงศพใน วัดเล็กๆ ที่อีสาน
“ผมทราบว่า หลายๆ อย่างที่คนพูดกันว่า เป็นพระองค์ท่านอย่างนั้น อย่างนี้ หลายอย่างที่ภรรยาผมทราบ...มันไม่จริงเลย คนละเรื่องโดยสิ้นเชิง และก็แต่งเรื่องกันไป เข้าใจกันไปได้จนแบบภาษาไทยเรียกว่า อ้าปากค้าง ไปได้ขนาดนั้น จนไม่รู้จะบอกว่า อย่างไร
“อย่างบางเรื่อง ผมก็ถามภรรยาผม ภรรยาผมก็อาจจะถามคุณแม่เขา หรือ บางเรื่องที่คุณแม่เขาทราบเอง แม่ยายผมอ้าปากค้างเลย ‘อะไรไม่ใช่เลย’ แม้กระทั่งว่า ท่านอยู่ที่ไหน หรือ ไม่อยู่ที่ไหน บางวันท่านอยู่ด้วยกัน คนก็ไปลือว่า ท่านอยู่อีกที่ คือ อย่างนี้มันอันตราย น่าเกลียดมาก