บทความดีมีประโยชน์ต่อคนไทยขออนุญาตนำมาเผยแพร่ครับ เนื่องจากสังคมไทยเนื้อหางานวิจัยดีๆ ได้รับการปิดประกาศ เลยไม่ทราบทั่วกันเนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปิดประกาศไม่ให้รู้ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 1 |
|||
ชื่อรายงานการวิจัย | รายงานวิจัยการทุจริตและประพฤติมิชอบในหน่วยงานราชการของไทย : กรณีศึกษากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | ||
ชื่อนักวิจัย | วิชัย รูปขำดี, สังคม คุณคณากรสกุล | ||
หน่วยงานวิจัย | คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | ||
แหล่งทุนวิจัย | สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 1 | ||
สถานภาพ | โครงการที่ทำเสร็จแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2548 | ||
บทคัดย่อ หรือบทสรุปผู้บริหาร |
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุของการทุจริตและประพฤติมิชอบในขั้นตอนต่างๆ ของการทำงานในทุกกิจกรรม ที่ ข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตรรับผิดชอบ (2)เพื่อค้นหาและสร้างแบบจำลองของพฤติกรรม ที่นำไปสู่การทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการในสังกัดกรมส่งเสริมการ เกษตร (3) เพื่อเสนอแนวทางและวิธีการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการ ในสังกัดกรมส่งเสริมการ เกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ขอบเขตในการศึกษาคือกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ในช่วงระหว่าง ปี พ.ศ. 2538-2547 โดยใช้รูปแบบการศึกษาผสมกันระหว่าง (1) วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดย การใช้แบบสอบถามกับข้าราชการ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 13 หน่วยงานระดับกรมมีผู้ให้ข้อมูล 1,458 ราย และใช้แบบสอบถามกับประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะเกษตรกร 1,370 รายรวมแล้วมีผู้ตอบแบบสอบถาม 2,828 ราย ควบคู่กับ (2) วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการจัดสัมมนา 4 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้และภาคกลาง มีผู้เข้าร่วมสัมมนา 250 คน พร้อมกันนี้ยังทำการสัมภาษณ์เจาะลึกอีก 28 ราย การศึกษานี้มีข้อค้นพบว่า หน่วยงานใน สังกัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์มีความซื่อสัตย์สุจริตแตกต่างกัน และหน่วยงานที่ทุจริตมักเป็นหน่วยงานเดิม ซึ่งมีข้อมูล เชิงประจักษ์จากการพิจารณาตัดสินของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และการมีข่าว ปรากฏตามสื่อมวลชนต่าง ๆ ซึ่ง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีข่าวการทุจริตจำนวนมาก เช่น การปลอมปนปุ๋ย การกำหนดสเปก เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่โปร่งใส เมื่อประมวลเชิงรูปแบบแล้วพบว่า มี 13 รูปแบบหลักคือ (1) การกำหนดนโยบายเพื่อเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง (2) การทุจริตในลักษณะของการซื้อขายตำแหน่ง (3) การทุจริตโดยการปฏิบัติหน้าที่อย่างบกพร่อง (4) การจัดซื้อจัดจ้างในลักษณะของการฮั้ว (5) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการชั้นสูงรู้ว่ามีการฮั้วแต่ไม่ยกเลิก (6) ความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันเสนอราคา (7) การทุจริตในขั้นตอนการปฏิบัติตามโครงการ (8) การทุจริตด้านการตรวจรับงาน (9) การเบียดบังงบประมาณหลวง (10) การเบียดบังงบประมาณสนับสนุนเกษตรกร (11) การทุจริตค่าชดเชยความเดือดร้อนของเกษตรกร (12) การปลอมปนปัจจัยการผลิตและ (13) การเบียดบังโอกาส การทุจริตในภาคเกษตรนำสู่ผลกระทบสำคัญ 5 ประการ คือ
(1) เกษตรกรขาดสิทธิที่จะได้รับผลประโยชน์เต็มสิทธิ (2) เกษตรกรเสียโอกาสในด้านอาชีพ (3) ประชาชนทั่วไปต้องแบกรับภาษีเกินจำเป็น (4) รัฐบาลต้องสูญเสียงบประมาณเกินจำเป็น และที่สำคัญที่สุดคือ (5) การสร้างวัฒนธรรมทุจริตให้เป็นเรื่องปกติ การทุจริตดังกล่าวสามารถประมวลเป็นตัวแบบการทุจริต (Corruption Model) ประกอบด้วยตัวแปรหลัก 3 ตัวคือ สำนึกฝ่ายต่ำ (มากหรือน้อย) โอกาส (มากหรือน้อย) และ ผลประโยชน์ (มากหรือน้อย) นำไปสู่การทุจริต (มากหรือน้อย) ทั้งนี้ถ้าตัวแปรหลักมีมาก แนวโน้มการเกิดการทุจริตก็มากตาม ดังสมการ
“การทุจริตมาก = สำนึกฝ่ายต่ำมาก + โอกาสมาก + ผลประโยชน์มาก”
และเมื่อทำการเปรียบเทียบกับงบประมาณโดยรวม สามารถสร้างสมการความสัมพันธ์ระหว่างวงเงินงบประมาณรวมกับวงเงินของการทุจริตได้ดังนี้
ขนาดของงบประมาณโครงการ =งบบริหาร งบจัดการ ค่าวัสดุอุปกรณ์และ ขนาดของวงเงินทุจริต [สำนึกฝ่ายต่ำ (ความโลภ + ค่านิยมที่ผิด - จรรยาบรรณ) + โอกาส (อำนาจหน้าที่ +ระดับของดุลยพินิจ + ช่องว่างของกฎระเบียบ + ความรอบรู้ในระเบียบราชการ + ความแยบยล) + ผลประโยชน์ (การลงทุนเพื่อเข้าสู่ตำแหน่ง + ผลตอบแทน - ความเสี่ยงในการถูกจับ)] การศึกษานี้มีข้อเสนอแนวทาง แยกเป็น 4 ระดับดังนี้
1) ข้อเสนอเชิงนโยบาย มีข้อเสนอหลักคือ
(1) การแก้ไขกฎหมายให้ทุกหน่วยงานมีการติดตามประเมินผลธรรมาภิบาล (2) การจัดให้มีหลักสูตรและการเรียนการสอน ด้านการเสริมสร้างจริยธรรมแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ (3) การออกกฎระเบียบเรื่องการรับของขวัญสินน้ำใจ (4) การผลักดันให้ออกกฎระเบียบเพื่อรองรับการให้รางวัลนำจับหรือชี้เบาะแสการทุจริต (5)การผลักดันให้ใช้กฎหมายการคุ้มครองพยานผู้ชี้เบาะแสการทุจริตและผู้ต่อสู้กับการทุจริตในวงการราชการ (6) การลงโทษทางวินัยต้องดำเนินการอย่างจริงจัง 2)ข้อเสนอแนวทางเชิงการบริหารงานบุคคล มีข้อเสนอหลักคือ
(1)การป้องกันการแทรกแซงของนักการเมืองโดยการสร้างระบบกันชนกล่าวคือกำหนดให้รัฐมนตรีต้องสั่งการผ่านปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง หรือ อธิบดี อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น (2)การรับสมัครการบรรจุข้าราชการใหม่ ไม่ควรเป็นหน้าที่ของกรมโดยตรง (3)การแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงไม่ควรขึ้นอยู่อำนาจของรัฐมนตรควรมีการถ่วงดุลโดยการกำหนดระเบียบของสำนักงาน ก.พ. ที่ชัดเจน (4) ผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย ที่มีความชัดเจนและไม่เปลี่ยนแปลงง่ายจนเกินไป (5) การกำหนดวาระของการดำรงตำแหน่งของข้าราชการระดับสูงไม่ควรยาวนานเกินไป (6) ควรสร้างระบบการประชุมร่วมกันเป็นประจำและสม่ำเสมอ (7) การป้องกันการซื้อขายตำแหน่งในวงการราชการโดยจัดหลักเกณฑ์ในการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งที่ชัดเจน โปร่งใส (8) การลงโทษทางวินัยต้องมีคณะกรรมการที่ให้ความเป็นธรรม และ (9) การจัดให้มีการประกวดผลการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และมีประสิทธิภาพ 3) ข้อเสนอแนวทางเชิงการจัดการโครงการ มีข้อเสนอสำคัญคือ
4) ข้อเสนอแนวทางเชิงการมีส่วนร่วมของประชาชน มีข้อเสนอสำคัญคือ(1) การจัดซื้อจัดจ้างและหรือการประมูลงาน ควรเป็นระบบที่โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ (2) ในโครงการพัฒนาระดับพื้นที่ควรกำหนดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการในชุมชน เพื่อร่วมดำเนินการตรวจสอบด้วย (3) การตรวจรับงานในโครงการจัดจ้างสร้างถาวรวัตถุ ควรมีกรรมการตรวจรับจากภายนอก (4) เปิดพื้นที่สาธารณะในการรับเรื่องร้องเรียนโดยตรง (5)การจัดให้สื่อต่างๆ เช่น วิทยุชุมชน หอกระจายข่าวในหมู่บ้าน หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิ้ลทีวี สามารถเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารการคอร์รัปชันในด้านเกษตรกรรมได้ โดยได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย (1) ภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการตรวจสอบโครงการของภาครัฐ (2) ภาคประชาชนต้องสามารถใช้ประโยชน์จากพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารราชการได้อย่างแท้จริงในการติดตามโครงการ สาธารณะ (3) ภาคประชาชนต้องกล้าชี้มูลความผิดผู้ที่กระทำผิด (4) การส่งเสริมความกล้าหาญทางจริยธรรมในการเปิดเผยเปิดโปงกลโกงและวิธีการฉ้อราษฎร์บังหลวงควบคู่กับการปกป้อง พยาน และ (5)การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ความเชื่อ จากการเคารพนับถือบุคคลที่มีทรัพย์สิน หรือมีอำนาจมาเป็นการเคารพนับถือบุคคลที่ คุณงามความดี |