เรียบเรียงโดย คุณเดชา ศิริสุทธิเดชา
บรรณาธิการจุลสาร
สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย
เนื่องในโอกาสที่สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย ได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมต่อสังคมในการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในสังคมไทย จึงได้จัดบรรยายพิเศษในหัวข้อ “คุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารการตรวจสอบ” และมอบประกาศเกียรติคุณให้แก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย โดยได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจาก ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์
บรรณาธิการจุลสาร
สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย
เนื่องในโอกาสที่สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย ได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมต่อสังคมในการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในสังคมไทย จึงได้จัดบรรยายพิเศษในหัวข้อ “คุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารการตรวจสอบ” และมอบประกาศเกียรติคุณให้แก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย โดยได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจาก ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์
จุลานนท์ อดีตองคมนตรี และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ได้ให้เกียรติเป็นวิทยากรกิตติมศักดิ์บรรยายและเป็นประธานมอบประกาศเกียรติคุณ ในวันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2549 เวลา 09.00 – 13.00 น. ณ ห้องชมวัง อาคารราชนาวิกสภาหลังใหม่ หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอัมรินทร์ กรุงเทพฯ ดังนั้นกองบรรณาธิการของจุลสารสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย จึงขอนำบทการบรรยายพิเศษของ
ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตองคมนตรี และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน มาลงพิมพ์ในจุลสารฉบับนี้เพื่อให้สมาชิกและบุคคลทั่วไปได้อ่าน ,
ศึกษาและพิจารณาตามความเป็นจริงโดยทั่วกัน
สวัสดีครับทุกท่าน กระผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้รับเชิญมาบรรยายในเรื่อง “คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล สำหรับผู้บริหารการตรวจสอบ”
จริง ๆ แล้วในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลนั้นเป็นเรื่องที่ทุกท่านตระหนักดีอยู่แล้วและจำเป็นที่ทุกคนจะต้องมีสำหรับใช้ในการตัดสินใจ เพราะในการตัดสินใจของแต่ละบุคคลนั้นจะมีกิเลสปะปนอยู่ ซึ่งกิเลสที่ว่านี้ก็คือ “ความอยาก” โดยมี ความอยากในด้านดีและด้านไม่ดี ซึ่งในการตัดสินใจลงไปนั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณธรรมและจริยธรรมของแต่ละท่าน โดยมีสติ(ความระลึกได้) เป็นตัวเตือนว่ากำลังจะทำในสิ่งที่ดีหรือไม่ เช่น กำลังติดสินใจจะทำไม่ดีก็ให้มีสติระลึกว่าไม่ควรทำให้เลิกทำสิ่งนั้นเสีย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคนได้พบอยู่บ่อยครั้งในชีวิตประจำวันของเราอยู่แล้วและสตินี่เองเป็นตัวเริ่มให้เกิดความมี คุณธรรมและจริยธรรมขึ้นในใจของแต่ละท่าน และจากนี้ไปผมก็ขอนำประสบการณ์จากการที่ได้บริหารงานในองค์กรใหญ่ๆ ให้ทุกท่านได้รับทราบกันนะครับ
ในการบริหารองค์กรนั้น จะมีคำพูดอยู่คำหนึ่ง คือ “หัวไม่ส่าย หางก็ไม่กระดิก” ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่ง โดยผู้บริหารในองค์กรใหญ่ๆ นั้นจะเป็นผู้เลือกเฟ้นผู้ที่มีความสามารถ ความรู้ และเป็นคนที่ดี ซึ่งในส่วนตัวของกระผม คือการได้เป็นนายกในมหาวิทยาลัยราชภัฎ ที่จังหวัดเพชรบุรี และนายกของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ซึ่งได้พยายามที่จะเน้นในส่วนของการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้กับนักศึกษาทั้ง 2 แห่ง ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินั้นได้ระบุไว้ว่า “ความรู้คู่กับคุณธรรม” แต่ทว่าในรายละเอียดของการอบรมสั่งสอนกันจริงๆ พบว่าเราไม่มีวิชาหลักหรือวิชารอง หรือหมวดวิชาที่จะแนะนำให้เยาวชนของเรานั้น มีความรู้คู่กับคุณธรรมได้อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษายิ่งนัก โดยในปัจจุบันนี้ก็เป็นเรื่องของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งถือว่าเป็นแผนพัฒนา ฉบับที่ 10 แล้วที่ได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาว่า “คุณธรรมนำความรู้” ซึ่งเมื่อดูในรายละเอียดจริงๆ แล้ว ก็ยังไม่มีแนวทางที่เด่นชัดว่าจะดำเนินการอย่างไร
ถ้าหากมองย้อนกลับไปในชีวิตของผมนั้น จะทราบได้ว่ากระผมนั้นได้สัมผัสมาทั้ง 2 ศาสนา คือ ทั้งศาสนาคริสต์ และ ศาสนาพุทธ คือ สมัยเรียนตอนอนุบาลผมเรียนที่ โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซ์ ก็ได้มีความเข้าใจในเรื่องของความเชื่อของคนฝรั่งที่เชื่อว่ามีพระเจ้าโดยคนเราจะทำอะไรต้องระมัดระวังที่จะ ไม่ทำความชั่ว แต่เมื่อได้ทำความชั่วลงไปแล้วระลึกได้ก็ไปสารภาพบาปเสีย แต่ใช่ว่าความผิดนั้นจะหมดไปเพราะการสารภาพบาปนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่สารภาพบาปนั้นมีความกลัวใน การที่จะทำผิดอีกและเป็นหนทางหนึ่งที่ให้กลับเนื้อกลับตัวและกลับใจที่จะไม่ทำอย่างเดิมอีก ในส่วนของศาสนาพุทธนั้น เราไม่ได้มีความเชื่อว่ามีพระเจ้าสร้างโลก แต่เราเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากธรรมชาติแต่ว่าการที่เราจะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์สิ่งที่ดีงามนั้น ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศล ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดกับตัวท่านเองมิได้เกิดขึ้นกับผู้อื่น แต่อาจจะมีผู้อื่นที่ได้รับประโยชน์ได้รับส่วนกุศลบ้างแต่ตัวของท่านเองถือว่าเป็นผู้ที่รับอย่างเต็มที่ ไม่ว่าท่านจะทำดีต่อตัวท่านเอง สังคม ญาติพี่น้อง ยกตัวอย่างง่าย ๆว่า บางท่านอาราธนาศีล 5 ซึ่งมีคำในตอนท้ายว่า “การที่เรารับศีล 5 แล้ว ก็จะมีความร่ำรวยความสุขแล้วก็จะถึงความพ้นทุกข์ในที่สุดนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญใน พระไตรปิฎกที่ได้อธิบายไว้ว่าคนที่สามารถรักษาศีล 5 ได้ ก็จะทำให้เป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ เมื่อเกิดความน่าเชื่อถือแล้ว คนในครอบครัวก็จะได้รับในส่วนนั้นด้วย เมื่อไปกระทำการในสิ่งใดๆ ความน่าเชื่อถือก็จะเป็นพื้นฐานให้ท่านเป็นที่ยอมรับของสังคม แล้วศีล 5 นี้เองถ้าท่านรักษาได้ แล้วนำไปต่อยอดอีกนิดหน่อย ท่านก็จะเดินทางไปสู่สิ่งที่เรียกว่า มรรค 8 เป็นทางที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้นในที่สุด และในส่วนของคุณธรรม จริยธรรมนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรามีความเพียร ความพยายาม ถ้าเรามีความย่อหย่อน สิ่งเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น แต่ในส่วนขององค์กรนั้นจะมีตัวช่วยอยู่ตัวหนึ่งที่เราเรียกว่า “วินัย” อย่างเช่นในองค์กรของทหารนั้น มีวินัยเป็นเครื่องบังคับ โดยส่วนใหญ่ทหารจะมีความซื่อตรงโดยเฉพาะในหน่วยงานที่ผมสังกัด จะต้องไม่มีการคดโกง เพราะสิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้การทำงานของเรานั้นประสบผลสำเร็จ ขอยกตัวอย่างในช่วงที่ผมทำงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อพยพด้านติดกับชายแดนกัมพูชาโดยให้ทหารที่อยู่ ภายใต้บังคับบัญชาต้องซื่อสัตย์ไม่คดโกง หากจับได้ว่านำอาหารไปจำหน่ายนอกค่ายให้ผู้อพยพจะโดนลงโทษขั้นร้ายแรงคือการให้ออกจากราชการทหาร โดยไม่มีการฟังข้อแก้ตัวใดๆ เพราะก่อนออกปฏิบัติงานได้มีการออกคำสั่งซึ่งเป็นข้อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นวินัยของทหารที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา แต่ก็ยังมีทหารที่ฝ่าฝืนอยู่ ประมาณ 2-3 คน ซึ่งผมก็ลงโทษจริง โดยได้กล่าวว่า “ผมเสียใจแต่ว่าผมไม่สามารถปล่อยให้เขาไม่ถูกลงโทษได้” ในส่วนของพวกท่านเองในฐานะผู้ตรวจสอบภายบัญชี ผู้บริหารงานองค์กรนั้น ย่อมที่จะมีวิธีการตรวจสอบที่แตกต่างกันไป องค์กรนั้นหากเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับตัวบุคคล เพราะในบางครั้งองค์กรก็อาจจะทำอะไรที่ไม่ดีได้ อาจจะเป็นจากหัวผู้บริหารในระดับสูง หรือ ผู้บริหารระดับกลาง หรือไม่ก็ระดับล่างก็ได้ ซึ่งก็มีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดได้เช่นกัน แต่ถ้าหากทุกคนในองค์กรมีสติคอยช่วยเตือนกันในองค์กรว่า ขณะนี้มีสิ่งบอกเหตุมีเครื่องชี้ว่า องค์กรกำลังมีสิ่งที่จะไม่ดีไม่งามเกิดขึ้น ผู้บริหารในระดับสูงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับแก้ นั้นเป็นสิ่งที่เรียกว่าความเหมือน ส่วนตัวของผมก็มีวิธีการที่จะทบทวนแล้วก็ตรวจสอบตัวเองในช่วงเวลาเช้าๆ ทุกวันว่า เมื่อวานที่ผ่านมาเราทำอะไรที่ไม่ดีบ้าง บกพร่องไปบ้าง เพื่อเป็นการเตือนตัวเองว่าเราควรจะแก้ไขควรจะปรับปรุง โดยผมได้นำสิ่งนี้ไปปรับใช้กับองค์กรของผมเช่นเดียวกัน เมื่อผมมาเป็นผู้บัญชาการทหารบก ซึงถือว่าเป็นองค์กรที่ค่อนข้างใหญ่ ผมได้กำหนดคำขวัญในการทำงานไว้ว่า “ประหยัด โปร่งใส เป็นธรรม”
- ประหยัด คือ ใช้งบที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยอะไรที่เราทำเองได้ ก็ ทำขึ้นเองใช้เองสิ่งไหนจำเป็นต้องจัดซื้อก็ดำเนินการจัดซื้อเท่าที่ จำเป็น ส่วนสิ่งไหนที่มีอยู่แต่อาจจะชำรุด ก็ให้ นำกลับมาซ่อมแซม ให้มีความทันสมัยเหมาะที่จะนำไปใช้งานต่อไป
- โปร่งใส คือ ก็คือในส่วนของการจัดซื้อการจัดหาต้องทำให้เกิดความเข้าใจได้ ทั้ง คนในองค์กรและนอกองค์กร
- เป็นธรรม คือ ส่วนมากจะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อองค์กรโดยตรง ก็คือในส่วน ของการพิจารณาเลื่อนยศ การโยกย้าย และการเปลี่ยนตำแหน่งต่างๆ ก็จะต้องพิจารณากันอย่างละเอียดและรอบคอบ โดยจะจัดตั้ง คณะทำงานเพื่อการทำการกลั่นกรองอย่างเป็นธรรม
ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ก็เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งสำหรับการใช้หลักธรรมาภิบาลสำหรับการบริหารงานองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีงบประมาณสำหรับการใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ซึ่งถ้าไม่มีหลักธรรมาภิบาลเข้ามาช่วยบริหารแล้วย่อมเกิดการคดโกงได้ง่ายเช่น การเปิดโอกาสให้พรรคพวกของตนเองเป็นผู้ที่ชนะการประมูลโครงการต่างๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อองค์กรอย่างมากมาย หากองค์กรใดไม่มีหลักธรรมาภิบาลแล้วย่อมจะส่งผลให้องค์กรนั้นไม่มีความก้าวหน้าและไม่สามารถปฏิบัติงานใน ลักษณะที่มีความท้าทายและงานที่ต้องการความรวดเร็วได้ ซึ่งจะทำให้องค์กรนั้นไม่มีความพร้อมเพรียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรทหารที่จะต้องมีความพร้อมที่จะสามารถทำงานในทุกๆ ด้านได้ตลอดเวลา ซึ่งจะต้องมีการวางแผนกันเสียแต่เนิ่นๆ ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำคำทางทหารมาประยุกต์ใช้กับองค์กรของพลเรือนอย่างแพร่หลาย เช่น คำว่า ยุทธศาตร์ กลยุทธ์ กับแผนงานทั้งในระยะสั้น และ ระยะยาว
เมื่อพูดถึงในส่วนของคุณธรรม จริยธรรม ของผู้นำกับหลักธรรมาภิบาลภายในองค์กรนั้น ในฐานะที่ผมมีประสบการณ์ในด้านการบริหารมาแล้ว ผมก็มองเห็นว่าผู้นำขององค์กรนั้นมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า “หัวไม่ส่าย หางก็ไม่กระดิก” นั้นถือว่าเป็นคำที่สามารถอธิบายได้เป็นอย่างดี ฟังแล้วเข้าใจไม่ต้องพูดกันมาก ส่วนการที่ผู้นำจะเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมนั้นเราคงต้องมองย้อนกลับไปถึงเรื่องของการศึกษา ซึ่งในปัจจุบันเรายังไม่มีวิธีการที่ชัดเจนว่าเราจะสร้าง คนให้มีความรู้คู่คุณธรรมได้อย่างไรหรือคุณธรรมนำความรู้ได้อย่างไร เพราะปัจจุบันในเรื่องของการศึกษานั้นเราเน้นไปที่วิธีการที่จะให้นักเรียน นักศึกษาได้รับความรู้ทางด้านวิชาการ แต่ในเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมนั้นเรายังไม่ได้คำนึงถึงมากนัก สำหรับเยาวชนของเราซึ่งในภายภาคหน้าเราจะพูดถึงวิธีการแก้ปัญหาในเรื่องที่เรามาพูดกันในวันนี้ได้ลำบากคือ ไม่ว่าท่านจะมีความสามารถในการตรวจสอบมากเพียงไร แต่ถ้าท่านเสนองานขึ้นไปแล้วผู้นำองค์กรไม่ได้ให้ความสนใจมันก็จะไม่มีประโยชน์ เว้นเสียแต่ว่ามันจะเป็นเรื่องที่ส่งผลร้ายแรงต่อองค์กรทำให้องค์กรได้รับความเสียหายอย่างใหญ่หลวงจนถึงกับ ต้องล้มละลาย ซึ่งถ้าหากเราไม่สามารถสร้างเยาวชนให้มีคุณธรรมและจริยธรรมได้ อนาคตในวันข้างหน้านั้น ก็คงจะไม่แจ่มใสนักสำหรับบ้านเมืองเรา ซึ่งสิ่งที่ผมได้พูดไปในวันนี้ก็อยากจะขอฝากไว้ เป็นประเด็น สำหรับพวกท่านทั้งหลายว่าเราจะมีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะสร้างเยาวชนให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม สำหรับผมก็ขอเสนอว่าในส่วนของนักศึกษาเราควรจะให้พวกได้เริ่มจากการปฏิบัติและเกิดความเข้าใจ โดยเริ่มจากขั้นง่ายๆ เช่นการให้นักศึกษาทุกคนในมหาวิทยาลัยช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดในบริเวณที่ตนเองรับผิดชอบอยู่ เมื่อพวกเขาเหล่านั้นเกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ตนปฏิบัติอยู่ว่า ตนเองได้เป็นผู้กระทำความดีต่อสถาบันที่ตนเรียนอยู่ ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำความดีมีการระลึกอยู่เสมอว่าจะความดี ต่อตนเอง หรือองค์กรได้อย่างไรต่อไป นี่เองก็เป็นวิธีการสร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดกับเยาวชนได้ อีกส่วนหนึ่งก็คือการนิมนต์พระมาเทศก์ให้ได้ฟังกันบ้างตามโอกาสสมควรเช่นวันพระ วันสำคัญทางศาสนา หรือเป็นประจำทุกๆเดือน ซึ่งในส่วนตัวของผมเองก็ได้มีโอกาสรับฟังตอนที่เป็นนักเรียนนายร้อย ซึ่งทางโรงเรียนได้นิมนต์ท่านเจ้าอาวาสจากวัดมกุฏฯ มาเทศก์ให้ฟัง ในบางครั้งผมเองก็ไปฟังท่านเทศก์ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาบ้างเช่นกัน ซึ่งก็เหมือนกับในวันนี้ที่ผมได้มีโอกาสมาเล่าประสบการณ์ให้พวกท่านได้ฟังได้กลั่นกรองกัน ว่าสิ่งไหนที่ผมพูดดีพวกท่านก็เก็บไว้ใช้ให้เป็นประโยชน์คำพูดไหนที่ไม่ดีพวกท่านก็ทิ้งไป ลักษณะการกลั่นกรองนี้เองเป็นส่วนที่หนึ่งที่เราทุกคนได้ใช้กันเป็นประจำในชีวิตอยู่แล้วเพราะข้อมูลข่าวสารที่ ไหลเข้ามาสู่เรามากมาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ได้ยิน ได้เห็น ได้เข้าไปสัมผัส หรืออย่างเช่นในรายการโทรทัศน์ เราก็จะพบกับรายการที่เรียกว่า “รายการน้ำเน่า” อยู่บ่อยครั้งแต่ผู้ฟังบางคนก็ชอบ เพราะชมแล้วไม่ต้องคิดอะไรมาก ชมแล้วก็หัวเราะเฮฮาคล้อยตามไปตามอารมณ์ ซึ่งนั้นก็เป็นวิธีการมองของแต่ละบุคคลที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของการกลั่นกรองเพื่อที่จะนำสิ่งที่ได้นั้นไปใช้ ประโยชน์ต่อไป ส่วนในเรื่องความเชื่อของด้านพุทธศาสนานั้นก็ขอเรียนต่อท่านทั้งหลายได้ว่า ตัวผมเองได้เริ่มเข้ามาสัมผัสกับพระพุทธศาสนา ในเบื้องต้นก็เป็นวิชาศีลธรรมตั้งแต่ตอนเรียนที่สวนกุหลาบวิทยาลัย แต่ก็ยังไม่มีความเข้าใจอะไรลึกซึ้งมากนัก ต่อมาก็เป็นตอนที่เรียนโรงเรียนนายร้อย ซึ่งทางโรงเรียนก็จะมีการนิมนต์พระมาเทศก์ให้ฟังกันเป็นประจำและต่อมาก็คือตอนที่โตมากขึ้นได้ประสบกับ ปัญหามากขึ้นทั้งในเรื่องงานและส่วนตัวก็ยิ่งทำให้สนใจในพระพุทธศาสนามากขึ้น โดยจะเรียกว่า เป็นโชคก็ว่าได้ เมื่อผมได้ไปงานศพแล้วได้หยิบหนังสือพระขึ้นมาอ่านเล่มหนึ่งเป็นหนังสือพระที่เกี่ยวกับพุทธประวัติเมื่ออ่าน ไปแล้วก็เกิดความรู้สึกว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนในสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลแล้วสิ่งที่เป็นสัจจะธรรมจริงๆ ซึ่งคำว่า “ธรรมะ” ในทางพุทธศาสนานั้นมี 2 ด้าน คือ กุศลธรรมและอกุศลธรรม แต่ในความคิดของคนไทยนั้นมีด้านเดียวคือด้านที่ดีงาม เมื่อผมอ่านหนังสือแล้วก็ติดใจในสัจจะธรรมที่พุทธเจ้าท่านได้สอนไว้ซึ่งมีประโยคหนึ่งที่ผมยังคงจำได้ก็คือ “การพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ ได้ประสพกับสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์ อยากได้ในสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์” ซึ่งคำนี้ก็อยู่ในใจผมมาตลอดเกือบ 40 ปี จากสัจจะธรรมที่ผมได้อ้างถึงพระพุทธองค์ ทำให้เห็นว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีเหตุผล เป็นศาสนาที่ยืนอยู่บนความจริงไม่ต้องการที่จะไปหลอกลวงใครให้หลงเชื่อ ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถพิสูจน์ได้ในศาสนาพุทธ และนั่นเองก็เป็นจุดที่ทำให้ผมเกิดความอยากบวชในพระพุทธศาสนาได้เกิดขึ้นในใจ ซึ่งเมื่อผมพ้นจากราชการแล้ว ซึ่งในตอนนั้นก็ดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี และก็ได้ขอพระราชทานอนุญาตขอบวชจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ก็ทรงพระราชทานอนุญาตให้บวชได้ 1 พรรษา ซึ่งการที่ได้บวชนั้นก็เป็นช่วงที่ได้พิจารณาตัวเอง ได้รับรู้ถึงการกระทำที่ตัวเราทำไม่ได้ไว้ในอดีต และรู้ว่าควรจะแก้ไขอย่างไรควรจะปรับปรุงอย่างไร การที่ในชีวิตของคนเราได้มีเวลานั่งมองย้อนกลับมาดูตัวเองว่ามีสิ่งใดที่ได้ทำไปแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่ดี และได้รู้ว่าควรจะแก้ไขอย่างไร ก็จะเป็นสิ่งที่ดีมาก และสิ่งนี้เองก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของความมีคุณธรรม และจริยธรรม ซึ่งสามารถจะแผ่ขยายไปสู่บุคคลที่แวดล้อมท่าน ออกไปสู่องค์กรที่ท่านเกี่ยวข้อง ก็จะเป็นประโยชน์มหาศาล ซึ่งจะนำมาด้วยความสบายใจ ความสุขมาสู่ตัวท่านเอง เพราะอย่างน้อยในช่วงเวลาของท่านเองได้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และนั่นเองจะเป็นกุศลอันเกิดแก่ท่านทั้งหลายต่อไป โดยพวกท่านทั้งหลายก็ต้องไม่ย่อท้อที่จะกระทำความดีต่อไปไม่ว่าจะเกิดอุปสรรคเพียงใด
และกระผมเองก็ขอจบการบรรยายในหัวข้อ “คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล สำหรับผู้ตรวจสอบภายใน” ขอบคุณครับ
******************************************************************************************
โดยหลังจากจบการบรรยายพิเศษแล้ว ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าฟังการบรรยายได้ซักถาม ซึ่งมีคำถามที่น่าสนใจดังนี้
ถาม 1. ทำไมท่านไปบวชที่วัดป่า อ.โพนพิสัย และมีญาติไปแค่ 3-4 คน
ตอบ 1. การบวชเป็นเรื่องของผู้ที่จะบวชกับพระแล้วก็เป็นเรื่องที่เราต้องการที่จะละจากความฟุ้งเฟ้อไปสู่สภาพของพระ คือพยายามที่จะละจากที่สิ่งที่ไม่จำเป็นทั้งหมดซึ่งประเพณีไทยที่ผ่านมาในบวชจะต้องมีการจัดขบวนแห่, การทำบุญ,การเชิญแขกญาติพี่น้องมาร่วมพิธี ซึ่งก็แล้วแต่ละประเพณีของท้องถิ่น ซึ่งถ้าหากเรามองในแง่มอมของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงแล้วคือจะต้องละจากสิ่งเหล่านี้เพื่อไปหาที่สงบ เพื่อจะศึกษาตัวเอง ในพุทธประวัติพระพุทธเจ้าท่านเองตอนที่บวชท่านก็ปลงผมเองและมีคนติดตามท่านไปคนเพียงคนเดียว นั่นก็เป็นเหตุหนึ่งส่วนอีกประการหนึ่งก็คือด้านข้อกำหนดของพระทางฝ่ายปฏิบัติ ในปัจจุบันเราจะแบ่งพระออกเป็น 2 แบบ คือพระปริยัติ และพระปฏิบัติ โดยตามภาษาชาวบ้านเราจะเรียกว่า พระป่าและพระบ้าน ซึ่งพระป่าจะตัดพิธีเหล่านี้ออกไปเสียจะมีก็แต่พิธีการที่เรียบง่าย โดยเช้าวันที่จะบวชก็เป็นเพียงการทำพิธีปลงผมแล้วก็จะไปกราบบิดามารดา เพื่อขอบวชตามธรรมเนียมของพระ เมื่อกล่าวคำขอบวชได้ครบถ้วน ก็ถือว่าเป็นพระโดยสมบูรณ์แล้ว ในส่วนเรื่องของประเพณีต่างๆ นั้นถือว่าเป็นส่วนประกอบไม่ใช้เป็นส่วนหลักของพระพุทธศาสนา
ถาม 2. จะสร้างจริยธรรมในองค์กรได้อย่างไรถ้าทุกคนมีความแตกต่างกัน และถ้าผู้นำองค์กรไม่มีคุณธรรมและจริยธรรมเราในฐานผู้น้อยควรจะทำอย่างไร
ตอบ 2. ประเด็นแรกนั้น เราสามารถจะดำเนินการได้ถ้าผู้บริหารในระดับสูงมีแนวทางในการที่จัดให้องค์กร มีคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดขึ้นในการทำงาน ความแตกต่างในแต่ละบุคคลนั้นมีอยู่แล้ว แต่ถ้าเราไม่ทำงาน แบบคนไทย และไม่เลือกงานแบบคนฝรั่ง หมายถึงว่าเราควรมาทำงานก่อนเวลาและไม่ควรเลิกงานก่อนเวลา ถ้าเรามีความตรงต่อเวลาได้ความมีคุณธรรมก็จะเกิดขึ้น และต่อไปความซื่อสัตย์ก็เกิดขึ้นตามมาความมีคุณธรรม และจริยธรรมในองค์กรก็จะเกิดขึ้นตามมาเช่นกัน หรือจะยกตัวอย่างง่ายๆ เกี่ยวกับเรื่องการทำความสะอาด เช่นเพื่อนบ้านกวาดขยะเข้ามาหน้าบ้านเรา เราก็จัดการเก็บกวาดให้เรียบร้อยแล้วก็ค่อยไปบอกเพื่อนบ้าน ว่าเราจัดการเก็บกวาดให้เรียบร้อยแล้วและจากนั้นก็หาวิธีการร่วมมือกันที่จะให้เกิดความสะอาดในบริเวณที่เรา มีความรับผิดชอบร่วมกันให้มีความสะอาดต่อไป ถ้าองค์กรใดมีผู้นำที่ยังไม่แนวคิดที่จะก่อให้เกิดความมีคุณธรรมและจริยธรรมมากนักแต่ในส่วนระดับเล็กๆ เราก็สามารถทำได้แต่ทำให้อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของเราซึ่งอาจจะไม่มีคนให้ความร่วมมือมากนัก แต่ก็ไม่ได้ทำให้เราลำบากมากนักถ้าเรามีความตั้งใจและความพยายามที่จะรักษาคุณธรรมอันนั้นอยู่ มีหลายส่วนนะครับที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไปแล้วและก็ไปทำงานเราก็มักจะบอกว่า เราถูกกลืนเข้าไปในสภาวะของสังคมถูกกลืนเข้าไปกับสภาพของปัจจุบัน แต่ถ้าเรามีความตั้งใจและความพยายามที่จะแก้ไขที่ดีผมคิดว่าเรามีโอกาสที่จะทำได้ก็คือการทำไปตามกำลัง ความสามารถที่ทำได้ ยกตัวอย่างเช่นสมัยที่ผมเป็นทหารชั้นน้อย ได้พบว่าชีวิตความเป็นอยู่ของ ทหารประจำการนั้นค่อนข้างมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำต่อมาเมื่อผมมีโอกาสก็คือเมื่อเป็นผู้บังคับบัญชา ผมก็ได้สั่งการให้มีความปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของทหารชั้นผู้น้อยทั้งหมดเช่นการปรับปรุงสถานที่นอน ห้องน้ำ รวมถึงคุณภาพของอาหาร น้ำดื่มให้มีคุณภาพมากขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ของทหารชั้นผู้น้อยในปัจจุบันก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก ทุกท่านสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ตามสถานที่ของทหาร และนี้ก็เป็นสิ่งที่ผมภาคภูมิใจอย่างหนึ่งว่าผมได้กระทำในสิ่งที่คิดได้กระทำในสิ่งประโยชน์
ถาม 3. ความเป็นธรรมสามารถวัดเป็นรูปธรรมได้อย่างไรบ้าง
ตอบ 3. ในเรื่องของความเป็นธรรมยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในหมู่ของนักกฎหมายมาโดยตลอดว่า ความเป็นธรรมอยู่ตรงไหนเพราะยังเป็นเรื่องของนามธรรมไม่สามารถที่จะจับต้องและวัดกันได้ลำบาก มีสิ่งหนึ่งที่เป็นตัววัดได้แต่ก็ไม่สมบูรณ์คือ ความเชื่อถือและความไว้วางใจ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่วัดได้ว่าภายในองค์กรนั้นมีความเป็นธรรมมากน้อยเพียงไร ถ้าหากว่ามีความเป็นธรรมน้อยก็จะเกิดปัญหาภายในมาก มีเรื่องร้องเรียนกันมาก ผมขอยกตัวอย่างหนึ่งคือ การที่เราจะต้องปฏิบัติภารกิจที่มีความเสี่ยงมากมีความท้าทายมาก ถ้าผู้ใต้บังคับบัญชามีความเชื่อถือมีความมั่นใจในตัวของผู้บังคับบัญชา พวกเขาเหล่านั้นจะเป็นผู้อาสาที่จะปฏิบัติภารกิจนั้นๆ แต่ถ้าผู้บังคับบัญชาไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้แล้ว ก็จะไม่มีผู้เสนอตัวเข้ามาทำงานให้อาจจะส่งผลทำให้ภารกิจนั้นประสบกับความล้มเหลว
คำถาม 4. คณะองคมนตรีมีความถี่ในการประชุมปีละกี่ครั้ง และมีวาระอย่างไรบ้าง
ตอบ 4. คณะองคมนตรีจะมีการประชุมทุกสัปดาห์โดยปกติจะประชุมกันในวันอังคารช่วงเวลา 10:00 – 12:00 น. แต่ถ้าหากมีเรื่องสำคัญก็จะประชุมต่อ ส่วนในเรื่องของวาระแล้วส่วนใหญ่จะเป็นวาระที่เกี่ยวกับงานที่จะต้องถวายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระราชกฤษฎีกา เรื่องต่างๆที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะต้องเป็นผู้ลงพระปรมาภิไธย เรื่องการพระราชทานอภัยลดโทษบ้างในเรื่องของคดีความต่างๆ รวมถึงการถวายคำที่ปรึกษาในงานด้านต่างๆ ด้วยหรือบางครั้งก็เป็นการเข้าเฝ้าถวายงานตามที่พระองค์ทรงมีคำสั่งลงมา
คำถาม 4. คณะองคมนตรีมีความถี่ในการประชุมปีละกี่ครั้ง และมีวาระอย่างไรบ้าง
ตอบ 4. คณะองคมนตรีจะมีการประชุมทุกสัปดาห์โดยปกติจะประชุมกันในวันอังคารช่วงเวลา 10:00 – 12:00 น. แต่ถ้าหากมีเรื่องสำคัญก็จะประชุมต่อ ส่วนในเรื่องของวาระแล้วส่วนใหญ่จะเป็นวาระที่เกี่ยวกับงานที่จะต้องถวายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระราชกฤษฎีกา เรื่องต่างๆที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะต้องเป็นผู้ลงพระปรมาภิไธย เรื่องการพระราชทานอภัยลดโทษบ้างในเรื่องของคดีความต่างๆ รวมถึงการถวายคำที่ปรึกษาในงานด้านต่างๆ ด้วยหรือบางครั้งก็เป็นการเข้าเฝ้าถวายงานตามที่พระองค์ทรงมีคำสั่งลงมา
thnk