บทความนี้เป็นผลการตรวจสอบของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
แล้วจะได้รู้ว่าบ้านเมืองเราเขาใช้เงินกันอย่างไร ก็อ่านฉบับย่อ
แต่ถ้าคิดว่าจะศึกษาการเขียนรายงานการตรวจสอบภายในให้ดูฉบับเต็ม ยาวหน่อย
บทคัดย่อ
ผลการตรวจสอบโครงการเร่งรัดปรับปรุงประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
วัตถุประสงค์ ตรวจเพื่อให้ทราบว่าผลการดำเนินงานการปรับปรุงประสิทธิภาพและคงสภาพการจ้างงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ อย่างไร รวมทั้งศึกษาถึงปัญหาอุปสรรคและข้อขัดข้องสำหรับการเสนอแนวทางแก้ไข
ข้อตรวจพบ
1. สถานประกอบการที่มีผลประกอบการดีขึ้น ๔๗.๖๔%
2. สถานประกอบการที่มีผลประกอบการด้านต้นทุนและ/หรือยอดขายไม่เปลี่ยนแปลง ๕๒.๐๖%
3. การคงสภาพการจ้างงานของสถานประกอบการ ๗๒.๑๒%
ปัญหาอุปสรรค
1.การดำเนินกิจกรรมของทีมที่ปรึกษาต่ำกว่า/แตกต่างจากกิจกรรมตามข้อเสนอของโครงการฯ โครงการฯ
ได้กำหนดกิจกรรมการแก้ปัญหาของสถานประกอบการ และมีบางกิจกรรมที่ไม่ได้ดำเนินการ
2. ความรู้และประสบการณ์ของทีมที่ปรึกษา
ทีมที่ปรึกษา ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในธุรกิจยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวังโดยได้รับบริการจากที่ปรึกษาที่มีความรู้ไม่ตรงกับลักษณะธุรกิจ และขาดประสบการณ์ด้านธุรกิจ
3. วิธีดำเนินกิจกรรมการแก้ปัญหา
การให้คำปรึกษาเน้นด้านวิชาการและทฤษฎี ซึ่งเป็นลักษณะการอบรมมิใช่ลักษณะการให้คำปรึกษาและการปฏิบัติการ หรือให้คำแนะนำ ไม่ชัดเจนเพียงพอ
4. สถานประกอบการขาดความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการ
ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของทีมที่ปรึกษา สถานประกอบการขาดสภาพคล่อง ขาดความมั่นใจในการลงทุนเพิ่ม และขาดบุคลากรรองรับในการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของที่ปรึกษา
5. แผนงานมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการดำเนินงาน
เนื่องจากการสำรวจสภาพปัญหาของสถานประกอบการเป็นการเสนอปัญหาของธุรกิจโดยผู้ประกอบการเอง ซึ่งอาจ ไม่ใช่ปัญหาหลักของธุรกิจ และในการสำรวจสภาพปัญหาดังกล่าวใช้ระยะเวลาน้อยเกินไป จึงไม่สามารถวิเคราะห์ถึงปัญหาที่แท้จริง
6. การติดตามผลความก้าวหน้าของโครงการฯ กระทำได้ไม่ทั่วถึง
เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าวบางส่วนเป็นลูกจ้างชั่วคราว ขาดความรู้ความเข้าใจในโครงการฯ และไม่มีหน้าที่โดยตรง การเก็บข้อมูลจึงไม่ได้ผลตรงตามความต้องการของโครงการฯ รวมทั้งการตอบ แบบสอบถามกลับมาน้อย ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
7. การติดตามผลการปฏิบัติงาน (Midterm Report & Final Report) กระทำได้ไม่รัดกุม
พิจารณาผลงานจากรายงานที่ทีมที่ปรึกษาจัดส่งให้คณะกรรมการตรวจการจ้างนั้น คณะกรรมการตรวจการจ้างดังกล่าวได้ใช้ข้อมูลจากรายงานวิเคราะห์ผลงาน โดยไม่ได้สอบยันข้อมูลกับสถานประกอบการ ว่าการรายงานผลตรงตามข้อเท็จจริงตามที่ที่ปรึกษาได้ให้คำแนะนำกับสถานประกอบการหรือไม่
ข้อสังเกต
การกำหนดเป้าหมายการคงสภาพการจ้างงานไม่เหมาะสม การกำหนดเป้าหมายจำนวนพนักงานดังกล่าวมาจากการประมาณการ ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงจึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับ จำนวนพนักงานภายหลังเข้าร่วมโครงการฯ ได้ แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้จะใช้เป้าหมายที่แท้จริงมาเปรียบเทียบกับจำนวนพนักงานของทุกสถานประกอบการภายหลังเข้าร่วมโครงการฯ ก็ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า โครงการฯ ประสบความสำเร็จหรือไม่ และยังไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
ผลกระทบ
จากการเข้าร่วมโครงการฯ ส่งผลให้สถานประกอบการทราบถึงจุดด้อยและจุดแข็งในธุรกิจของตนเอง สำหรับผลกระทบต่อการใช้จ่ายเงินพบว่า การใช้จ่ายเงินงบประมาณเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและ สังคมโดยรวม โดยมีสถานประกอบการที่ทีมที่ปรึกษาดำเนินกิจกรรมแก้ไขปัญหาได้สูงกว่าที่กำหนด จำนวน 13 แห่งแต่อย่างไรก็ตามยังมีสถานประกอบการบางส่วนได้รับประโยชน์จากโครงการฯ ไม่เต็มที่ และจาก การที่ที่ปรึกษามีการดำเนินกิจกรรมที่ต่ำกว่า/แตกต่างจากกิจกรรมตามข้อเสนอของโครงการฯ และการดำเนินกิจกรรมโดยวิธีการที่ไม่เหมาะสม ทำให้คน/วันที่ดำเนินการจริงต่ำกว่าแผนที่กำหนด มีผลกระทบต่อการ จ่ายค่าตอบแทนที่ปรึกษา
ข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
1. ด้านทีมที่ปรึกษา
ควรให้ความสำคัญในการสำรวจสภาพปัญหาและวินิจฉัยปัญหา (Diagnose) ของสถานประกอบการอย่างเป็นระบบ โดยมีระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อกำหนดกิจกรรมที่จะแก้ไขให้ชัดเจน สอดคล้องกับ สภาพปัญหาที่แท้จริง
2. ด้านสถานประกอบการ
2.1 จัดทีมที่ปรึกษาที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในธุรกิจแต่ละประเภทอุตสาหกรรม และให้สอดคล้องกับลักษณะทางธุรกิจและสภาพปัญหาของสถานประกอบการ ให้สถานประกอบการซึ่งเป็น ผู้รับประโยชน์โดยตรงจากโครงการฯ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจคัดเลือกทีมที่ปรึกษา
2.2 การที่แต่ละสถานประกอบการมีปริมาณของปัญหาและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน ซึ่งมีส่วนในการกำหนดกิจกรรมที่ทีมที่ปรึกษาจะต้องดำเนินการแก้ไขการกำหนดค่า จ้างที่ปรึกษาให้สัมพันธ์กับขอบเขตและปริมาณปัญหาของสถานประกอบการที่สามารถปฏิบัติได้จริง
3. ด้านการบริหารโครงการฯ
3.1 ต้องกำหนดแผนงานอย่างละเอียดให้ชัดเจน โดยประกอบด้วยเป้าหมายของกิจกรรม รายละเอียดกิจกรรม ขอบเขตของงานที่จะต้องดำเนินการ รวมทั้งระยะเวลาที่ชัดเจนเพียงพอที่จะติดตามผลการ ดำเนินงาน(สังเกตการณ์จริง)เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับแผนงานได้
3.2 ต้องกำหนดหน้าที่ขอบเขตการติดตามผลความก้าวหน้าการดำเนินงานของทีมที่ปรึกษา โดยเจ้าหน้าที่ส่วนให้ชัดเจน โดยมีการตรวจเยี่ยมสังเกตการณ์สถานประกอบการรวมทั้งการรายงานผลระหว่าง โครงการ และผลที่สถานประกอบการได้รับที่เป็นรูปธรรมเพื่อประโยชน์ในการติดตามวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของโครงการฯ
3.3 ให้ทีมที่ปรึกษาบันทึกรายละเอียดผลการดำเนินงานในแต่ละครั้งที่เข้าสถานประกอบการ โดยให้สถานประกอบการลงชื่อรับทราบ แล้วสำเนาให้สถานประกอบการเก็บรวบรวมพิจารณาผลงานของทีมที่ ปรึกษาต่อไป
3.4 เพื่อให้โครงการฯ ในระยะต่อไป กำหนดเป้าหมายการคงสภาพการจ้างงานจากจำนวนพนักงานที่แท้จริง และควรกำหนดเกณฑ์การวัดความสำเร็จของการคงสภาพการจ้างงานของแต่ละสถานประกอบการ
สำนักงานสอบบัญชี พี แอนด์ อี,สำนักงานบัญชี พี.เอ.แอล.,คณะบุคคลที่ปรึกษา พี.เอ.ที.,#สำนักงานบัญชี,#ผู้สอบบัญชี,#ทำบัญชี,#สอบบัญชี,#สำนักงานสอบบัญชี,#ผู้สอบบัญชีภาษีอากร
บทความ
-
.......... บทความ 108 ..........
-
สำนักงานบัญชีในฝัน (1)
-
สถิติการจ่ายภาษีตามภาค
-
สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด
-
KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)
-
KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)
-
คลิปนี้ ชอบมาก
-
ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ
-
จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
-
คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี
-
ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)
-
พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม
-
ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา
-
การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี
-
สำนักงานบัญชีในฝัน (6)
-
สำนักงานบัญชีในฝัน (5)
-
สำนักงานบัญชีในฝัน (4)
-
สำนักงานบัญชีในฝัน (3)
-
สำนักงานบัญชีในฝัน (2)
-
บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)
-
เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่
-
วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี
-
องค์กรในมุมมองของนักบัญชี
-
อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?
-
บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)
-
ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา
-
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)
-
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)
-
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน
-
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)
-